นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ppt

Uploaded by

Watcharapol Wiboolyasarin

86% found this document useful (7 votes)

8K views

77 pages

Copyright

© Attribution Non-Commercial (BY-NC)

Available Formats

PPT, PDF, TXT or read online from Scribd

Share this document

Did you find this document useful?

Is this content inappropriate?

Report this Document

86% found this document useful (7 votes)

8K views77 pages

วิชาการศึกษาปฐมวัย ECED201

Uploaded by

Watcharapol Wiboolyasarin

Full description

นวัตกรรมการสอนที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

นายธนะ คุตไชยกุล

5144611227 ตอนเรียนบรรยายที่ี1

สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย


นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ppt


นวัตกรรมการสอนแนววิถีพุทธ : เข้าชมวันที่ 24 กันยายน 2554

ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บ

 เนื้อหาการสอนนี้เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยกล่าวถึง ระบบการศึกษาแนวพุทธ  ที่เกิดขึ้นจากการนำแนวคิด หลักการ ข้อธรรมะของพระพุทธเจ้า มาสู่การปฏิบัติเพื่อความเจริญงอกงามของทุกชีวิต เพื่อทำให้เกิดการรู้เข้าใจถึงความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติที่เป็นอยู่ แล้วจัดกระบวนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนบนฐานของธรรมชาติ โดยยึดหลักการเรียนรู้แบบไตรสิกขา

ไตรสิกขา คือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรม ศิล สมาธิ ปัญญา (กาย วาจา จิตใจ และปัญญา) ให้ดียิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน

             การเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา มี 3 ขั้น ได้แก่

๑. ขั้นปริยัติ  เป็นขั้นที่ทำให้เกิดความรู้ที่ดีจากภายนอก จากการแนะนำข่าวสาร  การถ่ายทอดจากผู้รู้ เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อน  หนังสือ

๒. ขั้นปฏิบัติ  เป็นขั้นปฏิบัติจริงตามหลักไตรสิกขา  ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดและปัญญา  โดยต้องคิดอย่างโยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำใจโดยแยบคายหรือคิดถูกวิธี  หรือที่เรียกว่า รู้จักคิด  หรือ คิดเป็น

๓. ขั้นปฏิเวธ  เป็นขั้นรู้จริงในสิ่งที่ศึกษา หรือ เรียกว่า รู้แจ้งในความเป็นจริงของสิ่งที่ทั้งหลาย สามารถขจัดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ได้

    นอกจากนี้การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลีกไตรสิกขา ยังต้องมีลักษณะของการบูรณาการ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการ กิน อยู่  ฟัง เป็น เพื่อเข้าใจคุณค่าที่แท้จริง ฝึกฝนการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม หรือจากปฏิบัติง่ายไปสู่ปฏิบัติยากตามลำดับ และเว้นสิ่งที่ควรละเว้น และเพิ่มพูนการปฏิบัติในสิ่งที่ควรปฏิบัติ  มีกัลยาณมิตรที่คอยชี้แนะแนวทางให้รู้จักคิด ใช้ปัญญาฝึกฝนไปทีละน้อยจนสามารถรู้จักผิดชอบชั่วดี 

ความคิดเห็น :

จากการทีได้ศึกษานวัตกรรมการสอนแนววิถีพุทธในเว็บไซต์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหากโรงเรียนใดนำหลักการและวิธีปฏิบัติตามแนวทางการสอนนี้ไปใช้ก็จะส่งผลดีมาก เพราะสังคมปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างต่างเร่งรีบไปเสียหมด บางคนขาดคุณธรรมในตนเอง เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการ นวัตกรรมการสอนแนวทางนี้จึงเป็นเหมือนเครื่องชี้นำของการศึกษาว่า สังคมไทยไม่ควรหลงลืมพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติที่ทุกคนควรรักษาไว้และพึงนำหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติตาม

            แต่อีกในแง่หนึ่งข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า หากนำนวัตกรรมการสอนนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสถานศึกษาจริงแล้ว โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน ว่านวัตกรรมการสอนแนวนี้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้จริง และบุคลากรทุกคนในโรงเรียนก็ควรปฏิบัติตนเป็นอบบอย่างที่ดี ควรจะต้องมีการฝึกอบรมอย่างจริงจัง เพื่อให้หลักธรรมเข้าไปซึมซับอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสถานศึกษาที่เพียงแค่มีกิจกรรมให้เด็ก สวดมนต์  ไหว้หระ หรือนั่งสมาธิเท่านั้น ดังนั้นเว็บไซต์จึงเป็นเพียงแค่หลักการและแนวคิด ดังนั้นหากผู้ที่สนใจนวัตกรรมการสอนแนวนี้ก็ควรศึกษาและนำไปทดลองใช้หรือการปฏิบัติจริงต่อไป

นวัตกรรมการสอนแบบโครงการ : เข้าชมวันที่ 24 กันยายน 2554

ข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บ :

         เนื้อหาการสอนนี้เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยกล่าวถึง

 นวัตกรรมทางการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัส และการลงมือปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้ในลักษณะที่เด็กเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้แบบเด็กสร้างองค์ความรู้ ด้วยกระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และเด็กสรุปความรู้ด้วยตนเอง เด็กจะได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าที่หลากหลายตามหัวเรื่องที่ เด็กสนใจ การสืบค้นข้อมูลดังกล่าวอาจทำเพียงคนเดียว หรือ อาจทำเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือทั้งชั้นร่วมกันทำเพื่อให้เกิดเป็นกระบวนการสืบค้นขึ้นมา

            การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจสังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาสืบค้น หาข้อมูล ความรู้ที่จำเป็นและนำเสนอต่อสาธารณชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงาน และประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมด

การสอนแบบโครงการจะมีกิจกรรม 5 วิธี

ในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 วิธี ประกอบด้วย

        ·       วิธีการอภิปราย ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกัน

และกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่

        ·        วิธีการศึกษานอกสถานที่ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำโครงการในระยะแรก ครูอาจพาไปศึกษา

นอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน จะช่วยให้เด็กมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้

ในหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ โดยถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของการศึกษาค้นคว้า

        ·       วิธีการนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กได้ทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการแสดงความ

คิดเห็น อภิปรายประสบการณ์ที่เหมือนหรือต่างกันกับเพื่อนๆ ตลอดจนแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นใน

หัวเรื่องนั้นๆ ซึ่งเด็กสามารถเสนอประสบการณ์เดิมให้เพื่อนได้รู้ โดยการวาดภาพ การเขียน การใช้

สัญลักษณ์ การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น

        ·        วิธีสืบค้น การสอนแบบโครงการ เปิดโอกาสให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลาย ตามหัวเรื่องที่สนใจ

โดยเด็กสามารถสอบถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว เพื่อน วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้

ในหัวเรื่อง หรือสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด

        ·        วิธีการจัดแสดง สามารถทำในหลายรูปแบบ อาจจัดเป็นป้ายแสดงผลงานของเด็ก การแลกเปลี่ยน

ความคิด ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการสืบค้น

ความคิดเห็น :  

        ในเว็บไซต์นี้ทำให้รู้ว่า สิ่งที่สำคัญของนวัตกรรมการสอนแบบโครงการคือการให้เด็กเลือกเรียนในสิ่งที่เด็กสนใจ ดังนั้นจึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดการเรียนรู้ว่า ก่อนจะเกิดกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กเช่นนั้นได้ ครูต้องมีความรู้และทักษะรอบด้าน เป็นบุคคลที่ยืดหยุ่นและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ เพราะการเรียนรู้แบบโครงการ มักพบเจอสิ่งแปลกใหม่และไม่คาดคิดเสมอ ครูต้องระมัดระวังในการใช้คำพูดและคำถาม ที่ไม่ชี้นำคำตอบให้แก่เด็ก และควรเป็นคำถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด


นวัตกรรมการสอนแบบใช้วรรณกรรมเป็นฐาน : เข้าชมวันที่ 24 กันยายน 2554 

ข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บ :

          เนื้อหาการสอนนี้เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยกล่าวถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมที่มีคุณภาพมาใช้เป็นสื่อหลักในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความสอดคล้องของหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้แก่ผู้เรียน เป็นแนวการสอนที่มาจากทฤษฎี reader – responsetheory ซึ่งเป็น ทฤษฏีที่อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 ซึ่งให้ความสำคัญกับการค้นหาความหมายจากการอ่านและตรวจสอบว่าเพราะเหตุใดผู้อ่านแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มจึงให้ความคิดที่แตกต่างกันในเรื่องที่อ่านเรื่องเดียวกัน ดังนั้นนักการศึกษาจึงนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้เพื่อตอบสนองในความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน รวมทั้งการใช้วรรณกรรมเป็นฐานในการสอนยังช่วยส่งเสริมภาษาอย่างครอบคลุมได้อีกด้วย

แนวทางการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน

        1.              อ่านวรรณกรรมให้เด็กฟัง (read aloud) โดยแนะนำชื่อเรื่องผู้แต่งและผู้วาดภาพ แล้วจึงอ่านให้เด็กฟังโดยใช้น้ำเสียง และท่วงทำนองที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง เพื่อให้เด็กได้รับอรรถรสของเรื่อง แล้วสนทนากับเด็กเพื่อเชื่อมโยงเรื่องราวกับชีวิตประจำวันของเด็ก

        2.              กระตุ้นเด็กสนทนาเกี่ยวกับตัวละคร วัตถุสิ่งของ ฉาก หรือ สถานการณ์การที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมกรรม โดยใช้คำถามหลายประเภท ทั้งความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การประเมินค่า และการสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กคำนึงถึงเรื่องราวที่ได้รับฟังมา ได้ไตร่ตรองและทบทวนเกี่ยวกับนิทาน ได้สำรวจความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับนิทานด้วย

        3.              วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำร่วมกับเด็กและผู้ปกครอง โดยถามความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้จากเด็กและผู้ปกครอง เพื่อออกแบบกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมที่จัดควรมีความหลากหลาย ท้าทายเหมาะสมกับวัย ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกิจกรรม 6 กิจกรรม โดยศิลปะและการละครเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดประสบการณ์ ระหว่างการจัดกิจกรรมในขั้นนี้ครูอาจอ่านวรรณกรรมให้เด็กฟังซ้ำเพื่อทบทวน หรือเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนได้ตามความเหมาะสมทั้งนี้ สิ่งที่ครูไม่ควรหลีกเลี่ยงเลยคือการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนให้สัมพันธ์กับเรื่องโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัด

        4.              ให้เด็กนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยครูทบทวนกิจกรรมที่จัดแล้วร่วมกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้จัดระบบความคิดด้วยการช่วยกันคัดเลือกสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้เกี่ยวกับวิธีการที่เด็กเรียนรู้ แล้วจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้

ความคิดเห็น :  

            เนื้อหาภายในเว็บไซต์นี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกชอบการสอนแบบวรรณกรรมเป็นฐาน เพราะจากประสบการณ์เดิมในวัยเด็กตนเองก็เป็นคนที่ชอบฟังนิทาน นิทานเล่มใดถูกใจก็มักจะซื้อเก็บสะสมไว้เสมอ รวมถึงที่ตนเองได้มีโอกาสนำนวัตกรรมการสอนที่ไปลงปฏิบัติการสอนจริงก็ทำให้เห็นขั้นตอนในการนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนให้สอดคล้องกับหน่วยของการสอนมากขึ้น

            แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่ายากหรือเป็นปัญหาสำหรับแนวนวัตกรรมการสอนนี้ คือการเลือกนิทานให้สอดคล้องกับหน่วยการสอนที่ได้รับ เพราะทำให้เกิดข้อจำกัดในการเลือกนิทานเป็นอย่างมาก สิ่งที่จะนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อไป หากต้องการนำนวัตกรรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอน ในฐานะครูข้าพเจ้าคิดว่าตนเองควรเสาะแสวงหานิทานเรื่องต่างๆมาอ่านให้มากขึ้น รู้จักการวิเคราะห์วรรณกรรมว่าวรรณกรรมใดมีคุณค่าและเหมาะกับเด็กอย่างแท้จริง เมื่อมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับนิทานดีแล้วการนำนิทานมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนการสอนก็จะไม่เป็นปัญหาต่อไป


นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ppt


นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป : เข้าชมวันที่ 24 กันยายน 2554

ข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บ :

            เนื้อหาการสอนนี้เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยกล่าวถึง นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา

            นวัตกรรมการสอนแบบไฮสโคป จึงเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้

ความคิดเห็น : 


            เนื้อหาภายในเว็บไซต์นี้ ทำให้รู้ว่า  นวัตกรรมไฮสโคป มีจุดเน้นในเรื่องของการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนกระบวนการ หรือที่เรียกกันว่า Plan Do Review  คือ เริ่มจากการวางแผน เด็กได้มีอิสระในการเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจที่สุด  โดยที่เด็กไม่จำเป็นต้องเข้าทำกิจกรรมที่ครูจัดทั้งหมด แต่สามารถเลือกทำเฉพาะกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้   และการที่เด็กได้มีอิสระในการเลือกทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและมีความสุข  และไม่เหนื่อยเกินไปสำหรับเด็กที่จะต้องทำกิจกรรมทั้งหมดในวันเดียว  นอกจากนี้ยังจะช่วยให้เด็กได้รู้จักการวางแผน การเริ่มต้นของการทำงาน การรู้ตนเองว่าต้องการที่จะทำอะไร ยอมรับกับการตัดสินใจของตนเอง ปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักการวางแผนที่ดี ต่อมาคือการปฏิบัติตามกิจกรรมที่ตนเองเลือก  เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเด็กก็สามารถไปทำกิจกรรมอื่นๆ ต่อได้ และลำดับสุดท้าย คือ การทบทวน การประเมินถึงสิ่งที่ได้ลงมือทำ ทั้งผลงานในแต่ละกิจกรรม และกระบวนการการทำตามแผนที่ได้วางไว้ เด็กจะได้ออกมานำเสนอผลงานของตนเองตามกระบวนการในขั้นตอนนี้

            ข้าพเจ้าคิดว่านวัตกรรมการสอนนี้ทำให้เด็กการเกิดเรียนรู้ในแต่ละอย่าง อย่างมีความหมาย เพราะเด็กได้เป็นทั้งผู้เลือก ผู้ทำ และผู้ทบทวน ในส่งที่เขาสนใจจริงๆ ข้าพเจ้าเชื่อจะสามารถพัฒนาให้เด็กมีการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอนมากขึ้น และการคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  และการยอมรับในการตัดสินใจของตนเองไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรนั้น  จะเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตให้อยู่ร่วมในสังคมต่อไปได้


นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย ppt


นวัตกรรมการสอนแบบวอลดอร์ฟ : เข้าชมวันที่ 24 กันยายน 2554

ข้อมูลที่เกี่ยวกับเว็บ :

            เนื้อหาภายในเว็บไซต์นี้ ทำให้รู้ว่าการศึกษาวอลดอร์ฟ คือการช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตน แต่มนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนไม่ได้ถ้าเขายังไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆหลายส่วนในตนเองด้วยเหตุนี้การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญาเน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิด

            ดังนั้น การศึกษาวอลดอร์ฟจึงมุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะนั่นเอง

หลักการจักการศึกษา

            การศึกษาต้องพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ด้วยการพัฒนาให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมการสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญา เห็นสัจธรรมและความจริงในโลก ต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กันโดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย(ลงมือกระทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด ) โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

1. การทำซ้ำ ( Repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย
2. จังหวะที่สม่ำเสมอ( Rhythm )กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะสม่ำเสมอเหมือนลมหายใจเข้า – ออก ยามจิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
3.ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง (Reverence) กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆจะเป็นแก่นของจริยธรรมตลอดชีวิตของเด็ก

ความคิดเห็น : 

     เว็บไซต์นี้ ทำให้ข้าพเจ้าชื่อชอบนวัตกรรมการสอนแนวทางนี้เป็นอย่างมาก เพราะดูมีความละเอียดละออและใส่ใจในรายละเอียดทุกสภาพท่าล้อมรอบตัวเด็ก และโดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าเป็นคนที่รักและชื่นชอบบรรยากาศในธรรมชาติด้วย  สิ่งที่ได้เรียนรู้จากแนวนวัตกรรมนี้คือ ข้อจำกัดในการกลุ่มของผู้เรียนซึ่งดูจะเป็นลักษณะเฉาะตัวมากกว่าแนวนวัตกรรมการสอนอื่นๆ ข้าพเจ้าสังเกตว่าเด็กๆส่วนใหญ่ที่มาเรียนตามแนวนวัตกรรมการสอนนี้ มักเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้ย้อนดูว่าระบบการศึกษาของไทยในตอนนี้คงจะสอดคล้องกับแนวนวัตกรรมนี้เท่าใดนัก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชอบและชื่นชมแนวนวัตกรรมนี้อย่างมาก ทำให้เรียนรู้ว่า หากเราต้องการทำอะไร จงยืดหยัด อุปสรรคมีไว้ให้เราแก้ไข หากข้าพเจ้ามีโอกาสเปิดโรงเรียนของตนข้าพเจ้าก็ต้องการจะนำพาโรงเรียนมาตามแนวทางนี้ โรงเรียนที่เป็นเสมือนบ้านสำหรับเด็ก เน้นพัฒนาความพร้อมของเด็กไปสู่ชีวิตแห่งการเรียนรู้ต่อไป