เฉลย แบบฝึกหัด สุขศึกษา ม. 3 บท ที่ 10

การป้องกันภัยจากความรุนแรง              ปัจจุบันข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่พบเห็นในสื่อต่างๆ นั้น นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น อีกทั้งยังมีรูปแบบที่ซับซ้อนหลากหลาย ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ตั้งแต่ในบ้าน ในโรงเรียน ในชุมชน และมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การด่าทอ ทุบตี ไปจนถึงการทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำร้ายจิตใจให้สูญเสียสุขภาพจิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมขาดความปลอดภัยขาดการคุ้มครองสวัสดิภาพในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การเรียนรู้ถึงสาเหตุ ผลกระทบ และการป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขจัดหรือลดความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว

เฉลย แบบฝึกหัด สุขศึกษา ม. 3 บท ที่ 10

ภาพที่ 7.18 ความรุนแรงในสังคม
ที่มา : http://www.deja-suthikant.com/TH/contentDetail.php?co_id=17

7.5.1 ความหมายของความรุนแรงในสังคม
              ความรุนแรงในสังคม หมายถึง พฤติกรรมและการกระทำใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางวาจา ทางร่ายกาย ทางจิตใจ หรือทางเพศ ซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายหรือจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ

7.5.2 สาเหตุการเกิดปัญหาความรุนแรงในสังคม
              พฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลมาจาก
              1. มีค่านิยมและเจตคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย เช่น แนวคิดที่ว่าภรรยาเป็นสมบัติของสามี หรือแนวคิดที่ว่าลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่ เป็นต้น
              2. มีความเจริญด้านวัตถุ แต่ขาดการพัฒนาด้านจิตใจ ทำให้คนในสังคมเสื่อมศีลธรรม และยึดผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางวัตถุ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ และในที่สุดก็จะนำมาสู่สภาพของครอบครัวที่ล่มสลาย
              3. ความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว โดยอาจมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกาย จิตใจ อายุ สุขภาพ อนามัย และฐานะทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรง
              4. การได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับความรุนแรง เช่น พ่อแม่ ครูทำโทษด้วยความรุนแรง เมื่อทำผิดทำให้มีทัศนคติว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติที่ช่วยหยุดยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
              5. ปัญหาเศรษฐกิจต่ำ การเลิกจ้างงาน ธุรกิจล้มละลาย ค่าครองชีพสูง ทำให้เกิดความเครียดสูง และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
              6. ระบบการศึกษาที่สร้างความกดดันให้กับผู้เรียน เช่น กรณีของผู้เรียนที่ผิดหวังจากระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แล้วตัดสินใจฆ่าตัวตาย
              7. อิทธิพลสื่อมวลชนที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารให้เกิดผลลบแก่ผู้รับข่าวสารอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เช่น ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ การใช้ความรุนแรง การผลิตสื่อโฆษณา สื่อลามกอนาจาร ที่ก่อให้เกิดการเลียนแบบในทางที่ไม่ถูกต้อง
              8. ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง เช่นความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นเพราะผู้หญิงเป็นฝ่ายผิด หรือสมยอมเอง ทำให้ผู้ประสบปัญหาพยายามปิดไว้เป็นความลับ และด้วยความเชื่อดังกล่าวทำให้คนในสังคมไม่ต้องการเจ้าไปยุ่งเกี่ยว และให้ความช่วยเหลือทำให้เกิดปัญหามากมาย

7.5.3 ผลกระทบต่อสังคม
              เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม จะส่งผลกระทบได้ ดังนี้
              1. ทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะกับเด็กและสตรี
              2. ขาดความสงบสุขเนื่องจากการทะเลาะเบาะแว้ง การด่าทอทุบตีทำร้ายกันในครอบครัว ซึ่งก่อความรำคาญต่อเพื่อนบ้าน
              3. ครอบครัวบางครอบครัวเป็นหน่วยผลิตทางเศรษฐกิจโดยตรง ดังนั้นเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น สามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมได้
              4. ปัญหาสังคมจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสถาบันครอบครัวไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือชุนชน เพื่อพัฒนาหรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมได้
              5. ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพของสตรี การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ การประกอบอาชีพ และเป็นการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม

7.5.4สื่อกับความรุนแรง
              สื่อถือว่าเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอให้สาธารณชนได้รับรู้ ซึ่งปัจจุบันยุคโลกไร้พรมแดน ผู้คนทุกเพศทุกวัยล้วนต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ทำให้สื่อมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทางกลับกันสื่อจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำหน้าที่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการนำเสนอภาพหรือข้อความที่แสดงออกถึงการใช้ความรุนแรง สื่อลามกอนาจารที่ก่อให้เกิดการเลียนแบบในทางที่ไม่ถูกต้องการเผยแพร่ภาพลามกทางสื่อต่างๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ อินเทอร์เน็ต และสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อชักจูงให้หลงเชื่อ นำไปสู่การกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงสื่อที่มีเนื้อหาใช้ความรุนแรง อาจทำให้เกิดความตระหนก หวาดกลัวซึ่งถือเป็นการทำร้ายทางด้านอารมณ์ และจิตใจแบบหนึ่ง
              การนำเสนอของสื่อที่อาจเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาความรุนแรง มีดังนี้
              1. สื่อที่นำเสนอภาพลามกอนาจารต่างๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น วีดีทัศน์ หนังสือ ภาพยนตร์ รูปภาพ แผ่นดิสก์ รวมทั้งการเสพของมึนเมาและการเที่ยวในสถานเริงรมย์ต่างๆ มีส่วนยั่วยุทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
              2. สื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในทางลบ อาจเป็นการสร้างค่านิยมความรุนแรงให้กับผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
              3. สื่อที่ขาดการนำเสนอแนวคิดและวิธีการในการนำเสนอทักษะการสื่อสารที่ดีเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทชายหญิง ได้แก่ ทักษะการสื่อสารระหว่างคู่สมรส พ่อแม่ลูก รวมถึงการสอนทักษะการสื่อสารซึ่งรวมอยู่ในทักษะชีวิต
              4. สื่อทางอินเทอร์เน็ต ที่มีการนำเสนอภาพหรือข้อความลามก และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการสนทนาที่อาจชักจูงไปในทางไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรง
              จากปัญหาสื่อนำเสนอสิ่งไม่สร้างสรรค์ ดังที่กล่าวมาจะส่งผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และประชาชนที่เป็นผู้บริโภคข่าวสาร จึงมีความจำเป็นต้องรณรงค์ให้สื่อมวลชนทุกแขนงนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมไม่นำเสนอสื่อที่สามารถกระตุ้นพฤติกรรมความรุนแรง มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ผู้ผลิตสื่อนำเสนอในสิ่งไม่มีพิษมีภัย เมื่อบริโภคแล้วเกิดการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม สร้างความสงบสุขให้เกิดแก่ตนเอง และสังคมส่วนรวม ดังนั้น หน้าที่ของสื่อที่ดี คือ นำเสนอข้อมูลข่าวสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม คำนึงถึงประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่ยังขาดวุฒิภาวะทางด้านความคิดและอารมณ์ เพื่อให้เขาได้รับรู้ในสิ่งที่ดีงามและสร้างสรรค์มากกว่าเรื่องที่โหดร้ายหรือเรื่องลามกอนาจารต่างๆ เป็นประเด็นสำคัญ

เฉลย แบบฝึกหัด สุขศึกษา ม. 3 บท ที่ 10

ภาพที่ 7.19 การที่สื่อนำเสนอสิ่งไม่สร้างสรรค์
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/recon/2009/02/25/entry-1

7.5.5 การป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม
              การป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม จะให้บังเกิดผลอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนได้นั้น ทุกระดับของสังคมต้องร่วมมือกัน โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
              1. ระดับบุคคลและครอบครัว
              1) การเลี้ยงดูอบรมลูกชายและหญิงต้องมีความเสมอภาค สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูล เคารพสิทธิซึ่งกันและกันไม่ใช้อำนาจ ไม่เอาเปรียบ ผู้เป็นพ่อแม่ต้องฟังความเห็นของลูก และสอนทักษะระงับอารมณ์โกรธที่เหมาะสมด้วย
              2) ดำรงชีวิตเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสวัตถุนิยม ครองตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง รับผิดชอบในหน้าที่ของตน
              2. ระดับสังคม
              1) รัฐควรจัดให้มีหน่วยงานบริการแนะแนว และคำปรึกษาปัญหาชีวิตสมรส ปัญหาครอบครัวกระจายไปสู่ชุมชนมากขึ้น
              2) รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเกิดความรู้ความเข้าใจ และจิตสำนึก เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน
              3) มีการแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัยโดยเฉพาะกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว กฎหมายที่ก่อให้เกิดช่องว่างในเรื่องความไม่เสมอภาค และทำให้สตรีต้องตกอยู่ในภาวะจำยอมควรได้รับการแก้ไข และควรมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแพร่กฎหมายดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
              4) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต้องมีมาตรการในการป้องกันและควบคุมสื่อให้เสนอข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม และผู้ผลิตสื่อต้องแสดงความรับผิดชอบในการนำเสนอสื่อทุกรูปแบบ
              5) ระบบการศึกษา ต้องให้ความสำคัญในการบรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องจริยธรรมทางเพศ การเป็นพ่อแม่ที่ดี สิทธิสตรี สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการสอนทักษะการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยเหตุผลและสันติวิธี

              7.5.6 การป้องกันจากธรณีพิบัติภัย
หลังเหตุการณ์การเกิดภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ที่เคลื่อนตัวเข้าถล่มชายฝั่งและหมู่เกาะใน 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ที่อยู่ติดกับทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งจากสถิติการสำรวจข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสารสนเทศผู้ประสบภัย กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2548 ได้สรุปยอดจำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

ตาราง : แสดงจำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายจากเหตุการณ์การเกิดคลื่นสึนามิ เรื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ใน 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย

เฉลย แบบฝึกหัด สุขศึกษา ม. 3 บท ที่ 10

หมายเหตุ : ข้อมูลกรณีรับแจ้งสูญหายได้ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น ครั้งที่ 81 ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยตัดรายชื่อแจ้งซ้ำซ้อน/กลับภูมิลำเนา/บาดเจ็บ/เสียชีวิต/พบตัวออกแล้ว
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศผู้ประสบภัย กระทรวงมหาดไทย

              นอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายอย่างมากมายแล้ว ยังพบว่า การเกิดภัยพิบัติในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจและผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน และเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้คนไทยได้ตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้น จนเกิดคำที่ใช้เรียกภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นครั้งนี้ว่าเป็น ธรณีพิบัติ และคลื่นยักษ์ที่สร้างความเสียหายในครั้งนี้ว่า คลื่นสึนามิ

เฉลย แบบฝึกหัด สุขศึกษา ม. 3 บท ที่ 10

ภาพที่ 7.20 คลื่นสึนามิ
ที่มา : http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=905