เงินเดือน และค่าจ้าง หมาย ถึง

          3. ประโยชน์เกื้อกูล (fringe benefit) ได้แก่ ค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือนและค่าจูงใจ เป็นค่าตอบแทนที่องค์การจัดให้เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานกับองค์การ

- คำว่า ‘ค่าจ้าง’ หมายถึงเงินค่าจ้าง เงินเดือน หรือค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้คำเรียกว่าอย่างไรก็ตาม ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นผลตอบแทนของการทำงาน (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน วรรคย่อย 5 มาตรา 2 (1))

※ คำว่า ‘ลูกจ้าง’ หมายถึงบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะประกอบอาชีพใด ๆ ซึ่งทำงานให้กับธุรกิจหรือที่ทำงานเพื่อรับค่าจ้าง (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน วรรคย่อย 1 มาตรา 2 (1)

※ คำว่า ‘นายจ้าง’ หมายถึงเจ้าของธุรกิจ หรือบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการธุรกิจหรือบุคคลที่กระทำการแทนเจ้าของธุรกิจในเรื่องที่เกี่ยวกับลูกจ้าง (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน วรรคย่อย 2 มาตรา 2 (1))

เงินเดือน และค่าจ้าง หมาย ถึง
องค์ประกอบของแนวคิดเกี่ยวกับค่าจ้าง

- นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้าง

· ตามหลักแล้วเบี้ยประกันภัยที่นายจ้างจ่ายตามโครงการประกันสังคมนั้นไม่นับเป็นค่าจ้างตามความหมายของคำว่าค่าจ้าง เนื่องจากค่าจ้างนั้นต้องจ่าย ‘จากนายจ้างให้กับลูกจ้าง’ ค่าจ้างนั้นไม่รวมถึงเงินสมนาคุณหรือทิปที่จ่ายให้ลูกจ้าง เป็นต้น โดยลูกค้า

· ‘ผลตอบแทนของการทำงาน ซึ่งจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน’ นั้นกำหนดจากหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินหรือของมีค่าเป็นการตอบแทนโดยตรง หรือเกี่ยวข้องกับ การทำงาน

※ คำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานของศาลเกี่ยวกับขอบเขตของค่าจ้าง

- ค่าตอบแทนสำหรับงานที่ทำข้ามประเทศ

· เงินตอบแทนที่เกินส่วนของค่าจ้าง โดยเฉพาะที่ได้จากการทำงานในต่างประเทศ เมื่อเทียบกับค่าจ้างปกติของลูกจ้างในตำแหน่งเดียวกันนั้นไม่ควรนับว่าเป็นค่าตอบแทนที่จ่ายสำหรับการทำงาน แต่เป็นค่าตอบแทนสำหรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือเป็นค่าจ้างเฉพาะกาลซึ่งได้ในสถานการณ์พิเศษเนื่องจากงานที่ปฏิบัติการในฐานะลูกจ้างในต่างประเทศ (คำพิพากษาของศาล วันที่ 9.11.1990, 90 ดาหมายเลข 4683)

- ค่าตอบแทนสำหรับการวิจัย

· ค่าตอบแทนสำหรับการวิจัยและทุนศึกษานั้นสามารถตีความเป็นค่าจ้างได้ คือเป็นผลตอบแทนของการทำงาน ถ้าเงินนั้นจ่ายโดยบุคคลากรของคณะในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ และไม่ได้จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์คือเป็นการชดเชยค่าใช้จ่ายของนักวิจัยหรือนักศึกษาที่ทำงานวิจัยอย่างหนึ่ง (คำพิพากษาของศาลสูงสุด วันที่ 28.9.1977, 77 ดาหมายเลข 300)

· ถ้าเงินโบนัสนั้นได้จ่ายอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ และจำนวนที่จ่ายนั้นกำหนดไว้ไม่เปลี่ยน เงินโบนัสนั้นอยู่ในลักษณะการเป็นค่าจ้างซึ่งจ่ายเพื่อเป็นผลตอบแทนของการทำงาน แต่ไม่เป็นค่าจ้างในความหมายของค่าจ้างในกรณีที่การจ่ายเงินนั้นไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน หรือทำเพียงชั่วคราว (คำพิพากษาของศาลสูงสุด วันที่ 11.6.2002, 2001 ดาหมายเลข 16722)

- ค่าตอบแทนสำหรับครอบครัว

· ถ้าบริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนสำหรับครอบครัว และค่าตอบแทนสำหรับจ่ายให้กับลูกจ้างที่เข้าเกณฑ์บางอย่าง ค่าตอบแทนสำหรับครอบครัวนั้นควรนับเป็นค่าจ้างซึ่งเป็นผลตอบแทนของการทำงานคือต้องไม่จ่ายแบบตามอำเภอใจหรืออย่างลำเอียง (คำพิพากษาของศาลสูงสุด วันที่ 26.5.2006, 2003 ดาหมายเลข 54322 และ 54339)

· ประกันภัยคนขับรถนั้นไม่อยู่ในหมวดหมู่ของค่าจ้างที่จ่ายให้ลูกจ้างเพื่อการทำงาน หาก ตามข้อตกลงร่วมของสหภาพแรงงาน จำนวนดังกล่าวนั้นนายจ้างเป็นผู้ชำระรายเดือนเพื่อเป็นเงินทุนให้ลูกจ้างสามารถใช้ชีวิตได้ปกติในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และได้จำหน่ายต่อให้กับสมาชิกของสหภาพแรงงาน (คำพิพากษาของศาลสูงสุด วันที่ 23.7.2002, 2000 ดาหมายเลข 29370)

- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร

· บัตรกำนัลอาหารที่นายจ้างให้ลูกจ้าง ซึ่งมีอายุการใช้งาน 2 วัน และไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือสินค้าอื่น นั้นถือเป็นอาหารที่จัดหาให้เป็นสวัสดิการของลูกจ้าง ไม่ใช่ค่าจ้าง ซึ่งต้องเป็นผลตอบแทนของการทำงาน (คำพิพากษาของศาลสูงสุด วันที่ 23.7.2002, 2000 ดาหมายเลข 29370)

เงินเดือน และค่าจ้าง หมาย ถึง
ค่าจ้างธรรมดาและค่าจ้างเฉลี่ย

· ‘ค่าจ้างธรรมดา’ หมายถึงค่าจ้างซึ่งจ่ายเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายอาทิตย์ หรือรายเดือน หรือเป็นค่าตอบแทนในสัญญาซึ่งจ่ายให้กับลูกจ้างที่รับจ้างทำงานที่กำหนดไว้ในสัญญาหรืองานทั้งหมดตามสัญญา โดยจ่ายเป็นประจำและแบบเหมาจ่าย (พระราชกฤษฎีกาบังคับใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 6 (1))

· ค่าจ้างธรรมดาใช้เป็นฐานสำหรับการคำนวณดังต่อไปนี้

√ อัตราค่าจ้างเฉลี่ยมาตรฐานขั้นต่ำที่รับรอง(พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 2 (2))และศาลสูงสุด 9. 11. 1993, ตัดสิน, อ้างอิงจากการตัดสิน 93ดา8658)

√ ค่าตอบแทนสำหรับจ่ายเมื่อเลิกจ้างโดยแจ้งล่วงหน้า (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 26)

√ ค่าตอบแทนสำหรับจ่ายค่าจ้างเลยเวลา เวลากลางคืน หรือในวันหยุด (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 56)

√ ค่าตอบแทนสำหรับช่วงลาพักผ่อนโดยได้ค่าจ้างประจำปี (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 60 (5))

√ ค่าตอบแทนสำหรับเงินสงเคราะห์ระหว่างลาคลอด (พระราชบัญญัติประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน มาตรา 75)

· ค่าจ้างซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าจ้างธรรมดานั้นประกอบไปด้วยค่าจ้างทั่วไปที่จ่ายให้กับลูกจ้างตามที่ตกลงในสัญญาจ้างหรือในกฎเกณฑ์การจ้างงาน หรือในข้อตกลงร่วม เป็นต้น 1ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ใช้เวลาทำงานตามกฎหมายถ้าไม่ได้กำหนดเวลาทำงานไว้ในสัญญา) และค่าจ้างที่กำหนดไว้ไม่เปลี่ยนซึ่งจ่ายแบบประจำและต่อเนื่องในช่วงที่ทำการคำนวณค่าจ้าง [ระเบียบการคำนวณค่าจ้างธรรมดา มาตรา 3 (1) (ตามกฎกระทรวงของกระทรวงแรงงาน หมายเลข 47 วันที่ 25.9.2012 คำสั่ง บังคับใช้)]

· การตีความความหมายของค่าจ้างธรรมดานั้นไม่ควรพิจารณาเฉพาะชื่อ แต่รวมถึงความหมายทั้งหมดของค่าจ้างธรรมดา ข้อตกลงในสัญญาแรงงานหรือกฎเกณฑ์การจ้างงานหรือข้อตกลงร่วม ประเภทของงานและรูปแบบการทำงาน ธรรมเนียมการจ่ายค่าจ้าง เป็นต้น (บทบัญญัติของระเบียบการคำนวณค่าจ้างธรรมดา มาตรา 5-2)

· คำว่า ‘ค่าจ้างเฉลี่ย’ หมายถึงจำนวนที่คำนวณโดยนำค่าจ้างทั้งหมดของลูกจ้างที่ต้องการคำนวณที่ได้รับในช่วง 3เดือนปฏิทินก่อนวันที่จะเริ่มคำนวณค่าจ้า ง หารด้วยจำนวนวันปฏิทินทั้งหมดในสามเดือนนั้น (ประโยคหลักของพระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน วรรคย่อย 6 มาตรา 2 (1))

· ค่าจ้างเฉลี่ยนั้นคำนวณโดยนำค่าจ้างทั้งหมดของลูกจ้างที่ต้องการคำนวณที่ได้รับในช่วง 3 เดือนปฏิทินก่อนวันที่จะเริ่มคำนวณค่าจ้า ง หารด้วยจำนวนวันปฏิทินทั้งหมดในสามเดือนนั้น หากจำนวนที่คำนวณมาแล้วนั้นน้อยกว่าค่าจ้างธรรมดาของลูกจ้าง ให้กำหนดให้ค่าจ้างธรรมดาใช้เป็นค่าจ้างเฉลี่ย (พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน มาตรา 2 (2))

· ค่าจ้างเฉลี่ยเป็นฐานสำหรับการคำนวณเงินบำนาญ ค่าตอบแทนสำหรับการยุติการดำเนินกิจการ และช่วงลาพักผ่อนโดยได้ค่าจ้างประจำปีเงินสงเคราะห์ระหว่างลา เป็นต้น

※ วิธีการคำนวณค่าจ้างเฉลี่ย

ค่าจ้างเฉลี่ย = จำนวนค่าจ้างทั้งหมดที่จ่ายให้กับลูกจ้างที่ต้องการคำนวณในช่วง 3 เดือนปฏิทินก่อนวันที่จะเริ่มคำนวณค่าจ้างเฉลี่ย ง นี้ ÷ จำนวนวันปฏิทินทั้งหมดใน 3 เดือนนั้น

ค่าจ้างหมายถึงอะไร

ค่าจ้างหมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดย คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่าย ให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ

การจ่ายผลตอบแทน หมายถึงอะไร

ค่าตอบแทน (Compensation) คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่องค์การจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายนี้อาจจ่ายในรูปตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินก็ได้ เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ จูงใจให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ปฏิบัติงานให้ดี ...

การจ่ายค่าจ้างรายตัวคืออะไร

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวม ...

เงินอะไรที่เป็นค่าจ้าง

ค่าจ้างเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้าง อาจเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ เงินเบี้ยเลี้ยง เบี้ยขยัน เงินช่วยเหลือบุตร เป็นต้น