งานด่วน กับ งานสำคัญ ต่างกันอย่างไร

7 ต.ค. 2021

รู้จัก งาน 4 รูปแบบ ที่เราต้อง จัดการให้เหมาะสม | THE BRIEFCASE
เชื่อว่าหลายคน คงเคยเจอปัญหา เสียเวลาไปกับงาน ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน
จนทำให้ไม่มีเวลาไปทำงานที่สำคัญและเร่งด่วนจริง ๆ อยู่บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น การจัดสรรและบริหารเวลาซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดให้ดี ๆ ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถ้าพูดถึงเรื่องจัดสรรและบริหารเวลา เราคงต้องพูดถึง Stephen R. Covey ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาภาวะผู้นำและความมีประสิทธิผลในการทำงาน
Stephen R. Covey เป็นผู้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า “The 7 Habits of Highly Effective People” หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง
ซึ่ง 1 ใน 7 ลักษณะนิสัยที่ทำให้คนเราประสบความสำเร็จ ตามหนังสือที่เขาเขียน
คือ “Put First Things First” หรือแปลว่า “การเลือกทำในสิ่งที่สำคัญก่อน”
เขาบอกว่า ก่อนอื่นเราต้องแยกแยะให้ได้ว่า งานไหนเป็นงานที่สำคัญ และงานไหนเป็นสิ่งที่เร่งด่วน เพราะถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เราอาจใช้เวลาที่มีจำกัดไปใช้กับสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสำคัญต่อชีวิต
ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่มากำหนดเรื่องการจัดสรรเวลา คือ “ความเร่งด่วน” และ “ความสําคัญ” ซึ่งสตีเฟน โควีย์ ได้จัดลำดับความสำคัญของงานออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
1. งานที่สําคัญและเร่งด่วน (Important and Urgent)
ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ เช่น
- งานสำคัญที่หัวหน้าสั่งและมีเดดไลน์กำหนดส่งแน่นอนเร็ว ๆ นี้
- การประชุมกับลูกค้าคนสำคัญและต้องเตรียมเอกสารอย่างเร่งด่วน
- การเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไปสัมภาษณ์งานในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ถ้าเราทำงานเหล่านี้ไม่เสร็จตามกำหนด หรือเตรียมตัวมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบด้านลบ กับชีวิตการทำงานของเราในอนาคตได้ เพราะฉะนั้น งานในลักษณะแบบนี้ เราต้องจัดลำดับความสำคัญไว้เป็นลำดับแรก
2. งานที่สำคัญแต่ไม่ด่วน (Important but Not Urgent)
ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ เช่น
- การเตรียมข้อมูลสำหรับการประชุมครั้งสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า
- การวางแผนการจัดการข้อมูล ให้เราสามารถรับมือกับงานจำนวนมากที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
งานลักษณะนี้ เราควรจัดลำดับความสำคัญ รองลงมาจาก งานสำคัญที่เร่งด่วน
เพราะเนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องรีบทำให้เสร็จในเร็ว ๆ นี้ หากเราทุ่มเททรัพยากรและกำลังทั้งหมดให้กับงานลักษณะนี้ในตอนนี้ งานที่เร่งด่วนกว่า อาจเสร็จไม่ทันกำหนดได้
3. งานเร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ (Urgent but Not Important)
ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ เช่น
- การประชุมด่วนที่ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า แต่ไม่ได้กำหนดตายตัวว่า เราจำเป็นต้องเข้าร่วมหรือไม่
งานประเภทนี้ มักจะเข้ามาแบบเร่งด่วนในระหว่างวัน แต่ถ้าวิเคราะห์ดี ๆ แล้ว งานแบบนี้ อาจไม่สำคัญกับเรา
หรือในอีกมุม คือเราสามารถให้คนอื่นช่วยรับผิดชอบงานนั้นแทนเราได้
เช่น คนที่อยู่ในฐานะหัวหน้า อาจจะใช้วิธีแจกจ่ายงานลักษณะนี้ให้ลูกทีมที่มีความเหมาะสมรับผิดชอบแทน ซึ่งจะช่วยให้เรามีเวลาโฟกัสกับเรื่องที่สำคัญกว่ามากขึ้น
หรือหากเราจะทำงานนี้เอง ก็ต้องมั่นใจว่า เราจะจัดการงานที่มีความสำคัญและเร่งด่วนกว่านี้ ได้ทันเวลา
4. งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน (Not Urgent and Not Important)
ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ เช่น
- ซื้อต้นไม้เข้าสวนที่บ้าน ที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อในเร็ว ๆ นี้
- อ่านนวนิยายเล่มโปรด ที่ไม่ได้รีบร้อนว่าจะต้องอ่านให้จบ
งานลักษณะนี้ ถือเป็นงานประเภทที่เราควรจัดลำดับความสำคัญไว้ท้ายสุด เราค่อยมาทำงานลักษณะนี้ ในช่วงที่เราจัดการงานที่มีความสำคัญกว่าได้เรียบร้อยแล้วก็ได้
หรือเราอาจมอบหมายให้คนอื่นไปทำก็ได้ เพราะไม่ว่างานเหล่านี้จะเสร็จช้าหรือเร็ว ก็ไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงใด ๆ ตามมานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอได้ไอเดียในการจัดสรรเวลาให้มีประสิทธิภาพพอสมควร
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ชีวิตเราอาจมีสิ่งที่สำคัญเพียงไม่กี่อย่าง
แต่ประเด็นคือ เรารู้หรือไม่ว่าอะไรคือ สิ่งสำคัญ และอะไร คือสิ่งที่ไม่สำคัญ
แล้วพยายามวางแผนจัดการกับงานเหล่านั้น ให้เหมาะสมที่สุด..
References
-http://www.crowe-associates.co.uk/wp-content/uploads/2013/10/Coveys-4-quadrants-Exercise.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/The_7_Habits_of_Highly_Effective_People

ใครมีปัญหาการจัดลำดับความสำคัญของงานบ้างครับ?

เป็นเรื่องธรรมดาที่เวลาเราถูก assign โปรเจ็คท์ใหม่ๆ เรามักจะหัวหมุนว่า เฮ้ย! งานเก่าก็ยังต้องทำ งานใหม่มาแล้วจะทำตอนไหน อะไรก่อนดี ซึ่งปัญหานี้เป็นเรื่องที่คนวัยทำงานระดับบริหารมักจะต้องเจอตลอดเวลา แล้วเราจะบริหารจัดการการทำงานอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และทันเวลาที่สุดล่ะ? งั้นเรามาลองดูเฟรมเวิร์คตัวนี้กันครับ มันมีชื่อว่า Eisenhower Box

Eisenhower Box คือเฟรมเวิร์คที่ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของงาน ซึ่งจะแบ่งงานด้วยเกณฑ์ชี้วัด 2 ข้อ 1) ความสำคัญ มาก - น้อย 2) ความเร่งด่วน มาก - น้อย ซึ่งเราจะได้งานออกมา 4 แบบคือ งานที่มีความสำคัญมากและเร่งด่วน งานที่มีความสำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน งานที่มีความสำคัญน้อยแต่เร่งด่วน และงานที่มีความสำคัญน้อยและไม่เร่งด่วน

งานที่ “สำคัญมาก” และ “เร่งด่วน”

งานที่สำคัญและเร่งด่วน เป็นงานที่ต้องทำทันที หากผิดพลาดหรือทำไมทันจะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ งานแบบนี้เราต้องให้ความสำคัญกับมันเป็นลำดับแรก

ข้อสังเกต : หากคุณมีงานประเภทนี้มากเกินไป เป็นไปได้ว่าคุณทำงานในเชิงรับมากกว่าเชิงรุก คือรอให้เกิดปัญหาหรือรอให้คนสั่ง คุณจึงจะเริ่มหันไปลงมือทำมัน การลดปริมาณงานที่สำคัญและเร่งด่วนคือคุณต้องวางแผนการทำงานล่วงหน้ามากขึ้น พยายามปิดความเสี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้มากที่สุด ความเร่งด่วนที่ว่านี้ก็จะลดลง

งานที่ “สำคัญมาก” แต่ “ไม่เร่งด่วน”

งานที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นงานที่สำคัญแต่ยังรอได้หรือเก็บไว้ทำทีหลังได้ แต่หากปล่อยไว้นานๆ งานนี้อาจกลายเป็นงานสำคัญและเร่งด่วนขึ้นมา

ข้อสังเกต : งานประเภทนี้อาจมีระยะเวลาในการทำงานที่ค่อนข้างนานแต่ต้องใช้ทักษะและความทุ่มเทสูง เช่น โปรเจ็คท์ใหม่ การปรับผังโครงสร้างแผนก หรือระบบตรวจสอบความผิดพลาด งานประเภทนี้จะส่งผลให้การทำงานโดยรวมดีขึ้นในระยะยาว เราจึงควรทุ่มเททำให้มันออกมาอย่างดีที่สุด

งานที่ “สำคัญน้อย” และ “เร่งด่วน”

งานที่สำคัญน้อยแต่เร่งด่วน เป็นงานที่ต้องทำทันที แต่ถ้าเกิดความผิดพลาดก็จะเป็นปัญหาไม่มากนัก งานแบบนี้เราอาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำได้ หรือถ้าเป็นงานที่ใช้เวลาไม่มากก็จัดเวลาเพื่อทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

ข้อสังเกต : งานแบบนี้มักเป็นงานจุกจิกที่แทรกเข้ามาในแต่ละวัน อย่าให้เวลากับมันมากเกินไป เพราะเรามักจะถูกทำให้ยุ่งด้วยงานประเภทนี้เสมอ เราสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยมอบหมายงานนี้ให้ผู้อื่น หรือวางแผนการจัดการงานยิบย่อยพวกนี้ให้เป็นระบบ เพื่อให้มันไม่มารบกวนเราในระหว่างวัน

งานที่ “สำคัญน้อย” และ “ไม่เร่งด่วน”

งานที่ทั้งไม่ค่อยสำคัญและไม่เร่งด่วน เป็นงานที่คุณไม่ควรใส่ใจกับมันมากที่สุด เรียกได้ว่าทำไปก็ไม่เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอะไรขึ้นมา ถ้าเป็นไปได้ งานไหนที่ถูกจัดให้อยู่ในช่องนี้ เราตัดมันออกไปก่อนเลยก็ได้

ข้อสังเกต : หากคุณมีงานประเภทนี้มากเกินไป เป็นไปได้ว่าคุณกำลังทำงานที่ไม่มีความสำคัญต่อบริษัทอยู่ ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างยิ่ง ลองปรับเปลี่ยนเป้าหมายหรือแนวคิดการทำงานของคุณเสียใหม่ มิฉะนั้นอาชีพของคุณคงจะไปถึงทางตันในเร็วๆนี้

เอาล่ะครับ หลังจากเราจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นแล้ว คราวหน้าเราจะมาเล่าให้ฟังกันต่อนะครับว่า “เราควรทำงานสำคัญ ประเภทใด ในช่วงเวลาไหนบ้าง” และสำหรับใครที่เก่งงานแล้วแต่ยังไม่เก่งเรื่องการนำเสนอ รวมถึงการสื่อสารกับลูกค้าหรือเจ้านายต่างชาติ มาเรียนเลย ที่ โกลบิช สถาบันฝึกฝนภาษาอังกฤษออนไลน์แบบตัวต่อตัวกับครูชาวต่างชาติ จะเป็นคำตอบสำหรับการฝึกภาษาอังกฤษสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาในการสื่อสาร และต้องการสนทนาได้ดียิ่งขึ้น

เพราะเราเข้าใจปัญหาของวัยทำงาน หลักสูตรของเราถูกคิดค้นขึ้นเพื่อวัยทำงานที่ต้องการฝึกทักษะการสื่อสารโดยเฉพาะ ให้คุณได้เรียนสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคุณครูชาวต่างชาติ ซึ่งจะช่วยแก้ไขเมื่อพูดผิด สร้างความมั่นใจ เพิ่มพื้นฐานด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ผ่านการใช้งานจริง ไม่ใช่การท่องจำ

ฝึกการโต้ตอบโดยคิดเป็นภาษาอังกฤษทันที ไม่ต้องแปลกลับเป็นภาษาไทย และเป็นการเรียนสด ผ่านวิดิโอคอล ที่คุณเรียนที่ไหนก็ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน พร้อมเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

*** อยากทราบข้อมูล เนื้อหาการเรียน ราคาคอร์สของโกลบิช ***

ลงทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ ลงชื่อเพื่อขอคำแนะนำด้านการเรียน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง

คุณสามารถสอบถามรายละเอียด เช่น เรียนอย่างไร ใช้เวลามากแค่ไหน มีคอร์สอะไรบ้าง พร้อมทำการทดสอบวัดระดับภาษา (ใช้เวลาสอบ 15 นาที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย) เพื่อรู้ปัญหาของคุณในปัจจุบัน ด้วยการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษผ่านทางโทรศัพท์ และเมื่อได้รับผลการทดสอบแล้วคุณสามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อเลือกแผนการเรียนได้

บริการทั้งหมดจนถึงการเลือกคอร์สเรียน คุณจะได้รับคำแนะนำอย่างละเอียด ไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากคอร์สเรียนนั้นตรงกับเป้าหมายในการใช้ภาษาอังกฤษของคุณ ก็สามารถสมัครเรียนได้ทันที เลือกชำระเงินได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่านธนาคาร ตัดบัตรเครดิต หรือบริการผ่อนจ่าย 0 เปอร์เซ็น 10 เดือน

เรียนอย่างสบายใจ เพราะเรามีฝ่ายดูแลนักเรียน ทีม Student Support จะคอยดูแลคุณทุก class เพื่อให้คุณเรียนได้อย่างราบรื่น สนุก และได้พัฒนาทักษะการสนทนาอย่างเต็มที่!

เตรียมพร้อมภาษาอังกฤษสำหรับวัยทำงาน ที่ Globish คลิก ลงชื่อเพื่อขอคำแนะนำด้านการเรียน