ปวดปัสสาวะบ่อย กระปิดกระปอย ปัสสาวะไม่สุด

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อย ระบบโครงสร้างของระบบปัสสาวะผิดปกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เป็นต้น

อาการใดบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?

  1. ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวันแบบกะปริบกะปรอย โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในเวลากลางคืน
  2. ปัสสาวะแสบขัด
  3. เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ
  4. ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือด

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำด้วยวิธีใดได้บ้าง?

  1. ซักถามประวัติการเจ็บป่วยและตรวจร่างกายพื้นฐาน
  2. การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว
  3. หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ
  4. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การส่งตรวจชิ้นเนื้อหรือการถ่ายภาพรังสี เป็นต้น

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษาอย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เกิดจากเชื้อโรคที่อยู่บริเวณปากช่องคลอด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อโรคมาจากทวารหนักเป็นสาเหตุสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีสภาวะที่อำนวย เช่น ความไม่สะอาดกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ โรคเบาหวาน และยังมีโรคในทางเดินปัสสาวะหลายโรคเอื้ออำนวยให้เกิด หรือเกิดร่วมกันกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

  • เพศหญิง มีท่อปัสสาวะสั้นมากเมื่อเทียบกับชาย เชื้อโรคที่อยู่บริเวณปากช่องคลอดจึงมีโอกาสคืบคลานเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่าจึงมักพบโรคนี้ในหญิงทุกวัยมากกว่าในชายโดยเฉพาะในหญิงวัยเจริญพันธุ์ในวัยหมดประจำเดือนและในหญิงสูงอายุเยื่อบุทางเดินปัสสาวะจะบางลงและความต้านทานโรคต่ำลง เกิดโรคนี้ได้ง่ายมากขึ้น
  • ในชายอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นปัจจัยทำให้ชายสูงอายุเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เท่าเทียมกับผู้หญิงสูงอายุ

ปวดปัสสาวะบ่อย กระปิดกระปอย ปัสสาวะไม่สุด

อาการเตือนโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการที่สำคัญ คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจบ่อยมากทุกๆ 1-2 ชั่วโมงหรือกระปริบประปรอย หรืออาจแสบขัดมาก จนไม่อยากถ่ายปัสสาวะแล้วแต่ความรุนแรงของโรค อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • ปัสสาวะไม่ค่อยสุดหรือมีปัสสาวะหยดหรือไหลซึมออกมาอีก
  • ปวดท้องน้อยตอนปัสสาวะสุด อาจปวดมากแบบบิดเกร็งหรืออาจปวดแบบถ่วงๆแบบเป็นๆหายๆหรืออาจรู้สึกปวดตลอดเวลา
  • พอรู้สึกปวดต้องไปรีบถ่าย บางครั้งกลั้นไม่ได้จนมีปัสสาวะเล็ดออกมา
  • ปัสสาวะปวดเบ่งหรือไม่ค่อยออก
  • ปัสสาวะมีเลือดหยดออกมาตอนสุดหรือมีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขุ่น
  • ต้องตื่นลุกขึ้นมาปัสสาวะเกิน 2 ครั้งขึ้นไปในคืนหนึ่งๆ

ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะอักเสบเล็กน้อยหรือเป็นแบบเรื้อรัง อาการดังกล่าวข้างต้น อาจมีเพียงเล็กน้อยจนผู้ป่วยไม่ได้สังเกตอาการหรืออาจเคยชินกับอาการเหล่านั้นและถ้าไม่ได้รับการรักษา และปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพชีวิตได้

การตรวจและวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

คนที่มีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่าง ถ้าตรวจพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะ ก็วินิจฉัยได้เลยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตรวจร่างกายอาจพบว่ากดเจ็บบริเวณท้องน้อย มีไข้ อาจตรวจพบการอักเสบบวมแดงหรือพบแต้มเลือดหรือพบเมือกขุ่นขาวที่ปลายท่อปัสสาวะ อาจจำเป็นต้องตรวจหาต้นเหตุอื่นๆที่เอื้ออำนวยหรือเกิด่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย

ปวดปัสสาวะบ่อย กระปิดกระปอย ปัสสาวะไม่สุด

โรคอะไรบ้างที่เอื้ออำนวยหรือเกิดร่วมกับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (ไต กรวยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ)
  • โรคประสาทกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานอย่างปกติ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะผิดปกติแต่กำเนิดแบบเรื้อรัง
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหย่อน
  • โรคมดลูกและกล้ามเนื้ออุ้มเชิงกรานหย่อนยาน
  • โรคกระเพาะปัสสาวะหรือหูรูดกระเพาะปัสสาวะเสื่อม
  • โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกินปกติ
  • โรคเยื่อบุช่องคลอดซูบแห้งในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • โรคมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ

ในผู้สูงอายุชายต้องคำนึงถึงโรคสำคัญของต่อมลูกหมาก 3 โรค คือ ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบและมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ให้ยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทั้งชนิดยา ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้
  • ให้ยารักษาอาการเช่น อาการปวด อาการเจ็บแสบ อาการปัสสาวะลำบาก
  • ให้ดื่มน้ำเสมอๆ วันละ 2-5 ลิตรต่อวัน (24 ชั่วโมง)
  • ให้รักษาอนามัยของร่างกายและอนามัยในกิจกรรมทางเพศ
  • ต้องติดตามตรวจปัสสาวะหลังให้ยารักษา (5-10 วัน)

พบเสมอๆ ที่อาการทุเลาหรือหายไปแล้วแต่การอักเสบยังมีอยู่หรือยังมีต้นเหตุที่เอื้ออำนวย หรือ เกิดร่วมกันอยู่ ซึ่งถ้าไม่คิดตามกำจัดโรค และต้นเหตุให้หายขาดอาจกลับเป็นซ้ำหรือกลายเป็นโรคเรื้อรัง เป็นผลเสียต่อสุขภาพชีวิตในบางรายโรคอาจลุกลามไปที่ไตซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะไตวายได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

มีอาการฉี่กระปิดกระปอยตอนท้ายสุดเวลาปัสสาวะ เหมือนปัสสาวะสุดแล้วแต่ไม่สุดจะสวมกางเกงแล้วฉี่ออกมาอีกทีละหน่อย และมีอาการคันหนังหุ้มปลายด้วย

ปวดปัสสาวะบ่อย กระปิดกระปอย ปัสสาวะไม่สุด
 พญ.นรมน

แพทย์

Jan 15, 2021 at 10:24 AM

สวัสดีค่ะคุณBest Thanutsit

อาการปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะไม่ค่อยสุด ปัสสาวะเล็ด คันหนังหุ้มปลายในเพศชายนั้น อาจจะเกิดจาก การมีท่อปัสสาวะอักเสบซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆเช่นหนองในแท้ หนองในเทียม หรือการมีท่อปัสสาวะได้รับบาดเจ็บเช่นเกิดหลังการใส่หรือถอดสายสวนปัสสาวะ หรือการมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วยได้

เบื้องต้นดื่มน้ำมากๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ งดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน และหากมีอาการต่อเนื่อง ปวดแสบร้อนมาก มีหนองไหลจากท่อปัสสาวะร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจปัสสาวะและตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มเติม 

ปวดฉี่กระปิดกระปอย เกิดจากอะไร

- เชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ มักเกิดตามหลังการกลั้นปัสสาวะหรือดื่มน้ำน้อย รวมถึงหลังการมีเพศสัมพันธ์ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีก้อนเนื้องอกที่มดลูกโตจนมาเบียดกระเพาะปัสสาวะ

ทำไมรู้สึกปวดฉี่ตลอดเวลา

สาเหตุแท้จริงนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายอย่างมากระตุ้นได้ เช่น อุปนิสัย เครื่องดื่มบางชนิด การใช้ชีวิต อย่างเช่นบางคนอาจมีภาวะที่ต้องกลั้นปัสสาวะอยู่เรื่อยๆ รวมถึงอาหารบางอย่างมีคุณสมบัติในการเร่งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีรสจัด โซดา อาหารที่รสจัด เครื่องเทศ วาซาบิ เป็นต้น

อาการเหมือนฉี่ไม่สุดเกิดจากอะไร

อาการปวดปัสสาวะไม่สุด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคประบบทางเดินปัสสาวะ เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่รวมเรียกว่า กลุ่มอาการของโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ซึ่งประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมากในผู้ชาย ความผิดปกติอื่นนอกจากอาการปวดปัสสาวะไม่สุดแล้ว อาจพบเรื่องของ อาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเร่งรีบ กลั้นปัสสาวะไม่ได้

ทํายังไงให้หายฉี่ขัด

การป้องกันปัสสาวะขัด ทำได้หลายวิธีคือ ป้องกันอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเวลาปัสสาวะได้ ทั้งยังช่วยเจือจางแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะและทำให้ขับออกมาได้ง่ายขึ้น ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดอาจใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)