การพัฒนานวัตกรรม ทางการ ศึกษา คือ

Show

7.1 ความหมายของการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจางสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน

7.2 องค์ประกอบของการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา

การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ

  1. ผู้ใช้ผลการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ผู้ที่ต้องการนำวิทยาการใหม่จากการวิจัยและการพัฒนาไปใช้งาน ซึ่งผู้ต้องการใช้ผลการวิจัยจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายของการวิจัยแต่ละครั้ง

  2. นักวิจัย ได้แก่ ผู้ทำการวิจัย มีหน้าที่วางแผนการวิจัยให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการช่วยหาคำตอบเพื่อการแก้ปัญหาแก่ผู้ที่จำนำไปใช้

  3. สถาบันที่ให้การสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัย ได้แก่ หน่วยงานราชการและองค์กรธุรกิจเอกชนต่างๆ

  4. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ปัจจัยส่งเสริมต่างๆ เช่น ห้องสมุดและสารสนเทศสำหรับเตรียมข้อมูลในการวิจัย

7.3 ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่

มีทั้งประเภทที่เป็นนวัตกรรมแบบใหม่หมดและนวัตกรรมที่เป็นแบบใหม่บางส่วนโดยแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน

  2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

  3. นวัตกรรมด้านหลักสูตร

  4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล

  5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

7.4 กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษามีขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย

  1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้

  2. กำหนดกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้

  3. สร้างต้นแบบนวัตกรรม

  4. ทดลองใช้นวัตกรรม

  5. เผยแพร่นวัตกรรม

7.5 ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม มี 9 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

7.6 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

1.ชื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน

แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียน โดยใช้มาตราตัวสะกด แม่ ต่างๆ

2.ชื่อผู้สร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

ชื่อ นายปัญญาสีม มูณี ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านคลองกั่ว อำเภอรัตภูมิ จังหวัด สงขลา เครือข่ายสถานศึกษาที่ 9 โทร.- มือถือ 081-9572348 E-mail address

3.แนวทางการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน

สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

4.ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน

5.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ต้องสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองกั่ว บางคนมีความบกพร่องทางด้านการอ่าน การเขียน ดังนั้นครูต้องแก้ปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้ทันเพื่อนร่วมห้อง จึงได้จัดทำสื่อขึ้นเพื่อนำมาใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียน

6.วัตถุประสงค์ของการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

  1. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนเรียนรู้ช้า

  2. เพื่อฝึกทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

  3. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

7.กลุ่มเป้าหมาย/ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองกั่ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2จำนวน 11 คน

8.หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

วสันต์ อติศัพท์ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หรือ นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติ คำว่า นวัตกรรม (Innovation) ขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)

Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา “Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)

กิดานันท์ มลิทอง (2543 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น

บรรณานุกรม

เกริก ศักดิ์สุภาพ. “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ (PECA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” (2556) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. “80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” (2558). พิมพ์ครั้งที่ 8 (ฉบับปรับปรุง) : พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ฐิตารีย์ สว่างมณี. .“เอกสารประกอบ โครงการพัฒนาบุคลลากรด้วย ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Mentoring)” (2555).

สมคิด พรมจุ้ยและสุพักตร์ พิบูลย์. “การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่องการวิจัยและพัฒนางานวิชาการ” (2552). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. “การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา” (2556). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01.pdf. สืบค้น 20 ธันวาคม 2560