ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด

ได้แก่คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด

ได้แก่คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ

คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน

ธมฺโม หเว รกฺ-          ขติ ธมฺมจารึ 

ชนใดหทัยอิง                 สติยึดประพฤติธรรม 

      ซื่อสัตย์วิรัติชั่ว          บมิกลั้ว ณ บาปกรรม 

เว้นทิฏฐิสารัม                 ภกิเลสและโทษผยอง 

      พร้อมกายวจีจิตร       สุจริตพินิจตรอง 

ธรรมแลจะคุ้มครอง          นรนั้นนิรันดร 

      ให้ปราศนิราศทุกข์     ประลุสุขสโมสร 

หลักฐานสถาพร              ธุระกอบก็เกิดผล 

      ธรรมแลจะแผ่กั้น      และก็กันมิให้ตน 

ตกต่ำถลำจน                  เจอะอบายวิบัติเขว 

       ฉตฺตัง มหนฺตัง            วิย วสฺสกาเล 

เหมือนเมื่อวสันต์เท          ชลหลั่งถะถั่งสาย 

       ร่มใหญ่ผิกางกั้น       จะประกันมิเปียกกาย 

ธรรมดุจร่มหมาย             เฉพาะธรรมจารี 

       เหตุนี้ประชาชาติ       ละประมาทประพฤติดี 

ยึดธรรมประจำชี              วิตเถิดประเสริฐแล

ที่มา : www.kruwallapa.com

และ หนังสืออ้างอิง รศ.วิเชียร เกษประทุม,2550,ลักษณะคำประพันธ์ไทย,สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา,หน้า 22,139

ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด


แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อเพียงคำตอบเดียว

๑. ฉันท์มีลักษณะเด่นอย่างไร

    ก. เสียงเอก-โท

    ข. ครุ-ลหุ

    ค. มีหลากหลายชนิด

    ง. ถูกทั้งข้อ ๑ และ ๒

๒. "ลหุ" มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

    ก. คำทุกคำที่มีตัวสะกด

    ข. คำทุกคำที่อยู่ในมาตราแม่ ก กา

    ค. คำทุกคำที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา

    ง. คำทุกคำที่ประสมสระเสียงสั้นและมีตัวสะกด

๓.ข้อใดหมายถึงอินทรวิเชียรฉันท์

    ก. ฉันท์ที่มีลีลาอ่อนช้อนดุจพระอินทร์

    ข. ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองดุจสายฟ้าของ    

        พระอินทร์

    ค. ฉันท์ที่มีลีลาเสียงไพเราะดุจพิณของ

       พระอินทร์

    ง. ฉันท์ที่มีลีลางามเย้ายวนใจดุจแสงสว่าง

       จากดวงอาทิตย์

๔.ข้อใดมี ลหุ ๔ คำ

    ก. แม้นมิยกพลไกรไปช่วย

    ข. แล้วเรียกพระอนุชามากระซิบ

    ค. สตรีใดในพิภพจบแดน

    ง. จะอาสากว่าจะสิ้นสุดฤทธิ์

๕."ระทึกใจยามพิศพินิจนาง" มี ครุ ลหุ อย่างละกี่คำ

    ก. ครุ ๒ คำ ลหุ ๖ คำ

    ข. ครุ ๖ คำ ลหุ ๒ คำ

    ค. ครุ ๓ คำ ลหุ ๕ คำ

    ง. ครุ ๕ คำ ลหุ ๓ คำ

๖."พลเลิศจะเกิดทุกขณะจิต" ข้อใดมี ครุ ลหุ ตรงกับคำประพันธ์


ก.

ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด



ข.

ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด


ค.

ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด


ง.

ลักษณะเด่นของอินทรวิเชียรฉันท์ 11 คือข้อใด


   

๗. อินทรวิเชียร ๑๑ มีครุ และ ลหุ อย่างไร

    ก. คำครุ ๔ คำลหุ ๗

    ข. คำครุ ๕ คำลหุ ๖

    ค. คำครุ ๖ คำลหุ ๕

    ง. คำครุ ๗ คำลหุ ๔

๘.อินรวิเชียรฉันท์ คล้ายคำประพันธ์ชนิดใดมากที่สุด

    ก. กาพย์ยานี

    ข. กลอนหก

    ค. ร่ายสุภาพ

    ง. วสันตดิลกฉันท์

๙. ข้อใดเป็นอินทรวิเชียรฉันท์

    ก. สมัครสมานมิตร ก็คิดจะช่วยเอา

    ข. หลากเหลือจะเชื่อจิต ผิวคิดประหวั่นพะวง

    ค. ท่านใดที่เป็นใหญ่ และกล้าใครมิเปรียบปาน

    ง. พิศไหนบมีทราม วะธุงามสง่าหมด

๑๐.ควรเติมข้อใดในช่องว่าง จึงจะถูก ลักษณะของอินทรวิเชียรฉันท์

"____________อภิโพธิสมภาร"

    ก. จะพึ่งพระองค์ผู้

    ข. จักพึ่งสมเด็จผู้

    ค. หวังพึ่งบพิตรผู้

    ง. ปรางพระองค์บพิตร




เฉลยแบบทดสอบ
๑. ก    ๒. ค    ๓. ข    ๔. ข    ๕. ข    ๖. ก    ๗. ง   ๘. ก    ๙.ข    ๑๐.ค





อินทรวิเชียรฉันท์ คือ ฉันท์ที่มีลักษณะอย่างไร

อินทรวิเชียรฉันท์ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์ มีข้อบังคับ ครุและลหุ หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์

ฉันท์มีลักษณะเด่นอย่างไร

ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๘ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำ รวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ สัมผัส สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยง สัมผัส และจากตัวอย่างคำที่สัมผัสกันใช้วงกลม สีเข้ม คำครุ ลหุ

ครุ ลหุ มีลักษณะอย่างไร

ครุและลหุ ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง 4 คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น ตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น (รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ

ข้อใดเป็นลักษณะของคำลหุ

คำลหุ (อ่านว่า ละ-หุ) คือ พยางค์ที่ออกเสียงเบา มีวิธีการสังเกตดังนี้ 1. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด 2. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นเท่านั้น เช่น แพะ แกะ นะคะ ชิชะ