ภาษาไทย เป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพราะเหตุใด

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการสื่อสารจะเป็นช่องทางใด จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขนาดไหน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียของคนไทย ก็ยังคงเป็นภาษาไทย แม้จะเป็นภาษาไทยที่แตกต่างไปจากภาษาพูดและภาษาเขียนค่อนข้างมาก เพราะใช้คำศัพท์ใหม่ๆ และไม่ค่อยเป็นประโยคที่สมบูรณ์นัก แต่ก็ยังนับว่าดี เพราะยังเป็นที่เข้าใจกันได้ของหมู่คนในสังคมก้มหน้าทั้งปวง

ภาษา ไทยที่ใช้ในโซเชียลมีเดียมักถูกตัดทอนให้สั้นลงและใช้ตัวอักษรที่สะดวกต่อ การพิมพ์(จิ้ม)บนแป้นพิมพ์ในหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ เพราะความสะดวกรวดเร็วคือหัวใจสำคัญของการสื่อสารในยุคนี้ ด้วยเหตุนี้ อักขรวิธีของภาษาไทยจึงถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

นั่น คือสิ่งที่เห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น อนาคตอันใกล้ของภาษาไทยที่เห็นได้ชัดที่สุดคืออักขรวิธีแบบใหม่นั่นเอง

ถึงตรงนี้เมื่อพิเคราะห์ดูจะเห็นลักษณะของอักขรวิธีแบบใหม่ได้ดังนี้

การเลือกใช้ตัวอักษรเป็นพยัญชนะต้นน้อยลง ภาษาในโซเชียลมีเดียจะเลือกใช้แต่ตัวอักษรทั่วไปที่ใช้บ่อยๆ เพียงตัวเดียวเป็นพยัญชนะต้นแทนทุกตัวอักษรที่ออกเสียงเหมือนกัน ทั้งนี้ เพราะแป้นพิมพ์ในโทรศัพท์มือถือจะเอาตัวอักษรที่ถูกใช้บ่อยๆ มาไว้ในแป้นพิมพ์หน้าแรก ตัวอักษรที่ไม่ค่อยได้ใช้จึงตกไปอยู่ในแป้นพิมพ์หน้าถัดไป ซึ่งไม่สะดวกต่อการเรียกใช้ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้แต่ตัวอักษรที่สะดวกต่อการใช้เท่านั้น โดยมากคนจึงเลือกใช้ตัว "ท" แทนทุกตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ดังนั้น ตัว "ธ" "ฑ" และ "ฒ" จึงไม่ค่อยถูกนำมาใช้อีกต่อไป เช่น คำว่า "เธอ" จึงเขียนเป็น "เทอ" คำว่า "ธง" จึงเขียนเป็น "ทง" เช่นเดียวกับตัว "ส" จะถูกเลือกใช้แทนอักษรทุกตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน ดังนั้น ตัว "ศ" และ "ษ" จึงไม่ค่อยถูกใช้อีกต่อไป เช่น คำว่า "ศอก" จึงเขียนเป็น "สอก" คำว่า "เศษ" จึงเขียนเป็น "เสด" เป็นต้น ซึ่งในที่สุดจะมีตัวอักษรที่ไม่ค่อยได้ใช้เพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 10 ตัว นั่นคือ ฆ ฌ ฎ ฏ ณ ญ ภ ฐ ธ ฑ ฒ ศ ษ และ ฬ และในที่สุดอาจเลิกใช้ไปโดยปริยายเหมือน "ฃ" และ "ฅ" ที่ไม่ได้ใช้กันมาช้านานแล้ว ประเด็นนี้นับเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะทำให้รูปแบบของภาษาไทยเปลี่ยนไปอย่างมากมาย 


การใช้ตัวสะกดหลักทดแทนตัวสะกดอื่นๆ การใช้ตัวสะกด ของภาษาไทยในโซเชียลมีเดียมักใช้ตัวอักษรหลักของแม่นั้นๆ เสมอ โดยเน้นที่เสียงของคำอ่านเป็นสำคัญ เช่น แม่กน จะใช้แต่ตัว "น" แม่กด จะใช้แต่ตัว "ด" แม่กบ จะใช้แต่ตัว "บ" เป็นต้น ตัวอย่างเช่น คำว่า "รัฐบาล" จึงเขียนเป็น "รัดทะบาน" คำว่า "การงาน" จึงเขียนเป็น "กานงาน" คำว่า "โทษ" จึงเขียนเป็น "โทด" คำว่า "โจษ" จึงเขียนเป็น "โจด" คำว่า "กฎหมาย" จึงเขียนเป็น "กดหมาย" คำว่า "รังเกียจ" จึงเขียนเป็น "รังเกียด" คำว่า "เกษตร" จึงเขียนเป็น "กะเสด" และคำว่า "วิทยาศาสตร์" จึงเขียนเป็น "วิดทะยาสาด" เป็นต้น

การลดรูปสระ สระผสมกำลังถูกยกเลิกไปโดยปริยายเพื่อลดความยุ่งยากในการพิมพ์ เพราะความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์(จิ้ม)คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ คำว่า "เดี๋ยว" จึงกลายเป็น "เด๋ว" (จิ้มน้อยลงจาก 6 ครั้ง เหลือเพียง 4 ครั้ง) คำว่า "ก๋วยเตี๋ยว" จึงกลายเป็น "ก๋วยเต๋ว" และคำว่า "เกือบ" เลยกลายเป็น "เกิบ" หรือใช้คำที่เขียนง่ายกว่าแต่ออกเสียงใกล้เคียงแทน เช่น คำว่า "เพื่อน" เลยกลายเป็น "เพิ้ล" เป็นต้น


การละทิ้งตัวการันต์ เนื่องจากตัวการันต์เป็นตัวที่ไม่ออกเสียงจึงมักถูกตัดทิ้งไป เพราะภาษาที่ใช้ในโซเชียลมีเดียไม่เน้นที่รูปแต่เน้นที่เสียงเป็นสำคัญ (ตัวการันต์จึงไม่มีประโยชน์) คำว่า "จันทร์" จึงเขียนเป็น "จัน" คำว่า "เทศน์" จึงเขียนเป็น "เทด" คำว่า "พิมพ์" จึงเขียนเป็น "พิม" และคำว่า "สัตว์" จึงเขียนเป็น "สัด" หรือ "สัส" เป็นต้น

การเลี่ยงใช้ตัวควบกล้ำ คำควบกล้ำเป็นคำอีกประเภทหนึ่งที่มีความยุ่งยากในการพิมพ์ (โดยเฉพาะคำควบไม่แท้ที่ไม่ออกเสียงตัวควบ) ดังนั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ คำว่า "จริง" จึงพิมพ์กันง่ายๆ เป็น "จิง" คำว่า "เสร็จ" จึงกลายเป็น "เส็ด" และคำว่า "ทรุดโทรม" จึงกลายเป็น "ซุดโซม" เป็นต้น ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คำควบแท้บางคำ เช่น คำว่า "โกรธ" จึงกลายเป็น "โกด" คำว่า "เคร่งครัด" จึงกลายเป็น "เค่งคัด" เป็นต้น

การลดพยางค์หรือตัดรูปคำให้สั้นลง ทั้งนี้ เพื่อให้เหลือตัวอักษรของแต่ละคำน้อยลง ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้นตามจำนวนตัวอักษรที่ลดลง อย่างคำว่า "อะไร" จึงเขียนกันเพียงสั้นๆ แค่ "ไร" เช่น เป็นไร คิดไร พูดไร ทำไร เป็นต้น คำว่า "ยังไง" จึงเขียนเพียงสั้นๆ แค่ "ไง" เช่น คิดไง ว่าไง ทำไง ได้ไง เป็นต้น คำว่า "สามารถ" จึงเขียนแบบง่ายๆ เป็น "สามาด" เช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิ์" จึงอาจเขียนเป็น "สิด" หรือ "สิท" นั่นเอง

มีการใช้ตัวย่อมากขึ้น เพราะตัวย่อช่วยให้สะดวกรวดเร็วมาก เช่น วน(วันนี้) คน(คืนนี้) พน(พรุ่งนี้) คห(ความเห็น) ตย(ตัวอย่าง) ตจว(ต่างจังหวัด) ตปท(ต่างประเทศ) สบม(สบายมาก) สวด(สวัสดี) เป็นต้น กรณีนี้คงมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันทุกภาษาที่ใช้ในโซเชียลมีเดีย ดังจะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษก็ใช้มากเช่นกัน ตัวอย่างตัวย่อที่ใช้บ่อย เช่น U(You), Y(Why), IC(I See), NP(No Problem), IMO(In My Opinion), THX(Thank You), OMG(Oh My God), HBD(Happy Birthday), FYI(For Your Information), DIY(Do It Yourself), LOL(Laughing Out Loud), SYS(See You Soon) และ ASAP(As Soon As Possible) เป็นต้น

มีคำศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น ปัจจุบันมีคำไทยๆ ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่และใช้กันจนติดหูติดตาแล้วหลายคำ ตัวอย่างเช่น "ชิวชิวหรือชิลชิล" "แอ๊บแบ๊ว" "เนียน" "เกรียน" "กาก" "กิ๊ก" เป็นต้น แม้คำเหล่านี้จะไม่สะดวกต่อการพิมพ์(จิ้ม) แต่เป็นคำที่นิยมใช้กันมาก และเป็นที่เข้าใจกันดีในหมู่คนในสังคมก้มหน้า ทั้งยังมีคำที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญจากการพิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิด แต่ก็ยังนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น คำว่า "จุงเบย" "นะครัช" "กลังคิด" และ "กลังทำ" เป็นต้น หรือคำที่จงใจพิมพ์ผิดแต่กลับเป็นที่นิยมใช้กันมาก อาทิ "จัย(ใจ)" "กรู(กู)" "มรึง(มึง)" "ช่าย(ใช่)" "คัย(ใคร)" และ "ทัมมัย(ทำไม)" เป็นต้น เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะต้องมีคำศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ แบบนี้เกิดขึ้นมาอีกมากมายตามพัฒนาการของภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทั้ง หมดที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากภาษาไทยที่ใช้กันทางโซเชีย ลมีเดียในปัจจุบัน ซึ่งยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากที่นักภาษาไทยควรจะต้องติดตามศึกษาให้ชัดเจน แต่คงไม่ใช่เพื่อการส่งเสริมหรือพัฒนาอย่างใด แต่เพื่อการเรียนรู้ที่มาที่ไปไว้สำหรับคนรุ่นหลังเท่านั้น

เนื่อง ในวันภาษาไทยแห่งชาติ (29 กรกฎาคม) หลายท่านหลายฝ่ายในแวดวงภาษาไทยคงจะตระหนักในเรื่องนี้ว่าภาษาไทยกำลัง เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีและสภาพของสังคม (ก้มหน้า) อย่างรวดเร็วมาก ซึ่งยากที่ใครจะไปยับยั้งทัดทานได้ คงมีแต่จะต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ โดยต้องไม่ละทิ้งรากเหง้าเค้าเดิมโดยไม่จำเป็น รวมทั้งต้องไม่นำมาใช้ในสังคมทั่วไปหรือใช้อย่างเป็นทางการด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้ที่มาที่ไปของภาษาไทยบ้าง แค่นั้นก็คงน่าจะพอสำหรับการอนุรักษ์ภาษาไทยในวันนี้

อย่าง ไรก็ดี แม้อนาคตของภาษาไทยจะผิดแผกแตกต่างออกไปเรื่อยๆ จนดูเหมือนว่ามันจะไม่เหลือรากเหง้าเค้าเดิมในอนาคต หากมองในแง่การอนุรักษ์ก็คงเป็นที่น่าตกใจว่ากำลังเกิดวิบัติทางภาษาของชาติ แต่อย่างไรก็ตาม หากคิดในทางบวก มองในแง่ของการสื่อสาร ก็ยังต้องยอมรับว่า การสื่อสารด้วยภาษาไทยในโซเชียลมีเดียยังคงบรรลุเป้าหมายของการสื่อสาร (เข้าใจกันได้ดีทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร) แต่มันเป็นเพียงพัฒนาการทางภาษา ที่แม้ไม่เปลี่ยนในวันนี้ก็คงต้องเปลี่ยนไปในวันหน้า

ตามธรรมดาของสรรพสิ่งในโลกที่ล้วนเป็นอนิจจัง แต่ถึงอย่างไร ภาษาไทยก็ยังคงเป็นภาษาไทยของคนไทยที่ไม่เหมือนภาษาใดในโลกอยู่นั่นเอง

ทำไมภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงภาษามีสาเหตุมาจากการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ผลที่ตามมาจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป พอสรุปได้ดังนี้ 1. การหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เรียบ ง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา

การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงของภาษาที่มักจะเห็นได้ง่ายได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงทางเสียงของค า 2. การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของค า 3. การเลิกใช้ค าเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นค าใหม่

การเปลี่ยนแปลงภาษาด้านความหมาย หมายถึงอะไร

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา หมายถึง ภาษาที่ต่างยุคต่างสมัยกันย่อมมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างกันทางเสียง คาศัพท์ ความหมาย หรือไวยากรณ์ ก็ตาม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางภาษาของภาษา กฎหมายอาญาในแต่ละช่วงระยะเวลาที่มีการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงด้านรูปศัพท์และการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย ...

ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องใดช้าที่สุด *

A : การเปลี่ยนแปลงในด้านใดของภาษาที่เกิดขึ้นช้าแต่ชัดเจน คำค่ะ เพราะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลง โดยเราจะเห็นว่าปัจจุบันนี้วัยรุ่นไทยมีการใช้คำที่สร้างขึ้นมากเฉพาะกลุ่ม หรือการใช้ภาษาที่ผิดๆของวัยรุ่น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของภาษาค่ะ