หน่วยความจำชนิดใดเก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง

RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

ความเร็วของ RAM คิดกันอย่างไร
ที่ตัว Memorychip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Accesstime คือ เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data busได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก

DDR และ BUS ของแรม

DDR ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลของคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยปัจจุบันตัวแรมมี DDR อยู่ 4 รุ่นแต่ที่ยังคงใช้กันอยู่จะเป็น DDR3 และ DDR4 ในส่วนของแรม DDR3 นั้นถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2007 ก่อนถูกแทนที่ด้วยแรม DDR4 ในปี 2017 และในอนาคตก็จะมีแรม DDR5 เข้ามาแทน BUS ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์และด้วยตัวเลขที่เห็นอย่าง 1333Mhz ,2400Mhz หรือ 3600Mhz นั้นคือค่าความเร็วในการรับส่งสัญญาณข้อมูลไปยัง CPU และยิ่งเราใช้แรมที่มีบัสสูงๆความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

Single Channel และ Dual Channel

คือการทำงานของแรมแบบเดี่ยวและแบบคู่ซึ่งหลายคนอาจคิดว่ามันไม่ต่างกัน แต่ความจริงแล้วการทำงานของแรมคู่นั้นดีกว่า โดยการทำงานของ Ram ที่สเปคใกล้เคียงกันแรมแบบ Dual Channel จะทำงานได้ดีกว่าแบบ Single Channel เสมอเพราะการทำงานของ CPU กับ Ram ต้องสัมพันธ์กันคือ Ram จะเป็นตัวพักข้อมูลก่อนส่งข้อมูลไปประมวลผลต่อยัง CPU การใช้แรมตัวเดียวทำให้ข้อมูลไปกระจุกอยู่ในช่องทางเดียว ต่างจากแรมคู่ที่การส่งถ่ายข้อมูลทำเป็นคู่ทำให้ข้อมูลไม่ได้กระจุกตัวการทำงานจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Ram Computer และ Ram Notebook ต่างกันอย่างไร

หลายคนอาจสงสัยว่าแรมคอมพิวเตอร์กับแรมโน้ตบุ๊คสามารถนำมาใส่แทนกันได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ด้วยขนาดที่แตกต่างกันทำให้ไม่สามารถนำมาใช้งานแทนกันได้ โดยแรมโน้ตบุ๊คจะมีขนาดที่เล็กกว่าใช้สถาปัตยกรรมขนาดเล็กต่างจากแรมคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ในเรื่องของราคาเองก็ต่างกันด้วยแรมโน้ตบุ๊คมีขนาดเล็กทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่สูงกว่าราคาจึงแพงกว่าแรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย

และมาทำความรู้จักRomและRamใน กล่องแอนดรอย ( Android Box)กันที่ใช่ ใน มือถือยุคปัจจุบัน

ความสำคัญของ Rom และ Ram ใน Android Box 

เชื่อว่าหลายคนก็เคยสับสนกับการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเปกของ android box ที่คุณสนใจ ซึ่งหลายคนอาจจะงงกับคำว่า แรม (RAM), รอม (ROM)  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องตรวจสอบ แล้วเราเข้าใจเกี่ยวกับ 2 คำนี้มากเท่าไร ก็จะสามารถเลือกซื้อแอนดรอยได้เหมาะกับความต้องการได้ครับ บทความนี้เราจะมาอธิบายและขยายความให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง แรม (RAM) รอม (ROM) 

ขอบคุณข้อมูล https://www.advice.co.th/

Author: tmtyai

Posted by Unknown on 6:55 AM with 1 comment

Rom และ Ram คืออะไร

Ram <Random Access Memory>

แรม เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น สามารถเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น หากไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปทันที

    หน่วยความจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ โดยหน้าที่ของ หน่วยความจำหลักแรมแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

  1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้า เพื่อรอประมวลผล
  2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลระหว่างประมวลผล
  3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
  4. Program Storage Area เป็นส่วนเก็บชุดคำสั่ง เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติคำสั่ง

  แรมหลายชนิดข้อมูลจะหายไปหากปิดเครื่อง แต่ปัจจุบันมักเก็บข้อมูลบิตในรูปของประจุไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ

Ram

Rom <Read Only Memory>

รอม เป็น หน่วยความจำถาวร ที่เก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ได้แม้ว่าจะไม่มีประจุไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงก็ตาม จุดประสงค์หลักๆของรอมคือการเก็บข้อมูลสำคัญๆไว้ เพื่อป้องกันการถูกเล่นงานจากไวรัส

รอม มีหลายประเภทดังนี้

  1. PROM ( พีรอม ) คือหน่วยความจำที่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้

  2. EPROM ( เอ็ป รอม ) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมใหม่ได้  หน่วยความจำนี้แบ่งย่อยได้อีก   2ประเภท คือ UV PROM และ EEPROM

  3. EEPROM ( เอ็ปอี รอม ) เป็นหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวแบบโปรแกรมและลบได้

หน่วยความจำชนิดใดเก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
 Rom

ความแตกต่างระหว่าง Rom และ Ram

รอม เป็นหน่วยความจำบันทึกข้อมูลตายตัว ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แม้จะไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง แต่ข้อมูลก็ยังอยู่ครบไม่หายไป

แรม เป็นหน่วยความจำที่เปรียบเสมือนสมุดจดบันทึก เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ขยายความจุได้มาก แต่ข้อมูลจะหายไปเมื่อปิดเครื่องหรือไฟดับ