เทคนิคการบริหารคุณภาพครบวงจร คืออะไร

PDCA เป็นวิธีการจัดการที่เรียบง่ายและวนซ้ำสำหรับทดสอบการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือวิธีแก้ไขปัญหา และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เช่นเดียวกับกระบวนการและวิธีการควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน วงจรนี้เกิดขึ้นจากวิธีการผลิตในศตวรรษที่ 20 ความเรียบง่ายและความสำเร็จที่ทำซ้ำได้อย่างง่ายดายของ PDCA ทำให้หลายวงการที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตได้นำวงจรนี้ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ทีม หรือทั้งองค์กร

PDCA มาจากไหน

PDCA มาจาก "Shewhart Cycle" ของ W. Edwards Deming ซึ่งมีการตั้งชื่อตาม Walter Shewhart นักสถิติที่ผู้คนต่างเรียกว่าเป็นบิดาแห่งการควบคุมคุณภาพสมัยใหม่ Deming เป็นวิศวกรและศาสตราจารย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่รู้จักดีเกี่ยวกับการทำงานของเขาในญี่ปุ่น โดยที่แนวคิดของเขามีอิทธิพลต่อกระบวนการอุตสาหกรรมหลังสงครามและการฟื้นฟูประเทศ อันที่จริงแล้ว มีการใช้คำว่า PDCA เป็นครั้งแรกในการบรรยายของเขาซึ่งได้ปรับปรุงวงจร Shewhart ให้เป็น “Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ)” ที่จริงแล้ว Deming ต้องการใช้คำว่า “Study” (ศึกษา) มากกว่า “Check” (ตรวจสอบ) ซึ่งจะกลายเป็นคำว่า Plan-Do-Study-Act หรือวงจร PDSA เนื่องจากคำนี้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ผลลัพธ์มากกว่าเพียงแค่ตรวจสอบสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ วิธีการดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อวงจร PDCA เนื่องจากได้รับการออกแบบมาให้ดำเนินการและทำซ้ำได้หลายครั้ง การออกแบบและตรรกะสามารถดังกล่าวจะเห็นได้จากแนวทางการจัดการคุณภาพจากการผลิตอื่นๆ ในแง่ของเวลา เช่น การผลิตแบบ Lean, Kaizen และ Six Sigma

วงจร PDCA ใช้ได้ผลอย่างไร

วงจร PDCA มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ) กระบวนการนี้จะดำเนินการในลักษณะเชิงเส้นโดยที่การเสร็จสิ้นวงจรหนึ่งจะเชื่อมโยงกับการเริ่มต้นวงจรถัดไป

  • Plan (วางแผน): ทำความเข้าใจสถานะปัจจุบันของคุณและสถานะที่ต้องการ หรืออาจอธิบายง่ายๆ ได้ว่า จุดประสงค์ของระยะการวางแผนคือการกำหนดเป้าหมาย วิธีการบรรลุเป้าหมาย และวิธีการวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นๆ โดยปกติแล้วนี่เป็นขั้นตอนที่คลุมเครือซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณพยายามทำ และแต่ละทีมก็มีวิธีใช้ PDCA ในลักษณะที่แตกต่างกัน บางทีมอาจแบ่งออกเป็นขั้นตอนระดับกลางหลายขั้นตอน ซึ่งกระบวนการอื่นๆ อย่าง DMAIC ก็ได้ทำไปแล้ว

    ถ้าคุณต้องการแสวงหาประโยชน์เพิ่มจากโอกาส การวางแผนของคุณควรมุ่งเน้นไปที่กระบวนการหรือการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อพุ่งเป้าไปที่โอกาสนั้น ถ้าคุณกำลังต้องการที่จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ อาจจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาต้นเหตุที่แท้จริงก่อนที่จะดำเนินการวางแผน ลองศึกษาวิธีวิเคราะห์หาต้นเหตุที่แท้จริงเพื่อช่วยในการระบุและดำเนินการกับปัญหา ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม การใช้ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลก่อนเกิดกระบวนการหรือการวิเคราะห์จากวงจร PDCA ก่อนหน้า ก็จะช่วยให้คุณกำหนดแผนปฏิบัติการหรือสมมติฐานได้

  • Do (ปฏิบัติ): เมื่อคุณมีแผนปฏิบัติการหรือวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้แล้ว ให้ลองทดสอบดู ขั้นตอน Do (ปฏิบัติ) คือเวลาที่คุณจะทดสอบการเปลี่ยนแปลงที่เสนอในเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ควรมองขั้นตอนนี้ว่าเป็นการทดลอง ไม่ใช่จุดที่คุณใช้การแก้ไขปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงควรดำเนินการระยะนี้ในระดับเล็กในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ และการดำเนินการนี้ไม่ควรได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหรือไปขัดขวางกระบวนการและการดำเนินงานอื่นๆ ของทีมหรือองค์กรของคุณ แน่นอนว่าประเด็นทั้งหมดของระยะนี้คือการเก็บรวบรวมข้อมูลดิบและข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทดสอบ เนื่องจากจะเป็นการระบุถึงกระบวนการในขั้นตอนต่อไป

  • Check (ตรวจสอบ): หลังจากการทดสอบนำร่องเสร็จสมบูรณ์ คุณต้องตรวจสอบว่าการเปลี่ยนแปลงหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่คุณเสนอได้ผลตามที่ตั้งใจหรือไม่ ระยะ Check (ตรวจสอบ) เป็นระยะที่คุณวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากระยะ Do (ปฏิบัติ) และเปรียบเทียบกับเป้าหมายและจุดมุ่งหมายเดิมของคุณ แนวทางการทดสอบที่คุณใช้ควรได้รับการประเมินเพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในวิธีการที่กำหนดไว้ในระยะ Plan (วางแผน) หรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการ โดยรวมแล้ว จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้คือการประเมินความสำเร็จของคุณและสิ่งที่ควรนำไปใช้กับกระบวนการในขั้นตอนต่อไป อันที่จริงแล้ว คุณอาจเลือกที่จะทำการทดสอบอื่น โดยทำซ้ำระยะ Do (ปฏิบัติ) และ Check (ตรวจสอบ) จนกว่าคุณจะพบวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจที่จะนำไปใช้ในระยะ Act (ดำเนินการ)

  • Act (ดำเนินการ): เมื่อถึงจุดสิ้นสุดวงจร คุณและทีมของคุณควรได้ระบุการเปลี่ยนแปลงที่เสนอจากกระบวนการเพื่อการนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม เราเรียกวงจร PDCA ว่าวงจร เพราะไม่ว่าคุณจะนำการเปลี่ยนแปลงใดๆ มาใช้ในระยะ Act (ดำเนินการ) แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่จุดสิ้นสุดของกระบวนการของคุณ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง กระบวนการหรือปัญหาที่ได้รับการแก้ไขของคุณ ควรเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับการวนซ้ำวงจร PDCA

โดยปกติแล้วทีมและผู้ปฏิบัติงาน PDCA จะค้นหาว่าเครื่องมือใดใช้งานได้ดีที่สุดสำหรับตนเองในแต่ละระยะ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะระดมความคิดในระยะ Plan (วางแผน) หรือรวบรวมข้อมูลของคุณในขั้นตอน Check (ตรวจสอบ) Dropbox Paper ก็สามารถช่วยคุณจัดการกระบวนการได้ทุกส่วน เอกสารการวางแผนโครงการที่ใช้ร่วมกันจะช่วยให้คุณกำหนดโครงร่างกระบวนการได้ ส่วนเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันก็จะช่วยให้ทีมของคุณมีส่วนร่วมและทำตามแผนงานได้เมื่อคุณดำเนินวงจร PDCA ซ้ำ และแน่นอนว่าเอกสารทั้งหมดของคุณเป็นไฟล์ที่แบ่งปันผ่านพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ Dropbox ได้อย่างง่ายดาย

เพราะเหตุใดคุณจึงควรใช้ PDCA

หัวใจสำคัญของ PDCA คือการให้แนวทางที่เป็นมาตรฐานและหลักคิดนำทางสำหรับสมาชิกในทีมและพนักงานในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงการทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการจัดการและการควบคุมคุณภาพหลายวิธี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีระดับความซับซ้อนและจำนวนเรื่องราวความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป แล้วอะไรที่ทำให้ PDCA มีความพิเศษเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ

เหตุผลหลักคือ PDCA หรือ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ) เป็นกระบวนการที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และใช้งานง่ายสำหรับให้คนเลือกและนำไปใช้ในการทำงานของตน ซึ่งไม่เพียงทำให้มีการนำมาใช้อย่างยาวนานในโลกของการทำงานเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปในวงการต่างๆ และในความคิดของผู้คนอีกด้วย ในขณะที่ยังคงต้องได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานของคุณในระดับหนึ่งเพื่อให้ใช้ได้ผลเป็นทีมได้ แต่ความเรียบง่ายของ PDCA ทำให้มีการหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการโดยรวมของคุณได้อย่างง่ายดาย

เนื่องด้วยลักษณะที่เป็นวงจรและเป็นการวนซ้ำ PDCA ยังช่วยให้คุณสามารถแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีกในอนาคตด้วย วงจรดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณระบุข้อผิดพลาดและสาเหตุที่แท้จริงเมื่อคุณปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อคุณทดสอบและนำวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปใช้ได้สำเร็จ ก็จะเป็นการสร้างข้อมูลและประสบการณ์ในการทำความเข้าใจกระบวนการอีกด้วย ณ จุดนี้ PDCA เป็นมากกว่าแนวทางการแก้ปัญหา เนื่องจากสามารถเพิ่มข้อมูลที่มีคุณค่าซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ในทีมหรือในองค์กรของคุณได้

PDCA เป็นกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้สูง บางคนอาจกำหนดให้เอกสารหรือขั้นตอนบางอย่างเสร็จสมบูรณ์ในระยะ Plan (วางแผน) เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองพร้อมที่จะดำเนินการในระยะที่เหลือของวงจร อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องมีการกำหนดหรือวางแผนก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณและทีมของคุณ ซึ่งต้องช่วยให้กระบวนการที่เหลือดำเนินไปได้ ในทางกลับกัน ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้นี้ก็ทำให้ PDCA สามารถปรับขยายได้ด้วย เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทุกสถานการณ์และสำหรับทีมงานทุกขนาดได้ แม้ว่าจะเป็นทีมที่มีคนเดียวก็ตาม

คุณควรใช้ PDCA เมื่อใด

ในขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาและการจัดการบางอย่างอาจใช้เวลาและทรัพยากรมากในการนำมาปรับใช้ แต่ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ของ PDCA ทำให้แทบไม่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรเลย ถ้าคุณกำลังต้องการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคุณเองหรือของทีมอย่างต่อเนื่อง PDCA เป็นตัวเลือกที่ดี อย่างไรก็ตาม แนวทางตามระเบียบวิธีและหลักการแบบค่อยเป็นค่อยไปของ PDCA ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม ถ้าองค์กรของคุณกำลังจัดการกับปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับกระบวนการหรือเหตุฉุกเฉิน ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณต้องการได้ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่รวดเร็ว PDCA อาจไม่ตอบสนองในสิ่งที่คุณต้องการ จุดแข็งของ PDCA คือความสามารถในการระบุปัญหาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นปรับแต่งและค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด จึงไม่น่าจะแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์หรือได้ประสิทธิภาพหลังจากการทำซ้ำเพียงครั้งเดียว

การปรับแต่งอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

หัวใจสำคัญของ PDCA คือหลักคิดเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ ก่อนอื่น คุณต้องระบุสถานการณ์และกำหนดเป้าหมาย จากนั้นให้ทดสอบแนวทางต่างๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านั้น ทบทวนความสำเร็จของแนวทางดังกล่าว และปรับพฤติกรรมของคุณให้เหมาะสมก่อนที่จะดำเนินการต่อโดยใช้สิ่งที่ได้ผล ถ้าทีมหรือองค์กรของคุณไม่สามารถใช้ PDCA ได้โดยตรงในสถานการณ์จริง แนวทางนี้ยังคงมีหลักการนำทางที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและจัดการกับสถานการณ์ใดๆ ที่คุณเจอในที่ทำงานและที่อื่นๆ ได้

แม้ว่า PDCA จะใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน แต่ก็ยังคงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความแม่นยำและความชำนาญเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การปรับใช้แล้วยึดถือปฏิบัติตามแนวทางนี้สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานของคุณและทีมโดยมีผลลัพธ์ที่วัดได้ ซึ่งคุณจะเห็นเมื่อเวลาผ่านไปและเมื่อเกิดการวนซ้ำ การส่งเสริมให้ใช้ PDCA ภายในทีมและองค์กรของคุณโดยการนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จจะสามารถช่วยให้เพื่อนร่วมงานของคุณทุกคนมีทัศนคติในการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิพากษ์

วงจรควบคุมคุณภาพ หมายถึงอะไร

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ย่อมาจาก 4 คำ ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้เหมาะสม) ซึ่งวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายชีวิต และการดำเนินงานในระดับบริษัท ซึ่งรายละเอียดใน ...

สาระสําคัญของวงจร PDCA ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1) Plan คือ การวางแผน 2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน 3) Check คือ การตรวจสอบ 4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ

PDCA หมายถึงอะไร

PDCA ย่อมาจาก Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ- ปรับปรุง PDCA เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement – CI) และทำวนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆจนเป็นวงจร (cycle)

คำว่า 1E หมายถึงอะไร

หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อนาไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ ซึ่ง 4M 1E นี้มาจาก M – Man คนงาน พนักงานหรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก M – Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อานวยความสะดวก M – Material ผลิตภัณฑ์บริการ วัตถุดิบหรืออะไหล่อุปกรณ์อื่น ๆ M – Method กระบวนการท างาน E – Environment อากาศ สถานที่ความ ...