สัญญาเช่าการเงินกับสัญญาเช่าดําเนินงาน

การจัดประเภทของสัญญาเช่า สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. สัญญาเช่าการเงิน คือ สัญญาเช่าที่โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า จากความหมายดังกล่าว สามารถที่จะสรุปเป็นสัญญาเช่าการเงินได้ดังนี้ เป็นสัญญาเช่าระยะยาว ที่ผู้เช่าเปรียบเสมือนเจ้าของสินทรัพย์ มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากทรัพย์สินให้แก่ผู้เช่า เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังคงเป็นของผู้ให้เช่า ผู้เช่าเลือกซื้อสินทรัพย์ที่เช่านั้นหรือไม่ก็ได้ ในการเลือกซื้อราคาที่ซื้อมักจะต่ำกว่าราคายุติธรรมของสินทรัพย์นั้น ณ วันที่สิทธิการเลือกซื้อมีผลบังคับใช้ ปกติสัญญาเช่ามักจะให้ผู้เช่าประกันความเสียหาย และผู้เช่าจะต้องเสียค่าบำรุงสินทรัพย์ที่เช่าเอง

2. สัญญาเช่าดำเนินงาน คือ สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงาน ซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่ไม่ได้มีการโอนความเสี่ยง และผลตอบแทนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า สามารถสรุปเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานได้ดังนี้ เป็นสัญญาเช่าที่ผู้เช่าไม่ได้มุ่งหวังจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์เหนือสินทรัพย์นั้น อายุของสัญญาเช่ามักจะสั้นกว่าอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่าอาจจะนำสินทรัพย์นั้นไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้อีก ในการบำรุงรักษาสินทรัพย์ที่เช่า หรือการซ่อมแซมสินทรัพย์ที่เช่า ผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ ผู้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญานั้นก่อนกำหนดได้ หากเห็นว่าสินทรัพย์ที่เช่านั้นหมดประโยชน์ลง

สัญญาเช่าการเงินกับสัญญาเช่าดําเนินงาน
สัญญาเช่า มีกี่ประเภท

(Visited 3,588 times, 1 visits today)

ความต่างระหว่าง บัญชีและภาษีอากร กรณี สัญญาเช่าดำเนินการ สัญญาเช่าการเงิน และเช่าซื้อ


 สัญญาเช่าการเงิน ฝั่งผู้เช่า

(Finance lease)

วิธีทางบัญชี

วิธีทางภาษี

1. ทรัพย์สินที่เช่า

- บันทึกเป็นทรัพย์สินถาวร

- ไม่ถือเป็นทรัพย์สินถาวร

2. ค่าเสื่อมราคา

- บันทึกค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย

- ไม่ถือเป็นรายจ่าย

3. ดอกเบี้ยจ่าย

- บันทึกตัดดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่าย ตามวิธีทางการบัญชี

- ไม่ถือเป็นรายจ่าย

4. ค่าเช่าทรัพย์สิน

- ไม่ได้บันทึกบัญชี

- ถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน ค่าเช่าถือเป็นรายจ่ายได้

5. ใช้สิทธิซื้อทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า

- บันทึกบัญชีโดยไม่กระทบบัญชีรายได้และค่าใช้จ่าย

- ถือเป็นทรัพย์สินถาวรด้วยราคาที่ซื้อ

- คิดค่าเสื่อมราคา

6. ขายทรัพย์สินดังกล่าว

- บันทึกกำไรหรือขาดทุนโดยคำนวณจากมูลค่าสุทธิของทรัพย์สินทางบัญชี

- เกิดกำไร/ขาดทุนโดยคำนวณจากมูลค่าสุทธิของทรัพย์สินทางภาษี

 ผู้ให้เช่า (Lesser)

Accounting

Tax

-  สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating lease)

-  บันทึกทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

-  บันทึกค่าเช่าเป็นรายได้ตลอดอายุสัญญาเช่า

-  บันทึกค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ให้เช่า

-  เหมือนกับบัญชี

-  สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance lease)

-  บันทึกเป็นลูกหนี้

-  ค่าเช่ารับแบ่งเป็น 2 ส่วน
ดอกเบี้ยจ่าย

-  ส่วนที่ไปลดเงินต้น

-  กรณีเป็นผู้ผลิตหรือผู้ขาย บันทึกกำไรขาดทุนจากการขายเช่นเดียวกับการขายปกติ

-  บันทึกค่าเช่ารับ (ดอกเบี้ยและเงินต้น) เป็นรายได้

-  ไม่มีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินขณะเริ่มสัญญา

-  บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย

-  อาจมีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน

-  เช่าซื้อ(Hire purchase)

-  ถือเป็นการขายผ่อนชำระ

-  รับรู้รายได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ

-  กำไรที่เกิดจากการขายต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการให้เช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระ 

-  ดอกผลเช่าซื้อหรือขายผ่อนชำระให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้แต่ละงวดตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป

 ผู้เช่า (Lessee)

Accounting

Tax

-  สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating lease)

-  บันทึกค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายตามงวดเวลาการใช้ประโยชน์

-  เหมือนกับบัญชี

-  สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance lease)

-  บันทึกเป็นทรัพย์สินและหนี้สิน ค่าเช่าจ่าย แบ่งเป็น 2 ส่วน

-  ดอกเบี้ยจ่าย

-  ส่วนที่ไปลดเงินต้น

-  ตั้งค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

-  ไม่บันทึกทรัพย์สิน

-  ไม่มีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

-  บันทึกค่าเช่า ซึ่งประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่าย

-  เช่าซื้อ(Hire purchase)

-  บันทึกเป็นทรัพย์สินและหนี้สินโดยมูลค่าทรัพย์สินเท่ากับราคาเงินสด ส่วนดอกเบี้ยจ่ายรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ

-  ตั้งค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน

-  บันทึกเป็นทรัพย์สินและหนี้สิน โดยมูลค่าทรัพย์สินเท่ากับราคาที่พึงชำระทั้งหมด(ราคาเงินสดบวกด้วยดอกเบี้ย)

-  ตั้งค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน