เฉลย แบบฝึกหัด เศรษฐศาสตร์ บทที่ 2

เศรษฐศาสตร์บทที่ 2 from songyangwtps

บทที่ 14 การพัฒนาเศรษฐกิจ วันที่ 20 เมษายน 2557

บทที่ 13 การค้าระหว่างประเทศ วันที่ 20 เมษายน 2557

บทที่ 12 ภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน วันที่ 20 เมษายน 2557

บทที่ 11 การคลังสาธารณะ วันที่ 13 เมษายน 2557 (Take Home)

บทที่ 10 การเงินและการธนาคาร วันที่ 6 เมษายน 2557

บทที่ 9 การกำหนดรายได้ประชาชาติ 30 มีนาคม 2557

บทที่ 8 ส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติ วันที่ 23 มีนาคม 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 7 หลักเศรษฐศาสตร์ วันที่ 16 มีนาคม 2557 ล่าสุด

บทที่ 7 รายได้ประชาชาติ วันที่ 16 มีนาคม 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 6 หลักเศรษฐศาสตร์ วันที่ 9 มีนาคม 2557 ล่าสุด

บทที่ 6 ตลาด วันที่ 9 มีนาคม 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 5 หลักเศรษฐศาสตร์

บทที่ 5 ต้นทุนการผลิต วันที่ 2 มีนาคม 2557

แบบฝึกหัดที่ 4 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557

บทที่ 4 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557

แบบฝึกหัดที่ 3

บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557

แบบฝึกหัดที่ 2

บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพตลาด วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557

แบบฝึกหัดที่ 1
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

                                                                  

เฉลย แบบฝึกหัด เศรษฐศาสตร์ บทที่ 2

อุปสงค์ (Demand) คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้ซื้อในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กัน ความต้องการซื้อจะแตกต่างจากความต้องการทั่วไป (want) แต่จะต้องรวมอำนาจซื้อ (purchasing power) คือ เต็มใจและมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายซื้อสินค้านั้นด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณความต้องการซื้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีปัจจัยกำหนดอุปสงค์ตัวอื่นๆ เปลี่ยนแปลงด้วย เช่น รายได้ของผู้ซื้อ รสนิยม ราคาสินค้าชนิดที่ใช้ทดแทนกันได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น

อุปทาน (supply) คือ ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการของผู้ขายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ กันโดยผู้ขายเต็มใจจะขายกล่าวคือ ถ้าราคาต่ำปริมาณที่เสนอขายก็จะลดต่ำลงด้วย และในทางตรงกันข้าม หากระดับราคาสูงขึ้นก็จะมีปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม กฎของอุปทาน (Law of Supply) ปัจจัยที่ทำให้อุปทานเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในการผลิต ราคาของปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การคาคะเนราคาสินค้าและบริการของผู้ขาย

เฉลย แบบฝึกหัด เศรษฐศาสตร์ บทที่ 2

ตลาด ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ จะกว้างกว่าความหมายทั่วๆ ไปที่เป็นสถานที่ที่มีผู้ขายจำนวนมากนำสินค้ามาวางขาย แต่ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มีการตกลงซื่อขายกัน ต่อรองราคาหรือมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่จำเป็นต้องมีสินค้าและบริการปรากฏอยู่ ณ สถานที่นั้น

ดุลยของภาพตลาด
หมายถึง ภาวะที่เกิดจากราคามีความเหมาะสม ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อ เท่ากับปริมาณความต้องการขาย ทำให้สินค้าหมดพอดี หรือมีหลักการดังนี้ คือ ราคาสินค้าจะวิ่งสู่ดุลยภาพเสมอ ถ้าราคาเปลี่ยนปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อและที่ผู้ผลิตที่ต้องการขายก็จะเปลี่ยนตาม
ถ้าร้าคาสินค้าแพงเกินไป ต่อไปต้องลดลง
ถ้าราคาสินค้าถูกเกินไป ต่อไปต้องแพงขึ้น
โดยกลไกราคา ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีข้อยกเว้นในการพิจารณา คือ ใช้ไม่ได้กับสินค้าที่เป็นทรัพย์เสรี และสินค้าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของเก่า เช่น ถ้วยสังคโลก,รถเก่า,พระเครื่อง และวัตถุโบราณ หรือทรัพทย์เสรี ได้แก่ น้ำ ดิน เป็นต้นฯ
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กลไกราคา (Price Mechanism) เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมอุปสงค์และอุปทานในตลาดให้เกิดความสมดุล ถ้าอุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากันจะมีการปรับตัวจนกระทั่งเกิดสมดุลหรืออุปสงค์เท่ากับอุปทาน ดุลยภาพจะไม่เปลี่ยนแปลงตราบเท่าที่ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง ราคาสินค้า ณ จุดที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานเรียกว่า “ราคาดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Price)” ปริมาณสินค้า ณ จุดนั้นเรียกว่า“ปริมาณดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium Quantity)” และเรียกจุดดังกล่าวว่า “ดุลยภาพตลาด (Market Equilibrium)

ดุลยภาพตลาด คือ เส้นอุปทานและเส้นอุปสงค์ตัดกันพอดี

เฉลย แบบฝึกหัด เศรษฐศาสตร์ บทที่ 2

องค์ประกอบของตลาดจะประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย สินค้า และ ราค

า ซึ่งอาจจะมีพ่อค้าคนกลางร่วมด้วย ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารได้ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยอาศัยคนกลางน้อยลง นอกจากนี้ความสะดวกสบายรวดเร็วของสื่อที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าก็ทำได้คล่องตัวขึ้น เช่น ระบบเครดิต เป็นต้น

ระบบตลาดขึ้นอยู่กับกลไกราคา ซึ่งราคาตลาดถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้ซื้อจำนวนมาก ผู้ขายจำนวนมาก ณ ช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ช่วงต้นฤดูทุเรียนหมอนทอง ราคากิโลกรัมละ 40 บาท ผู้ซื้อต้องการซื้อ 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ ในขณะที่ผู้ขายต้องการขาย 200 ล้านกิโลกรัม / สัปดาห์ เช่นกัน ไม่มีของเหลือของขาด ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างพอใจในภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ราคาตลาดดังกล่าวเป็นราคาดุลยภาพ และราคาตลาดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปถ้าอุปสงค์หรืออุปทานเปลี่ยน หรือเปลี่ยนทั้งอุปสงค์และอุปทาน

ประเภทของอุปสงค์

อุปสงค์ในสินค้าและบริการโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น  2  ประเภท คือ

อุปสงค์แต่ละบุคคล  คือ  ความต้องการของแต่ละบุคคลที่จะซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขายหรือผู้ผลิต  ณ  เวลาใดเวลาหนึ่ง  ทั้งนี้สมมติว่าปัจจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์และอุปทานไม่เปลี่ยนแปลง  เช่น  รายได้  การเพิ่มขึ้นของประชากร  ดังตัวอย่างความต้องการของนางสมศรี  ซึ่งจะซื้อมะม่วงตามตารางต่อไปนี้

อุปสงค์รวม คือ ความต้องการในสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลหลายๆ  คนในตลาดแห่งใดแห่งหนึ่ง ดังนั้นลักษณะอุปสงค์รวมนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อุปสงค์ของตลาด”  (Market Demand)  ดังตัวอย่าง  เช่น  ณ ตลาดแห่งหนึ่ง  นาย ก  นาย  ข  และนาย  ค  ต่างซื้อมะม่วงเพื่อบริโภคเหมือนกัน  การซื้อของแต่ละคนนั้นถือเป็นอุปสงค์แต่ละบุคคล  เมื่อรวมเข้าด้วยกันจะเป็นอุปสงค์รวมหรืออุปสงค์ของตลาด