การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี มีอะไรบ้าง

เมื่อรวมตัวกันเป็น”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” 7 อาชีพแรก ที่มีข้อตกลงกันแล้ว ให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี มีอะไรบ้างนะ?

 

การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี มีอะไรบ้าง

                   ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9  ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 7 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่

  • อาชีพวิศวกร ( Engineering Services )
  • อาชีพพยาบาล ( Nursing Services )
  • อาชีพสถาปนิก ( Architectural Services )
  • อาชีพการสำรวจ ( Surveying Qualifications )
  • อาชีพนักบัญชี ( Accountancy Services )
  • อาชีพทันตแพทย์ ( Dental Practitioners )
  • อาชีพแพทย์ ( Medical Practitioners )

                 และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มี ผลดี ต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น

                 จากเดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศอาเซียน นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้งสิ้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดยภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 7 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง

                  ในขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของอาชีพทั้ง 7 นั้นคงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก ป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานขององค์กรในการผลิตคน บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้นจำนวนมากเพื่อตอบสนองตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวม

                   อีกปัญหาที่อาจตามมาอีกอย่างคือ บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่นอน ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 7 อาชีพในไทยด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของคนไทยเอง

                   แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปีข้างหน้า สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีพทั้ง 7 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน

                   ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้

ยังมีแง่มุมที่น่าสนใจอื่นๆ ในการรวมตัวกันเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใครสนใจสามารถคลิกเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน http://www.thai-aec.com/ หรือ http://www.facebook.com/thailandaec

Page Content

เช็ค Stock 7 อาชีพเสรี AEC ปี 2558

         จประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economics Community) คงคุ้นหูและติดปากผู้คนในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากมีความคืบหน้าและตื่นตัวในการดำเนินการขึ้นมาก จนบางคนคิดว่า AEC คือ ประชาคมอาเซียน หรือ AC (ASEAN Community) แท้จริงแล้ว AEC เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ส่วนอีก 2 เสา คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community : APSC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio Cultural Community : ASCC) AC เป็นการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศให้เป็นประชาคมเดียวกัน ได้แก่ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน ซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 600 ล้านคน

การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี มีอะไรบ้าง
 

         การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีอำนาจต่อรองด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก และคาดหวังว่า AC จะมีศักยภาพการผลิตสูงขึ้น ตามหลัก Economies of Scale คือ ยิ่งผลิตมากต้นทุนก็จะยิ่งต่ำ และด้วยความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงาน เงินทุน และการลงทุน เนื่องจากทรัพยากรบุคคลเป็นฐานสำคัญของการพัฒนา และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโลก ประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานจึงนำมาพิจารณาร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และได้มีการจัดทำข้อตกลงขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดคุณสมบัติของวิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายภายในอาเซียนได้อย่างเสรีและถูกกฎหมาย โดยในเบื้องต้นกำหนดไว้ 7 สาขาวิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และนักสำรวจ ซึ่งเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญตรีขึ้นไป เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะสูงในการทำงาน ต้องสามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจบนพื้นฐานความรู้เฉพาะสาขา

การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี มีอะไรบ้าง

            เปิดบ้านสถิติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพหรือแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ 7 สาขา ดังกล่าวข้างต้นของประเทศไทย โดยพิจารณา “อาชีพหลัก” จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้นิยาม”อาชีพหลัก” ว่าเป็นงานที่ใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ข้อมูลที่ปรากฏในตารางอาจจะไม่ตรงกับข้อมูลจากการจดทะเบียนอาชีพของ แต่ละสาขาวิชาชีพ          หากพิจารณาถึงโอกาสการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะสูงเหล่านี้ กลุ่มลูกจ้างเอกชนน่าจะเป็นกลุ่มที่จะมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานสูงกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก และนักบัญชี ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ประกอบอาชีพทั้ง 7 สาขาวิชาชีพ ปัจจัยผลักที่มีส่วนทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานปัจจัยหนึ่ง คือ วิศวกรบางส่วนยังว่างงานและกำลังหางานทำ ส่วนนักวิชาชีพด้านสาธารณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล และทันตแพทย์ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกจ้างรัฐบาลที่ดูเหมือนจะมีความมั่นคง แต่หากประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศในอาเซียนมีปัจจัยดึงดูดที่ดีกว่าโดยเฉพาะในเรื่องของค่าตอบแทน ก็จะมีโอกาสเคลื่อนย้ายแรงงานสูงด้วยเช่นกัน   ​อีกมุมมองหนึ่งสาขาวิชาชีพเหล่านี้ยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ดังนั้นการเคลื่อนย้ายแรงงานกลุ่มดังกล่าวน่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดึงดูดของประเทศปลายทาง อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลไทย ไม่ต้องการให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานกลุ่มนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดแรงงานเหล่านี้ไว้ในประเทศ เว้นเสียแต่ว่านโยบายหรือมาตรการต่างๆ จะกลายเป็นปัจจัยผลัก

การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี มีบริการ 5 ภาค ได้แก่อะไรบ้าง

กำรเป็นตลำดและฐำนกำรผลิต เดียวกันของอำเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ (1) กำรเคลื่อนย้ำยสินค้ำเสรี (2) กำร เคลื่อนย้ำยบริกำรเสรี (3) กำรเคลื่อนย้ำย กำรลงทุนเสรี (4) กำรเคลื่อนย้ำยเงินทุนเสรี ขึ้น และ (5) กำรเคลื่อนย้ำยแรงงำนฝีมือเสรี ทั้งนี้ อำเซียนได้ก ำหนด 12 สำขำอุตสำหกรรม ส ำคัญล ำดับแรกอยู่ภำยใต้ตลำดและฐำน กำรผลิต ...

แรงงานที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีมีอาชีพอะไรบ้าง

7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน.
แพทย์.
ทันตแพทย์.
นักบัญชี.
วิศวกร.
พยาบาล.
สถาปนิก.
นักสำรวจ.

3 เสาหลักมีอะไรบ้าง

3 เสาหลักอาเซียน คืออะไร มีอะไรบ้าง.
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC).
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-AEC).
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC).

การเคลื่อนย้ายแรงงาน คือ อะไร

ส่วนการเคลื่อนย้ายแรงงาน IOM ชี้ว่าคือ การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของคนมี วัตถุประสงค์เพื่อการไปท างานในต่างประเทศ ในขณะที่ในที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติว่าด้วย การคุ้มครองสิทธิของแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว ให้ความเห็นว่าแรงงานที่มีการเคลื่อนย้าย หรือแรงงานอพยพ คือ บุคคลผู้ซึ่งเข้าไปหรือถูกน าเข้าไปร่วมกิจกรรมที่ให้ ...