ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

6. ข้อดีของการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ

1. สามารถป้องกันการรั่วไหลของแก๊ส,น้ำมัน ของเหลวและอากาศได้ดี
2. งานมีคุณภาพสูงคงทนและสวยงาม
3. โครงสร้างของงานที่ไม่ยุ่งยาก
4. ลดเสียงดังขณะทำงาน
5. ลดขั้นตอนการทำงาน
6. ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานและเตรียมการค่อนข้างต่ำ

7. ข้อเสียของการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ

1.  ชิ้นส่วนของงานเชื่อมมีความไวต่อการเกิดความเค้นเฉพาะที่
2.  การควบคุมคุณภาพจะต้องตรวจสอบทุกขั้นตอน
3.  ทำให้เกิดความเค้นตกค้างอยู่ในวัสดุงานเชื่อม
4.  ทำให้คุณสมบัติของโลหะงานเชื่อมเปลี่ยนแปลง
5.  งานบิดตัวและหดตัว

8. กระแสเชื่อม (welding current)

กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อมไฟฟ้ามี 2 ชนิดคือ กระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating current : AC) และ กระแสไฟฟ้าตรง (Direct current : DC)
8.1กระแสไฟสลับ (AC)
การเชื่อมไฟฟ้านั้นเครื่องเชื่อมจะเป็นตัวจ่ายกระแสไฟสลับซึ่งเป็นกระแสไฟที่มีทิศทางการเคลื่อนที่สลับกันเป็นคลื่น (wave) โดยใน 1 ไซเกิล จะมีกระแสผ่าน 0 จำนวน 2 ครั้ง  ผ่านคลื่นบวก 1 ครั้ง และผ่านคลื่นลบ 1 ครั้ง  ในช่วงของคลื่นบวกอีเลคตรอนจะไหลไปในทิศทางหนึ่ง และในช่วงคลื่นลบอีเลคตรอนจะไหลในทิศทางที่ตรงข้ามกันที่ไหลในช่วงคลื่นบวก กระแสไฟปกติจะมีความถี่ 50 ไซเกิลซึ่งหมายความว่าใน 1 วินาทีจะเกิดไซเกิลดังกล่าว 50 ครั้ง แต่กระแสสลับที่ใช้ในการเชื่อม TIG นั้น จะต้องมีความถี่สูงกว่านี้ จากภาพ ใน 1 ไซเกิล ประกอบด้วยไฟตรงต่อขั้นตรงกันไฟตรงต่อกลับขั้นรวมกันไว้ และจะเห็นว่าช่วงที่กระแสผ่าน 0 เปลวอาร์คจะดับลง

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
8.2 กระแสไฟตรง (DC)
กระแสไฟเชื่อมชนิดกระแสตรง  เป็นกระแสที่มีอีเลคตรอนเคลื่อนที่ในทิศทางตามยาวของตัวนำไปทิศทางเดียวกันเท่านั้น  ซึ่งการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนนั้นเปรียบเสมือนน้ำประปาที่ไหลในท่อกระแสไฟฟ้าสลับมีการเปลี่ยนขั้ว 100 ครั้งต่อวินาที (50 ไซเกิล) แต่กระแสไฟฟ้าตรงจะไหลจากขั้วหนึ่ง   ไปตลอด  โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงขั้ว ดังภาพ และสามารถเปลี่ยนกระแสไฟสลับเป็นกระแสตรงได้ โดยใช้เครื่องเรียงกระแส

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
9. วงจรพื้นฐานของการเชื่อมไฟฟ้า (Basic Arc welding circuit )

วงจรพื้นฐานของการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ได้แก่ เครื่องเชื่อมซึ่งเป็นต้นกำลังในการผลิตกระแสเชื่อมในวงจร  โดยเครื่องเชื่อมจะจ่ายกระแสไปตามสายเชื่อมจนถึงชิ้นงานและลวดเชื่อมเพื่อให้เกิดการอาร์กขึ้นระหว่างปลายลวดเชื่อมกับชิ้นงาน เครื่องเชื่อมซึ่งเป็นต้นกำลังของการเชื่อมไฟฟ้านั้น มีทั้งแบบไฟสลับและไฟตรง เครื่องเชื่อมแบบไฟสลับต่อใช้งานง่าย  เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงขั้วของกระแสไฟ  แต่เครื่องเชื่อมกระแสตรงจะต้องต่อขั้วไฟให้ถูกต้องกับชนิดของลวดเชื่อม  และชิ้นงานเชื่อมซึ่งแบ่งออกได้  2 ระบบ และ ระบบไฟสลับ 1 ระบบ ดังนี้

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

เป็นวงจรเชื่อมที่มีลวดเชื่อมเป็นทั้งขั้วบวกและลบ  (+)(-)  และชิ้นงานเป็นทั้งขั้วลบและบวก  (-)(+)  อีเลคตรอนจะวิ่งจากชิ้นงานเข้าหาลวดเชื่อม และจากลวดเชื่อมเข้าหาชิ้นงาน  จึงทำให้ลวดเชื่อมและชิ้นงานได้รับความร้อนเท่า ๆ กัน

9.2 ไฟกระแสตรง ต่อขั้วลบ หรือเรียกว่า DCEN  (Direct Current Electrode Negative : DC -)

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
เป็นวงจรเชื่อมที่มีลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ (-) และชิ้นงานเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) อีเลคตรอนจะวิ่งจากลวดเชื่อมเข้าหาชิ้นงาน  จึงทำให้ชิ้นงานมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของความร้อนที่เกิดจากการอาร์กทั้งหมด  และยังให้การซึมลึกดีอีกด้วย  จึงเหมาะสำหรับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมเปลือย

9.3 กระแสไฟตรงขั้วบวกหรือเรียกย่อว่า DCEP (Direct Current Electrode Positive : DC +)

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
เป็นวงจรเชื่อมที่มีลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก (+) และชิ้นงานเป็นขั้วลบ (-) อีเลคตรอนจะวิ่งจากชิ้นงานเข้าหาลวดเชื่อม  จึงทำให้ลวดเชื่อมได้รับความร้อนประมาณ 2 ใน 3 ของความร้อนที่เกิดจากการอาร์กทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเชื่อมด้วยไฟตรงต่อกลับขั้ว  จะได้การซึมลึกน้อย เหมาะกับการเชื่อมงานบาง เทคนิคในการจำสำหรับกระแสตรง(DC)ก็คือ ถ้าเป็นกระแสไฟขั้วไหน หัวเชื่อมหรือลวดเชื่อมอยู่ขั้วนั้นด้วย เช่น กระแสตรงขั้วลบ(DC-) หัวเชื่อมหรือลวดเชื่อมเป็นขั้วลบ ชิ้นงานเป็นขั้วบวก  ถ้าเป็นกระแสตรงขั้วบวก(DC+) หัวเชื่อมหรือลวดเชื่อมเป็นขั้วบวก ชิ้นงานเป็นขั้วลบ

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
10 ชนิดของแรงเคลื่อน (Type of Voltage)

10.1 แรงเคลื่อนวงจรเปิด (Open Circuit Voltage)
ในขณะเปิดเครื่องแต่ยังไม่ได้ลงมือเชื่อม จะสามารถอ่านค่าแรงเคลื่อนที่หน้าปัดของโวลท์มิเตอร์ ซึ่งแรงเคลื่อนอันนี้คือแรงเคลื่อนวงจรเปิดซึ่งเป็นแรงเคลื่อนที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วของเครื่องเชื่อม  เครื่องเชื่อมมาตรฐานควรมีแรงเคลื่อนวงจรเปิดประมาณ70-80 โวลท์ ถ้ามากกว่านี้อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานและถ้าต่ำเกินไปจะท าให้เริ่มต้นอาร์คยาก

10.2 แรงเคลื่อนอาร์ค (Arc Voltage)
แรงเคลื่อนวงจรเปิดจะเปลี่ยนเป็นแรงเคลื่อนอาร์กเมื่อการอาร์คเริ่มขึ้น  แรงเคลื่อนอาร์กขึ้นอยู่กับชนิดของลวดเชื่อมและระยะอาร์ค เช่น กระแสเชื่อมจะลดลงและแรงเคลื่อนอาร์กจะเพิ่มขึ้นเมื่อระยะอาร์คเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าระยะอาร์คสั้นกระแสเชื่อมจะเพิ่มขึ้น  และแรงเคลื่อนอาร์คจะลดลง    ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าแรงเคลื่อนวงจรเปิดจะวัดได้เมื่อเครื่องเชื่อมเปิดแต่ไม่มีการอาร์กซึ่งได้ค่าแรงเคลื่อนที่คงที่  ส่วนค่าแรงเคลื่อนอาร์กจะวัดได้ในขณะอาร์ก ซึ่งค่าที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะอาร์ค

11. ลักษณะของเครื่องเชื่อม

เครื่องเชื่อมไฟฟ้าทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟเชื่อม  จึงนับว่าเป็นหัวข้อสำคัญของการเชื่อมไฟฟ้าทีเดียว เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามีหลายชนิดโดยแบ่งตามลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้

เครื่องเชื่อมที่แบ่งตามลักษณะพื้นฐาน

ถ้าพิจารณาตามลักษณะพื้นฐานจะสามารถแบ่งเครื่องเชื่อมออกเป็น 2 ชนิดคือ  เครื่องเชื่อมชนิดกระแสคงที่ (constant current) และเครื่องเชื่อมชนิดแรงเคลื่อนคงที่ (constant voltage)ความแตกต่างของเครื่องเชื่อมทั้ง 2 ชนิดนี้ พิจารณาได้จากการเปรียบเทียบคุณลักษณะของ volt-ampere curves ซึ่ง curves นั้นได้จากการกำหนดจุดระหว่างกระแสเชื่อมกับแรงเคลื่อนในขณะเชื่อม โดยกำหนดให้แกนนอนเป็นกระแสเชื่อม และแกนตั้งเป็นแรงเคลื่อน

1.เครื่องเชื่อมชนิดกระแสคงที่ (Constant Current : CC)
เป็นระบบที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมกับเครื่องเชื่อมธรรมดา (ลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์), เครื่องเชื่อม TIG , เครื่องเซาะร่อง (gouging) และเครื่องเชื่อม stud แต่เครื่องเชื่อมอัตโนมัติจะต้องใช้กับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมขนาดใหญ่ และใช้ระบบป้อนลวดแบบไวต่อแรงเคลื่อน (voltage sensing) เครื่องเชื่อมชนิดกระแสคงที่ (CC) มีลักษณะ volt-ampere curve จาก curve ดังกล่าวจะเห็นว่าแรงเคลื่อนสูงสุดเมื่อไม่มีกระแส (กระแส 0) และแรงเคลื่อนต่ำเมื่อกระแสเชื่อมเพิ่มขึ้นสูง ในสภาวะการเชื่อมปกติจะมีแรงเคลื่อนอาร์ค (Arc voltage) ระหว่าง 20-40 โวลท์

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

ขณะที่แรงเคลื่อนวงจรเปิด (Open circuit voltage) อยู่ระหว่าง 60-80 โวลท์  เครื่องเชื่อมระบบกระแสคงที่มีทั้งชนิดไฟตรงและไฟสลับ หรือมีทั้งไฟตรงและไฟสลับรวมกัน ซึ่งอาจจะเป็นแบบหมุนหรือแบบไม่หมุนได้   ดังนั้นเครื่องเชื่อมชนิดกระแสคงที่นี้ สามารถเปลี่ยนแปลงกระแสไฟเชื่อมได้  โดยการเปลี่ยนแปลงระยะอาร์คโดยไม่ต้องตั้งกระแสเชื่อมที่เครื่องเชื่อมใหม่ ในประเทศญี่ปุ่นเครื่องเชื่อมชนิดนี้จะมีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ แรงดันที่อยู่ในเครื่องเชื่อมสูงเกิน25 โวลท์  จากภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเส้น แรงดันโวลท์ กับเวลา

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

หมายเลข 1 หมายถึง เมื่อเปิดเครื่องจะมีแรงเคลื่อนวงจรเปิด(OCV) 25 โวลท์ (ปกติจะอยู่ระหว่าง 60- 80 โวลท์)
หมายเลข 2 หมายถึง เมื่อเริ่มต้นอาร์ค แรงดันจะเพิ่มไปที่ 80 โวลท์เพื่อช่วยในการอาร์คให้ง่ายขึ้นโดยจะใช้เวลาในการเปลี่ยนแรงดันจาก 25 โวลท์เป็น 80 โวลท์ที่ 0.06 วินาที

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

หมายเลข 3 หมายถึง หลังจากที่เริ่มจุดอาร์คแล้วแรงดันจะลดลงเหลือที่ประมาณ 30-40 โวลท์ แต่กระแสไฟเชื่อม(แอมป์)จะเพิ่มตามที่ตั้งค่าไว้
หมายเลข 4 หมายถึง หลังจากที่หยุดเชื่อม แรงดันจะกลับไปที่ 80 โวลท์ โดยที่กระแสไฟเชื่อม(แอมป์)จะเท่ากับ 0 และใช้เวลาอีกประมาณ 1 วินาทีที่เครื่องจะควบคุมแรงดันให้เหลือ 25  โวลท์ตามหมายเลข 5 และเมื่อทำการเริ่มต้นเชื่อมใหม่เครื่องเชื่อมก็จะทำงานตามหมายเลข 1 ถึง 5 ต่อไป

2. เครื่องเชื่อมชนิดแรงเคลื่อนคงที่ (Constant Voltage : CV)
เป็นเครื่องเชื่อมที่ให้ volt-ampere curve เรียบ   เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะให้แรงเคลื่อนคงที่   จะไม่เปลี่ยนแปลงตามขนาดของกระแสเชื่อม  สามารถใช้กับการเชื่อมแบบกึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติที่ใช้ระบบการป้อนลวดแบบอัตโนมัติ และผลิตเฉพาะกระแสไฟตรงเท่านั้น  ซึ่งอาจจะเป็นแบบขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ หรือแบบหม้อแปลง/เครื่องเรียงกระแส

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด
เครื่องเชื่อมแบบรวม CV และ CC เอาไว้ในเครื่องเดียวกัน  เป็นเครื่องที่มีความคล่องตัวในการใช้มากที่สุด สามารถผลิตกระแสเชื่อมออกมาได้ทั้งระบบแรงเคลื่อนคงที่และระบบกระแสคงที่โดยการเปลี่ยนขั้วหรือเปลี่ยนสวิทช์ที่เครื่องเชื่อม  และสามารถนำไปใช้กับขบวนการเชื่อมอื่น ๆ ได้ดี

12 ชนิดของเครื่องเชื่อม  (Welding Machine)
12.1 เครื่องเชื่อมกระแสตรงขับด้วยเครื่องยนต์ (Engine Drive Welding Machine)
เครื่องเชื่อมชนิดนี้ทำงานโดยใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลังขับเจเนอเรเตอร์จะจ่ายกระแสไฟตรงออกมาได้เหมือนกับเครื่องเชื่อมแบบมอเตอร์  เครื่องเชื่อมแบบนี้สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับงานสนามที่ไม่สามารถหาไฟฟ้าใช้ได้ เช่น งานกลเกษตร, งานวางท่อ, งานโครงสร้าง เป็นต้น ในปัจจุบันมีผู้ปรับปรุงเครื่องเชื่อมนี้ให้ผลิตกระแสไฟสลับ 220 โวลท์ ที่ใช้สำหรับแสงสว่างและอุปกรณ์ช่วยการทำงาน เช่น สว่าน หินเจียระไน เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้กว้างขวางขึ้น
เครื่องเชื่อมแบบเจเนอเรเตอร์  มีการควบคุมแรงเคลื่อน 2 จุด (Dual-control) ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง  output curve ได้  อุปกรณ์ควบคุมนั้นประกอบด้วยสวิทช์ควบคุมช่วงกระแส (Range switch) ซึ่งจะปรับกระแสเชื่อมได้อย่างหยาบ หลังจากนั้นจึงปรับปุ่มที่สอง (Fine adjustment) เมื่อวงจรเปิดหรือไม่มี Load เป็นการปรับค่าแรงเคลื่อนในตัวควบคุมเดียวกันนี้สามารปรับกระแสเชื่อมละเอียดได้อีกด้วยในขณะเชื่อมซึ่งจะช่วยให้การอาร์คนิ่มนวลหรือจะปรับให้รุนแรงขึ้นก็ได้  เมื่อได้ curve ที่ราบเรียบและแรงเคลื่อนวงจรเปิดมีค่าต่ำ แม้จะปรับแรงเคลื่อนอาร์กเล็กน้อยก็จะทำให้กระแสเชื่อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การปรับลักษณะนี้จะทำให้เกิดการอาร์คที่เจาะลึก ซึ่งเหมาะกับการเชื่อมงานท่อแต่ถ้า curve ที่ได้มีลักษณะสูงชัน  และแรงเคลื่อนวงจรเปิดสูง การปรับแรงเคลื่อน มีผลต่อกระแสเชื่อมน้อยมาก ส่วนเปลวอาร์คที่เกิดขึ้นจะนิ่มนวลหรือเสียงไม่ดัง ซึ่งเหมาะกับการเชื่อมโลหะแผ่น

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

สนใจสอบถาม ตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมCo2 เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องตัดพลาสม่า อย่าลังเลที่จะโทรหาเรา 083-0234002 ไลน์ไอดี:AB20

กลับไปที่หน้าร้าน

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

ระยะอาร์กที่เหมาะสมสําหรับการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือข้อใด

Argon Inverter TIG ตู้เชื่อม ตู้เชื่อมราคาถูก ตู้เชื่อมไฟฟ้า ทิก อะไหล่ อินเวอร์เตอร์ เครื่องเชื่อม เครื่องเชื่อมมือสอง เครื่องเชื่อมราคาถูก เครื่องเชื่อมอาร์กอน เครื่องเชื่อมอาร์กอน