การบริหารและการจัดการคืออะไร

08 มี.ค. 2012

 การบริหาร( Administration) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ได้แก่ ฮารอร์ดดีคูลย์ (Harold D.Koontz, 1972) ได้ให้ความหมายว่าการบริหารหมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น  เออเนสย์เดลล์ (Ernest Dale, 1973 : 4) ได้ให้ความหมายของการบริหารว่า เป็นกระบวนการจัดองค์การและการใช้ทรัพยากรต่าง ๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  นิวต์แมน และ ซัมเมอร์ ( Newman and Summer, 1964 : 9 ) ยังได้เสนอแนะว่าการบริหารเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยชุดกิจกรรม อันจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การจัดการ (Management) หมายถึง ขบวนการที่ทําให้งานกิจกรรมต่าง ๆ  สำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลด้วยคนและทรัพยากรขององค์การ (Robbins and DeCenzo, 2004; Certo, 2003)

สรุปได้ว่า การบริหาร ( Administration) และ การจัดการ ( Management) มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้ และมักจะใช้รวมกันคือ “การบริหารจัดการ” แต่อาจมีการนำไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร ได้แก่ การบริหาร ( Administration) มักจะเป็นเรื่องการกำหนดนโยบาย นิยมนำไปใช้ในการบริหารองค์กรของทางราชการหรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร (Schermerhorn, 1999, p.G-2  อ้างถึงใน วิรัช วิรัชนิภาวรรณ)   ส่วนการจัดการ ( Management) เป็นเรื่องของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ นิยมใช้ในการบริหารองค์กรทางธุรกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสวงหากำไร หรือกำไรสูงสุด (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, http://www.wiruch.com/articles)

บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน

การจัดการ คือการทำให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร การจัดการประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือการสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน การจัดการทรัพยากรประกอบด้วยการใช้งานและการจัดวางทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรเทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ และยังช่วยการบริหารให้กับองค์กรต่างๆให้เจริญรุ่งเรือง

การบริหารและการจัดการคืออะไร
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล
หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์)

วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548), หน้า 5.)

             สรุป
         การบริหารและการบริหารจัดการมีแนวคิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมซึ่งจะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะต้องมีผู้นำกลุ่มและมีแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันภายในกลุ่มเพื่อให้เกิดความสุขและความสงบเรียบร้อย  ซึ่งอาจเรียกว่าผู้บริหารและการบริหาร ตามลำดับ ดังนั้น ที่ใดมีกลุ่มที่นั่นย่อมมีการบริหาร
         คำว่า การบริหารและการบริหารจัดการ รวมทั้งคำอื่น ๆ อีก  เป็นต้นว่า การปกครอง (government) การบริหารการพัฒนา การจัดการ และการพัฒนา (development) หรือแม้กระทั่งคำว่า การบริหารการบริการ (service administration) การบริหารจิตสำนึกหรือการบริหารความรู้ผิดรู้ชอบ (consciousness administration) การบริหารคุณธรรม (moralityadministration) และการบริหารการเมือง (politics administration) ที่เป็นคำในอนาคตที่อาจถูกนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยจะนำคำใดมาใช้โดยอาจมีจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกคำที่กล่าวมานี้เฉพาะในภาครัฐ ล้วนหมายถึง (1) การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน แนวทาง(guideline) วิธีการ (method) หรือมรรควิธี (means) ใด ๆ (2) ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้ในการบริหารราชการหรือปฏิบัติงาน (3) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (4) เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (end หรือ goal) หรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเบื้องต้น (primary goal) คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ หรือช่วยเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate goal) คือ การพัฒนาประเทศที่ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน เป็นต้น และทุกคำดังกล่าวนี้ อาจมองในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ที่มีระบบและมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงานก็ได้

การจัดการ และ การบริหาร มีความแตกต่างกันอย่างไร

การบริหาร (Administration) เป็นกระบวนการในการดำเนินการเพื่อใช้ให้บุคคลหลายคนเข้ามาร่วมมือกันทำงาน เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากร แต่การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเป็นการสร้างเครื่องมือเพื่อให้คนทำงานตั้งแต่การบริหารบุคคล การเงิน พัสดุ การกำหนดนโยบาย การวางแผน

การจัดการ (Management) หมายถึงอะไร

นิยามของการจัดการ การจัดการ หมายถึง การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

การบริหารมีความสําคัญอย่างไร

การบริหารเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน หากนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานหลายประการดังนี้ 1. ประหยัด ประหยัด หมายถึง มีการใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดแต่ได้ผลงานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินลงทุน ใช้คน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ 2. ประสิทธิผล

กระบวนการในการจัดการมีอะไรบ้าง

หลักการจัดการ.
การวางแผน (Planning).
การจัดองค์กร (Organization).
การบังคับบัญชา (Commanding).
การประสานงาน (Co-ordinating).
การควบคุม (Controlling).