กิจกรรมห้องสมุด หมายถึงข้อใด

กิจกรรมห้องสมุด
         บรรณารักษ์ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์  ต้องคิดให้มีกิจกรรมที่ดึงดูดใจให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการของห้องสมุดให้ได้  ต้องคิดให้แปลกใหม่  และแตกต่างอยู่เสมอ
         กิจกรรมห้องสมุด  เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว  หรือในโอกาสต่างๆ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด  และส่งเสริมการอ่าน  สอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการอ่านตลอดชีวิต  จะแตกต่างจากงานบริการ คือ  งานบริการเป็นงานที่กำหนดเอาไว้ให้มีตลอดไป  ประมาณ 1-2 ปีก็ได้แล้วแต่ทางห้องสมุดจะจัดการ
ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
         การจัดกิจกรรมห้องสมุด  เป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ให้มีผู้รู้จักห้องสมุดมากขึ้น  และเป็นการกระตุ้นให้มีผู้ใช้ทรัพยากรห้องสมุดอย่างคุ้มค่าและหลากหลาย  นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการอ่าน  การศึกษาค้นคว้า  ซึ่งจะสอดคล้องกับระบบการศึกษาของไทยที่ต้องการให้คนไทยมีการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด

  1. เพื่อประชาสัมพันธ์งานและบริการต่างๆของห้องสมุด
  2. เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น
  3. เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้อยากอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากขึ้น
  4. เพื่อเป็นการเริ่มต้นของการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศใช้จัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดประสิทธิผลต่อผู้เข้าชมกิจกรรม

ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด
         กิจกรรมของห้องสมุดจัดแบ่งประเภทออกตามวัตถุประสงค์ที่จัดได้ดังนี้

  1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด
  3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
  4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป  สำหรับบุคคลทั่วไป
  5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้สนใจในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน  ได้แก่
           

- การเล่านิทาน                                                           - การออกร้านหนังสือ
            - การเล่าเรื่องหนังสือ                                                 - การแสดงละครหุ่นมือ
            - การตอบปัญหาจากหนังสือ                                      - การโต้วาที
            - การอภิปรายหนังสือ                                                 - การประกวด
            - การแข่งขัน                                                              - การจัดแสดงหนังสือใหม่
            - การวาดภาพโดยใช้จินตนาการจากการฟังนิทาน

  • กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรืองห้องสมุด  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ได้แก่
           

- การแนะนำการใช้ห้องสมุด
            - การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
            - การนำชมห้องสมุด
การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด (ยุวบรรณารักษ์)

  • กิจกรรมการเรียนการสอน  เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น  เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้แก่
             

- การจัดนิทรรศการ                                               - การตอบปัญหา
             - การประกวดคำขวัญ                                            - การประกวดวาดภาพ
             - การประกวดเรียงความ                                      
             -  การให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน

  • กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป  เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น  เพื่อเป็นการเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้  ได้แก่
           

- การจัดสัปดาห์ห้องสมุด                      - การจัดป้ายนิเทศเสริมความรู้
            - การจัดนิทรรศการ                               - การฉายสื่อมัลติมีเดีย
            - การสาธิตภูมิปัญญาไทย                     - การตอบปัญหาสารานุกรมไทยและหนังสือความรู้รอบตัว

  • กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่านหนังสือ  ได้แก่
           

- การจัดมุมรักการอ่าน
           - การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
           - การจัดห้องสมุดเคลื่อนที
การล่านิทาน (Story telling)
         การเล่านิทานเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน  เพราะนิทานให้ให้ทั้งความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  เพิ่มพูนความรู้ทางภาษาและจินตนาการ  ผู้เล่าต้องมีจิตวิทยาการอ่านที่ดี  ต้องรู้ว่าเด็กสนใจอะไรบ้าง  เด็กชายกับเด็กหญิง  จะมีความสนใจที่เหมือนกันในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  การเลือกเรื่องที่จะเล่าก็ต้องให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายด้วย
สาระน่ารู้ของกิจกรรมการเล่านิทาน

  • เรื่องเล่าอย่างไรที่เรียกว่านิทาน
  • ความเป็นมาของการเล่านิทาน  เล่าสืบต่อกันมาอย่างไร
  • ประเภทของนิทานที่มีอยู่ในประเทศไทย
  • การเลือกนิทานสำหรับเล่า  ไม่เล่าเรื่องที่หนักเกินไป
  • การเตรียมตัวก่อนการเล่า
  • วิธีการเล่านิทาน
  • ประโยชน์ของการเล่านิทาน

ประเภทของนิทานที่มีในไทย

  1. นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์
  2. นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก  เรื่องเกี่ยวกับศาสนาพุทธ  เช่น เทศมหาชาติ  พระเวศสันดร
  3. นิทานประเภทคำกลอน
  4. นิทานนอกนิบาตชาดก
  5. นิทานพื้นเมือง
  6. นิทานประเภทจักรๆวงศ์ๆ
  7. นิทานสุภาษิต
  8. นิทานยอพระเกียรติ

การเลือกนิทานสำหรับเล่า  การเล่านิทานให้เด็กฟังควรเป็น
- นิทานปรัมปรา
- ร้อยกรอง
- สารคดี
- ประวัติบุคคลสำคัญ
การเตรียมตัวก่อนการเล่านิทาน
         การเล่านิทานเป็นศิลปะที่สามารถศึกษาได้  ผูู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่จะเล่าให้ขึ้นใจ  บางครั้งต้องใช้หนังสือประกอบเมื่อเล่าให้เด็กฟัง
นิทานที่เหมาะสำหรับเล่า

  1. มีความเคลื่อนไหวอยู่ในเรื่อง
  2. มีเนื้อเรื่องเร้าใจ
  3. มีพรรณาโวหาร  ให้เห็นภาพ
  4. มีการใช้คำซ้ำๆ  ให้คล้องจองกัน
  5. ตัวละครมีปฏิภาณ  ไหวพริบ
  6. เนื้อเรื่องให้ความสะเทือนใจ
  7. ไม่ใช่เรืองที่น่ากลัวเกินไป
  8. เรื่องเกี่ยวกับเด็กและสัตว์เล็กๆ
  9. นิทานสุภาษิตและอีสป
  10. เรื่องขำขัน
  11. ตำนาน นิทานพื้นเมือง  เทพนิยาย เทพปกรณัม

วิธีการเล่านิทาน

  1. จัดให้เด็กนั่งเตรียมพร้อมสำหรับการฟัง
  2. สร้างบรรยากาศในการเล่า
  3. เล่าด้วยความมั่นใจ
  4. ใช้ภาษา  สำนวนง่ายๆ
  5. ผู้เล่าต้องมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง
  6. จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่เล่า
  7. ต้องสร้างมโนภาพในเรื่องที่จะเล่า
  8. แสดงท่าทางประกอบตามสมควร

ประโยชน์ของเด็กที่ได้รับจากการฟังนิทาน

  1. รู้จักเลือกอ่านหนังสือ
  2. รู้จักแก้ปัญหาให้ตนเองได้เมื่อนำตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับตัวละครในเรื่อง
  3. ทำให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขวาง
  4. เปิดโอกาสให้เด็กได้หัวเราะ  มีจินตนาการร่วม
  5. ช่วยเด็กตัดสินใจว่าเป็นสิ่งที่สังคมของเขายอมรับ