Occupational Safety and Health คือ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คือ อะไร เรียนอะไร ทำงานอะไร ?

Occupational Safety and Health คือ

สำหรับ ‘อาชีวอนามัย’ สาขานี้จะมุ่งเน้นการเรียน ไปยังสาขาวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งการเรียนในปีแรกจะเกี่ยวข้องกับ วิชาทั่วไป หากแต่จะเน้นเคมี, ชีวะ, ฟิสิกส์สุขภาพ และ แคลคูลัส  หลังจากปูพื้นฐานกันอย่างหนักหน่วงแล้ว เมื่อเข้าปี 2 คุณจะได้เรียน เรื่องร่างกายมนุษย์ และ คุณจะได้เรียนพื้นฐาน อาชีวะอนามัย ตั้งแต่ปี 2 หลังจากนั้นเมื่อขึ้นปี 3 – 4 หลักสูตรจะหนักขึ้นตามระยะเวลาเรียน คุณจะได้เรียน โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ต้องประสบพบเจอในอุตสาหกรรม, ความปลอดภัย, การป้องกันไฟ เป็นต้น เมื่อเรียนจบก็ต้องออกไปฝึกงานตามโรงงานต่างๆ อีกด้วย

‘อาชีวอนามัยและความปลอดภัย’ เรียนจบแล้วลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร?

เมื่อคุณเรียนจบแล้ว คราวนี้จากนักศึกษา ก็จะพัฒนากลายเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ อย่างอัตโนมัติ ในส่วนหน้าที่ของคุณแบบคร่าวๆ คือ มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย ตลอดจนรักษาสุขภาพอนามัยของผู้ทำงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ในสถานประกอบการต่างๆ ตลอดจนดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ทำร้าย หรือทำลายสุขภาพทั้งทางกายรวมทั้งจิตใจของผู้ทำงานคนอื่นๆ อีกด้วย

Occupational Safety and Health คือ

*เกร็ดน่ารู้ นักอาชีวอนามัยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการทำงาน จป. คือ เป็นคำเรียกของผู้จบหลักสูตร ‘อาชีวอนามัย’

ความสำคัญของอาชีพ ‘อาชีวอนามัยและความปลอดภัย’

ความสำคัญของอาชีพนี้ คือ ทุกโรงงานจำเป็นต้องมี ผู้ประกอบอาชีพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มิฉะนั้นโรงงานจะไม่ผ่านมาตรฐาน อย่างไรก็ตามด้วยความที่สาขานี้เป็นวิทยาศาสตร์ ก็ยังถือว่ามีความขาดแคลนอยู่ดี จัดเป็นตลาดงานเป็นที่ต้องการ สามารถทำได้ทั้งหญิง – ชาย หากแต่บางสาย อาจต้องการพนักงานผู้ชายมากกว่า เช่น สายงานก่อสร้าง, ปิโตรเลียม เป็นต้น หากแต่ถ้าเป็นตามโรงงานทั่วไป จะไม่ค่อยแตกต่างสักเท่าไหร่ สามารถทำได้ทั้งหญิง – ชาย หากถ้าเป็นโรงงานที่พนักงานหญิงเยอะ ก็อาจมีแนวโน้มรับผู้หญิงมากกว่า

ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ? โดยผู้จะทำงานสายนี้ จะต้องมีความแม่นยำในเรื่องของกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งทางด้านกฎหมาย, กฎระเบียบบริษัท อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการประนีประนอม เนื่องจากในการทำงานการที่คุณจะไปเตือนใคร บางครั้งคนที่ถูกเตือนก็ไม่พอใจ นอกจากนี้คุณยังต้องมีความสามารถในการสอน, นำเสนอ, พูดต่อหน้าคนหลายๆ คน รวมทั้งอาจถูกมอบหมายงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปด้วย เนื่องจากโครงสร้างองค์กรในประเทศไทยหลายๆ ที่ จะยุบนำมารวมเป็นแผนก HSE/SHE รวมกันไปเลย

Post navigation

Occupational Safety and Health คือ

คำว่า “อาชีวอนามัย” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Occupational Health” โดยมีรากฐานมาจากคำสองคำผสมผสานกัน คือ

  • อาชีวะ (Occupational) หรืออาชีพ หมายถึงบุคคลที่ประกอยอาชีพการงาน
  • อนามัย (Health) หรือสุขภาพอนามัย ตามความหมายที่อง์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำจำกัดความไว้ หมายถึง สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย (Physical Health) ทางจิตใจ (Mental Health) และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี (Social well – being) ซึ่งไม่เพียงแต่ปราศจากโรคหรือไม่แข็งแรงทุพพลภาพเท่านั้น
  • สำหรับคำว่า “ความปลอดภัย” (Safety) หมายถึง สภาพที่ปราศจากภัยคุกคาม (Hazard) ไม่มีอันตราย (Danger) และความเสี่ยงใดๆ (Risk) 

         เมื่อนำคำทั้งหมดดังกล่าวมารวมกัน จึงกล่าวได้ว่า งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกรควบคุมดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งมีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม อันตรายและความเสี่ยงตางๆ

ลักษณะงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะกรรมการร่วมระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; IKO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) 

ได้กำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ดังนี้ คือ

  1. การส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ
  2. การป้องกัน (prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ อันมีสาเหตุมาจากสภาพหรือสภาวะในการทำงานต่างๆ
  3. การป้องกันคุ้มครอง (protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพขึ้นได้
  4. การจัดงาน (placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับความ สามารถของร่างกายและจิตใจของเขา
  5. การปรับ (adaptation) งานให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงา

พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับ อันตรายจากการทำงานสูง  หากป้องกันไม่รัดกุมไม่เพียงพออาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อม ในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน เครื่องจักร อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลงตามไปด้วย

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงานที่ทำงานปราศจากการอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน

อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บ

การเกิดอุบัติเหตุมักเกิดจากสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. สภาพการณ์ หรือเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย (hard ware) เช่น เครื่องจักรหรืออุปกรณ์มีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย

2. วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (soft ware) เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน ไม่มี WI

3. ตัวบุคคลประมาท (human ware) พนักงานไม่มีความระมัดระวัง ทำงานด้วยความประมาท ชอบเสี่ยง ไม่ทำตามกฎระเบียบ เป็นต้น

จากข้อ 3. อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

– การทำงานข้ามขั้นตอน หรือ ลัดขั้นตอน
– ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
– การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
– ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
– ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคค PPE
– ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท , ดัดแปลงหรือแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร
– การทำงานโดยสภาพร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ ไม่พร้อมปฏิบัติงาน
– ทำงานด้วยความรีบร้อน เร่งรีบ เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

  1. การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย source เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาด้วยการออกแบบให้เครื่องจักรหรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณและต้นทุนมาก เสียเวลา และ ทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูง หรือ การแก้ไขทำได้ยาก จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนใหญ่เราจะเห็นบริษัทหรือโรงงานใหญ่ๆที่ให้ความสำคัญด้าน safety จริงๆจึงจะยอมลงทุนแก้ไขด้วยวิธีการนี้
  2. การป้องกันที่ทางผ่าน Path เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตรายกับคนทำงานแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การทำงานกับเครื่องจักรที่มีจุดหนีบ การแก้ไขคือให้ทำการเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงานสามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น
  3. การแก้ไขที่ตัวบุคคล Receivers เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและรวดเร็วประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่จะจบด้วยการที่ให้พนักงานทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่ PPE แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสียคือมีความปลอดภัยน้อยที่สุดใน 3 วิธีที่กล่าวมาและบ่อยครั้งอุบัติเหตุก็ยังคงเกิดอยู่ซ้ำตามเดิม

การป้องกันอุบัติเหตุและทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้นยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเข้ามาช่วย เช่น

  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับในสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
  • ติดตั้งการ์ดเครื่องจักร                                                                          
  • สวมใส่เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ไม่ใส่เครื่องประดับ หรือ ปล่อยผมยาวขณะทำงานกับเครื่องจักร
  • จัดให้มีแสงสว่างภายในโรงงานที่เพียงพอตามมาตรฐานพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า เพื่อให้ความเข้มส่องสว่างบนโต๊ะทำงานที่เพียงพอและไม่เกิดเงาหรือแสงสะท้อน รวมทั้งการเลือกชนิดของหลอดไฟที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
  • พื้นที่ทำวานมีการระบายอากาศ พิจารณาของการไหลเวียนอากาศเข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย อาทิ ความชื้นสัมพัทธ์อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นควันพิษที่มีอยู่ในอากาศนั้น
  • การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ หรือทำ 5ส ในบริษัทอย่างจริงจัง เป็นต้น

สรุป: ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรของเราโดยไม่โยนให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่งเพื่อให้เรานั้นทำงานและกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

แหล่งที่มา: [1]