งบประมาณแผ่นดิน คืออะไร มีลักษณะอย่างไร

- เงินงบประมาณแผ่นดิน หมายถึง งบประมาณที่มหาวิทยาลัยได้รับจัดสรร จากสำนักงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 

- เงินนอกงบประมาณ หรือ งบประมาณเงินรายได้ หมายถึง งบประมาณที่ได้มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและค่าหน่วยกิต หรือรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าปรับ รายได้จากการดำเนินงาน เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดสรรรายรับนั้น ตามระเบียบว่าด้วยเงินรายได้ฯ และหลักเกณฑการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 

- เงินรายได้แผ่นดิน หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับ และต้องนำส่งคลังเป็น รายได้แผ่นดิน เช่น รายได้จากการจำหน่ายครุภัณฑ์เสื่อมสภาพ 

- งบประมาณอื่น หมายถึง งบประมาณที่ไม่จัดอยู่เป็นงบประมาณแผ่นดินและ เงินรายได้ เช่น เงินรับฝาก เงินกองทุน

                    3. เงินคงคลัง คือเงินที่เก็บอยู่ในคลัง ซึ่งสะสมและได้มาจากหลายทาง อาทิงบประมาณเหลือจ่ายจากปีงบประมาณก่อน จากการรับชำระหนี้คืน ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลมีสิทธินำออกมาใช้ได้ตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินคงคลัง แต่จะต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสภาวะการคลังและการเงินของประเทศ

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติถือเอาระยะเวลา 1 ปี คือ เริ่มจาก 1 ตุลาคม ไปสิ้นสุดที่ 30 กันยายนของปีถัดไป
       สำนักงบประมาณเป็นหน่วยราชการที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณประจำปี โดยจะรวบรวมโครงการและรายจ่ายด้านต่าง ๆ ของหน่วยราชการทุกหน่วยงานรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจทั้งหมด เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากรัฐสภา และประกาศใช้ต่อไป
ลักษณะของงบประมาณ
       งบประมาณของรัฐบาลมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งด้านรายรับและรายจ่าย ผลกระทบจะมากน้อยและอยู่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งบประมาณของรัฐบาล ซึ่งมี3 ลักษณะ คือ
       1) งบประมาณสมดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายเท่ากับรายได้พอดี งบประมาณสมดุลจะมีข้อขำกัด ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินฝืด อัตราการว่างงานสูง การดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลจะไม่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะการใช้จ่ายของรัฐบาลถูกกำหนดโดยรายได้ ดังนั้นนโยบายงบประมาณสมดุล จึงเป็นนโยบายที่ไม่ยืดหยุ่นไม่สามารถปรับได้คล่องตัวเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
       2) งบประมาณขาดดุล หมายถึง การที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ และจำเป็นต้องนำรายรับจากเงินกู้หรือเงินคงคลังมาชดเชยการขาดดุล ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดว่า การที่รายจ่ายสูงกกว่ารายได้ และรัฐบาลก่อหนี้สาธารณะมาใช้จ่ายนั้นไม่ใช้สิ่งที่เสียหาย ถ้าเงินที่กู้มาถูกใช้ในทิศทางเพื่อการเพิ่มผลผลิต การเพิ่มการลงทุน และการจ้างงาน
       3) งบประมาณเกินดุล หมายถึง การที่รัฐบาลใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ ทำให้มีเงินเหลือเข้าเป็นเงินคงคลังเพิ่มขึ้น
หนี้สาธารณะ
      ในประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่งบประมาณของรัฐบาลจะขาดดุบ เนื่องจากระดับรายได้ของประชาชนต่ำ มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงมีผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรได้น้อย ในขณะเดียวกันรัฐบาลพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้รายจ่ายด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ หนี้สาธารณะอาจจำแนกตามแหล่งเงินกู้ได้ดังนี้
1. หนี้ภายในประเทศ
หนี้ภายในประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ สถาบันทางการเงินประเภทต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป วิธีการก่อหนี้สาธารณะภายในประเทศนั้น รัฐบาลจะจำหน่ายพันธบัตรซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาว หรือจำหน่ายตั๋วคลังซึ่งเป็นการกู้ระยะสั้น
2. หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศ หมายถึง หนี้สาธารณะที่เกิดจากรัฐบาลกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ เพื่อนำมาสนับสนุนการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือค้ำประกันเงินก็ของรัฐวิสาหกิจ แหล่งเงินกู้ต่างประเทศที่สำคัญ คือ ธนาคารโลก กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งประเทศญี่ปุ่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย และตลาดการเงิน เป็นต้น
      การก่อหนี้สาธารณะอาจเกิดผลดีในด้าน การนำเงินไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต จะทำให้อัตราการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในกรณีหนี้ภายในประเทศ ถ้ารัฐบาลกู้ยืมเงินลงทุนของภาคเอกชน จะเกิดผลกระทบต่ออุปสงค์รวม ทำให้ระดับรายได้ประชาชาติและการว่าจ้างทำงานลดลง ส่วนหนี้ต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อเงินที่ไหลออกนอกประเทศ เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้แก่ต่างประเทศ
      กล่าวโดยสรุป รัฐบาลต้องใช้จ่ายรายได้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการแจกจ่ายรายได้ ต้องมีการวางแผน และดำเนินการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงมีการทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากหน่วยงานที่มีความจำเป็นและต้องการรายได้เพื่อนำไปใช้จ่ายตามแผนของรัฐบาลที่วางไว้

เนื่องในสมัยรัชกาลที่  ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน 

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึงอะไร

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของรายรับรายจ่ายของรัฐบาลในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติถือเอาระยะเวลา 1 ปี คือ เริ่มจาก 1 ตุลาคม ไปสิ้นสุดที่ 30 กันยายนของปีถัดไป

การจัดทำงบประมาณแผ่นดินโดยทั่วไปมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะที่ดีของงบประมาณแผ่นดิน 1.ต้องเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน 2.งบประมาณจะต้องถือหลักพัฒนา 3.งบประมาณจะต้องถือหลักประหยัด

งบประมาณแผ่นดินมีอะไรบ้าง

งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน คือ เงินของแผ่นดินที่กฎหมายอนุญาตให้รัฐบาลนำไปใช้จ่ายในการบริหารราชการแผ่นดิน และรวมทั้งที่องค์กรอื่น ๆ ของรัฐนำไปใช้จ่ายตามอำนาจหน้าที่และภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินนี้ ได้มาจากภาษีอากรของประชาชน โดยผ่านความเห็นชอบหรือขออนุญาตจากตัวแทนของประชาชนคือรัฐสภา โดยเฉพาะ ...

งบประมาณแผ่นดินมีชื่อเรียกว่าอะไร

งบประมาณแผ่นดินของไทย หรือ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศไทย คือแผนงบประมาณเพื่อจัดหาทุนแก่การดำเนินการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นสำหรับใช้เป็นหลักในแต่ละปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป และเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่าย ...