การจัดส่งสินค้า มีอะไรบ้าง

ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เบราว์เซอร์นี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป

Show

อัปเกรดเป็น Microsoft Edge เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะล่าสุด เช่น การอัปเดตความปลอดภัยและการสนับสนุนด้านเทคนิค

การจัดส่งสินค้าโดยตรง

  • บทความ
  • 03/10/2022
  • 2 นาทีในการอ่าน

ในบทความนี้

ข้อสำคัญ

Dynamics 365 for Finance and Operations ได้พัฒนาแอพลิเคชันที่สร้างมาสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะในการช่วยคุณจัดการกับฟังก์ชันธุรกิจเฉพาะเจาะจง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ดูที่ คู่มือการให้สิทธิ์การใช้งาน Dynamics 365

บทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าโดยตรง การจัดส่งสินค้าโดยตรงคือการจัดส่งที่ส่งโดยตรงจากผู้จัดจำหน่ายให้ลูกค้าของคุณ

จัดส่งสินค้าโดยตรงประหยัดเวลาจัดส่ง และลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการถือครองสินค้าคงคลัง เนื่องจากคุณไม่ได้เก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้าของคุณก่อนที่คุณจะจัดส่งให้แก่ลูกค้า

คุณสามารถสร้างการจัดส่งโดยตรงจากหน้า ใบสั่งขาย สร้างใบสั่งขาย และรายการใบสั่ง จากนั้นบนบานหน้าต่างการดำเนินการ บนแท็บ ใบสั่งขาย เลือก การจัดส่งสินค้าโดยตรง ในตอนท้าย ระบุรายการที่ต้องจัดการเป็นการจัดส่งสินค้าโดยตรง ขณะนี้ลิงค์ถูกสร้างระหว่างรายการใบสั่งขายสำหรับการจัดส่งโดยตรง และรายการใบสั่งซื้อที่สอดคล้องกัน

หมายเหตุ: ถ้าบางส่วนของปริมาณที่สั่งได้จัดส่งแล้ว คุณต้องแบ่งปริมาณที่คงเหลือ สร้างรายการใหม่สำหรับปริมาณที่ต้องถูกจัดส่งสินค้าโดยตรง และลบปริมาณออกจากปริมาณในรายการเดิม ตัวอย่างเช่น ถ้าปริมาณเดิมคือ 15 และมีการจัดส่งไปห้าแล้ว คุณต้องสร้างรายการใหม่สำหรับปริมาณคงเหลือ 10 จากนั้นลดปริมาณเดิมด้วยจำนวนนั้น

หลังจากที่คุณสร้างการลิงค์จัดส่งสินค้าโดยตรงระหว่างรายการใบสั่งขาย และรายการใบสั่งซื้อ คุณสามารถอัพเดตใบสั่งขายโดยใช้บันทึกการจัดส่ง รันอัพเดตบันทึกการจัดส่ง หรืออัพเดตใบแจ้งหนี้จากใบสั่งซื้อ คุณต้องอัพเดตใบแจ้งหนี้ของใบสั่งขายจากหน้า ใบสั่งขาย อัพเดตใบแจ้งหนี้ไม่ทำให้ปริมาณในใบสั่งขายเกินกว่าปริมาณที่มีการลงทะเบียนเป็นได้รับ ตัวอย่างเช่น รายการใบสั่งขายมี 10 ชิ้น แต่มีเพียงห้าชิ้นจากรายการใบสั่งขายที่อัพเดตแล้วโดยใช้บันทึกการจัดส่ง ถ้าคุณเลือก ทั้งหมด ในรายการ ปริมาณ เมื่อคุณอัพเดตใบแจ้งหนี้ของใบสั่งขาย เฉพาะสินค้าเหล่านั้นที่ได้รับทางกายภาพ หรืออัพเดตโดยใช้บันทึกการจัดส่ง คือ การอัพเดตใบแจ้งหนี้ รายการใบสั่งขายทั้งหมดไม่ได้ถูกอัพเดต

วันที่ส่ง

เมื่อคุณอัพเดตฟิลด์ วันที่ขอรับสินค้า ในรายการใบสั่งขาย ฟิลด์ วันที่จัดส่ง บนรายการใบสั่งซื้อที่สอดคล้องกันมีการอัพเดตด้วย ในลักษณะคล้ายกัน เมื่อคุณอัพเดตฟิลด์ ยืนยันแล้ว ในรายการใบสั่งซื้อ ฟิลด์ วันที่ยืนยันการรับสินค้า และฟิลด์ วันที่จัดส่งที่ยืนยัน บนรายการใบสั่งซื้อที่สอดคล้องกันมีการอัพเดตด้วย

ที่อยู่ที่จัดส่ง

โดยทั่วไป ที่อยู่การจัดส่งสำหรับใบสั่งซื้อจะเป็นที่อยู่ของบริษัท อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณสร้างการจัดส่งสินค้าโดยตรง คุณป้อนที่อยู่ของลูกค้าเป็นอยู่ที่การจัดส่ง ถ้าคุณเปลี่ยนที่อยู่การจัดส่งบนรายการใบสั่งซื้อที่มีชนิดการจัดส่งของ การจัดส่งสินค้าโดยตรง ที่อยู่การจัดส่งบนรายการใบสั่งขายที่สอดคล้องกันมีการอัพเดตด้วย ในลักษณะคล้ายกัน ถ้าคุณเปลี่ยนที่อยู่การจัดส่งในรายการใบสั่งขาย ที่อยู่การจัดส่งในรายการใบสั่งซื้อมีการอัพเดตด้วย

การลบบรรทัดใบสั่ง

ถ้าคุณพยายามลบรายการใบสั่งขายที่มีชนิดการจัดส่งของ การจัดส่งสินค้าโดยตรง กล่องข้อความระบุว่ารายการใบสั่งซื้อแนบอยู่กับรายการ ถ้ารายการใบสั่งขายถูกจัดส่งเพียงบางส่วน คุณไม่สามารถลบรายการใบสั่งขาย หรือรายการใบสั่งซื้อที่แนบไว้ได้

คลังสินค้า

เมื่อคุณสร้างการจัดส่งสินค้าโดยตรง สินค้าที่คุณขายไม่มีทางที่จะมาถึงที่คลังสินค้าของคุณทางกายภาพ อย่างไรก็ตาม คุณยังต้องระบุคลังสินค้าบนรายการใบสั่งขาย ในลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดการเบิกสินค้าอาจระบุบนกลุ่มแบบจำลองสินค้าสำหรับสินค้า อย่างไรก็ตาม สินค้าไม่มีทางที่จะมาถึงที่คลังสินค้าของคุณทางกายภาพ ข้อกำหนดเหล่านี้จะถูกละเว้นเมื่อใบสั่งขายมีการจัดส่งสินค้าโดยตรง

หมายเหตุ

บอกให้เราทราบเกี่ยวกับภาษาที่คุณต้องการในคู่มือ ทำแบบสำรวจสั้นๆ (โปรดทราบว่าแบบสำรวจนี้เป็นภาษาอังกฤษ)

แบบสำรวจนี้ใช้เวลาทำประมาณเจ็ดนาที ไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล (คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล)

คำติชม

เรียกได้อย่างเต็มปากว่าธุรกิจการขนส่งเป็นธุรกิจที่เติบโตที่รวดเร็ว เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งต้องศึกษาวิธีการขนส่งให้เหมาะกับสินค้านั้น ๆ วันนี้ทาง  DTC มีคอนเทนต์เกี่ยวกับประเภทการขนส่งมาฝาก

การขนส่งนั้นสามารถแยกได้เป็น 5 ประเภท

1. การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation)

2. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation)

3. การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)

4. การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System)

5. การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation)

เราจะมาลงรายละเอียดกัน โดยเริ่มจาก

1. การขนส่งทางบก (Road or Motor Transportation)จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
             – การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) เป็นเส้นทางการลำเลียงที่สำคัญที่สุดของประเทศ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนัก ๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล รวดเร็ว อัตราค่าบริการไม่แพง และขนส่งสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด ทันตามกำหนดเวลาที่ต้องการ แต่ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว
             – การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือรถบรรทุก (Truck Transportation)    เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เหมาะสำหรับของขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งสะดวก รวดเร็วขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความต้องการของลูกค้า เหมาะกับการขนส่งระยะสั้นและระยะกลาง แต่ค่าขนส่งสูงเมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถไฟ มีความปลอดภัยต่ำ เกิดอุบัติเหตุบ่อย กำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรและดินฟ้าอากาศ
             – การขนส่งทางจักรยานยนต์ เหมาะสำหรับของขนาดเล็กและขนาดกลาง ระยะการขนส่งสั้น ไม่สามารถส่งในระยะไกลได้ ราคาไม่แพงมาก การขนส่งทางจักรยานยนต์เหมาะกับของที่ต้องการความรวดเร็วในระยะการขนส่งระยะสั้น

2. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation) คือ การขนส่งโดยการใช้แม่น้ำลำคลอง เส้นทางทางทะเลเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้า ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางน้ำอัตราค่าขนส่งถูกกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่น ทั้งยังขนส่งได้ปริมาณมาก สามารถส่งได้ระยะไกล ๆ ได้ แต่ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนในการขนส่งได้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ และ ภูมิประเทศ

3. การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation) เหมาะกับการขนส่งระหว่างประเทศ หรือการขนส่งที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัย เหมาะกับการขนส่งสินค้าประเภทที่เปราะบาง เช่น ผัก ผลไม้ เป็นต้น ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมากและสินค้าราคาถูกๆ ไม่รีบร้อนในการขนส่ง แต่ค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่น

4. การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ (Container System)  เป็นการขนส่งโดยบรรจุสินค้าที่จะขนส่งลงในตู้หรือกล่องเหล็กขนาดใหญ่ แล้วทำการขนส่งโดยรถบรรทุก รถไฟ หรือเครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มีการขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างทำการขนส่งเที่ยวนั้น ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถวางไว้กลางแจ้ง ตู้คอนเทนเนอร์ จึงสามารถป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็นอย่างดี

5. การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation)เป็นการขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและก๊าซผ่านสายท่อ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการขนส่งประเภทอื่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทางขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ทำให้กำหนดเวลาการขนส่งได้แน่นอนชัดเจน ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้ายสินค้า และมีความปลอดภัยสูงจากการสูญหายหรือลักขโมย ใช้กำลังคนน้อย ซึ่งข้อเสีย คือ ขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้นค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูง ไม่เหมาะกับการขนส่งในภูมิประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อย

เพราะฉะนั้นในการขนส่งแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระยะทาง สินค้าที่ต้องการขนส่ง ระยะเวลา ฯลฯ เพื่อให้คุ้มค่าและตรงต่อความต้องการของลูกค้า สำหรับผู้ส่งจึงต้องมีการศึกษาและหาราคาเทียบก่อนการตัดสินใจ DTC ขอแนะนำ  Tr@box (โทร่าบ็อกซ์)  บริการค้นหา & จับคู่ระหว่างบริษัทที่มีรถเพื่อขนส่ง กับ บริษัทที่มีของ ให้มาเจอกัน โดยเป็น platform ที่ใช้ง่าย สะดวก เป็นอีกช่องทางที่รวมรวบผู้ประกอบการขนส่ง สามารถหาราคาเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจ และสามารถหาผู้ประกอบการขนส่งที่ถูกใจได้

การจัดส่งสินค้า หมายถึงอะไร

การจัดส่งสินค้า คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เช่น การเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าไปยังลูกค้าโดยใช้ช่องทางต่างๆ รวมจนถึงการจัดส่งผ่านตัวแทนขนส่งพัสดุ เช่น ไปรษณีย์ไทย, EMS, เคอรี่, แฟลช เอ็กเพรส เป็นต้น อย่างไรก็ตามการจัดส่งสินค้ามีด้วยกันหลากหลายช่องทาง และแต่ละวิธีก็มีขั้นตอนการจัดส่งสินค้าที่แตก ...

อยู่ในระหว่างการจัดส่ง คืออะไร

พัสดุอยู่ระหว่างการจัดส่ง หมายถึง พัสดุของท่านอยู่ระหว่างการนำส่งไปยังผู้รับปลายทาง

ค่าจัดส่งคืออะไร

1. ค่าจัดส่งสินค้า คือ ค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ 2. ค่าจัดส่งคืนสินค้า คือ ค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อ ในการจัดส่งสินค้ากลับไปยังผู้ขาย ในกรณีการขอคืนเงินคืนสินค้า

การขนส่งทางน้ํา มีอะไรบ้าง

1. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ เส้นทางเดินเรือชายฝั่งทะเล เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ ข้อดี ข้อเสียของการขนส่งทางน้ำ