ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information ดาต้า อิ ม ฟ อ เม ชัน

1. Hardware   คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง peripheral (เพอริพีรีว) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ , เครื่องพิมพ์,  ซีพียู , เมนบอร์ด, แรม, การ์ดจอ, ไดร์ฟ ดีวีดี, เคส, จอภาพ, คีบอร์ด, เมาส์ 2. Solfware  คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใด ๆ เนื่องจากต้องมี Software (ซอฟต์แวร์) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ 3.  บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์)   เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์) 4.ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน)  ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ อ้างอิง  sites.google.com

      ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Spesific Purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานฌฉพาะด้าน โดยส่วนใหญ่แล้วจะพัฒนาขึ้นเพื่อตอยสนองความต้องการใช้งานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝาก-ถอนเงินในธนาคาร โปรแกรมคำนวณของเจ้าหน้าที่การเงิน  เป็นต้น

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคตและการเลือกซื้อ
1องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ

  • องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ
  • Hardware (ฮาร์ดแวร์)
  • Software (ซอฟต์แวร์)
  • บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์)
ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน)

ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information ดาต้า อิ ม ฟ อ เม ชัน

2หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

 สำหรับการสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม จะทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้ต้องรู้ระดับการใช้งานของตนเอง เพื่อสามารถกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมได้ต่อไป การแบ่งระดับการใช้งาน คอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้

1. ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป

2. ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟฟิก (Graphic User) งานด้านกราฟฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ โฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆ ตัว เช่น โปรแกรม Photoshop , IIIustrator , CorelDraw , InDesign เป็นต้น 

ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information ดาต้า อิ ม ฟ อ เม ชัน

3วิธีการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์

ในที่นี้จะกล่าวถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer: PC) แต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้

๑) สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆรวมถึงการเล่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีสูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยา

๒) สำหรับการใช้งานด้านกราฟิกสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟิก งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมมีดังนี้

ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information ดาต้า อิ ม ฟ อ เม ชัน

4การดูแลและรักษายำรุงคอมพิวเตอร์

การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์

        1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาทีก่อนลงมือทำความสะอาด

        2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า

        3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย

        4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ

        5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ

        6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น

        7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

        8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information ดาต้า อิ ม ฟ อ เม ชัน

5ไวรัสคอมพิวเตอร์
1. Mydoom (2004) มูลค่าความเสียหาย $38,000,000,000 คอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัส 2,000,000 เครื่อง - หนอนคอมพิวเตอร์ที่แพร่ไปทั่วอีเมล์โดยทำทีว่าเป็นข้อความส่งกลับ พอมีคนเผลอไปเปิดเท่านั้นแหละก็จะถูกไวรัสตัวนี้ดูดข้อมูลผู้ใช้งานจาก Outlook ออกไปจนหมดเพื่อกระจายตัวต่อไป

2. Sobig.F (2003) มูลค่าความเสียหาย $37,100,000,000 คอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัส 2,000,000 เครื่อง - หนอนคอมพิวเตอร์ที่เป็นโทรจันด้วยในตัวแต่มันจะแสร้งแปลงกายเป็นไฟล์หน้าตาปกติธรรมดา ถ้ามีคนเผลอเปิดอีเมล์เหล่านี้ก็จะถูกดูดข้อมูลในสมุด Address ออกไปจนหมด

3. ILOVEYOU (2000) มูลค่าความเสียหาย $15,000,000,000 คอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัส 500,000 เครื่อง - อีเมล์หน้าตาธรรมดาที่จั่วหัวข้อความว่า "I Love You" สมชื่อ ถ้ามีคนเผลอไปเปิดอีเมล์เหล่านี้ก็จะถูกขโมยพาสเวิร์ดออนไลน์สำคัญๆที่บันทึกไว้ในเครื่องจนหมด

4. Code Red (2001) มูลค่าความเสียหาย $2,600,000,000 คอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัส 1,000,000 เครื่อง - หนอนคอมพิวเตอร์ที่โจมตีจุดอ่อนด้านความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการ Windows 2000 และ Windows NT โดยเฉพาะ ที่สำคัญเคยทำให้เว็บไซต์ใหญ่ๆอย่างเช่นทำเนียบขาวสหรัฐฯล่มมาแล้ว

5. Slammer (2003) มูลค่าความเสียหาย $1,200,000,000 คอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัส 200,000 เครื่อง - หนอนอินเทอร์เน็ตที่ทำให้โฮสต์ทำงานช้าลงและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างล่าช้า เว็บไซต์ไหนโดนไวรัสนี้เข้าไปก็อาจถึงขนาดทำให้เซอร์เวอร์ล่มมาแล้วนะเออ