ใบกำกับภาษีต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง

เปิดร้านขายออนไลน์ใหม่ ยังไม่เข้าใจใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีคืออะไร? ลูกค้าขอให้ออกใบเสร็จให้ก็ไม่มั่นใจว่าออกใบเสร็จรับเงินอย่างไรถึงจะถูกต้อง เป็นมือใหม่ในด้านขายของออนไลน์ ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้พิมเพลินมาไขข้อสงสัยให้แล้วว่าใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแตกต่างกันอย่างไร? บุคคลธรรมดาออกใบกำกับภาษีได้หรือไม่? พร้อมวิธีออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีออนไลน์

ใบเสร็จรับเงินคืออะไร?

ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือ เอกสารที่ผู้รับเงินออกให้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว หรือลูกค้าได้ชำระเงินให้แล้ว ซึ่งรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินต้องระบุข้อมูลสำคัญในการซื้อขาย ชื่อ-สกุล ที่อยู่อาศัย เลขประจำตัวผู้เสียภาษี วันที่ทำรายการซื้อขาย เลขที่ใบเสร็จรับเงิน และรายการสินค้าหรือบริการ โดยตามกฎหมายกำหนดให้ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เมื่อราคาสินค้าหรือบริการมีมูลค่าตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป

ใบกำกับภาษีคืออะไร?

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารที่ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องออกให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ รวมถึงแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากราคาของสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้งค่ะ

คุณอาจสนใจสิ่งนี้เพิ่มเติม : ใบกำกับภาษีอย่างย่อ สำหรับร้านค้าออนไลน์

วิธีออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ออนไลน์

Page365 ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีออนไลน์ได้ ไม่ต้องพึ่งแบบฟอร์มเลยค่ะ เพียงแค่เปิดบิลออนไลน์ขายของให้ลูกค้าตามปกติ ระบบจะดึงข้อมูลของลูกค้ามาจัดทำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ หากต้องการออกใบกํากับภาษีเต็มรูปแบบ เพียงแค่กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของลูกค้าลงในบิลออนไลน์ระบบก็สร้างใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบให้ได้เลยค่ะ

บุคคลธรรมดาออกใบเสร็จรับเงิน/ออกใบกํากับภาษีได้ไหม?

ใบเสร็จรับเงิน บุคคลธรรมดาสามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าได้ค่ะ โดยแบบฟอร์มใบเสร็จรับเงินจะต้องแสดงข้อมูลสำคัญ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของธุรกิจ

  2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษี

  3. วันเดือนปีที่ออกใบเสร็จรับเงิน

  4. ลำดับ และเลขที่ใบเสร็จรับเงิน

  5. รายการ ราคาสินค้า และราคาสุทธิ ในการซื้อขายไว้ให้ครบถ้วนค่ะ

ใบกำกับภาษี บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าได้นะคะ ผู้ที่ออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าได้ต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่านั้นค่ะ

คุณอาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมขอเครื่องหมาย DBD Registered ด้วยตัวเอง

ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้ระบบทำใบเสร็จรับเงิน ออกใบกำกับภาษีได้เลยค่ะ ขายของออนไลน์มีรายได้ก็ต้องรายงานภาษี ทำความเข้าใจภาษีขายของออนไลน์เพื่อวางแผนธุรกิจของเราไว้ด้วยนะคะ

หากคุณสนใจใช้งาน Page365 คุณสามารถ สมัครใช้งานฟรี

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เริ่มต้นกับ Page365 หรือ ทำไมเราถึงฟรี?

  • 15May 19
  • 1

การออกใบกำกับภาษีต้องมีสาระสำคัญอย่างไร จึงจะถือว่าถูกต้อง


ใบกำกับภาษีต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง

Tags : SmartbizAccounting Tax สรรพากร

การขายสินค้าหรือการให้บริการ หลักฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นใบรับที่แสดงการรับชำระเงินหากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องมีใบกำกับภาษีมาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากใบเสร็จรับเงิน ลักษณะของใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีจะต้องมีสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะถือว่าถูกต้อง สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้ใบกำกับภาษีกับใบเสร็จรับเงินในฉบับเดียวกันก็ได้

ทั้งนี้ นิยามคำว่า “ใบรับ” ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า

(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ

(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว

บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ

สาระสำคัญและกฎหมายของใบกำกับภาษีและใบรับ สรุปได้ดังนี้

รายการสาระสำคัญกฎหมายอ้างอิง ตามประมวลรัษฎากร
ใบรับ

(ตัวอย่างใบรับ)

1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ

2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ

3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ

5. จำนวนเงินที่รับ

6. ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป

มาตรา 105 ทวิ
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/4
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจด ทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว

6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/6
ใบเพิ่มหนี้

(ตัวอย่างใบเพิ่มหนี้)

1. คำว่า “ใบเพิ่มหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ และในกรณีตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/9
ใบลดหนี้ 1. คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ฟรี โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

Credit : www.rd.go.th