ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง

ความหมายของการออกแบบ

การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผน เพื่อที่จะได้ลงมือกระทำตามที่ต้องการและการรู้จักเลือกวัสดุ วิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบอีกความหมายหนึ่งที่ให้ไว้ หมายถึงการปรับปรุงรูปแบบผลงานที่มีอยู่แล้ว หรือสิ่งต่าง ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม ให้มีความแปลกความใหม่เพิ่มขึ้น
(อารี สุทธิพันธุ์ ,2527)

การออกแบบ คือ การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบ โดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการออกแบบ ให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอยวัสดุ และการผลิตของสิ่งที่ต้องการออกแบบนั้น
(วิรุณ ตั้งเจริญ ,2527)

การออกแบบ เป็นกิจกรรมอันสำคัญประการหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในความนึกคิด อันอาจจะเป็นโครงการหรือรูปแบบที่นักออกแบบกำหนดขึ้นด้วยการจัด ท่าทาง ถ้อยคำ เส้น สี แสง เสียง รูปแบบ และวัสดุต่าง ๆ โดยมีกฎเกณฑ์ทางความงาม
(สิทธิศักดิ์ ธัญศรีสวัสดิ์กุล ,2529)

องค์ประกอบการออกแบบ (Elements)
1. องค์ประกอบในความคิด(Conceptual Elements)
2. องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements)
3. องค์ประกอบที่สัมพันธ์ (Relational Elements)
4. องค์ประกอบที่นำมาใช้ประโยชน์ (Practical Elements)
5. โครงสร้างที่ชัดเจน (Active Structure)
6. โครงสร้างที่มองไม่เห็น (Invisible Structure)
7. โครงสร้างที่มองเห็นได้ (Visible Structure)
จุดมุ่งหมายในการออกแบบ

ในการออกแบบแต่ละชนิดนั้น ผู้ออกแบบจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ก่อนแล้วว่าจะออกแบบไปทำไม ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่กล่าวถึงนี้จะต้องมีความสำคัญ ซึ่งพอจะสรุปอย่างกว้าง ๆ ได้ดังนี้

1. การออกแบบเพื่อประโยชน์
ผู้ออกแบบโดยมากจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นจุดมุ่งหมายแรกของการออกแบบ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับมีทั้งประโยชน์ในการใช้สอย และประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร การออกแบบเพื่อระโยชน์ในการใช้สอยที่สำคัญ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรมีแห อวน ไถ เป็นต้น ประโยชน์เหล่านี้จะเน้นประโยชน์ทางกายโดยตรง
สำหรับประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ส่วนใหญ่มักจะเน้นการสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพ ซึ่งสามารถรับรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ซึ่งการออกแบบโดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาชุมชน ประโยชน์ด้านนี้จะเน้นทางด้านความศรัทธาเชื่อถือ และการยอมรับตามสื่อที่ได้รับรู้
2. การออกแบบเพื่อความงาม
จุดมุ่งหมายในการออกแบบเพื่อให้เกิดความงาม จะเน้นประโยชน์ทางด้านจิตใจเป็นหลัก ซึ่งผลจากการออกแบบจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสุข เกิดความพึงพอใจ การออกแบบประเภทนี้ได้แก่ การออกแบบด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ตลอดจนงานออกแบบตกแต่งต่าง ๆ เช่น งานออกแบบตกแต่งภายในอาคาร งานออกแบบตกแต่งสนาม เป็นต้น

ที่มา  http://www.vcharkarn.com/vblog/33165/3

     

 1. ความหมายและความสำคัญของการออกแบบ
   การออกแบบ  หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อประโยชน์และความงาม ด้วยการนำทัศนธาตุทางศิลปะและหลักการจัดส่วนประกอบของการออกแบบมาใช้  รวมถึงการปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วมาดัดแปลงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
     กระบวนการที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์ประเภททัศนศิลป์นั้นจะดูดี สวยงาม แปลกใหม่ สื่อความหมายได้ชัดเจนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การออกแบบอย่างมีคุณภาพในงาน ผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะพื้นฐานในเรื่องของการใช้ทัศนธาตุและหลักการออกแฐทางศิลปะมาเป็นองค์ประกอบหลักในกระบวนการสร้างสรรค์งาน จึงจะก่อให้เกิดความงามในลักษณะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ได้  ดังนั้น การสร้างสรรค์สิ่งใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การออกแบบ จากขั้นตอนแรกเป็นการออกแบบเป็นภาพจินตนาการในสมอง เป้นการออกแบบโดยการคิด จากนั้นก็ถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้  อาจเป็นภาพหรือแบบจำลองที่มีรูปทรง  ขนาดสัดส่วน ให้สามารถมองเห็นผลงานที่จะสร้างขึ้นได้อย่างชัดเจน
         นอกจากการเรียนรู้ถึงความหมายและความสำคัญของการออกแบบแล้ว  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ลักษณะสำคัญของการออกแบบ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
         1. ความสามารถในการปรับปรุงผลผลิต  หรือผลงานที่มีอยู่เดิมให้ดูแปลกใหม่มากขึ้น
         2. ผลงานที่ออกแบบต้องสอดคล้องกับประโยชน์และหน้าที่ใช้สอย
         3. ผลงานมีความกลมกลืน  มีสัดส่วนที่เหมาะสม  มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
         4. มีการจัดองค์ประกอบที่งดงาม
         5. ผู้ออกแบบต้องมีความสามารถในการวางแผนดำเนินการให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น  ตั้งแต่การเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับรูปแบบตามที่คิดสร้างสรรค์ไว้

        2. พัฒนาการของการออกแบบ 
        ในอดีตกาล มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธณมชาติมีการดำเนินชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลา  ไม่มีการแข่งขันทางการค้าใดๆ ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหา  หรือคิดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้จักหาสิ่งมาปกปิดร่างกาย สร้างที่พักอาศัย  ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น การที่มนุษย์พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และมีความคิดในการปรับปรุงตนเอง รวมทั้งสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ  ถือได้ว่าเป้นการออกแบบเพราะรู้จักคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา รู้จักแก้ปัญหาโดยอาศัยสิ่งที่มีอยู่ในะณมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีพทั้งของตนเองและสังคม  ซึ่งกล่าวได้ว่ามนุษย์มีการออกแบบตั้งแต่ยุคโบราณ  แต่เป็นการออกแฐเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งยังไม่มีรูปแบบขั้นตอน หรือรูปลักษณ์ของงานออกแบบเช่นปัจจุบัน
             การออกแบบมีพัฒนาการตามยุคสมัยต่อๆมา จากยุคสังคมเกษตรกรรม สุ่ยุคสังคมอุตสาหกรรม  ในยุคสังคมอุตสาหกรรมได้มีความชัดเจนมากขึ้นในรูปลักษณ์ของงานออกแบบ สร้างสรรค์  เพราะเป็นระยะเวลาที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ โดยการเฉพาะสาขาฟิสิกส์ในเรื่องแรงโน้มถ่วง  พลังงานไฟฟ้า แสง เสียง คุณสมบัติจากวิทยาการสาขาต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชนืทางการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรกลเพื่อการผลิต  ผลงานการออกแบบจึงเป็นลักษณะของช่างฝีมือ  หรืองานฝีมือมากกว่าการให้ความสำคัยทางศิลปะ  ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะงานออกแบบและวิธีการทำงานของศิลปิน
              การออกแบบทางเครื่องจักรทำให้ได้ผลงานที่มีรูปลักษณะและรูปแบบที่มีกระแสต่อต้านว่าไร้รสนิยม  อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าจึงต้องเร่งระดมบรรดาศิลปิน  ช่างฝีมือ และผู้ผลิตประสานกัน  เพื่อการพัฒนารูปแบบที่ผลิตด้วยเครื่องจักรกล  ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบของงานศิลปะสร้างสรรค์นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยหลัก
      กระแสการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงของศิลปะการออกแบบจึงก้าวหน้าเข้ายุคของการแข่งขันระหว่างคู่แข่งในตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ภายหลังได้พัฒนาการออกแบบมาเป็นเจาะจงเฉพาะประเภท เช่น ออกแบบรูปลักษณ์ของภาพยนตร์ อาคารบ้านเรือน   เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ นักออกแบบสมัยใหม่จึงต้องมีความรอบรู้ทางวิทยาการในแต่ละศาสตร์  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ควบคู่กันไป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา  งานออกแบบถือได้ว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ และเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงไม่แพ้อาชีพสำคัญอื่นๆ

       3. แนวคิดในการออกแบบ  
           การสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์นั้นมีสิ่งต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
      3.1) แนวคิดจากธรรมชาติ    ธณมชาตินั้นนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกแบบ เพราะสิ่งต่างๆในธรรมชาติประกอบไปด้วยรูปทรงที่มีรูปลักษณะสมบูรณ์ลงตัวและรูปทรงที่มีรายละเอียดสลับซับซ้อนทั้งลีลา  จังหวะ และสีสันสวยงาม เป็นสิ่งที่่มีอยู่ในธรรมชาติทั้งประเภทไม่มีชีวิตและประเภทมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช ก้อนหิน ภูเขา ลำธาร ผิวน้ำที่พริ้วไหว เป็นต้น ซึ่งนับเป็นแนวคิดที่ได้จากธรรมชาติ
     แม้ว่าความวิจิตรงดงามที่เกิดจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ได้สามารถจะสร้างสรรค์ให้เหมือนได้  แต่มนุษย์ก็ได้อาศัยข้อมูลต่างๆ จากธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบ ซึ่งจะมีกระบวนการกลั่นกรอง  ขัดเกลา ปรับเปลี่ยน ดัดปลงให้เหมาะสม  กลมกลืนตรงตามวัตถุประสงค์ของงานออกแบบ

             3.2 แนวคิดจากประสบการณ์   ประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้า สะสมความรุ็เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ หรืองานออกแบบต่างๆ ที่รอบนั้นเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ของตน  สิ่งต่างๆ ที่เราได้พบเห็นและเรียนรู้มาล้วนได้ผ่านการออกแบบแล้วทั้งสิ้น  ซึ่งนักออกแบบจะได้รับประสบการณ์ในการออกแบบสะสมกันเรื่อยมา บางอย่างก็เป็นประสบการณ์ ที่เคยเป็นผลงานในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ เช่น หม้อดินเผา  รูปร่างลักษณะของหม้อดิน ในปัจจุบันกับอดีตอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่โครงสร้างใหญ่ๆ ก็ยังคงคล้ายคลึงกับหม้อดินเผาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นต้น
            3.3 แนวคิกจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี      ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบ ทำให้เกิดความสะดวก สบายและมีความแม่นยำสูงในการคิดคำนวณ เช่น การออกแบบสิ่งก่อสร้าง  ผู้ออกแบบสามารถคิดคำนวณการรับน้ำหนักจากการใช้ความโค้งที่ก่อสร้างขึ้นจากการเรียงอิฐก้อนเล็กๆ ต่อกัน และยังคำนวณการถ่ายแรงจากหลังคาไปตามส่วนโค้งลงสู่เสา หรือกำแพงได้   ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่ต้องอาศัยประสบการณ์เฉพาะตนของผู้ออกแบบ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เป็นต้น
            ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถประสานกลมกลืนได้กับจินตนาการทางศิลปะในการออกแบบเพื่อประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ประโยชน์ที่แลเห็นได้อย่างชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบก็คือ ความรวดเร็วของการออกแบบและการปรับแก้ไขแบบ แม่นยำ ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น

        4. หลักในการออกแบบ 
         หลักที่จะเป็นแนวทางสหรับการออกแฐ เพื่อให้มีคุณค่าทางความงาม จะต้องพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
         4.1 โครงสร้างทั้งหมด  โครงสร้าง หมายถึง ตัววัสดุ ระนาบที่รองรับ รวมทั้งความคิดที่นำมาใช้ในการออกแบบ เช่น การถ่ายทอดรูปแบบ  เรื่องราว การใช้วัสดุ  คุณสมบัติ ของวัสดุและสื่่่อที่ใช้ เป็นต้น
          โครงสร้างนับเป็นส่วนสำคัญทั้งหมดของงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเน้นให้เห็นความเด่นความสำคัญของส่วนประธาน  การเน้นของส่วนรองอาจมีลักษณะขัดแย้งกับส่วนประธานก็ได้ แต่ทั้งสองส่วนจะต้องช่วยเสริมและสัมพันธ์กันเพื่อทำให้งานดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
        4.2 ความเป็นเอกภาพ (Unity)  การออกแบบที่มีเอกภาพ เป็นการนำเอาทัศนธาตุทางศิลปะ  เช่น เส้น   แสงเงา  สี ลักษณะพื้นผิว เป็นต้น   มาประกอบกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายจึงเป็นจะเป็นการจัดองค์ประกอบที่ดี
        4.3 ความสมดุล (Balance) หมายถึง การจัดส่วนประกอบให้ซ้าย ขวาเท่ากันหรืือรู้สึกเท่ากัน สามารถแบ่งลักษณะสมดุลออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
           4.3.1 สมดุลโดยเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน (Symmetrical Balance) สมดุลแบบนี้จะเห็นได้ชัดจากสิ่งมีชีวิตเป็นส่วนมาก เช่น โครงสร้างของมนุษย์และสัตว์ เป็นต้น และสถาปัตยกรรมหลายแห่ง  เป็นการออกแบบที่ไม่ยุ่งยาก ดูง่าย เพราะเมื่อลานเส้นดิ่งตรงกึ่งกลางภาพ  จะเห็นว่าส่วนของภาพที่ถูกแบ่งทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน สมดุลแบบนี้ให้ความรู้สึกมั่นคง  แข็งแรง ตรงไปตรงมา

ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง

             

4.3.2 สมดุลโดยทั้ง 2 ด้านไม่เหมือนกัน (Asymmetrical  Balance)  สมดุลแบบนี้เป็นการจัดภาพให้ทั้ง 2 ด้านไม่เหมือนกัน เมื่อแบ่งเส้นแกนดิ่งกึ่งกลาง  แต่ความสมดุลเกิดขึ้นได้ด้วยความรู้สึกตามที่ตาเห็น เป็นการจัดภาพที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการใช้ทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์อย่างมาก  เช่นการถ่วงน้ำหนักด้วยรูปทรง  สี  เส้น  หรือความเด่นของลักษณะพื้นผิว  เป็นต้น

ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง

       

4.4 ความกลมกลืน (Harmony)   คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในด้านการประสานสัมพันธ์ที่เข้ากันได้ของส่วนประกอบ  หรือทัศนธาตุต่างๆ  เมื่อมองดูแล้วจะทำให้ความรู้สึกที่ไม่ขัดแย้ง  จึงเกิดความรู้สึกที่ดีต่องานนั้นๆ ลักษณะของความกลมกลืนมีหลายชนิด เช่น ความกลมกลืนด้วยเส้น   รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  สี  ทิศทาง  ลักษณะพื้นผิว   เป็นต้น
       4.5  การเน้น (Emphasis)   หมายถึง การจัดส่วนประกอบให้น่าสนใจ   มีจุดสนใจ เด่นชัด  จะทำให้งานออกแบบมีความงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  สำหรับส่วนประกอบที่นำมาจัดด้วยวิธีการต่างๆ มีดังนี้
           4.5.1  การเน้นด้วยเส้น  รูปร่าง  รูปทรง  และขนาด   เป็นการเน้นด้วยลักษณะของความแตกต่างและความกลมกลืนของส่วนประกอบต่างๆ  ในการออกแบบ เช่น อาจเน้นเส้น  รูปร่าง  รูปทรงที่ออกแบบให้เป็นส่วนสำคัญ  มีความเด่นด้วยขนาดที่แตกต่าง  หรือใหญ่เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น  จะทำให้น่าสนใจ เป็นต้น

ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง
ภาพ Mona Lisa ผลงานของเลโอนาโด ดาวินชี
เน้นด้วยเส้น รูปร่าง รูปทรง และขนาด
           

4.5.2 การเน้นด้วยพื้นผิว    ในการใช้ลักษณะพื้นผิวที่มีความขัดแย้ง หรือใช้ลักษณะตัดกัน  เช่น  พื้นผิวที่หยาบกับละเอียด   ความขรุขระกับความเรียบ  ความมันแวววาวกับความด้านหรือใช้ลักษณะพื้นผิวลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่มีปริมาณมากกว่าลักษณะอื่น  ซึ่งจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่น่าสนใจ  เป็นต้น

ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง
ภาพ The  Thinker (นักคิด) ผลงานของ
โอกุสต์  โรแดง   ที่เน้นด้วยพื้นผิว  
             

4.5.3 การเน้นด้วยสี  ในการจัดภาพทางศิลปะ จำเป็นต้องนำเอาทฤษฎีมาใช้เพื่อให้งดงาม  สีเป็นทัศธาุที่สำคัญที่นำมาใช้ควบคู่กันไปกับการเน้นรูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  และื้นผิว  เช่น ใช้ความเข้มของสี  การใช้สีคู่ตรงข้าม  การใช้สีวรรณะเย็นหรือสีวรรณะอุ่น เป็นต้น

ความสําคัญของการออกแบบมีอะไรบ้าง
มาริสา แอสีขาว: ชื่อศิลปิน พรทิพย์ หวั่งหลี 
เป้นภาพที่เน้นด้วยสี
       

4.6 ความขัดแยิ้งกัน (Contrast)   หมายถึง ลักษณะที่ตรงงกันข้าม  ขัดกัน  เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่มีลักษณะซ้ำๆ ไม่น่าสนใจ  แต่ทำให้มีส่วนที่ขัดแย้งกันตามความเหมาะสม  จึงทำให้กลับมาน่าสนใจ  อาจแสดงออกโดยใช้ความขัดแย้งด้วยเส้น  รูปร่าง  รูปทรง   ขนาด   สี  และทิศทางของ
ทัศนธาตุก็ได้
        4.7 การซ้ำ (Repentition)   หมายถึง  การจัดทัศนธาตุที่ต้องการให้มีช่องไฟ  หรือจังหวะเท่าๆกัน  ถ้าหากการซ้ำมีจำนวนมากก็ควรใช้ความขัดแย้งกันเข้ามาช่วย เพื่อไม่ให้ผลงานเกิดความซ้ำซากจนทำให้ดูน่าเบื่อหน่าย
        4.8 จังหวะ (Rhythm)  ในทางศิลปะ  หมายถึง ความสัมพันของทัศนธาตุ  เช่น เส้น สี รูปร่าง  รูปทรง   น้ำหนัก  เป็นต้น ในลักษณะของการซ้ำกันสลับไปมา  หรือลักษณะลื่นไหล  เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะ  จังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิดความเด่น  อธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ  การจัดวางทัศนธาตุไว้เป็นช่วงห่างเท่าๆกัน  หรือ มีระยะของการวางรูปแบบ  ลวดลาย  มีลักษณะเป็นแนวที่ต้องการความเป็นระเบียบสวยงาม จังหวะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ต้องให้สัมพันธ์กัน
          จังหวะมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ  การเต้นของหัวใจ  การเกกิด  การเติบโต   การดับไปของชีวิตก้เป็นจังหวะ  จังหวะในงานศิลปะเป็นการซ้ำอย่างมีเอกภาพและความหมาย  เป็นกฎข้อหนึ่งของเอกภาพที่เกิดจากการซ้ำของรูปทรง
           การซ้ำกับจังหวะล้วนมีความสัมพันธ์กัน  เมื่อมีการซ้ำของทัศนธาตุพร้อมกับการจัดจังหวะช่องไฟไปด้วย  เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับหลักทางด้านองค์ประกอบศิลป์
      4.9 สัดส่วน (Proportion) หมายถึง การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ขนาดของรูปร่าง รูปทรงต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ  โดยให้มีความสัมพันธ์กับงานและการใช้สอย  เช่น การหาสัดส่วนที่เหมาะสมสวยงามของรูปสี่เหลี่ยม  หมายถึง ความสัมพันธ์ที่สวยงามของด้านกว้างและด้านยาว  หรือการเปรียบเทียบส่วนของการใช้ขนาดของรูปทรงที่นำมาใช้ในการจัดภาพ  หรือในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้  ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงขนาดที่สัมพันธ์กับการใช้งานจริง  ถ้ามีความสัมพันธ์เหมาะสมกันดี  ก็หมายความถึงการมีสัดส่วนที่ดี  เป็นต้น
       หลักการต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบเพื่อการสร้างคุณค่าทางความงามจึงมีส่วนช่วยให้งานมีความน่าสนใจ  น่าสัมผัส  การที่จะออกแบบให้มีความงามไได้นั้นจจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และและรูรู้จักสังเกตพิจารณางงานต่างงๆ เหหล่านั้นวว่ามีความงงามในลักษณะใใดบบ้าง การสร้างสรรค์งานให้ห้มีความงามจะต้องเข้าใจเรื่องทัศนธาตุทางศิลปะและองค์ปรประกอบศิลป์เป็นอย่างดี  นนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังช่วยให้สามารถใช้วัสดุได้อย่างคุ้มค่าประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ความงามของสิ่งที่สร้างสรรค์อาจเกิดจาจากการประดับตกแต่งอย่างพิถีพิถัน หรืออออกแบบอย่างเรียบง่ายก็ได้ เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์รู้จักใช้องค์ปรประกอบให้เป็นไปตามหลหลักการเท่านั้น ก็ทำให้เกิดความงามไได้