หน้าที่ ของ หัวหน้า งาน คือ อะไร

เนื่องจากทางบริษัทกำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 จึงมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการให้บริการท่าน การตอบกลับจะล่าช้ากว่าปกติ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

โดยช่องทางที่ติดต่อได้จะเป็น LINE: @seminardd

หลักสูตร “บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่"

รหัสหลักสูตร: 25582

จำนวนคนดู 64694 ครั้ง

กดเพื่อแจ้งสัมมนาไม่เหมาะสม


สัมมนานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

ลงชื่อเพื่อจองสัมมนาในรอบถัดไป
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)

สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 094-489-6364 / 097-474-6644
อีเมล์
ไลน์ไอดี @seminardd

หัวหน้างาน (Supervisor) ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งมาจากพนักงานชั้นต้นที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานดี มีความประพฤติเหมาะสม เป็นที่ไว้วางใจของฝ่ายจัดการ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางเทคนิคการปฏิบัติเป็นอย่างดี  แต่ยังคงขาดความรู้ความสามารถและทักษะทางการบริหารและการจัดการ เพราะการก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นนอกจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ การวินิจฉัยปัญหาและการตัดสินใจจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังคงต้องคอยดูแลทุกข์สุข บังคับบัญชาลูกน้องในทีม บริหารเป้าหมายการผลิต การขาย และการบริการให้ได้ตามที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายจัดการ วางแผนงาน มอบหมายงาน ควบคุมติดตามงาน พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา จูงใจให้ลูกน้องผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ทันเวลา และได้ปริมาณงานที่มากที่สุดแล้ว ยังต้องตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งอาจจะประสบปัญหายุ่งยากในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การลงโทษและการให้รางวัลลูกน้อง การจัดการและควบคุมการประชุม การถ่ายทอดข่าวสารจากระดับบนให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบ ดังนั้นหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารและจัดการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อตนเอง ทีมงาน และองค์กร
    เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มพลังหัวหน้างานยุคใหม่ภายใต้สภาวะการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เกมการบริหารสลับการบรรยาย (Management Game & Short Lecture) มุ่งเน้นการถ่ายทอดแนวคิดและกลยุทธ์สมัยใหม่ที่ใช้ได้ผลเลิศในการพัฒนาหัวหน้างานให้มีจิตสำนึกในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตน    ตลอดจนมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องเหมาะสมใน
การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่  เครื่องมือและกิจกรรมการฝึกอบรมเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่สนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย เข้าใจง่าย ได้สาระประโยชน์ที่ใช้ปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของหัวหน้างานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยกระบวนการจะมุ่งเน้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขุดรากถอนโคนทางความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมที่ไม่ถูกต้องในการมองตนเองและสิ่งที่อยู่รอบตัว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานแบบหัวหน้างานมืออาชีพ  อันได้แก่ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน การวางแผน การจัดตาราง และการจัดลำดับความสำคัญก่อนและหลังของงาน   การสั่งงานและมอบหมายงาน   การควบคุมและติดตามงาน   การสอนงานและการให้คำปรึกษาหารือ การวัดค่าและประเมินผลการปฏิบัติงาน การโน้มน้าวจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งมีความท้าทาย (Challenge) เป็นตัวจุดชนวนที่สำคัญ
เกมการบริหารสลับการบรรยายตั้งอยู่บนแนวความคิดที่ว่าการที่จะพัฒนาวิธีการคิด ทัศนคติความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพนั้น ลำพังแค่ฟังการบรรยายในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเต็มใจที่จะนำเอาแนวคิด  และหลักการที่ได้จากกิจกรรมการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง  แต่จะต้องสร้างสถานการณ์สมมติที่ก่อให้เกิดจิตสำนึกที่จะทำภารกิจในฐานะหัวหน้างานให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เวลาที่กำหนดและเงื่อนไขที่กดดันเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การยอมรับ และเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยตนเอง  “เปลี่ยนวิธีคิด เพื่อเปลี่ยนวิธีการ”

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
1.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่ที่องค์กรคาดหวังและต้องการ
2.  เพื่อให้หัวหน้ามีทัศนคติและวิธีการคิดที่ถูกต้องเหมาะสมในการเป็นหัวหน้างานที่ต้องมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อเป้าหมายของงาน ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และองค์กร
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมหัวหน้างานยุคใหม่ภายใต้สภาวะแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ (Paradigm)  ทัศนคติ (Attitude)  ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skill) ที่จำเป็นในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมืออาชีพ
4.  เพื่อทำให้สามารถวิเคราะห์และแจกแจงพฤติกรรม หรืออุปนิสัยการทำงานที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

การออกแบบหลักสูตร
    หลักสูตรนี้เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยจะมีการแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-8 คน จะใช้เกมการบริหารสลับการบรรยาย (Management Game and Short Lecture) ในช่วงแรกเพื่อถ่ายทอดแนวคิด หลักการ วิธีการ ประสบการณ์ และเครื่องมือทางการจัดการในเรื่องนั้นๆ หลังจากนั้นจะมีการมอบหมายงานส่วนบุคคลและทำงานร่วมกันตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละทักษะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างาน  โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ 3 ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นที่ 1 : Awareness  คือการทำผู้เรียนให้เกิดการตระหนัก ยอมรับและเห็นความสำคัญและความ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาจิตสำนึกในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่  โดยใช้เกมทางจิตวิทยา  (Psychology Game)
ขั้นที่ 2 : Understanding  คือขั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และ            หลักการพัฒนาจิตสำนึกในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่ โดยใช้เกมการบริหารสลับการบรรยาย (Management Game and Short Lecture)    
ขั้นที่ 3 : Implementation คือขั้นของการนำแนวคิด  หลักการ  ความรู้ ทัศนคติ และทักษะที่จำเป็น            ต้องมีต่อการพัฒนาจิตสำนึกในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างานยุคใหม่ โดยใช้เกมท้าทายอัตตา (Ego Challenge Game)

รูปแบบ / เครื่องมือการฝึกอบรม
1.  เกมการบริหารสลับการบรรยาย (Management Game and Short Lecture)    70%
2.  กิจกรรมกลุ่มปฏิบัติการ (Workshop)                    30%

รายละเอียดหลักสูตรเนื้อหาวิชา
ภารกิจที่ 1 :  บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน                
    1.1  หัวหน้างานคือใคร ?
    1.2  ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
    1.3  บทบาทของหัวหน้างานในองค์กร : ทำไมต้องมีหัวหน้างาน ?
    1.4  หัวหน้างานจะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ?
    1.5  การกระทำของหัวหน้างานจะส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร ?
    1.6  คุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับหัวหน้างานสมัยใหม่ที่องค์กรคาดหวังและต้องการ

ภารกิจที่ 2 : บทบาทในการเป็นหัวหน้าทีม (Coaching) : บริหารคน
    2.1 หัวหน้างานกับการบริหารคน
    2.2 การจูงใจพนักงาน
    2.3 การสื่อความ
    2.4 การสร้างและพัฒนาทีมงาน
    2.4 การสอนงาน (Coaching Techniques)

ภารกิจที่ 3 : บทบาทในการเป็นหัวหน้าทีม (Coaching) : บริหารงาน
    3.1 หัวหน้างานกับการบริหารงาน
    3.2 การวางแผนงาน การจัดระบบงาน และการจัดลำดับความสำคัญของงาน
    3.3 การควบคุมและติดตามงาน
    3.4 การพัฒนาและปรับปรุงงาน

ภารกิจที่ 4 : ทักษะในการสั่งงานและมอบหมายงาน                         
    4.1 ทักษะการสั่งงาน                                       
        •  ความจำเป็นที่ต้องมีการสั่งงาน
        •  ประเภทของการสั่งงาน (3 รูปแบบ)
        •  เทคนิคและวิธีการสั่งงานแบบทูอินวัน
        •  เครื่องมือที่ใช้ได้ผลสูงสุดในการสั่งงาน
        •  ทำไมหัวหน้างานถึงสั่งงานแล้วมักไม่ได้งาน
    4.2 ทักษะการมอบหมายงาน                                    
        •  หลักจิตวิทยาและแนวคิดที่สำคัญในการมอบหมายงาน
        •  กระบวนการและเทคนิควิธีการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ
        •  หลักเกณฑ์ในการมอบหมายงาน
        •  การคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเพื่อการมอบหมายงาน
        •  ข้อพึงระวังในการมอบหมายงานครั้งต่อไป

ภารกิจที่ 5 :  ทักษะการโน้มน้าวจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา                           
        5.1 แนวคิด ทฤษฎี และหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการโน้มน้าวจูงใจ
            •  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
            •  ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory)
        5.2 เทคนิคการปรับพฤติกรรม (Shaping) กับการสร้างแรงจูงใจ
        5.3 การนำหลักการโน้มน้าวจูงใจไปใช้ในการทำงาน
            •  การใช้อำนาจที่มีอยู่กระตุ้นให้คนทำงานเต็มความสามารถ
            •  การใช้สิ่งล่อใจหรือการให้รางวัลกระตุ้นให้คนทำงาน
            •  การใช้ความสำนึกกระตุ้นให้คนทำงาน
        5.4 หลักจิตวิทยาความต้องการและความคาดหวังของมนุษย์
        5.5 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานผู้ใต้บังคับบัญชาตามแนวทางสร้างแรงจูงใจ
            •  การเปลี่ยนอุปนิสัยแบบ Reactive มาเป็น Proactive Thinking
            •  การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ Advance แต่ Simple
            •  การมุ่งเป้าหมายการทำงานที่สูงแต่ยังคงไว้ซึ่งระเบียบวินัยที่สูง
            •  การมองปัญหาและอุปสรรคเป็นโอกาสและประสบการณ์
            •  การสร้างพึงพอใจในการทำงานระยะยาว
        5.6 ข้อพึงระวังในการโน้มน้าวจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา

ภารกิจที่ 6 : ความสามารถหลัก 10 ประการ สำหรับหัวหน้างานที่ดี
        6.1 มีความสามารถในการนำและทำงานเป็นทีม
        6.2 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
        6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร
        6.4 มีความสามารถในการจัดการและบริหารเวลา
        6.5 เป็นคนมีคุณภาพ
        6.6 รู้จัก และ ขยันเรียนรู้คน
        6.7 ทัศนคติบวก
        6.8 ทำให้ดีที่สุด
        6.9 มีทักษะการพูด  การโน้มน้าว และจูงใจคน
        6.10 เป็นผู้รู้จักวิเคราะห์

ต้องการลงชื่อ waiting list กดได้ที่นี่เลยค่ะ
(ถ้ามีจัด ท่านจะได้สิทธิ์ก่อน)

สามารถติดต่อได้ที่
โทร. 094-489-6364 / 097-474-6644
อีเมล์
ไลน์ไอดี @seminardd

หลักสูตรฝึกอบรมอื่นๆที่น่าสนใจของผู้จัด

ทำไมต้องมีหัวหน้างาน

หัวหน้างานหรือ Supervisor มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานในองค์กร เพราะบุคลากรที่ทำหน้าที่ในตำแหน่งนี้จะต้องทำหน้าที่สื่อสารโดยการรับนโยบายจากผู้บริหารและนำมาไปสื่อหรือประสานร่วมงานกับพนักงานระดับปฏิบัติการเพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงไม่สามารถที่จะมาควบคุมการปฏิบัติงานของ ...

คุณสมบัติของหัวหน้างานที่ดีมีอะไรบ้าง

1. มีความเป็นผู้น า 2. มีความยุติธรรม 3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติ 4. ท างานเป็นระบบ 5. เป็นนักแก้ไขปัญหา 6. เปิดใจและรับฟังความคิดเห็น 7. มีความคิดสร้างสรรค์ 8. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ 9. เป็นผู้พัฒนาสมาชิกในทีม 10. ไม่ถือตัวและให้เกียรติ

หัวหน้างานเรียกว่าอะไร

supervisor. (n) ผู้ควบคุมดูแล, See also: หัวหน้างาน, ผู้บริหาร, Syn. boss, foreman, manager, overseer. เพิ่มคำศัพท์

หัวหน้าทีมทำหน้าที่อะไร

หัวหน้าก็คล้ายกับโค้ชที่มีหน้าที่คอยปลุกปั้นทีมให้เก่งแล้วไปรันวงการต่อ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่มาถึงแล้วจะเก่งทันที ในฐานะหัวหน้าจึงควรคอยแนะ คอยสอนงานพวกเขา หมั่นถามไถ่ถึงความเป็นไปอยู่เสมอ และเมื่อเกิดปัญหา ให้สอนให้พวกเขาคิด แก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก