แหล่งโบราณคดีแอ่งสกลนคร สิ่งที่พบ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ลุ่มน้ำสงครามตอนบน ถึงบริเวณที่ราบลุ่มรอบหนองหารหลวงเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีลำน้ำสายต่างๆหล่อเลี้ยงตลอดปี และมีหนองหารซุ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งเกลือสำคัญ ทรัพนากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันในนาม “วัฒนธรรมบ้านเชียง” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มีอายุตั้งแต่ช่วงยุคเหล็กตอนต้นมาจนถึงยุคเหล็กตอนปลาย

แหล่งโบราณคดีแอ่งสกลนคร สิ่งที่พบ

ชุมชนยุคแรกๆอยู่ในเขตบ้านโกย บ้านผักตบ อำเภอเมือง และในเขตตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ต่อมาชุมชนเริ่มขยายตัวไปยังบริเวณที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของหนองหาน กุมภวาปีในลุ่มน้ำปาว จังหวัดอุดรธานี และในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จนถึง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนอาจกล่าวได้ว่าพื่นที่ลุ่มน้ำสงครามตอนบนนั้นคือ แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง และตอมา ชุมชนได้ขยายตัวเข้าสู่บริเวณหนองหานกุมภวาปีในลุ่มน้ำปาว (จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบัน) และหนองหารหลวง ในลุ่มน้ำก่ำ (จังหวัดสกลนคร ปัจจุบัน)

แหล่งโบราณคดีแอ่งสกลนคร สิ่งที่พบ

จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่าเมื่อประมาณหมื่นปีที่ผ่านมา มนุษย์ในบริเวณนี้ใช้เครื่องมือตัดหรือสับเป็นแบบเดียวกันกับเครื่องมือหินหยาบที่ใช้ในยุโรป ประชากรยังมีจำนวนน้อยและใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน กระดูก และดินเผา เช่น ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแบบต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะและรูปแบบของโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และภาชนะดินเผาเชือกทาบ

จนกระทั่งอีกประมาณ 1,000 ปีต่อมา จึงเรื่มนำทองแดงมาทำเครื่องมือ เช่น ขวานทองแดง และยังพบว่าชุมชนแถบนี้มีความรู้เรื่องการทำสำริด เครื่องใช้และสิ้งประดิษฐ์อื่นๆ เช่น กำไล ลูกปัด

แหล่งโบราณคดีแอ่งสกลนคร สิ่งที่พบ

แหล่งโบราณคดียุคบ้านเชียงที่พบในจังหวัดสกลนครเป็นแหล่งขนาดใหญ่ และมีร่องรอยของโบราณวัตถุที่สะท้อนให้เห็นความสำคัญของแหล่งนั้นๆ เช่น โครงกระดูกของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์นี้ มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 ปีก่อนพุทธศักราช เป็นชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ , เครื่องปั้นดินเผา เนื้อเรียบ ลายขูดขีด ลายเชือกทาบ หรือลายเขียนสี , เครื่องมือเครื่องใช้ที่เปลี่ยนจากหิน มาใช้เครื่องมือโลหะผสมแบบสำริด

หลักฐานทางโบราณคดีบริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคอีสานตอนบน ในบริเวณที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” โดยมีแนวเทือกเขาภูพานเป็นแนวยาวทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ มีพื้นที่ราบอยู่ทางทิศตะวันออกลาดเอียงเข้าสู่ชายฝั่งแม่น้ำโขง สกลนครจึงนับว่าเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ต่อเนื่องมานับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ภาพสลักผาหินที่ถ้ำผายล หรือ ถ้ำผาลาย ถ้ำพระด่านแร้ง และภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผักหวาน นอกจากนี้ยังปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับภาชนะเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ตลอดจนเครื่องสำริด และเครื่องโลหะ ซึ่งจากหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในจังหวัดสกลนครนี้เชื่อว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกันกับวัฒนธรรมบ้านเชียง และนอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำนวนมากตั้งแต่สมัยทวารวดีโดยมีการพบใบเสมาหิน พระพุทธรูปสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไปซึ่งอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะจากขอมเช่นปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบ้านพินนา ศิลาจารึกอักษรขอมที่วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารจากประวัติและหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดสกลนครดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในบริเวณพื้นที่นี้มีการทิ้งร้างไม่อยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ชุมชนนี้จึงได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาและมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอีกครั้งหนึ่ง

แหล่งโบราณคดีในแอ่งสกลนครคืออะไร

แหล่งโบราณคดีในบริเวณแอ่งสกลนครที่ได้รับการขุดค้นอีกหลายแห่ง เช่น บ้านเชียง บ้านแวง บ้านอ้อมแก้ว และบ้านหนองสระปลา ฯลฯ ได้ทำให้ความเข้าใจในพัฒนาการของสังคมในบริเวณนี้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการขุดค้นที่บ้านเชียง ไวท์ (WHITE 1982.23-28) แบ่งช่วงพัฒนาการของชุมชนบ้านเชียง จากลักษณะของการฝังศพ และภาชนะดินเผาออกเป็น 3 สมัยคือ

แอ่งสกลนคร มีอะไรเป็นลักษณะเด่น

แอ่งสกลนคร เป็นการแบ่งโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูมิศาสตร์ โดยแอ่งสกลนครจะอยู่ในโซนอีสานตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ทิศเหนือจะมีแม่น้ำโขงกันขอบเขต ทิศตะวันตกกั้นด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชี้ชัดว่าภายใน แอ่งสกลนครนี้ มีมนุษย์อาศัย ...

แอ่งโคราช แอ่งสกลนคร เกิดจากอะไร

ที่ราบสูงโคราชถูกแบ่งออกด้วยเทือกเขาภูพานที่เกิดจากโครงสร้างชั้นหินโค้งรูปประทุนลูกฟูก (anticlinorium) ที่มีแกนวางตัวอยู่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ส่วนทางด้านเหนือ เกิดแอ่งย่อยอุดร-สกลนคร และทางด้านใต้ เกิดแอ่งย่อยโคราช-อุบล แอ่งทั้งสองมีพื้นที่เอียงเทไปยังทิศตะวันออกและมีพื้นที่ราบเรียบ ซึ่ง ...

แม่น้ำในข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับแอ่งสกลนคร

-แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคในเขตจังหวัดเลย อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย สกลนคร บึงกาฬ และนครพนม ตอนเหนือและตอนตะวันออกของแอ่งมีแม่น้ำโขงเป็นขอบ ส่วนตอนใต้และส่วนตะวันตกมีเทือกเขาภูพาน ตัดผ่านแบ่งกั้นแอ่งสกลนครออกจากแอ่งโคราช