ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

ดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราช ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย



ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย



2.ด้านการเมืองการปกครอง

 รับความเชื่อเรื่องสมมติเทพและกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียมาเป็นแม่แบบของกฎหมาย ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก การรับศาสนาพราหมณ์ทำให้มีความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพตามแนวความเชื่อของอินเดีย ต่อมาได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาผสมผสานเพื่อใช้ในการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นธรรมราชาในเวลาต่อมา


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย



3.ด้านอักษรศาสตร์ 

ประเทศไทยรับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศประเทศไทย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศไทย รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย




4.ด้านวิถีชีวิต 

คนไทยได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนผสม ใส่เสื้อผ้าแบบชาวอินเดีย 


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย




5.ด้านศิลปะวิทยาการ 

รับรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ลังกา เช่น เจดีย์ทรงลังกา พระพุทธรูป


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


ข้อใดคือวัฒนธรรมอินเดียที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย



members:


ด.ญ. ปภาดา    จันทราภินันท์ ม.2/7 เลขที่ 23
ด.ญ. พิมพ์พิชชา ฉัตรปัญญาพร ม.2/7 เลขที่ 24
ด.ญ. วิภาวี     หามณี      ม.2/7 เลขที่ 27


ด.ญ. สุรัตน์วดี   พลวงษ์ศรี   ม.2/7 เลขที่ 28


credit:


https://sites.google.com/site/uunntelarning/unit502-2?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
           ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้

การติดต่อค้าขายระหว่างชาวอินเดียและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสื่อสำคัญที่ก่อให้เกิดการเผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียมายังรัฐโบราณแถบนี้ การแลกเปลี่ยนมีมาตั่งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ในช่วงวัฒนธรรมหินใหม่หรือช่วงสังคมเกษตร หลักฐานทางโบราณคดีคือ พบขวานหินขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและขวานหินแบบมีบ่าอายุในช่วง 4,000 – 2,000 ปี แพร่กระจายไปดินแดนที่ชนเผ่าที่พูดกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค ได้แก่ภาษาญวน มอญ เขมร ภาษามุณฑะ(ภาษาหนึ่งในอินดีย) กับ ชนเผ่ากลุ่มภาษาออสโตนีเชียน ได้แก่ภาษาอินโดนีเชีย และพวกจาม

เหตุการณ์ที่เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณการค้าขายระหว่างชาวอินเดียและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะประเทศไทยคือ แต่เดิมอินเดียได้ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะทองคำในบริเวณเมดิเตอร์เรเนี่ยนและเอเชียกลาง แต่ราว พ.ศ.ว. ที่ 4 – 5 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในแถบนี้ ทำให้การคมนาคมในแถบนี้ถูกตัดขาด อินเดียไม่อาจซื้อทองคำในไซบีเรียได้อีกต่อไป จึงหันไปซื้อทองคำในโรมันจนทำให้เศรษฐกิจโรมันกระทบกระเทือนไม่อาจขายทองให้อินเดียได้อีก ด้วยเหตุนี้อินเดียจึงเดินทางมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาแหล่งที่ซื้อทองคำใหม่ และเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “สุวรรณภูมิ”

ชาวอินเดียที่เป็นพ่อค้า นักบวชเหล่านี้ได้เดินทางเข้ามาทั้งทางบกและทางน้ำดังที่พบในหลักฐานในจารึก อ.วังไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ของกษัตริย์แห่งเจนละ และการพบลูกปัดหินประเภทหินคาเนเลียน หินโอนิกซ์ หินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ซึ่งมีแหล่งผลิตในอินเดีย แพร่กระจายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่ค้นพบในประเทศไทย แหล่งโบราณคดีคลองท่อม จ.กระบี่ และ เกาะคอเขา จ.พังงา

รัฐโบราณแรกรับวัฒนธรรมอินเดีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ฟูนัน เจนละ ทวารวดีและศรีวิชัย หลักฐานทางวรรณกรรม เช่น

  1. คำภีร์มหาวงศ์ในลังกาที่เขียนขึ้นในพ.ศ.ว.ที่ 11 – 12 กล่าวถึงการสังคยนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในช่วงพ.ศ.ว.ที่  3 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตมาเผยแพรพระพุทธศาสนาในดินแดน “สุวรรณภูมิ”

  2. ชาดก มิลินทปัญหา มหานิเทศ นิยายของศาสนาเซน และมหากาพย์รามยณะ มักจะกล่าวถึงพ่อค้าที่ชอบเล่นเรือมาค้าขายในแถบตะวันออกที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณประทีป” เมืองท่าสำคัญที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อค้าขายที่อยู่ในประเทศไทยเช่น ไชยา เวียงสระ คลองท่อม

วัฒนธรรมสำคัญที่อินเดียนำมาเผยแพร่ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยได้แก่

  1. การใช้ตราประทับที่เป็นสื่อกลางติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ ศาสนา เอกชนหรือหมู่คณะเพื่อผลทางการเมือง

  2. ระบบการปกครอง ระบบกษัตริย์ การจัดตั่งรัฐแบบอินเดีย  คติการสร้างเมือง

  3. งานวรรณกรรม เช่น รามเกียรติ์ ภควัตคีตา ซึ่งมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด ของคนในภูมิภาคนี้

  4. ศาสนาพราหมณ์ และพุทธ หลักความเชื่อต่าง ๆ  การนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ การสร้างพระพุทธรูป และการสร้างเทวรูป