เทียบ ระดับ ข้าราชการ ท้องถิ่นกับ ทหาร

การเทียบตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นกับข้าราชการพลเรือนสามัญ

  • [หน้าหลัก]
  • การเทียบตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นกับข้าราชการพลเรือนสามัญ

เทียบ ระดับ ข้าราชการ ท้องถิ่นกับ ทหาร

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบตำแหน่งอย่างอื่นเท่ากับการดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ

ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กรณีตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น

(แนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๙ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐)

---------------------------------------

1. กรณีตำแหน่งประเภททั่วไป และประเภทวิชาการ ให้เทียบการดำรงตำแหน่งเท่ากับตำแหน่งในประเภทและระดับที่ดำรงตำแหน่งอยู่
2. กรณีตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น และประเภทอำนวยการท้องถิ่น ให้เป็นไปตามตารางการเทียบตำแหน่งพนักงานส่วนท่องถิ่นในสายงานนักบริหารงานต่าง ๆ ดังนี้
 
ตารางการเทียบตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่นในสายงานนักบริหารงานต่าง ๆพนักงานส่วนท้องถิ่นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งระดับ

ประเภท

อำนวยการ

ประเภท

วิชาการ

ประเภท

ทั่วไป

ประเภทบริหารท้องถิ่น
ในสายงานนักบริหารงานท้องถิ่นสูงระดับสูง*ระดับเชี่ยวชาญ-กลางระดับต้น*ระดับชำนาญการพิเศษระดับอาวุโสต้น-*ระดับชำนาญการ**ระดับอาวุโส-*ระดับชำนาญการระดับชำนาญงานประเภทอำนวยการท้องถิ่นในสายงานนักบริหารงานต่าง ๆสูงระดับสูง*ระดับเชี่ยวชาญ-กลางระดับต้น*ระดับชำนาญการพิเศษระดับอาวุโสต้น-*ระดับชำนาญการ**ระดับอาวุโส-*ระดับชำนาญการระดับชำนาญงาน 
หมายเหตุ ::
* เฉพาะผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 หรือได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 โดยวิธีการสอบแข่งขัน
** เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับ 7 ทั้งนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนด
 
ดาวน์โหลดเอกสารแนบ
 
หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 9 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2560  [Click]

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  [Click]
 

ผู้เขียน : admin
โพสต์เมื่อ : 14 ต.ค. 2560
ป้ายกำกับ : หนังสือ หลักเกณฑ์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้



“โม้ใหญ่”! “อริสมันต์” คุยเป็นหัวหน้าจัดระเบียบสังคม สมัยทำสงครามกับยาเสพติด ลั่น รออีกไม่นานจะกลับมา “อดีตบิ๊ก ศรภ.” แนะ “กวาดล้าง” แต่อย่าทำแบบ “ทักษิณ” “ไตรรงค์” เสนอตั้งหน่วย ฉก. ปราบตัวการใหญ่

น่าสนใจเป็นอย่างยิง วันนี้ (9 ต.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก อริสมันต์ ของ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อดีตนักร้อง นักการเมือง และแกนนำเสื้อแดง โพสต์ข้อความระบุว่า

“ถึงพี่น้องชาวไทยที่รัก
ผมสงสารเด็กครับ
น้ำตาไหล ชีวิตบริสุทธิ์ต้องสูญเสีย จากฆาตกรยาเสพติด มันเกิดขึ้นในบ้านเราได้อย่างไร ถ้าวันนี้รัฐบาลมีอำนาจล้นฟ้า... ควรจะใช้อำนาจนี้จัดการยาเสพติดที่เต็มบ้านเต็มเมือง
ดูผู้นำประเทศฟิลิปปินส์
ดูเตอร์เต่ เขาต่อสู้กับการค้ายาเสพติดอย่างเข้มข้น เขาเท่มาก แต่รัฐบาลไทยแย่มาก เก่งแต่กับเด็กๆ สามนิ้วและคอยจับคนเสื้อแดง ทำได้แค่นี้แหละ

ผมนึกถึงวันที่ผมเป็นหัวหน้าทีมจัดระเบียบสังคม คอยตรวจฉี่นักเที่ยวกลางคืนทุกคืน

นึกถึงตอนประกาศสงครามกับยาเสพติด งานยากงานหนัก หนักใจมาก เพราะว่าบางครั้งเจอคนที่เรารู้จักด้วย แต่ช่วยไม่ได้ครับ เพราะยาเสพติดมันคือฆาตกรครับ เสียเพื่อนก็ต้องเสีย แต่เพื่อนเข้าใจ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการปกป้องเหยื่อเยาวชนที่มีมากถึง 22 ล้านคน ที่เป็นเป้าหมายของนักค้ายาเสพติด หน้าที่เราต้องทำให้สำเร็จให้ดีที่สุด

วันนั้นกลับวันนี้ต่างกันอย่างลิบลับ
เพราะพวกผม “ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ ปราบไม่ได้ ปราบไม่หมด” ถ้าทำไม่ได้จะมีคนอื่นมาทำแทนเราครับ ดั้งนั้น เปลี่ยนปัญหามาเป็นความท้าทาย ตราบที่เรามุ้งตั้งใจจะทำให้สังคมประเทศชาติประชาชน แล้ว เราก็ต้องทุมเททำให้สำเร็จ และแล้วเราก็ประกาศชัยชนะเหนือยาเสพติด แต่มันเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ยาเสพติด มันกลับมาพร้อมกับการยึดอำนาจมากับเผด็จการ มันทำให้เรารู้ว่า หน่วยงานทหารตำรวจ ราชการ ผู้มีอิทธิพล อยู่เบื้องหลังการค้ายาเสพติดของประเทศไทย

พี่น้องประชาชนที่รัก รออีกไม่นาน สงครามนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้ง และเราจะปราบปรามแบบมาราธอน ไม่มีวันหยุดพักผ่อนแม้แต่นาทีเดียว

เราจะทำด้วยกันครับ
ผมสัญญา”

เทียบ ระดับ ข้าราชการ ท้องถิ่นกับ ทหาร

ขณะเดียวกัน พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

“ยาบ้าไม่เหมือนยาเสพติดชนิดอื่น คือ เสพแล้ว แทบไม่มีทางรักษา บ้าแล้วบ้าเลย ส่วนประกอบของยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) นอกจากสารตั้งต้นอีเฟดรีนและกาเฟอีนแล้ว ในกระบวนการผลิต ยังมีสารเคมีที่จำเป็นต้องนำไปใช้ร่วมกัน เช่น สารเคมีในกลุ่มของอาเซติค ออกไซด์ (Acetyl oxide) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า เม็ดพลาสติก น้ำยาล้างห้องน้ำ ยากำจัดศัตรูพืช ฯลฯ รวมทั้งสารหนู (Arsenic) ด้วย

ซึ่งแน่นอนว่า สารเคมีเหล่านี้ เป็น pure toxic ต่อร่างกาย ดังนั้น เมื่อผสมเข้ากับเมทแอมเฟตามีน ซึ่งปกติก็ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างรุนแรงอยู่แล้ว เมื่อเสพเข้าร่างกายต่อเนื่อง ตัวยาเหล่านี้ จะค่อยๆ ไปทำลายสมอง ส่วนที่เก็บความทรงจำ ความคิด ทำลายระบบควบคุมอวัยวะต่างๆ และยังเป็นการทำลายแบบถาวร ไม่มีทางบำบัดรักษาให้กลับคืนมาเป็นปกติได้ ร่างกายอาจดูแข็งแรง แต่เซลล์ประสาทในสมองถูกทำลาย ซึ่งต่างจาก ยาเสพติดที่มาจากพืช ที่หากเสพในปริมาณเท่ากัน อาจสามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เมื่อได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องแล้ว นั้นหมายความว่ายาเสพติด ที่มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา เลิกแล้วอาจไม่บ้า แต่ “ยาบ้า บ้าแล้ว บ้าเลย”

นอกจากยาบ้าจะเป็นสารสังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีที่ง่ายต่อ การผลิต สามารถหาส่วนประกอบได้ทั่วไปแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่ ดื้อยาง่าย ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนเสพมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ผู้ค้าชอบมากด้วยดังนั้นยาบ้า นอกจากจะทำลายตัวเองแล้ว ยังเป็นการทำลายชาติ โดยตรงอีกด้วย เรียกว่า พลีทั้งชาติ พลีทั้งชีพยาบ้าอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในชื่อเรียกที่ต่างๆกัน และมาเริ่มระบาดหนักขึ้นตั้งแต่ประมาณปี 2520 เป็นต้นมา การเร่งรัดปราบปรามยาเสพติดนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

แม้ได้มีการทำต่อเนื่องมาแทบทุกรัฐบาล แต่ขอเถอะ อย่าทำแบบรัฐบาลคุณทักษิณ ที่ทำการปราบปรามยาเสพติดแบบมั่ว จนทำให้คนดีๆ เดือดร้อน มีคนบาดเจ็บล้มตายมากมาย ในขณะที่คนเลวๆ ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ดูแล้วช่างเป็นการปราบปรามแบบสองมาตรฐานเสียจริงๆ จนต่างประเทศต้องออกโรงมาตักเตือน”

เทียบ ระดับ ข้าราชการ ท้องถิ่นกับ ทหาร

ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน วานนี้ (8 ต.ค. 65) ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “#รัฐบาลจะปราบยาเสพติดได้อย่างไร” ว่า

“สืบเนื่องจากบทความที่ผมลงในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 เป็นบทความแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ฆาตกรรมเลือดเย็นที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ในจังหวัดหนองบัวลำภู และในบทความนั้นผมได้ฝากข้อความไปถึงนักการเมืองและข้าราชการ (เฉพาะกลุ่มที่แอบให้การสนับสนุนการค้ายาเสพติด) ว่า… นี่คือผลงานส่วนหนึ่งของพวกเขาหลังจากนั้นได้มีผู้อื่นได้แสดงความเห็นในลักษณะทำนองนี้อีกหลายท่าน เช่น พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ และ หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ฟังทุกฝ่ายตั้งความหวังให้รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ และตำรวจภายใต้การนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนใหม่ คือ พล.ต.อ.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ได้แสดงความ #เด็ดขาดเอาจริงเอาจัง กับการเอาชนะขบวนการค้ายาเสพติดที่นับวันจะมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ผมเป็นนักการเมืองเก่าแก่ที่รู้จักคนมากมายกระจายทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก และ กทม. มีคนกระซิบบอกตลอดเวลาเรื่องการแพร่หลายของยาเสพติด (โดยเฉพาะยาบ้า) และบางคนก็อุตส่าห์มาหาถึงบ้านพักที่กรุงเทพฯ เล่าให้ฟังว่าในท้องที่จังหวัดของเขา มีนักการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นรู้เห็นเป็นใจ และยังมีเจ้าหน้าที่ของรัฐคอยเก็บส่วยจากผู้ค้ายาเสพติดอีกด้วย...จะจริงหรือไม่จริง ผมก็ไม่กล้าฟันธง เพราะฟังความข้างเดียว ยังมีข้าราชการด้วยกันนินทาให้ผมฟังถึง การแต่งตั้งตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการบางเหล่า ยังติดยึดอยู่กับส่วยที่ลูกน้องจะแสวงหาส่งให้เจ้านายเพื่อซื้อตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่วยพวกนี้ก็มาจากการเก็บรวบรวมจากการรีดไถผู้ทำผิดกฎหมาย เช่นเจ้าของบ่อน เจ้าของซ่อง และผู้ทำผิดกฎหมายอื่นๆ เช่น ธุรกิจกลางคืน รวมทั้งพวกเครือข่ายการค้ายาเสพติดในพื้นที่ที่พวกเขารับผิดชอบ ยังไม่ต้องพูดถึงนักการเมืองในวันนี้นะครับ เอาเฉพาะการปราบมิให้มีการรับส่วยจากการค้ายาเสพติดและของผิดกฎหมายอื่นๆ ส่งให้เจ้านายเพื่อแลกกับตำแหน่งที่สูงขึ้นในทางราชการ เพียงแค่นี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องมีการทำกันอย่างจริงจังแบบเอาเป็นเอาตายกันเลย

คงถึงเวลาที่รัฐบาลต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ (คล้ายๆ DSI) แต่เป็นหน่วยงานที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ดีๆ มีอยู่อีกมาก เช่น ตำรวจสันติบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวกรองของทางทหาร สมช. และ ป.ป.ส. เพียงแต่ผู้นำขององค์กรใหม่ต้องเป็นคนประเภท เจอตอแล้วไม่ยอมถอย ไม่ว่าตอนั้นจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม!! ผมอยากได้คนที่มีอุดมการณ์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จริงๆ (ไม่ใช่พูดแต่ปาก คอยหลบอยู่ในที่กำบังเพียงเพื่อรักษาตัวรอดเป็นยอดดี) มาเป็นผู้นำองค์กร เพื่อสืบให้รู้ว่ามี #ตัวใหญ่ๆ ในหมู่ข้าราชการ คนใดบ้างที่หากินกับของผิดกฎหมายที่ทำลายชาติ ทุกวี่ทุกวันอยู่ในขณะนี้ ลากไส้มันออกมา แม้จะโยงไปถึงระดับนักการเมืองไม่ว่าในระดับใด ก็จะไม่มีวันถอยหรือก้มหัวให้กับมัน ทุกสถาบันทางราชการของชาติต้องสนับสนุนการทำงานขององค์กรนี้อย่างจริงจังจึงจะได้ผล

พูดก็พูดเถอะ ผมอยากได้คนอย่าง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ หรือ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หรือใครก็ได้ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันมาเป็นผู้นำองค์กรนี้ จะได้ลากไส้ตัวใหญ่ๆ ทั้งทางราชการและทางการเมืองที่แอบทำร้ายบ้านเมืองกันมานานพอสมควรแล้วให้มันจบๆ กันเสียที

ผมขอเรียนว่าความเห็นที่ลงในเฟซบุ๊กเป็น #ความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับพรรค ปชป.แต่อย่างใด”

แน่นอน, หลังเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่หนองบัวลำภู และพบว่า ผู้ก่อเหตุ หรือ อดีตตำรวจ มีประวัติเสพยาเสพติด มาตั้งแต่ก่อนเข้ารับราชการ กระทั่งปัจจุบัน จึงชวนให้น่าสงสัยว่า สาเหตุของการคลุ้มคลั่งอย่างรุนแรงครั้งนี้ มาจากยาเสพติดด้วยหรือไม่

ทำให้หลายฝ่าย รวมทั้งประชาชน เรียกร้องต้องการให้ปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง และทำอย่างไร จึงจะกวาดล้างเครือข่ายอิทธิพลยาเสพติด ที่มีคนมีสีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้

แต่บทเรียนของการปราบปรามอย่างจริงจัง ถึงขั้นทำสงครามกับยาเสพติด สมัยรัฐบาล “ทักษิณ” ก็คือ ปัญหาการ “ฆ่าตัดตอน” ทั้งผู้ค้ายาเสพติดฆ่ากันเอง การฆ่าตัดตอนไม่ให้สาวถึงตัวการใหญ่ ข้าราชการ นักการเมือง คนมีสี นอกจากนี้ ยังมีการวิสามัญฆาตกรรมอีกจำนวนมาก

โดยที่กลุ่มสิทธิมนุษยชน ทั้งในไทยและต่างประเทศ ชูตัวเลขเหยื่อกว่า 2,000 คน ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ เพียงแค่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า ค้ายาเสพติด ก็อาจถูกขึ้นบัญชีดำ และถูกตัดสินโดยศาลเตี้ย ที่ยังไม่มีโอกาสเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยซ้ำ

ทำให้เห็นได้ชัดว่า โอกาสที่ผู้บริสุทธิ์จะตกเป็นเหยื่อ หรือ ถูกใส่ร้ายป้ายสี ถูกยัดเยียดข้อหา และหรือ ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการล้างแค้นกันเองของคนทั่วไป นักการเมือง นักธุรกิจ ก็มีความเป็นไปได้

นี่เอง เมื่อพูดถึงการปราบปรามอย่างจริงจัง ซึ่งทุกคนเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ประเด็นก็คือทำอย่างไร “บทเรียน” ในอดีต จึงจะไม่เกิดขึ้น และทำอย่างไร “ผู้บริสุทธิ์” จะไม่เดือดร้อน ตกเป็นเหยื่อ และคนทำผิดกฎหมายจะต้องมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ถูกตัดสินด้วยศาลเตี้ย (วิสามัญฯ) หรือ “ฆ่าตัดตอน” คงไม่คุ้มที่จะเอาชีวิตคนไปแลก หรือไม่!?



  • นักการเมือง
  • ข้าราชการ
  • ตัวการใหญ่
  • ยาบ้า
  • กวาดล้าง
  • ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
  • สงครามกับยาเสพติด
  • พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์
  • นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
  • ยาเสพติด