ตัวอย่าง ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

บทคัดย่อ
การลงทุนในโครงการสร้างเสริมสุขภาพยังคงมีคำถามเรื่องความคุ้มค่า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการภายใต้กองทุนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยใช้รูปแบบซิป ประเมินเอกสารโครงการ ความคิดเห็นของผู้บริหารโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการ พัฒนาแบบสอบถามขึ้นจำนวน 2 ฉบับ ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2555-ธันวาคม พ.ศ.2556 พบว่ามี 27 โครงการที่เข้าตามเกณฑ์ พบ 11โครงการที่มีผลลัพธ์ที่วัดผลได้ ส่วนใหญ่วัดผลลัพธ์ทางมานุษยวิทยา (ร้อยละ 68.57) แบบสอบถามทั้งหมด 577 ชุด อัตราตอบกลับร้อยละ 59.26-54.55 คะแนนผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าคะแนนต่ำที่สุดในกลุ่มแต่ละด้าน คือ ด้านบริบท:มีการประเมินความต้องการของชุมชน ด้านปัจจัยนำเข้า:งบประมาณสนับสนุนจากแหล่งอื่น ด้านกระบวนการ:มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ด้านผลผลิต:มีความต่อเนื่องของงบประมาณ ส่วนในด้านความพึงพอใจนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการพึงพอใจมากในการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม และพบ 3 ใน 4โครงการ เกิดผลได้ทางเศรษฐศาสตร์สุทธิ โดยสรุปโครงการส่วนใหญ่ เป็นโครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีทั้ง 3 มุมมอง อย่างไรก็ตาม โครงการส่วนใหญ่ยังต้องการการพัฒนากรอบการเขียนโครงการที่ชัดเจนและการกำหนดผลลัพธ์ที่ผู้รับบริการได้รับโดยตรง


บทคัดย่อ
Worthiness of investment in the health promotion programs remains a question. The objective of this study was to evaluate the achievement of the projects supported by the health promotion and disease prevention fund in the fiscal year 2011. The project based evaluation following CIPP model was used. Project documents and opinions of the program head and program participants were assessed. Two questionnaires were developed. The study was done between December 2012 and December 2013. Twentyseven projects met study criteria. Of these, 11 projects had outcome measurements which mostly were humanistic outcomes (68.57%). Of 577 self-administered questionnaires sent, the response rates were 59.26- 54.55%. Most scores of CIPP dimensions were at high to very high levels. The evaluation revealed the lowest scores in the context; use of the information of the community need; the input; support from other sources; the process; public relations; the product; continuous budget support. There was high satisfaction of participants for an opportunity to get involved. Three out of four projects were found net benefits. In conclusion, most projects had a high level of the achievement from 3 perspectives. Nevertheless, the projects need to further develop for a project framework and clear defined outcomes which directly occurred to the patients.

ฉบับเต็ม

ตัวอย่าง ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ

ชื่อ: hsri_journal_v8n3 ...

ขนาด: 199.9Kb

รูปแบบ: PDF