หนังสือ การ งานอาชีพและเทคโนโลยี ม. 2 pdf

การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน

ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ

1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม

ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้

2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน

3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด

4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงานหรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของนักออกแบบ

ลักษณะของการออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ

1. เป็นภาพวาดลายเส้น (Drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆเกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ

2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหาข้อบกพร่องได้

ประเภทของการออกแบบ

1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัตยกรรมได้แก่

- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ

- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร

- สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร

- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม

- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมายหลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่

- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์

- งานออกแบบครุภัณฑ์

- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์

- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ

- งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี

- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย

- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์

- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ

3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงานร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่

- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า

- งานออกแบบเครื่องยนต์

- งานออกแบบเครื่องจักรกล

- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร

- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ

4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่

- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)

- งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)

- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)

- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)

- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)

- การจัดบอร์ด

- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ

5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้างานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ

การเขียนแบบ เป็นการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนหรือวาดเส้น รูปภาพ

สัญลักษณ์ และรายการประกอบแบบ ลงบนกระดาษเขียนแบบหรือคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้การสร้างหรือการซ่อมแซมชิ้นงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยแบบจะแสดงรายละเอียดหรือข้อกําหนดของงานที่ช่างหรือผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจตรงกันกับผู้ออกแบบ สามารถอ่านแบบได้ถูกต้องและปฏิบัติตามรูปแบบรายการที่กําหนดไว้ได้

ลักษณะของแบบ แบบโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะ ได้แก่ รูปแปลนและรูปด้าน รูปตัดและรูปขยาย

ภาพในงานเขียนแบบ

ภาพที่ใช้ในงานเขียนแบบเป็นภาพสามมิติ ประกอบด้วยแกนของภาพ 3 แกน ได้แก่ ความกว้าง ความยาว และความสูง ทํามุมซึ่งกันและกันให้เห็นในลักษณะคล้ายรูปทรงชิ้นงานจริง โดยผู้อ่านแบบจะมองเห็นได้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ภาพสามมิติที่นิยมใช้งานมีดังนี้

1. ภาพออบลิค (Oblique) เป็นภาพสามมิติที่ต้องมองเห็นด้านหน้าของวัตถุ ซึ่งโครงสร้างประกอบไปด้วย เส้นแนวนอน เส้นแนวดิ่ง และเส้นเอียง 45 องศา หลักในการเขียนภาพออบลิค มีดังนี้

1) เขียนภาพด้านหน้าของวัตถุตามมาตรส่วน โดยไม่ให้เกิดความบิดเบี้ยว

2) ด้านข้าง และ ด้านบน เขียนโดยทํามุม 45 องศา กับแกนนอน

3) ความยาวของด้านที่เขียนตามแกนทํามุม 45 องศา จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของอีกด้าน เพื่อให้ดูเหมือนของจริงมากขึ้น

2. ภาพไอโซเมตริก (Isometric) เป็นภาพสามมิติที่เส้นแนวตั้งจะแสดงด้านตั้งของ

วัตถุ ส่วนแนวนอนจะใช้เส้นที่ทํามุม 30 องศา กับแกนนอน และเส้นทุกเส้นในภาพจะใช้มาตราส่วน

เดียวกัน หลักการเขียนภาพไอโซเมตริก มีดังนี้

1) เขียนภาพฉายเพื่อใหทราบความยาวและความกว้างจากภาพด้านบน ความยาว

และความสูงจากภาพด้านหน้า และความกว้างหรือความหนาและความสูงจากภาพด้านข้าง

2) เขียนวัตถุรูปแบบกล่องสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยแกนสามแกนทํามุมกัน 120

องศา แกนแรกเขียนในแนวดิ่ง และแกนที่เหลือสองแกนเขียนไปทางซ้ายและทางขวา โดยทํามุม 30

องศา กับเส้นแนวนอน

3. ภาพเพอร์สเปกทีฟ (Perspective) หรือภาพทัศนียภาพ เป็นภาพสามมิติที่มองจากระยะไกล มีลักษณะการมองเส้นฉายไม่ขนานกัน และมีจุดรวมของสายตาจุดหนึ่ง โดยลักษณะของเส้นฉายจะไปสิ้นสุดที่ระยะขนาดของวัตถุนั้น เป็นภาพเหมือนจริงมากที่สุด เมื่อมองจนสุดสายตา หลักในการเขียนภาพเพอร์สเปกทีฟ มีดังนี้

1) ร่างกรอบของวัตถุที่จะวาดก่อน

2) ร่างรูปทรงพื ้นฐานของวัตถุให้อยู่ภายในกรอบ

3) เพิ่มเติมรายละเอียดในภาพร่างและเติมความเข้มของเส้นต่าง

วิธีการเขียนแบบ โดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ การเขียนแบบด้วยมือเปล่า และการเขียนแบบด้วยเครื่องมือ

และอุปกรณ์

1. การเขียนแบบด้วยมือเปล่า คือการเขียนภาพสเกตช์ ซึ่งเป็นการเขียนแบบร่างง่าย ๆ

ด้วยมือ เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุง ทดลอง และแก้ไข หรือเป็นต้นแบบเพื่อที่จะเขียนให้เรียบร้อยและถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

2. การเขียนแบบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ คือ การนําแบบร่างหรือภาพสเกตช์มาเขียนเป็นแบบเทคนิค เช่น ภาพสามมิติ ภาพฉาย โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มีความสวยงาม และอ่านแบบได้ง่าย ซึ่งจะส่งผลให้การสร้างชิ้นงานทําได้ตามขั้นตอน