สอบเข้า ม.1 ใช้คะแนนอะไรบ้าง 2564

โดยทั้งสองประเภทห้องนี้จะใช้ข้อสอบเดียวกัน สัดส่วนเท่ากัน แต่ห้องวิทย์คณิตจะยากกว่าค่ะ เนื่องจากมีนักเรียนที่อยากเข้ามากกว่า ( เท่าที่เราเจอมานะคะ ) ตอนสมัครสอบทางโรงเรียนจะให้เราเลือกสองอันดับค่ะ อันดับหนึ่งจะเป็นห้องที่เราอยากเข้ามากกว่า ส่วนใหญ่จะเลือกห้องวิทย์คณิตกัน แต่เราชอบเรียนวิทย์ เลยเลือกห้องนี้ไปเลยค่ะเซฟๆ ถ้าใครอยากเข้าห้องสิทย์ก็เตรียมฝจไว้เลยค่ะว่ามีโครงงานเยอะมากๆแน่นอน เข้าค่ายไรงี้มาหมดค่ะ
3.) ห้อง EP (English Program) มี 2 ห้อง รับนักเรียนทั้งหมด 60 คน คณิต 50 คะแนน วิทย์ 50 คะแนน ภาษาอังกฤษ 100 คะแนน มีสอบสัมภาษณ์ด้วยนะคะ


วันสอบ ;
เราแนะนำให้เตรียมตัวไปให้พร้อม ตรวจของว่าครบมั้ย บัตรปชช บัตรสอบ ดินสอปากกายางลบ ครูจะแจกกระดาษคำตอบ ข้อสอบ พร้อมกัน แต่แจกทีละวิชา หมดเวลาทำข้อสอบก็เก็บทีละวิชาเลยค่ะ ไม่มีโอกาสให้ย้อนกลับมาทำเลย ก่อนสอบเราแนะนำให้ถามส่วนที่ไม่รู้กับครูคุมสอบให้เคลียร์ไปเลย จะได้ไม่ต้องมาถามช่วงสอบให้เสียเวลาแล้วก็เป็นที่รบกวนของคนอื่นในห้องสอบด้วยนะคะ โดยเราสอบช่วงเช้าหมดเลยนะคะ เรียงตามวิชาที่สอบดังนี้เลยค่ะ

1.) คณิตศาสตร์ มีทั้งหมด 30 ข้อ 50 คะแนน ข้อปรนัย 20 ข้อ ข้อละ 1.5 คะแนน ข้ออัตนัย 10 ข้อ ช้อละ 2 คะแนน ให้เวลาทำทั้งหมด 90 นาที
ยากมาก ยากมากๆๆๆ ทำเสร็จแล้วเหมือนลืมสิ้น ทำอะไรลงไป เขียนอะไรลงไป งง งงมากค่ะ5555 ส่วนใหญ่เป็นแนวสสวท แนะนำให้ทำข้อสอบเยอะๆ เจอข้อสอบจะได้ไม่ตกใจมาก บอกเลยว่าข้อกาว่ายากแล้ว ข้อเขียนยากกว่าค่ะ คนไม่เก่งเลขแบบเราคือเหม่อ [] ส่วนใหญ่ที่ยากจะเป็นเรื่องเรขาคณิต ยากให้บริหารเวลาดีๆ บางคนคือทำไม่ทันเลยค่ะ เราทำเสร็จตอนสองนาทีสุดท้าย เผื่อไว้ตรวจกระดาษคำตอบก็ดีค่ะ

2.) ภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 20 ข้อ ข้อปรนัย 15 ข้อ ข้ออัตนัย 5 ทั้งหมดข้อละ 0.5 คะแนน รวม 10 คะแนน ให้เวลาทำทั้งหมด 30 นาที
ไม่ยากมากค่ะ สำหรับคนเรียนอีพีมาแบบเราก็มียากบ้าง กลางๆบ้าง สวจะขึ้นชื่อเรื่อง reading มากๆ ไม่ยาวก็ศัพท์ยากๆเยอะ ซึ่งข้อสอบเรามีแต่ศัพท์ยากๆค่ะ ข้อเขียนจะเอามาจาก reading ค่ะ ส่วนอื่นไม่ยากมาก

3.) วิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 50 ข้อ ข้อปรนัย 40 ข้อ ข้ออัตนัย 10 ข้อ สัดส่วนคะแนนเราจำไม่ได้จริงๆค่ะ น่าจะข้อล่ะ 1 คะแนน ให้เวลาทำทั้งหมด 90 นาที
ส่วนตัวเราผ่านข้อสอบมาเยอะเลยชินกับการทำข้อสอบวิทย์มากๆ ไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่จะชอบออกอะไรแปลกๆที่ปกติเวลาเราอ่านหนังสือเราจะอ่านผ่านๆกัน หรือเราคิดวิเคราะห์ ออกคำนวณก็ไม่ง่ายค่ะ ที่สำคัญคือต้องดูบริบทประโยคดูคำที่โจทย์นำมาใช้ดีๆค่ะ เพราะแค่สลับคำหรือเพิ่มมาหนึ่งคำความหมายก็เปลี่ยนเลย ข้อเขียนไม่ยากกว่าข้อกาเท่าไหร่ จะมีเรื่องตัวแปรต้นตัวแปรตาม เรื่องนี้ไม่ซับซ้อนไม่อยากให้พลาดเลยค่ะ

โดยปีที่เราสอบเป็นปีที่คะแนนค่อนข้างโหดค่ะ ปกติถ้าอยากสอบติดเซฟๆควรได้ซัก 65+++ แต่ปีเราอันดับที่ 50กว่าๆจาก 102 ก็ได้คะแนนรวม 50 ต้นๆค่ะ ต่างกัน 7 อันดับแต่คะแนนต่างกันคะแนนเดียว อย่างอันดับที่ 93 ต่างจากอันดับที่ 102ที่รับเป็นอันดับสุดท้าย อยู่ 0.5 คะแนนค่ะ อันดับต้นๆคะแนนว่าบีบแล้ว หลังๆคือน่ากลัวมากค่ะㅠㅠ


ส่วนเรื่องไหว้ขอก็ประมาณนี้ค่า ใช้วิจารณญาณนะคะ ;
เราไปไหว้ศาลที่โรงเรียนเก่า + ไปบนว่าสอบติดจะวิ่งตามเลขรุ่นอะไรงี้อ่ะค่ะ วันก่อนสอบเราไปไหว้พระทั้งวันเพราะไม่อยากทำตัวให้ว่าง เราเป็นคนฟุ้งซ่านง่ายค่ะ แห่ะๆ ไปไหว้มาแปดที่ ส่วนใหญ่ก็เป็นวัดดังๆในกทม วัดโพธิ์วัดอรุณวัดเบญประมาณนี้ค่ะ ศาลหลักเมืองที่สุดท้าย แล้วก็ไปไหว้ศาลที่สตรีวิทย์ แนะนำให้ไปก่อนวันสอบค่ะ เพราะวันสอบคนเยอะมาก เหงื่อออกแล้วไปง่วงในห้องไม่คุ้มนะคะ ;__; เราออกมาจากห้องสอบความคิดแรกเลยคือ ต้องมาบนเพิ่ม!!!!


สุดท้ายนี้ขอให้น้องๆรุ่นต่อไปสอบติดกันตามที่หวังนะคะ ถ้าเราพยายามแล้ว ไม่ว่าผลจะออกมายังไง ถ้าไม่ดีก็อย่าเสียใจเลยค่ะ อย่างน้อยก็ได้พยายามแล้วนะคะ เป็นกำลังใจให้น้า รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองทุกท่าน เราก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะคะ สู้ๆค้าบ []

สอบเข้า ม.1 ใช้คะแนนอะไรบ้าง 2564

10 มี.ค.

ย้อนกลับไปดู “ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยในไทย”

  • Nisit Tutor
  • ข่าวการศึกษา
  • no comments

เปลี่ยนระบบ 6 รอบแล้วนะ มีอะไรบ้าง ?? มาดูกันนะคะ

1. ระบบ Entrance ยุคแรก ปี 2504 – 2542
ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในยุคแรก ๆ นั้น เป็นการสอบเข้าแบบที่ยังไม่มีหน่วยงานกลางเข้ามาดูแลเป็นทางการ แต่เกิดจากความร่วมมือกันของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในยุคนั้นจัดสอบขึ้นมากันเอง เพื่อแก้ปัญหาที่นักเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายสมัครสอบแต่ละที่หลายครั้ง โดยมีสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงาน  รูปแบบการสอบยุคนี้ เปิดให้นักเรียนเลือกคณะที่สนใจเข้าศึกษาได้ 4 อันดับ (ภายหลังปี 2516 เปลี่ยนเป็น 6 อันดับ) จากนั้นก็เข้าสอบเอ็นทรานซ์ โดยใช้คะแนนสอบเอ็นทรานซ์ 100% ไม่ต้องใช้เกรดเฉลี่ยในโรงเรียนและสามารถสอบเทียบได้ หากมีความรู้ความสามารถ ซึ่งเป็นการสอบแบบครั้งเดียว หากไม่ติดต้องรอสอบใหม่ปีหน้าเลยทีเดียว
.
2. ระบบ Entrance ยุคใหม่ ปี 2542 – 2548
โดยเปิดให้สอบเอ็นทรานซ์ได้ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนตุลาคม และเดือนมีนาคม เพื่อให้เด็กได้รู้คะแนนสอบตัวเองก่อน และสามารถเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดของตัวเองมายื่นได้ สามารถเลือกยื่นคณะได้ 4 อันดับ รวมถึงสัดส่วนคะแนนที่เปลี่ยนไปจากเดิมใช้คะแนนสอบเอ็นทรานซ์ 100% ในยุคนี้ได้มีการเพิ่มวิธิคิดสัดส่วนคะแนนใหม่ โดยใช้เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย (GPAX) มาร่วมคิดคะแนนด้วย ประมาณ 10%
.
3. ระบบ Admission : O-NET , A-NET ปี 2549 – 2552
เข้าสู่ยุค ระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษาŽ หรือว่า แอดมิชชั่น (Admission) แทน
ในยุคนี้ได้มีการเพิ่มรูปแบบข้อสอบแบบใหม่ขึ้นมาในชื่อ O-NET และ A-NET เข้ามาเป็น 1 ในสัดส่วนการคิดคะแนนในยุคนี้ ซึ่งสัดส่วนคะแนนนั้น จะประกอบด้วยเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมปลาย (GPAX) 30% รวมกับคะแนน O-NET และ A-NET
โดยการสอบ O-NET จะเป็นการสอบขั้นพื้นฐานทั่วไป 8 วิชาสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย สอบได้เพียงครั่งเดียวเท่านั้น ส่วน A-NET นั้นจะเป็นข้อสอบเสริมที่จะมีความยากขึ้นกว่า O-NET เน้นไปที่ด้านการคิดวิเคราะห์มากขึ้นอีก 5 วิชา แต่ A-NET นั้นจะสามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งและเลือกครั้งที่ดีที่สุดได้
.
4. ระบบ Admission : GAT / PAT  ปี 2553 – 2560
หลังจากถูกตั้งคำถามในเรื่องมาตรฐานของข้อสอบ A-NET ที่ทำให้หลายมหาวิทยาลัยหันมาเปิดรับตรงมากขึ้น ก็ได้มีการยกเลิกการสอบไป และปรับมาใช้ข้อสอบแบบใหม่ซึ่งเป็นการสอบวิชาความถนัดในด้านต่าง ๆ หรือที่คุ้นหูกันว่า GAT/PAT
โดย GAT จะเป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป ส่วน PAT จะเป็นการทดสอบความถนัดทางด้านวิชาชีพ เปิดให้สอบได้ 2 – 3 ครั้งแล้วแต่ปี
ซึ่งสัดส่วนคะแนนในยุคนี้ยังคงมีคะแนน O-NET มาคิด 30% รวมกับ GPAX 20% และคะแนน GAT/PAT ครั้งที่ดีที่สุดประมาณ 50 % ซึ่งแล้วแต่คณะ แล้วแต่มหาวิทยาลัยจะกำหนด
ต่อมาในปี 2555 ทางกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท. ให้ความเห็นว่าการสอบ GAT/PAT นั้นไม่ตอบโจทย์การคัดเลือกนักเรียกจริง ๆ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดสอบ 7 วิชาสามัญ รวมถึงระบบ ‘เคลียริงเฮาส์’ เพิ่มเข้ามาในปีนี้ เพื่อลดปัญหาเด็ก ๆ สอบติดแต่กั๊กที่เรียนกัน
กระทั่งปี 2558 ได้มีการปรับลดวิชาในข้อสอบ O-NET ลงจาก 8 วิชาเหลือ 5 วิชา โดยตัดวิชาศิลปะ, พลศึกษา, สุขศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยีออก
แต่พอในปี 2559 แม้จะลดวิชา O-NET ลงไปแล้ว แต่ก็ได้เพิ่มการสอบจาก “7 วิชาสามัญ” เป็น “9 วิชาสามัญ” แทน โดยได้มีการเพิ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กสายศิลป์เพิ่ม
.
5. ระบบ TCAS ปี 2561 – 2565
มาถึงระบบล่าสุดที่ใช้อยู่ปีนี้ ( ปีสุดท้ายแล้ววว )
มีการเลิกใช้คำว่า “Admission” เปลี่ยนมาเรียกว่าระบบ Thai University Central Admission System หรือ TCAS แทน ซึ่งรูปแบบการสอบในยุคนี้ ได้เลื่อนการสอบทั้งหมดมาสอบช่วงหลังจบ ม.6 ทั้งหมด และลดการสอบทั้งหมดเหลือเพียงอย่างละครั้งเดียว
โดยมีการเปิดรับสมัครทั้งหมด 5 รอบ ได้แก่
รอบที่ 1 ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ไม่มีการสอบข้อเขียน และให้มหาวิทยาลัย คัดเลือกเด็กโดยตรง
รอบที่ 2 รับแบบโควต้า ที่เหมาะสำหรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่/ภาคที่มีโควต้าโรงเรียน และโครงการความสามารถพิเศษ ที่ได้เห็นกันอยู่บ่อยๆก่อนหน้านี้
รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน เลือกได้ 4 สาขา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่าอาจจะผ่านได้ทั้งหมด 4 อันดับเลย แล้วค่อยเลือกสาขาที่ต้องการ
รอบที่ 4 การรับแบบแอดมิชชั่น เลือกได้ 4 สาขา โดยมีลำดับ คล้ายๆกับระบบ Admission เดิม
รอบที่ 5 รับตรงแบบอิสระ ซึ่งบางแห่งเรียกว่ารอบเก็บตก คัดเลือกโดยสถาบัน/มหาวิทยาลัย โดยตรง เป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กมีที่เรียนในสถาบันที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น
.
และะะะ ปี 2564 ได้ยุบรอบการคัดเลือกเหลือ 4 รอบ โดยมีเกณฑ์รอบรับตรงร่วมและรอบแอดมิชชันเหมือนเดิม แต่เปิดให้ยื่นคะแนนพร้อมกัน
นักเรียนสามารถเลือกได้สูงสุด 10 อันดับ มีการประกาศผล 2 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กสละสิทธิ์ และมีการประมวลผลเรียกตัวสำรอง ให้มีสิทธิเข้าศึกษาได้
.
6. ระบบ TCAS ปี 2566 เป็นต้นไป – เมื่อไรไม่รู้ คิดว่าไม่นานค่ะ >3<

“ข้อสอบแบบใหม่ที่ไม่เคยเจอ!”
  • ผลคะแนน  TGAT TPAT และวิชาสามัญ ทุกวิชาจะมีอายุ 1 ปีเท่านั้น นั่นหมายความว่า ถ้าจะซิ่ว ต้องสอบใหม่ทุกปี
  • ถึงจะเป็นการสอบบนคอมพิวเตอร์ แต่ก็เป็นการสอบในสนามที่จัดไว้ให้ ซึ่งจะมีศูนย์สอบหลายแห่ง อาจจะเป็นมหาวิทยาลัย โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่มีคอมพิวเตอร์รองรับ
  • ทางทปอ.จะมี demo ระบบสอบ หรือตัวอย่างระบบสอบให้น้องๆ ได้เห็น และทดลองใช้งานระบบก่อนการสอบจริง

โดยปรับรายวิชา GAT เปลี่ยนเป็น TGAT มี 3 ส่วน (สอบทุกส่วน) ได้แก่
1. การสื่อสารภาษาอังกฤษ
2. การคิดอย่างมีเหตุผล
3. สมรรถนะการทำงานในอนาคต
เลือกสอบในเดือนธันวาคม 2565 ใช้สำหรับการคัดเลือกในรอบ Portfolio/Quota/Admission
.
รายวิชา PAT เปลี่ยนเป็น TPAT มี 5 รายวิชา ได้แก่
1. วิชาเฉพาะ กสพท
2. ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
3. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. ความถนัดทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
สอบในเดือนธันวาคม 2565 ใช้สำหรับการคัดเลือกในรอบ Portfolio/Quota/Admission
.
รายวิชาสามัญ เป็น รายวิชาสามัญที่เน้นการนำความรู้ไปใช้งาน (Applied Knowledge) ได้แก่
1. คณิตศาสตร์ประยุกต์ มี 2 ส่วน คือ คณิตศาสตร์พื้นฐาน และ คณิตศาสตร์เพิ่มเติม (เลือกสอบเฉพาะ คณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ สอบทั้ง 2 ส่วน โดยสาขาวิชาอาจเลือกใช้คะแนนเพียงคณิตศาสตร์พื้นฐาน และ/หรือ คณิตศาสตร์เพิ่มเติมด้วย ก็ได้)
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์
3. ฟิสิกส์
4. เคมี
5. ชีววิทยา
6. ภาษาไทย
7. สังคม
8. ภาษาอังกฤษ
9. ภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับ บาลี เกาหลี)
สอบเดือนมีนาคม 2566 สำหรับการคัดเลือกในรอบ Quota / Admission
.
.
จะเห็นได้ว่า #TCAS66 จะกลับมาให้สอบตั้งแต่ยังไม่จบ ม.6 เหมือนสมัยเก่าๆเลยค่ะ
และ พี่แอดมินจะติดตามข่าวสาร เพื่อมาอัพเดทเพิ่มเติมให้น้องๆได้ทราบกันอีกครั้งหน้านะคะ
.

สอบเข้า ม.1 ใช้คะแนนอะไรบ้าง 2564

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.mangozero.com/60years-entrance-evolution/

Post Views: 1,121

สอบเข้าม.1ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง

วิธีการสอบเข้า คะแนนสอบคัดเลือก 5 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ 25 คะแนน วิทยาศาสตร์ 25 คะแนน ภาษาอังกฤษ 25 คะแนน ภาษาไทย 25 คะแนน และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 25 คะแนน รวมเป็นคะแนน 125 คะแนน

สอบ เข้า ม 1 ใช้เกรดอะไร

ห้อง GATE. - เกรดเฉลี่ย ป.4 - ป.5 รวมทุกวิชา 3.00 หรือร้อยละ 70. - คณิต/วิทย์ ป.4 - ป.5 เฉลี่ยวิชาละ 3.00. English Program (EPLUS+)

สอบเข้าม.1 ใช้คะแนนโอเน็ตไหม

สพฐ.แจ้งทุกโรงเรียนแก้ไขแนวปฏิบัติการรับนักเรียนชั้น .1 ม.4 ไม่ใช้คะแนน O-NET.

สอบ เข้า ม. 1 ใช้เกรดกี่เทอม

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ชั้น ป.4-ป.5. (2 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 3.00. มีผลการเรียนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ป.4-ป.5 ไม่ต่ำกว่า 3.00. มีความประพฤติเรียบร้อย