หน้าที่ของรัฐด้านสิทธิมนุษยชน

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชน แห่งชาติ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
(๒) รับคำร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ และดำเนินการสืบสวนหรือตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องที่มีการยื่นคำร้องตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๓) ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ
มนุษยชน
(๔) ประสานงานกับหน่วยราชการ องค์การเอกชน หรือองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

สำนักบริหารกลาง
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ งานพิธีการ งานรักษาความปลอดภัย งานช่วยอำนวยการ ฝ่ายเลขานุการของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ งานทรัพยากรบุคคล จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี บริหารงบประมาณและแผนการเงิน ดำ เนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการพัสดุ เสนอความเห็นด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศและคำสั่ง งานนิติกรรมสัญญา จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆ
การแบ่งส่วนราชการของสำนักบริหารกลาง แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
๒. กลุ่มงานบริหารงานทรัพยากรบุคคล
๓. กลุ่มงานคลังและพัสดุ
๔. กลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์
๕. กลุ่มงานนิติการ

สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
การรับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน แก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเบื้องต้น ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อให้การคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ผู้ถูก ละเมิดสิทธิ สืบสวน สอบสวนและตรวจสอบ เพื่อหาข้อมูล ข้อเท็จจริงและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องร้อง ตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมและระงับข้อพิพาท พร้อมทั้งจัดทำข้อตกลงระหว่างคู่กรณี จัดทำรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การแบ่งส่วนราชการของสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน ดังนี้
๑.ฝ่ายช่วยอำนวยการ
๒. กลุ่มงานประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๓. กลุ่มงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๑
๔. กลุ่มงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๒
๕. กลุ่มงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๓
๖. กลุ่มงานตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๔

สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกตามหลักสิทธิมนุษยชน การเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของทุกภาคส่วนในสังคม ผลักดันให้เกิดการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนรวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย พัฒนามาตรการและกลไก เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการปกป้อง คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประสานการพัฒนาระบบเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนชุมชน ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีแก่สาธารณชนในบทบาท ภารกิจและกิจกรรมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผลิตสื่อ รณรงค์ และเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
การแบ่งส่วนราชการของสำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
๑.ฝ่ายช่วยอำนวยการ
๒. กลุ่มงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
๓. กลุ่มงานประสานงานเครือข่าย
๔. กลุ่มงานสารนิเทศ

สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
การสนับสนุนบทบาทและภารกิจด้านการต่างประเทศ ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบายและมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ ติดต่อประสานความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนกับองค์การสหประชาชาติ และองค์กร/สถาบันต่างๆ ศึกษา วิเคราะห์และรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในประเทศและภูมิภาค
การแบ่งส่วนราชการของสำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
๑.ฝ่ายช่วยอำนวยการ
๒. กลุ่มงานสนับสนุนกิจการต่างประเทศ
๓. กลุ่มงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
๔. กลุ่มงานพันธกรณีและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

สำนักวินิจฉัยและคดี
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
การจัดระบบงานและดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องจากผู้ร้องเรียน เพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อวินิจฉัยเงื่อนไขการฟ้องคดีและมูลคดี ดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมและระงับข้อพิพาทระหว่าง คู่กรณีหรือคู่ความก่อนเสนอเรื่องต่อศาลปกครองหรือฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม
การแบ่งส่วนราชการของสำนักวินิจฉัยและคดี แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ดังนี้
๑. ฝ่ายช่วยอำนวยการ
๒. กลุ่มงานคดีรัฐธรรมนูญ
๓. กลุ่มงานคดีปกครอง
๔. กลุ่มงานคดียุติธรรม
๕. กลุ่มงานประสานคดีและพัฒนางานคดี

กลุ่มงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
วางแผนการตรวจสอบและจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูล และประเมินผลด้านการบริหารและการปฏิบัติงานของส่วนราชการภายในสำนักงาน

กลุ่มงานอำนวยการกิจการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ
อำนวยการและประสานราชการประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ งานเลขานุการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศึกษา วิเคราะห์ กลั่นกรองในเรื่องและปัญหาต่าง ๆ พร้อมเสนอความเห็นตามที่ได้รับมอบหมาย ติดตามและประสานงานการจัดเตรียมเอกสาร ข้อมูล ประเด็นการประชุม การพบหารือ คำกล่าว และอื่น ๆ ของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ติดตามและประสานการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ