ใบ งาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ชุมชนและ ประเทศชาติ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

บทที่  3

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้

1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา

4.   กฎหมายอาญา

5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม

6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ

7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

1.   ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม

2.   ความสำคัญของกฎหมาย

2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง

2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม

2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

3.   ลักษณะของกฎหมาย

3.1        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ

3.2        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ

3.3        ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว

3.4        มีผลใช้บังคับตลอดไป

3.5        มีความเสมอภาคและยุติธรรม

4.   ประเภทของกฎหมาย

4.1        แบ่งตามความสัมพันธ์

1.       กฎหมายเอกชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน

2.       กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน

3.       กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ

4.2        แบ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

1.   พระราชบัญญัติ  คือ  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

2.   พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ

การตราพระราชกำหนดทำได้เฉพาะเห็นว่าเป็นกรณีที่ฉุกเฉิน  ได้แก่  การกระทำเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ

(1)                      รักษาความปลอดภัยของประเทศ

(2)                      รักษาความปลอดภัยสาธารณะ

(3)                      รักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

(4)                      ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ

(5)                      จำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน

3.   พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบการต่างๆ ทางบริหารโดยมีพระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้

4.   กฎกระทรวง  เป็นกฎที่ตราขึ้น  โดยรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้นเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆสำหรับการนำไปปฏิบัติ

5.   กฎอื่น ๆ  เช่น  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ เป็นต้น

4.3        แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้

(1)          กฎหมายสารบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคคล  โดยจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดอันจะก่อให้เกิดสภาพบังคับ

(2)          กฎหมายวิธีสบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการวางวิธีการปฏิบัติสำหรับบุคคลที่จะเรียกร้องขอความคุมครองของกฎหมาย  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เกิดขึ้น

กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

            กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  หมายถึง  กฎหมายซึ่งรวมเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทางแพ่ง  และในทางพา

ณิชย์ข้าไว้ด้วยกัน

           หลักทั่วไป

           บุคคล  หมายถึง  สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ

-          บุคคลธรรมดา  หมายถึง  มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคลและสิ้นสุดสภาพบุคคล  โดยการตายและต้องมีสิ่งประกอบหรือทำให้ความเป็นบุคคลปรากฏชัดเจนขึ้น

-          นิติบุคคล  หมายถึง  กลุ่มบุคคลหลายคนร่วมกันตั้งกลุ่มขึ้นโดยอาศัยอำนาจในทางกฏหมายการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสามารถของบุคคล

1.       ความสามารถของบุคคลทั่วไป  ตามกฎหมายปกติแล้วบุคคลทุกคนมีสิทธิทางกฎหมายเท่าเทียมกันแต่แตกต่างกัน  คือ  ความสามารถในการใช้สิทธิ

2.       ความสามารถของบุคคลไร้ความสามารถ  บุคคลไร้ความสามารถ  หมายถึง  บุคคลใดๆซึ่งไม่มีความสามารถตตามกฎหมาย

Øกฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง

1.   กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล

-          ชื่อบุคคล  (Name)  เป็นถ้อยคำที่ใช้เรียกบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคลใด  ประกอบด้วยชื่อ  ชื่อรอง  และชื่อสกุล  เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการจำแนกบุคคล  ส่วนชื่อรองกฎหมายไม่ได้บังคับ

-          ชื่อตัว  (First  Name)  เป็นชื่อประจำตัวของบุคคลแต่ละบุคคล  ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบิดาหรือมารดา

-          ชื่อสกุล  (Family  Name)  เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลหรือประจำครอบครัวสืบเนื่องต่อมา  ชื่อสุกลโดยปกติจึงเป็นชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

-          ชื่อรอง  เป็นชื่อประกอบถัดไปจากชื่อตัว  มุ่งหมายบอกลักษณะหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เพราะเมื่อบุคคลเกิดขึ้นมากๆ อาจมีชื่อตัวซ้ำกัน

2.   กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องมี  ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนจะเสดงภูมิลำเนาและที่อยู่เพื่อความสะดวกในการติดต่อ  ติดตาม  และการช่วยเหลือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Øกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว

1.   การหมั้น

    ชายและหญิงสามารถกระทำการหมั้นได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอายุยังไม่ถึง  17  ปี การหมั้นถือว่าเป็นโมฆะ   การหมั้นต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้

-          บิดาและมารดา

-          ผู้รับบุตรบุญธรรม

-          ผู้ปกครอง

2.   การสมรส

       การสมรสจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  แต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรอาจจะขออนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้

3.    ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา

3.1  สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)   ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

    (2)   เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว  เครื่องแต่งกาย

   (3)   เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

3.2  สินรสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินที่

   (1)  คู่สมรสได้มาระหว่างที่สมรส

   (2)  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม

   (3)  เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

                 4.  ความสัมพันธ์ในครอบครัว

                        -   สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะกันตามความสามารถและฐานะของตน

                         -   บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา

                         -   บิดามารดาต้องอุปการะจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ  ต้องให้การศึกษาแก่บุตร

                        -   บุตรไม่สามารถฟ้องร้องอุปการีได้

                         บุคคลที่สามารถรับคนอื่นเป็นลูกบุญธรรมได้  ต้องมีอายุมากกว่า  25 ปี

                         -   บุตรบุญธรรมมีฐานะได้สิทธิเช่นเดียวกับบุตร

                5. การหย่า

                     การหย่านั้นจะกระทำได้โดยยินยอมทั้งสองฝ่าย  หรือโดยคำพิพากษาของศาล

                 6.มรดก

                     มรดก  หมายถึง  ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ  ด้วยเว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้  โดยการได้รับมรดกมีสาเหตุดังต่อไปนี้

                 6.1  เจ้ามรดกตาย

                  การตายของเจ้ามรดก  หมายถึง  การตายโดยธรรมชาติ  กล่าวคือ  หัวใจหยุดเต้น  และสมองไม่ทำงาน  ส่วนสาเหตุที่ทำให้เจ้ามรดกต้องตายนั้นอาจเป็นเพราะสาเหตุใด ๆ ก็ได้

7 . ทายาท

7.1                    ทายาทโดยธรรม  คือ  บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกโดยผลของกฎหมาย

(1)          ผู้สืบสันดาน

(2)          บิดามารดา

(3)          พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4)          ปู่  ย่า  ตา  ยาย

(5)          ลุง  ป้า  น้า  อา

7.2                    ทายาทโดยพินัยกรรม  หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้

                        8.   พินัยกรรม

               พินัยกรรม  คือ  การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้  มีหลายแบบเช่น

-          แบบธรรมดาหรือแบบทั่วไป

-          แบบเขียนเองทั้งฉบับ

-          แบบเอกสารฝ่ายเมือง

-          แบบเอกสารลับ

-          แบบทำด้วยวาจา

-          แบบทำในต่างประเทศ

-          แบบทำในสภาวะสงคราม

Øกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์

ผู้เยาว์  คือ  บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ   การสิ้นสุดผู้เยาว์สิ้นสุดเมื่อ

1.   อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

2.   สมรสตามกฎหมาย

กิจการที่ผู้เยาว์สามารถทำได้  และก่อให้เกิดผลทางกฎหมายแบ่งเป็น  ประเภท  คือ

1.   นิติกรรม  คือ  กิจการใด ๆ ที่บุคคลกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

2.   นิติเหตุ  คือ  เหตุการณ์ใด ๆ ที่นอกเหนือจากนิติกรรม  เกิดได้ 2 ทาง  คือ

2.1                     เกิดโดยธรรมชาติ

2.2                     เกิดจากการกระทำของบุคคล

ด้านทรัพย์สินของผู้เยาว์

-          ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์  สามารถจัดการกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้โดยลำพังตามที่เห็นสมควรและประโยชน์ของผู้เยาว์

-          ผู้แทนโดยชอบทำของผู้เยาว์  ไม่สามารถทำหนี้  ทำหนี้โดยที่ผู้เยาว์จะต้องทำเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เยาว์ไม่ได้

การทำนิติกรรมใด ๆ ของผู้เยาว์  หากปราศจากการยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมจะถือว่าเป็นโมฆียะทั้งสิ้น  แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี  ได้แก่

1.   การทำนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว

2.   การทำนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว

3.   การทำนิติกรรมเพื่อดำรงชีพของผู้เยาว์

Øกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนไร้ความสามารถ

คนไร้ความสามารถ  คือ  บุคคลวิกลจริตซึ่งอาจเกิดจากโรคจิต  จิตฟั่นเฟือน

ผลของการเป็นบุคคลไร้ความสามารถ

1.   บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น  จะต้องจัดอยู่ในความอนุบาล  ศาลจะสั่งให้อยู่ในความอนุบาล  หมายถึง  จะต้องมีผู้อนุบาลเพื่อดูแลจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไร้ความสามารถ

2.   การใด ๆ  อันคนไร้ความสามารถได้ทำลงตกเป็นโมฆียะ

การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ

1.   เมื่อคนที่ไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย

2.   ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 

Øกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนเสมือนไร้ความสามารถ

         คนเสมือนไร้ความสามารถ  (Quasi-Incompetent)  คือ  บุคคลที่มีเหตุบกพร่องบางสิ่งบางอย่าง  ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้

          ผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

1.   ตกอยู่ในความพิทักษ์

2.   ถูกจำกัดความสามารถบางชนิด

การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

1.   คนเสมือนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย

2.   ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

3.   ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนคนเสมือนไร้ความสามารถ

Øกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนวิกลจริต

         บุคคลวิกลจริต  (Unsound  Mind)  คือ  บุคคลที่มีอาการวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ  ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ที่สามารถเหมือนดังบุคคลทั่วไป

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา

         นิติกรรม  หมายถึง  การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยสมัครใจ  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิตามเจตนาของบุคคลนั้น

ในการทำนิติกรรมนั้นขอบเขตที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยวัตถุประสงค์มี  ประการ  คือ

1.       นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

2.       นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย

3.       นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่เป็นการพ้นวิสัย

หนี้

หนี้  คือ  ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล  2  ฝ่าย  คือ

เจ้าหนี้  มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้

ลูกหนี้  มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่ตกลงกับเจ้าหนี้

ทรัพย์

ทรัพย์  หมายถึง  วัตถุที่มีรูปร่าง  เช่น  วิทยุ  บ้าน  ที่ดิน  รถยนต์  และส่วนที่ไม่มีรูปร่าง เช่น  สิทธิ

ทรัพย์แบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ  คือ

1.   อสังหาริมทัพย์

2.   สังหาริมทรัพย์

ทรัพย์สิน  หมายถึง  ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง  ซึ่งอาจมีราคา  ทรัพย์สินจะเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมาย  เช่น

1.   กรรมสิทธิ์

2.   สิทธิครอบครอง

3.   ภาระจำยอม

4.   สิทธิอาศัย

5.   สิทธิเหนือพื้นดิน

6.   สิทธิเก็บเงิน

7.   ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

8.   ทรงจำเป็น

    นิติกรรมสัญญา   ได้แก่  สัญญาซื้อขาย   สัญญาขายฝาก  การเช่าทรัพย์  การเช่าซื้อ  การกู้ยืม  การค้ำประกัน   การจำนำ  และการจำนอง

กฎหมายอาญา

        กฎหมายอาญา   คือ  กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ  และกำหนดบทลงโทษซึ่งบัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม  การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการดำเนินการเอง

        เจตนา  คือ  การกระทำผิดทางอาญา  ที่ผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความผิดแต่ยังทำลงไปทั้ง ๆ  ที่รู้สำนึกในการที่กระทำ

       ประมาท  คือ  การกระทำที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจให้เกิดผลร้ายแก่ใคร  แต่เนื่องจากกระทำโดยไม่ระมัดระวัง  ทำให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่น

      ไม่เจตนา  คือ  การกระทำที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจทำเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง

Øความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

1.   ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์  เป็นความผิดที่เอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต  แม้ว่าเจ้าของทรัพย์จะไม่ติดใจเอาความแต่ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ไม่สามารถยอมความกันได้

2.   ความผิดเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์  เป็นความผิดในการลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีการฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าโดยไม่มีความเกรงกลัว

3.   ความผิดเกี่ยวกับการชิงทรัพย์  เป็นความผิดในการลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีการใช้กำลังประทุร้ายหรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุร้าย  เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป

4.   ความผิดเกี่ยวกับการปล้นทรัพย์  เป็นความผิดในการชิงทรัพย์ที่ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่  3  คนขึ้นไป

5.   ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชกทรัพย์  เป็นความผิดในการใช้กำลังประทุร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  หรือทรัพย์สินกับผู้ถูกประทุร้าย

6.   ความผิดเกี่ยวกับการรีดเอาทรัพย์  เป็นความผิดในการข่มขืนใจผู้อื่นให้เปิดเผยความลับที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์สิน

7.   ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงทรัพย์  เป็นความผิดที่ใช้กลอุบายเอาทรัพย์สินผู้อื่นโดยการหลอกลวงและปกปิดข้อเท็จจริง

8.   ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์  เป็นความผิดที่ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน

Øความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

1.   ความผิดเกี่ยวกับชีวิต  คือ  เป็นความผิดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด  เจตนาให้ตายหรือไม่  ซึ่งมีความผิดที่สำคัญ  ได้แก่

               1.1  ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

              1.2  การช่วยยุยงให้ผู้อื่นหรือเด็กฆ่าตนเอง

2.     ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย  คือ  ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ  มี  4  ลักษณะ  คือ

2.1   ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีอันตราย

2.2    ทำร้ายร่างกายโดยมีอันตราย

2.3    ทำร้ายร่างกายโดยได้รับอันตรายสาหัส

2.4    ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต

3.       ความผิดที่กระทำโดยประมาทต่อชีวิตและร่างกาย  กฎหมายได้บัญญัติให้รับผิดในการกระทำโดยประมาทสามารถแยกได้ตามความหนักเบา  คือ

3.1     การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

3.2     การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส

3.3   การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

Ø โทษทางอาญา

ลักษณะของกฎหมายอาญามี  4  ประการ  คือ

1.       กฎหมายอาญาต้องชัดเจนแน่นอน

2.       ห้ามใช้กฎหมายจารีตประเพณีลงโทษทางอาญาแก่บุคคล

3.       ห้ามใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงลงโทษทางอาญาแก่บุคคล

4.       กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง

โทษ  คือ  สภาพบังคับ  (Sanction)  ของกฎหมายอาญา

1.   ประหารชีวิต

2.   จำคุก

3.   กักขัง

4.   ปรับ

5.   ริบทรัพย์สิน

โมฆกรรมและโมฆียกรรม

Øโมฆกรรม  

       โมฆกรรม    หมายความว่า  การทำนิติกรรมใด ๆ  ที่มีผลของนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นนั้นเสียเปล่า  ไม่มีผลผูกพันที่จะใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

สาเหตุของนิติกรรมโมฆะ  ประการ  คือ

(1)           นิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(2)           นิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย

(3)           นิติกรรมนั้นทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

(4)           มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้น ๆ  เป็นโมฆะ

Øโมฆียกรรม

        โมฆียกรรม   หมายความว่า  นิติกรรมซึ่งอาจถูกบอกล้างหรือให้สัตยาบัน  ถ้ามิได้บอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นอันหมดสิทธิที่จะบอกล้าง

สาเหตุของโมฆียกรรมอาจสรุปได้ว่ามาจากกรณีต่อไปนี้

(1)           ผู้ทำนิติกรรมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถูกจำกัดความสามารถเนื่องจากเป็นผู้เยาว์

(2)           เจตนาในการทำนิติกรรมนั้นบกพร่องเนื่องจากสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน

(3)           มีกฎหมายบัญญัติว่าการนั้นเป็นโมฆียะ

ข้อแตกต่างระหว่างโมฆกรรมและโมฆียกรรม

1.   นิติกรรมที่เป็นโมฆกรรมนั้นถือว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น  ไม่มีผลอย่างใด ๆ  เลย

2.   โมฆกรรมนั้นบุคคลซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียคนใดคนหนึ่งจะยกขึ้นกล่าวอ้างก็ได้

3.     โมฆกรรมนั้นยกขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้  ไม่มีกำหนดระยะเวลา

กฎหมายอื่นที่สำคัญ

Øกฎหมายภาษีอากร

          กฎหมายภาษีอากร   หมายถึง  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดหารายได้ให้กับรัฐโดยใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ  ภาษีอากรเป็นสิ่งที่รัฐบังคับจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ส่วนรวม

ภาษีที่เก็บโดยส่วนกลาง

1.   ภาษีที่เก็บโดยกระทรวงการคลัง

2.   ภาษีที่เก็บโดยกระทรวงอื่น

ต่อไปนี้  จะนำเสนอเฉพาะกฎหมายภาษีอากรที่น่ารู้  ได้แก่

1.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  คือ  ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ตั้งแต่  150,001 บาทขึ้นไป  โดยที่บุคคลนั้นอาจมีสถานภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้

(1)                       บุคคลธรรมดา

(2)                       ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

(3)                       ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

(4)                       กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

2.   ภาษีเงินได้นิติบุคคล  เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ดังต่อไปนี้

(1)                       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

(2)                       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายระต่างประเทศ

(3)                       กิจการซึ่งเป็นการค้าหรือการหากำไรในประเทศไทยที่ดำเนินการ

(4)                       กิจการที่ร่วมทุนกันค้าหรือหากำไรระหว่างนิติบุคคลต่อไปนี้

(5)                       มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้

3.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  อย่างไรก็ตามกฎหมายได้กำหนดให้มีกิจการบางประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  เช่น

(1)                       การขายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ

(2)                       การขายสัตว์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในประเทศ

(3)                       การขายปุ๋ย การขายอาหารสัตว์

(4)                       การขายหนังสือพิมพ์  นิตยสาร

(5)                       การขายฉลากกินแบ่งรัฐบาล

4.   ภาษีธุรกิจเฉพาะ  เป็นภาษีที่เก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง  ดังต่อไปนี้

(1)                       การธนาคาร

(2)                       การประกอบธุรกิจเงินทุน  ธุรกิจหลักทรัพย์

(3)                       การรับประกันชีวิต

(4)                       การรับจำนำ

(5)                       การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าหรือหากำไร

5.   ภาษีป้าย

ป้าย  คือ  ยี่ห้อ  หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  เพื่อโฆษณา  โดยทำขึ้นด้วยวิธีใด ๆ  ทั้งนี้จะต้องเสียภาษีด้วย

1)   ป้ายที่ต้องเสียภาษี

ป้ายที่ต้องเสียภาษี  ได้แก่  ป้ายที่แสดงชื่อยี่ห้อหรือทำเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  เพื่อโฆษณา  หรือหารายได้ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม

2)   การยื่นแสดงรายการเสียภาษีป้าย

เจ้าของบ้านต้องไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อสำนักงานเขต  เทศบาล  ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

3)   การชำระภาษีป้าย

เมื่อได้มีการยื่นภาษีป้าย แล้วให้ผู้ยื่นนำเงินค่าภาษีป้ายไปชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ไว้ภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่

6.   ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

โรงเรือน  คือ  ที่อยู่อาศัย  หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ  กับที่ดิน  ซึ่งจะต้องเสียภาษีดังนี้

1.   ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน  หรือทรัพย์สินที่ต้องแจ้งรายการ

2.   โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องแจ้งรายการ  ตั้งอยู่ในท้องที่ใดให้ยื่นแบบแจ้งรายการต่อพนักงาน

3.   การยื่นเสียภาษีโรงเรือน  ให้ยื่นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศให้ทราบ

7.   ภาษีได้หัก ณ ที่จ่าย

การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย  ให้คำนวณหักไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

Øกฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร

ราชการทหาร  พุทธศักราช  2497  การรับราชการทหารมี  ประเภท  คือ

1.   การรับราชการทหารกองเกิน

2.   การรับราชการทหารกองประจำการ

3.   การรับราชการทหารกองหนุน

4.   การรับราชการทหารประจำการ

Øกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

1.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา

            อำนาจหน้าที่ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

1)   มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการโฆษณาสินค้า หรือบริการ

2)   มีหน้าที่ในการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค

3)   มีหน้าที่ในการตรวจข้อความโฆษณา

2.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก

การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก   เป็นเรื่องที่รัฐออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค

3.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา

4.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการขายและตลาดแบบตรง

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

Øกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

          กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ(International  Humanitarian  Law  :  IHL)  เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศที่มุ่งครอบครองเพื่อนมนุษย์จากภัยสงคราม  หรือภัยจากการขัดแย้งกำลังทหาร

กฎหมายมนุษยธรรมที่กำหนดในอนุสัญญาเจนีวา  มีดังนี้

อนุสัญญาฉบับที่  ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ  ในกองทัพที่อยู่ในสนามรบ

               อนุสัญญาฉบับที่  ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ  ในทะเล

               อนุสัญญาฉบับที่  ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเฉลยศึก

               อนุสัญญาฉบับที่  4  ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม