เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เหม็นอาหาร

อาการเครียด ดูเหมือนจะเป็นอาการประจำตัวของคนในยุคนี้ที่ในแต่ละวันพบเจอปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องเรียนและชีวิตส่วนตัว จนเกิดเป็นความเครียดสะสม บางคนสามารถปล่อยวางความเครียดได้ทัน แต่บางคนสะสมความเครียดจนมีอาการปวดท้องและคลื่นไส้ หรือที่เรียกกันว่า เครียดลงกระเพาะ

ระบบทางเดินอาหารกับความเครียด

เรามักได้ยินว่าโรคกระเพาะเกิดขึ้นจากการกินอาหารไม่เป็นเวลาหรือการกินอาหารรสจัด แต่ในระยะหลัง ๆ คนที่กินอาหารเป็นเวลาก็เป็นโรคนี้ได้เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดสะสมมากๆ ร่างกายจะสั่งให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนกัดกระเพาะเกิดเป็นอาการปวดท้อง นอกจากนั้นความเครียดยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารในอาการแบบอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ลำไส้อักเสบ หรือแม้แต่อาหารไม่ย่อยก็เกิดจากความเครียดได้เช่นเดียวกัน

Show

เครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่เป็นการสั่งการของสมองนั่นเอง

อาการต้องรู้

โรคกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุจากความเครียดมีอาการเหมือนกับโรคกระเพาะที่เกิดจากการกินอาหารผิดเวลา โดยอาการที่มักพบได้บ่อยๆ  คือ

  1. คลื่นไส้อาเจียน เสียดทรวงอกหลังกินอาหาร

  2. ปวดแสบบริเวณช่องท้องและลิ้นปี แต่จะหายเมื่อได้กิน

  3. ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก

  4. เรอบ่อยๆ มีกลิ่นเหม็นน้ำย่อย เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์

  5. อาเจียนหรือขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือมีสีดำ บ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร รีบพบแพทย์ด่วน

 

สัญญาณเตือนเมื่อเครียดเกินไป

บ่อยครั้งที่คนเรามักเครียดโดยไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ร่างกายกำลังบอกว่าเครียดมากเกินไป

  • หายใจเร็ว รูจมูกขยาย จากการที่ปอดขยายตัวสร้างออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อมากขึ้น ต้องการช่องทางเดิน อากาศที่กว้างมากขึ้น

  • ขนลุก เนื่องจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว

  • อยากอาหารมากกว่าปกติ เนื่องจากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้ร่างกายถูกกระตุ้นจนอยากอาหาร

  • คลื่นไส้ เนื่องจากการทำงานของกระเพาะและลำไส้หยุดลง กรดในกระเพาะจึงเพิ่มขึ้น รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ นอนไม่หลับ

 

วิธีรักษาโรคเครียดลงกระเพาะ

แม้โรคเครียดลงกระเพาะอาหารมักเป็นแบบเรื้อรัง แต่หากดูแลรักษาตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถหายขาดได้ ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  1. กินอาหารให้เป็นเวลาและครบ 3 มื้อ

  2. เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารย่อยยาก ของทอด ของดอง

  3. งดสูบบุหรี่ งดน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาทิ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  4. ออกกำลังกาย กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินช่วยคลายเครียด อารมณ์สดใสขึ้น

  5. ทำกิจกรรมคลายเครียด ให้ร่างกายได้ปลดปล่อยความเครียด ลดอารมณ์แปรปรวนต่างๆ

เครียดได้ก็คลายได้ เมื่อเริ่มมีอาการที่ทำให้รู้สึกเครียดสิ่งที่ต้องทำคือ การผ่อนคลายความเครียด ซึ่งทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพักจากสิ่งที่ทำ หากิจกรรมคลายเครียดต่าง ๆ หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ออกกำลังกาย หรือแม้แต่พูดคุยกับบุคคลต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงจิตแพทย์ด้วย นอกจากนั้นการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ที่บ้าน ที่ทำงานให้น่าอยู่ก็ช่วยให้ความเครียดลดน้อยลงได้เช่นเดียวกัน

โหลดเพิ่ม

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :SOOK Magazine No.71

ภาพ :iStock

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เหม็นอาหาร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เครียดลงกระเพาะความเครียดกระเพาะอาหารระบบทางเดินอาหารระบบย้อยอาหารโรคเครียดปวดท้องแสบท้องสุขภาพกายรู้ทันโรคดูแลสุขภาพสุขภาพความเสี่ยงอันตรายโรค

เมื่อคุณเข้าใจ คุณก็จะกลัวน้อยลง อาการแพ้ท้องมี 3 ระดับ และระดับที่มากสุดที่พบไม่บ่อยนัก ที่แม่หลายคนอาจเกิดความกังวล เกิดจากระดับฮอร์โมนที่ชื่อว่า "HCG" (Human Chorionic Gonadotropin) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้คุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้

  • จิตใจอ่อนไหว เครียด วิตกกังวลง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • ประสาทรับกลิ่นมีความไวมากขึ้น เช่น เหม็นอาหาร เหม็นกลิ่นต่างๆ
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลียง่าย
  • เบื่ออาหารที่เคยทาน แต่อยากทานอาหารแปลกๆ

เมื่อไหร่ถึงจะหายอาการแพ้ท้อง

สำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องต่างๆ เช่น รู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย หรืออาเจียนเป็นบางครั้งคราว ไม่ต้องกังวล เพราะอาการแพ้ท้องเหล่านี้จะหายไปเมื่อมีอายุครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน แต่หากพบว่า มีอาการแพ้ท้องที่หนักกว่านี้ เช่น อาเจียนบ่อย จนคออักเสบ และพบว่าตัวเองไม่สามารถกินอะไรได้เลย ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

5 วิธีบรรเทาอาการแพ้ท้อง

  1. ทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยมื้อ และมีของว่างที่มีประโยชน์เก็บไว้ทานเวลาหิว เช่น ถั่วหรือธัญพืช ขนมปังกรอบและโยเกิร์ต
  2. กินอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ และของคาวจะดีที่สุด
  3. ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยการทานอาหารที่มีโปรตีน หรือคาร์โบไฮเดรตสูงร่วมกัน เช่น ไข่สุก และขนมปังปิ้ง
  4. ดื่มน้ำอุ่นมากๆ และอาจดื่มน้ำขิงหรือชาขิงที่จะช่วยลดอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้ พักผ่อนให้มาก ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส ไม่ควรกังวลและเครียด
  5. หลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่หวานเพื่อแก้อาการวิงเวียน คลื่นไส้ เช่น บิสกิตหรือขนมปังกรอบ และอาจนอนพักสัก 20-30 นาที ก่อนลุกจากเตียง

นอกจากนั้น พ่อแม่ควรเข้าใจว่า อาการแพ้ท้อง เป็นเรื่องธรรมชาติที่มากับการตั้งครรภ์ มันจึงไม่สามารถจะป้องกันอะไรได้ เพราะอาการแพ้ท้องเป็นอาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของแม่ตั้งครรภ์ แต่อย่างน้อย แม่สามารถบรรเทาอาการให้น้อยลงได้ ด้วยวิธีเช่น ผักผ่อนมากๆ ให้เพียงพอ อย่าเครียดง่าย พยายามเพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้มาก และงดอาหารมัน เช่น อาหารทอด อาหารผัด อย่าทานครั้งละมากๆ แต่ให้ทานบ่อยๆ แทน และงดของต้องห้ามของคนท้องทุกอย่าง เช่น เหล้า บุหรี่

อาการแพ้ท้องระดับที่ 1 แบบเบาๆ

อาการ Morning Sickness พบได้ในคนท้องส่วนมาก คือเป็นกันมากที่สุด เป็นอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะระดับเล็กน้อย มาเป็นครั้งคราว และอาการพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นในตอนเช้า ส่งผลให้ไม่ค่อยเจริญอาหาร และอาจมีการอาเจียนบ้างเป็นครั้งคราว ไม่บ่อย ถือเป็นอาการปกติธรรมชาติของคนท้องทั่วไป ไม่ควรกังวลใดๆ ควรลดอาการแพ้ท้องนี้ด้วยการดื่มน้ำอุ่นจัด ๆ เป็นประจำ หรือทุกครั้งเมื่อรู้สึกคลื่นไส้ และกินอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ และของคาวจะดีที่สุด

อาการแพ้ท้องระดับที่ 2 ระดับกลาง (ต้องพบแพทย์)

ในการแพ้ท้องระดับ 2 นี้ คนท้องจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจถึงระดับที่รับประทานอาหารยาก แม้พักผ่อนเพียงพอ แต่อาการอาจไม่ดีขึ้นเลย พบว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์ พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการแพ้ท้องระดับที่ 3 Hyperemesis Gravidarum (HG)(ต้องพบแพทย์)

อาการแพ้ท้องระดับที่หนักที่สุด คือระดับ 3 นี้ที่จะพบน้อยมากที่สุด อาการคือ คนท้องจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย คลื่นไส้หนัก และอาเจียนอย่างหนัก แทบจะตลอดเวลา ถึงขนาดทำให้ร่างกายขาดน้ำ บางคนอาจเลือดปนมากับอาเจียน พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที อาการแพ้ท้องในระดับนี้ โดยทั่วไป ร่างกายจะแสดงอาการอย่างเร็ว และยังจะกินระยะเวลาการแพ้ท้องนานกว่าคนท้องทั่วไปอีกด้วย

ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการแพ้ท้องในระดับ 3

  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด
  • คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

ระยะเวลาเริ่มมีอาการแพ้ท้อง

ส่วนมาก อาการแพ้ท้องมักเป็นกันในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งท้อง ถ้าเป็นผู้ที่มีอาการแพ้ท้องเร็ว อาจจะเริ่มมีอาการในช่วงที่รู้สึกว่า รอบประจำเดือนมาช้า มีหลายกรณีที่มีอาการแพ้ท้องตั้งแต่ประมาณ 4 สัปดาห์จนถึงประมาณ 15 สัปดาห์ และช่วงเวลาที่จะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ ที่จะทรมานที่สุดจะเป็นช่วง 8-9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่อย่าลืมว่า ช่วงเวลาของการแสดงอาการแพ้ท้องจะไม่เหมือนกันในแต่ละคน และบางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย หรือไม่เป็นเลยก็มีเช่นกัน

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหารเกิดจากอะไร

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอมหายใจไม่ทั่วท้อง เกิดจากความเครียด หรือร่างกายกำลังฟ้อง หากคุณมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอมหายใจไม่ทั่วท้อง อาจเป็นเพราะร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ด้วยอายุที่มากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคประจำตัว อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือหากอายุยังน้อยก็อาจมาจากโรคเครียด โรคแพนิก

เหม็นกลิ่นอาหาร เกิดจากอะไร

อาการเหม็นอาหารดังกล่าวมานั้น อาจเรียกว่าเป็นการคลื่นไส้ ชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจาก -กระเพาะอาหารอักเสบ อาจทำให้มีการคลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นท้องสัมพันธ์กับมื้ออาหาร รักษาด้วยการรับประทานยาลดกรด -กรดไหลย้อน คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนกลางอก แน่นอก รักษาด้วยการรับประทานยาลดกรด

อาการพะอืดพะอม เป็นยังไง

คลื่นไส้ (Nausea) คืออาการอึดอัดมวนภายในท้อง ทำให้รู้สึกอยากอาเจียน ซึ่งอาจอาเจียนออกมาหรือไม่ก็ได้ โดยอาการคลื่นไส้สามารถเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือเกิดอาการเรื้อรัง หากรู้สึกคลื่นไส้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียตามมาด้วย ทั้งนี้ คลื่นไส้คืออาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ สามารถเกิดได้จากปัญหาสุขภาพกาย เช่น โรคเกี่ยว ...

ทำไม ได้กลิ่นน้ำหอมแล้ว เวียนหัว

November 9, 2020 at 12:30 AM · ทำไมได้กลิ่นน้ำหอมฉุนๆแล้วเวียนหัว รู้มั้ยคะว่าน้ำหอมทั่วไปและน้ำมันหอมระเหยแตกต่างกันตรงไหน น้ำหอมเป็นกลิ่นจากสารเคมี สังเคราะห์เติมแต่งกลิ่นเข้าไปให้ได้กลิ่นหอม ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการบำบัด เมื่อใช้ไปนานๆอาจก่อผลเสียให้กับสุขภาพ เช่นวิงเวียน คลื่นไส้ จนไปถึงสะสมสารก่อมะเร็ง