หลักธรรมในการบริหาร ตน คน งาน

             เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วได้รายงานเรื่อง  คุณธรรม  จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้บริหาร ได้แลกเปลี่ยนรู้กับอาจารย์และเพื่อน ๆ เกี่ยวกับหลักธรรมของผู้บริหาร  จึงขอนำเสนอหลักธรรมสำหรับผู้บริหารไว้ ดังนี้


>> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี หลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4 (Holy Abiding) ได้แก่

1.             เมตตา (Living  Kindness) แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

2.             กรุณา (Compassion) แปลว่า ความสงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์

3.             มุฑิตา (Sympathetic Joy) แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา  

4.             อุเบกขา (Neutrality)แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือ มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบ และทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

              ผู้บริหารอย่าหลงไปยึดถือเอา พรมวินาศ 4 เป็นที่ตั้ง  ซึ่งได้แก่บ้าอำนาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง หลอกลวงลูกน้อง ยกย่องคนชั่ว

              >> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี ธรรมะที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 (Base of Sympathy) ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น หรือธรรมเพื่อให้คน เป็นที่รักของคนทั่วไป อันได้แก่

1.             ทาน (Giving Offering) คือการให้ เสียสละ แบ่งปันแก่ผู้อื่น

2.             ปิยวาจา (Kindly Speech) คือ พูดจาด้วยถ้อยคำสุภาพ นุ่มนวล เหมาะแก่ บุคคล เวลา สถานที่ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดในทางสร้างสรรค์ พูดให้เกิดเกิดพลังใจ

3.             อัตถจริยา (Useful Conduct) ทำตนให้เป็นประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญา ความรู้ ความ สามารถ กำลังทรัพย์ และเวลาที่มี อย่างไม่เป็นที่เดือนแก่ตน หรือผู้อื่น

4.             สมานัตตตา (Even and Equal Treatment) คือวางตนให้เสมอต้น เสมอปลาย วางตนเหมาะสมกับฐานะ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ร่วมทุกข์ร่วมสุข สม่ำเสมอ คือ เราควร
จะเป็นคนที่โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ปวงชน วางตนได้เหมาะ

              >> ผู้บริหาร ที่ดีนั้นควรจะมี จริยธรรม (Ethics) มีมาตรฐานของการกระทำ และพฤติกรรม   อันเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นถึงการเป็นผู้ทรงเกียรติ ที่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก หรืออะไร      ที่ผิด โดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาในเชิงศีลธรรม คือ

1.             มีบุคลิกภาพการเป็นผู้มีจริยาที่ดี ทั้งการแต่งกาย การพูดจา การแสดงออกทั้งทาง กายจริยา (กาย) วจีจริยา (วาจา) และมโนจริยา (ใจ) ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยต้องอยู่ในพื้นฐานของการให้เกียรติ (Honorific) ผู้อื่นเสมอ

1.             กายจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานซึ่งต้องใช้กายเป็นสำคัญ โดยต้องรักษาระเบียบแบบแผน ถือเอาเหตุผลเป็นสำคัญขณะเดียวกันต้องไม่ถ่วงเวลาผู้อื่น ไม่ละเลยงานในหน้าที่ และต้องทำงานให้ลุล่วงทั้ง "ต่อหน้าและลับหลัง"

2.             วจีจริยา หมายความว่า การปฏิบัติการงานด้วยคำพูดเป็นสำคัญ ต้องน่าเชื่อถือได้ ต้องถือหลักว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"

3.             มโนจริยา หมายความว่า ตั้งจิตใจมั่นในการปฏิบัติงานทุกอย่างซึ่งเป็นหน้าที่ของตน

หลักธรรมสำหรับผู้บริหาร คือข้อใด

แนวทางปฏิบัติในการบริหารโดยใช้หลักธรรม ประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ประการ คือ ๑. หลักการครองตน ๒. หลักการครองงาน ๓. หลักการครองคน ๔. หลักธรรมาภิบาล

หลักธรรมใดสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารทุกคนควรนำมาใช้ในการบริหารงาน

ทศพิธราชธรรม เป็นข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงใช้ปกครองพระ ราชอาณาจักร และเป็นหลักธรรมของผู้บริหารทุกระดับ ที่จะพึงใช้ประกอบการปฏิบัติงานของตน ให้บรรลุ ความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยร่วม เป็นคุณธรรมที่โบราณบัณฑิตได้บัญญัติไว้ ก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งพระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงถือ ...

หลักธรรมใดในการบริหารคน บริหารคน และบริหารงาน

พรหมวิหาร 4 คือหลักธรรมครองใจ ที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แก่นของพรหมวิหาร 4 นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน เพื่อทำให้ผู้ใต้บังคับ

หลักธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน คือข้อใด

วิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานหรือคนทํางาน คือ ผู้ที่ถูกมอบหมายให้ทํางานจากผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา ซึ่ง ผู้ปฏิบัติงานหรือ คนทํางานทุกคนต่างก็ปรารถนาที่จะประสบความสําเร็จในการทํางานด้วยกันทุกคน ดังนั้น ธรรมะที่เหมาะสมสําหรับผู้ปฏิบัติงาน คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งหมายถึง ธรรมแห่งความสําเร็จ โดย