แรงดันไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย มีค่าเท่าใด

ไฟฟ้า คือ พลังงานที่มีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกให้กับเราทุกวันนี้ต่างก็ต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลม, แอร์, โทรทัศน์ หรือแม้แต่ระบบรักษาความปลอดภัยในยุคนี้ก็เลือกที่จะใช้เป็นระบบไฟฟ้าเช่นกัน เมื่อชีวิตของเราต้องอยู่ใกล้กับไฟฟ้าถึงขนาดนี้ จึงควรศึกษาเรื่องราวที่น่าสนใจของไฟฟ้าไว้บ้าง ถ้าเกิดปัญหาเรื่องระบบไฟภายในบ้านจะได้รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด วันนี้วานิชกรุ๊ปจึงขอนำความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า 1เฟส กับ 3 เฟส  ที่ถูกใช้งานมากที่สุด

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟที่ใช้ภายในบ้านเรือน มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก และอาจจะมีการเชื่อมต่อไฟฟ้าเพื่อไปใช้ในอาคารต่างๆ บนพื้นที่เดียวกัน ซึ่งระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่เห็นชัด คือ

แรงดันไฟฟ้า 1 เฟส

ไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่มีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟสและสายไฟ จะมีตัวอักษรที่เขียนกำกับอยู่เป็นตัว L (Line) สามารถทดสอบว่ามีไฟหรือไม่ด้วยไขควงวัดไฟได้ ถ้าแตะแล้วที่หัวไขควงเกิดการเรืองแสง นั่นหมายถึงว่าสายไฟนั้นมีกำลังไฟไหลผ่านแล้ว ส่วนอีกหนึ่งสาย คือ สายนิวทรอลหรือที่เรียกว่าสายศูนย์จะมีการเขียนกำกับไว้เป็นตัว N (Neutral)  สายชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ไขควงมาวัดไฟฟ้าได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเต้าเสียบปลั๊กไฟ 1 เต้า ภายในบ้านจะมีเพียง 2 ช่อง ถ้าใช้ไขควงตรวจไฟไปเสียบที่รูใดรูหนึ่ง จะปรากฏว่าไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เหมือนกับว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ถ้ามีการเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้วเปิดใช้งาน พอกลับไปตรวจอีกครั้ง ก็ปรากฏว่ามีกระแสไฟไหลผ่านตามปกติ

ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้งานจะต้องมีการเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่อง และภายในสายไฟจะมีสายที่ใช้งานร่วมกันอีก 2 สาย ทำให้กระแสไฟครบวงจร ทั้งนี้ยังรวมไปถึงปลั๊กที่มี 3 ช่อง ด้วยเช่นกัน ส่วนช่องที่มีเพิ่มขึ้นมาจะเป็นตัวเสียบของสายดินที่ช่วยป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่วแล้วเกิดอันตรายต่อทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะมีการติดตั้งที่สะดวก ขอมาติดตั้งได้ง่าย ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งน้อย แต่ถ้ามองในระยะยาวแล้วไม่ค่อยคุ่มค่าเพราะค่อนข้างเปลืองพอสมควร

แรงดันไฟฟ้า 3 เฟส

ไฟฟ้า 3 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับไลน์ในขนาด 380-400 โวลท์  พร้อมการทำงานของแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไลน์กับสายนิวทรอลในขนาด 220-230 โวลท์ และมีความถี่ที่ 50Hz โดยมีสายไฟในระบบถึง 4 สาย ที่ประกอบไปด้วยสายไลน์แบบมีไฟ 3 เส้น กับสายนิวทรอลแบบไม่มีไฟ 1 เส้น การทำงานของระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะเน้นเรื่องของแสงสว่าง, อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงาน ในความเป็นจริงแล้วระบบไฟฟ้าลักษณะนี้จะนิยมนำไปใช้กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมในโรงงานมากกว่าใช้ภายในบ้าน เนื่องด้วยเครื่องจักรอุตสาหกรรมมีแรงดันไฟฟ้าสูง แม้แต่แสงสว่างภายในโรงงานก็ต้องใช้เป็นจำนวนมากและเวลาเปิดก็มักจะเปิดพร้อมกัน แต่ก็ใช่ว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะใช้งานภายในบ้านไม่ได้ เพียงแต่จะต้องไม่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ โดยตรง แต่จะต้องมีการแบ่งใช้ไฟฟ้า 3 เฟส ออกมาเป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส แล้วกระจายออกไปตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เน้นเฉลี่ยการใช้ไฟในแต่ละส่วนที่เท่าๆ กัน ทำให้กระแสไฟมีความสมดุล สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าและแสงสว่างภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังทำให้ค่าไฟลดลงอีกด้วย

แต่การใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส  จะมีขั้นตอนในการขอติดตั้งยุ่งยากและค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่อนข้างสูง เพราะจะต้องจ่ายทั้งค่าประกันไฟฟ้าและค่าติดตั้ง แต่ถ้ามองในระยะยาวแล้วกลับช่วยเรื่องประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากกว่าแบบ 1 เฟสมากพอสมควร เนื่องจากการคิดค่าไฟจะใช้หน่วยเป็นกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงและจะคิดในอัตราก้าวหน้า นั่นหมายความว่าถ้าการใช้ไฟฟ้ามีปริมาณสูงค่าไฟก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งการใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส มากระจายออกไปอย่างละ 1 เฟส ก็เท่ากับว่าการใช้ไฟของแต่ละเฟสจะน้อยลง ผิดกับแบบ 1 เฟส ที่ใช้งานอยู่เพียงเฟสเดียว ทำให้ไฟฟ้าที่ใช้มีปริมาณสูงและค่าไฟจึงสูงตามนั่นเอง

เมื่อคุณต้องการที่จะติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน แล้วต้องจ้างช่างมาเป็นผู้ติดตั้งหรือซื้อบ้านสำเร็จรูปอยู่ บ้านนั้นก็มักจะถูกติดตั้งเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส แม้แต่คุณสร้างบ้านอยู่เองถ้าไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้ ก็มักจะถูกช่างจับระบบไฟฟ้า 1 เฟส มาติดตั้งให้ทันที! เพราะค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องของการขอติดตั้งก็ง่ายและค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่สูงมากจนเกินไป ดังนั้นถ้าคุณมีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าที่ถูกต้องก็จะเข้าใจถึงความต้องการของตัวคุณเองและทำให้ประหยัดค่าไฟภายในบ้านได้มากขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้คุณก็ต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่บ้าน, การใช้ไฟฟ้า และปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพราะถ้าเป็นบ้านขนาดเล็ก คนอยู่น้อย ก็เท่ากับว่าการใช้ไฟมีไม่สูง จึงควรเลือกติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส ก็เพียงพอแล้ว ถ้าคุณสนใจเรื่องของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานอุตสาหกรรม เข้ามารับชมความรู้ได้ที่ “วานิชกรุ๊ป” ผู้นำด้านสินค้าอุตสาหกรรมประเภทมอเตอร์ไฟฟ้าจากยุโรป สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพ ทนทาน และช่วยประหยัดไฟ สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าได้กับทีมวิศวกรผู้มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี จากทางวานิชกรุ๊ปได้เลย!

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ( 3 - phase ) 4 สาย แรงดัน 380 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มี กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรต่างๆใน โรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันไฟฟ้าที่สูง ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบแสงสว่างหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆตามบ้านได้ โดยตรงแล้วจะเอามาแนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัยนี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำ ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้นโดย ตรง แต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาแบ่งแยกให้เป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด แล้วกระจายไป ตามจุดต่างๆที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งานเช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าแต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้า ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ - ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมีการใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตรา ที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจาย การใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วนจากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าว จึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในแต่ละส่วนหรือแต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง


การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ


อย่างไรก็ตาม การเลือกว่าจะใช้ไฟฟ้าระบบไหนและใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดเท่าใดนั้นจำเป็น จะต้องปรึกษาผู้มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า ผู้รับเหมา หรือช่างไฟฟ้า โดยที่เจ้าของบ้านเองก็ต้องวางแผนเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้เอาไว้ว่าต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อย แค่ไหน โดยอาจจะปริมาณจากจำนวนดวงไฟ รวมทั้งประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่คาดว่าต้องการจะใช้ เพื่อ จะได้เลือกระบบไฟฟ้าและขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะติดตั้งได้อย่างถูก ต้องเหมาะสม


โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) ,30(100) และ 50(150) แอมแปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดย รวมได้ 15 แอมแปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ แต่จะสามารถทนกระแส ไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 แอมแปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ ถึงแม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้โดย รวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติบ้าง แต่ถ้าเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง ดวงไฟและปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดแค่ 15(15) แอมแปร์ก็เพียงพอ ถ้ามี เครื่องปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการ ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้ มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50(150) แอมแปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบ ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาดเป็น 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตาม ขนาดตัวเลขแอมแปร์ข้างต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทียบเท่ากับได้ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตามขนาดตัว เลขแอมแปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100) แอมแปร์ 380 โวลต์ 1 ชุด ก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) แอมแปร์ 220 โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง


จากตัวอย่างและข้อเปรียบเทียบต่างๆ ข้างต้นอาจเห็นได้ว่าการเลือกระบบและขนาด ของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะใช้อาจมีทางเลือกหลายอย่าง โดยที่ทำให้ได้ขนาดของไฟฟ้าที่สามารถนำไป ใช้งานได้ใกล้เคียงเช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย ขนาด 15(45) แอมแปร์ 380 โวลต์ จะได้ขนาดของไฟฟ้าใกล้เคียงกับการติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย ขนาด 50(150) แอมแปร์ 220 โวลต์ เพียงแต่การขอระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่า ใช้จ่ายสูงกว่าในตอนต้น แต่จะประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว ในขณะที่การขอระบบไฟฟ้าเฟส เดียวจะสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าในตอนต้น แต่จะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่าในระยะยาว โดยทั่วไปถ้าไม่มีการกำหนดหรือระบุถึงความต้องการเป็นกรณีพิเศษแล้วผู้รับเหมาก่อสร้างหรือช่าง ไฟฟ้าก็มักจะขอติดตั้งระบบไฟฟ้า เฟสเดียวให้โดยไม่คำนึงถึงว่าบ้านนั้นจะมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก หรือน้อยเพียงใด เพราะเป็นการสะดวกและประหยัดในตอนต้น ฉะนั้นถ้าผู้ใดที่กำลังปลูกบ้านและ เห็นว่าการใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะเป็นประโยชน์และเป็นผลดีต่อไปก็ควรจะกำหนดหรือระบุเอาไว้ เสียตั้งแต่แรก

การติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมีข้อสังเกตและข้อควรระวังบางประการกล่าวคือ เนื่อง จากระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่นำมาใช้จะถูกแยกให้กลายเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 3 ชุดเพื่อนำมาใช้ งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ถ้าไฟฟ้าแต่ละสายที่แยกไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นมีปริมาณการ ใช้งาน ( load ) ที่สมดุลกันหรือใกล้เคียงก็ย่อมจะเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดี แต่ถ้าปริมาณการ ใช้งานในแต่ละสายไม่สมดุลกันหรือแตกต่างกันมาก สายที่มีปริมาณการใช้งานสูงก็จะเสียค่าไฟฟ้า มากเนื่องจากต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้นโดยคิดในอัตราก้าวหน้าตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า ทำ ให้ค่าไฟฟ้าโดยส่วนรวมพลอยสูงขึ้นไปด้วย อย่างเช่นการที่สายไฟสายหนึ่งถูกนำไปใช้กับเครื่อง ปรับอากาศหรือเครื่องทำน้ำร้อนหลายๆ เครื่อง ในขณะที่อีกสองสายถูกนำไปใช้กับดวงไฟและปลั๊ก ไฟเพียงไม่กี่จุดเช่นนี้แล้วสายที่มีปริมาณการใช้งานสูงก็จะทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง และ ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาของการใช้ไฟฟ้าดังกล่าวเพื่อให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละสายเฉลี่ยใกล้เคียง กันหรือสมดุลกัน จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งาน ป้องกันไม่ให้สายไฟบางสายต้องรับ ภาระในการใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานและช่วยให้สามารถประหยัดค่า ไฟฟ้าอย่างได้ผลดีอีกด้วย

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย มีแรงดันระหว่างสายเส้นไฟและสายนิวทรัลเท่าไร *

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เป็นระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบ 4 สาย มีแรงดัน 380 โวต์ โดยสายไฟ 3 จะเป็นสายที่กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ (Current line) ส่วนอีกสายจะเป็นสายที่เดินไว้เฉย ๆ แต่ไม่มีกระแสไฟ (Neutral line)

สายไฟ 3 เฟส 4 สาย มีอะไรบ้าง

3.2 ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE (มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สายLINE กับ LINE 380 – 400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 220 – 230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz) เช่นเดียวกัน

ระดับแรงดัน 3 เฟสตามบ้านพักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรม มีค่าเท่าใด

2.ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ( Three phase ) คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 380 - 400 โวลท์ ระบบนี้ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ หรือพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวนมากตั้งแต่100 แอมป์

แรงดันเฟสมีค่าเท่าใด

ไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220-230 โวลท์ มีความถี่ที่ 50 Hz โดยจะมีสายไฟที่ประกอบอยู่ 2 สาย คือ สายไลน์ที่มีชื่อเรียกอีก 2 แบบ อย่างสายเฟสและสายไฟ จะมีตัวอักษรที่เขียนกำกับอยู่เป็นตัว L (Line) สามารถทดสอบว่ามีไฟหรือไม่ด้วยไขควงวัดไฟได้ ถ้าแตะแล้วที่หัวไขควงเกิดการเรืองแสง นั่นหมายถึงว่าสายไฟนั้นมีกำลังไฟไหลผ่าน ...