รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ from Prapaporn Boonplord

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government คืออะไร

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของภาครัฐปรับปรุงการ บริการ แก่ประชาชนการบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนในขณะที่ e-Commerce คือบริการทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C และ B2B เป็นหลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐประชาชน อุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทาง
อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

B2C หมายถึง ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)

B2B หมายถึง ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)

G2G หมายถึง ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน(Government to Government)

G2C หมายถึง ภาครัฐสู่ประชาชน(Government to Citizen)

G2B หมายถึง ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ(Government to Business)

ข้อมูลเบื้องต้นที่เราชาวยุค 2018 ต้องเรียนรู้ ศึกษาและทราบเอาไว้ เพื่อให้อนาคตเราเป็นคนที่สามารถรู้เทาทัน สื่อ รัฐบาล และสังคมยุคใหม่ ที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งเราอาจตามไม่ทัน อีกทั้งช่วยให้เรามีเกาะป้องกันตัวเอง จากความรู้รอบตัวที่เราควรรู้ไว้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิต และการใช้ชีวิตประจำวันในทุกๆ วัน

ที่มา : เกร็ดความรู้.net

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

  • July 24, 2021
  • Documentary

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับการพัฒนาของระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ

  • 0shares

แนวคิด “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์”  เกิดขึ้นมาจากผลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารส่งผลให้สังคมในศตวรรษที่ 21 เข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศหรือเป็นยุคที่ผู้คนมีการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลดิจิทัล (Digitalization) เป็นหลักเพื่อการได้มา จัดเก็บ ประมวลผล สืบค้น และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา

โดยการก้าวสู่ยุคสังคมสารสนเทศดังกล่าว ไม่ได้ส่งผลต่อแค่วิถีการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปเท่านั้นแต่ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาและการบริหารงานภาครัฐ ที่รัฐจำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์ทางความคิดในทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนา และนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบบริหารสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้อย่างเต็มที่ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ โดยจำเป็นต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการและระบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งด้านการให้บริการแก่ประชาชนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวและสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อกาวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) จึงเกิดการพัฒนาแนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ และนำ ไปสู่การพัฒนาแนวคิด “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” ขึ้น

ในบทความนี้จะอ้างอิงข้อมูลจากโครงการวิจัย เรื่อง “บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง” โดยจะนำเสนอถึงความสำคัญของคำว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นฐานความรู้ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลในฐานะเครื่องมือเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะและการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนต่อไป นอกจากนั้นจะนำเสนอถึงว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในการพัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐไทย

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

อย่างแรกเลยที่เราควรต้องรู้คือความหมายของ คำว่า “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” หรือ E- government หรือที่เราเรียกอย่างอื่น เช่น รัฐบาลออนไลน์บ้าง รัฐบาลดิจิทัลบ้าง ว่าเป็นแนวคิดว่าด้วยวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ ที่เน้นการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานบริการสาธารณะของภาครัฐ

โดยจุดประสงค์ของการจัดตั้งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีอยู่หลายประการ แต่วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญเลย คือ เพื่อมุ่งเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศระหว่างเครือข่ายหน่วยงานรัฐและส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาฐานข้อมูลของ เพื่อใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขยายขีดความสามารถของรัฐในการให้บริการประชาชน และให้ภาคธุรกิจได้รับบริการที่รวดเร็ว ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการให้บริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เกิดความพึงพอใจและเกิดทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานของรัฐ ลดขั้นตอนการทำงานและงบประมาณที่ซ้ำซ้อน และตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ๆ

อาจเรียกได้ว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวของสามฝ่าย คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนเข้าด้วยกันในการที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความใกลชิดกับภาครัฐมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อการสร้างธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในกระบวนการบริหารงานและการทำงานของระบบราชการ เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลและการเพิ่มช่องทางการตรวจสอบให้กับประชาชนซึ่งจะนำไปสู่การลดการคอร์รัปชันได้ เช่น ในปัจจุบันรัฐบาลไทยเองก็ได้ตระหนักและเริ่มมีการดำเนินการตามแนวรัฐบาลดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จาก  มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขนาดใหญ่ไปพร้อมกับการพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัล

อีกทั้งรัฐบาลไทยยังได้วางนโยบายก้าวสู่การเป็น “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อมุ่งให้ประเทศสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงในเวทีโลก โดยกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลไว้ว่า “ใน 3 ปีข้างหน้า ภาครัฐไทยจะยกระดับสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง”

โดยที่ผ่านมาไทยนั้นประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในหลายประการ อาทิ  การมีระบบการทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-passport ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการทำหนังสือเดินทางแบบเดิมสู่หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำแนวคิดการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยเรื่องเอกสารเดินทางตามมาตรฐานโลก มาใช้และนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) เช่นลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ในชิพซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยผลจากการดำเนินการดังกล่าว ก่อให้เกิดความรวดเร็ว และแม่นยำในการตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคล เกิดความสะดวกต่อการเดินทางของประชาชน สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับสากล

นอกเหนือนี้ยังมีอีกหลายตัวอย่างความสำเร็จที่แสดงถึงการปรับใช้แนวคิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบการชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัตรสมาร์ทการ์ด และระบบทะเบียนราษฎร์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต่างก็เป็นตัวอย่างระบบที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายมาใช้อำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ทำให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการดำเนินการและการเข้าถึงบริการของภาครัฐ อีกทั้งลดต้นทุนและประหยัดงบประมาณในการดำเนินการ ในการจัดเก็บและดูแลเอกสารจำนวนมาก เกิดการทำงานเชิงบูรณาการโดยการปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการให้บริการและพัฒนาประเทศให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย

แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายหน่วยงานของไทยก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ความพร้อมของบุคลากร คือ บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจหรือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในทางปฏิบัติ และการขาดการรับการสนับสนุนจากภาครัฐส่วนกลางอย่างจริงจัง ทำให้ไม่มีกรอบแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยความสำเร็จของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในการพัฒนาระบบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ มีอยู่ด้วยกัน 6 ปัจจัยหลัก ๆ คือ ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยด้านผู้บริหารระดับสูง กล่าวคือ  การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานจะเป็นนแรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานรัฐจะต้องมีการสนับสนุนด้านงบประมาณจากผู้บริหารระดับสูง เพื่อส่งเสริมบุคลากรในการฝึกอบรมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของหน่วยงาน

ปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยด้านบุคลากรและความรู้ความเข้าใจของบุคลากร หากหน่วยงานของรัฐมีบุคลากรที่มีทักษะ มีความสามารถ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพียงพอ และช่วยพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบุคลากรอื่น ๆ ในหน่วยงาน รวมทั้งบุคลากรมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมองค์กร ยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม มีการแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศให้กันแล้ว จะนำไปสู่ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่สาม คือ ปัจจัยนโยบายภาครัฐและความชัดเจนของกฎระเบียบที่รองรับ ความชัดเจนด้านนโยบายภาครัฐและกฎระเบียบที่รองรับจะทำให้เกิดการกำหนดกรอบแนวทางมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจน และนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยที่สี่ คือ ปัจจัยด้านระบบสารสนเทศภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคมหากมีการจัดระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการให้บริการภาครัฐและระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐที่สมบูรณ์แล้ว จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐให้ได้มาตรฐานและสามารถเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐได้ เพราะหากสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันในลักษณะโครงข่ายข้อมูลที่เชื่อมต่อถึงกันได้แล้ว จะทำให้เกิดกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจัยที่ห้า คือ ปัจจัยด้านระบบความปลอดภัยของการเก็บข้อมูลส่วนตัว ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัญหาหลัก คือ ประการแรก ความไม่มั่นใจในระบบการจัดเก็บข้อมูล กลัวว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะรั่วไหลและนำไปสู่การล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประการที่สอง คือ ความไม่มั่นใจในเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล โดยเฉพาะปัญหาทางด้านไวรัสและแฮคเกอร์ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะใช้บริการส่งข้อมูลหรือทำคำร้องขอใด ๆ ผ่านระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นในเรื่องนี้ภาครัฐควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยปัญหาด้านเทคนิค การวางแผน และจัดทำเนื้อหา เนื่องจากปัจจุบันการเผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการบางแห่งยังมีปัญหาของการดาวน์โหลดเว็บไซต์ที่ต้องใช้เวลานานและไม่สามารถเข้าเว็บไซต์นั้นได้ หรือปัญหาในเรื่องการวางแผนจัดทำเนื้อหาและรูปแบบเว็บไซต์ของแต่ละกระทรวงและหน่วยงานในสังกัดไม่เป็นเอกภาพ ข้อมูลมีลักษณะซ้ำซ้อน จนทำให้ประชาชนที่เข้ามาดูข้อมูลเกิดความสับสน จากปัญหาตรงนี้ภาครัฐจึงควรมีการเร่งแก้ปัญหา จัดอบรมด้านเทคนิคและการจัดทำเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและไปในทิศทางเดียวกันทุกหน่วยงาน

กล่าวโดยสรุป รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นต้นแบบการให้บริการของภาครัฐในยุคปัจจุบัน และเป็นแนวทางการบริการจัดการภาครัฐแบบใหม่ อันจะเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนาและปรับปรุงระบบงาน ด้วยเหตุนี้ภาครัฐไทยจึงควรเร่งปรับปรุงระบบต่าง ๆ ให้ก้าวหน้า ก้าวทันเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการของหน่วยงานรัฐให้มีการบูรณาการบริหารจัดการข้อมูลดิจิทัล เสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริการประชาชนต่อไป

อ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “บทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทศวรรษหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง”

ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

สำหรับรูปแบบการให้บริการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้.
ภาครัฐต่อภาคธุรกิจ (G2B) ... .
ภาครัฐต่อประชาชน (G2C) ... .
ภาครัฐต่อภาครัฐด้วยกัน (G2G) ... .
ภาครัฐต่อพนักงานในสังกัด (G2E).

E

5. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government คืออะไร.
B2C หมายถึง ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer).
B2B หมายถึง ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business).
G2G หมายถึง ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน(Government to Government).
G2C หมายถึง ภาครัฐสู่ประชาชน(Government to Citizen).

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงอะไร

(Government to Government) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียก ว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐ สมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ G2G หมายถึง ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน เครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนิน

วัตถุประสงค์ของ E

เป็นการน าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในองค์การ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและ ระบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้