การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คืออะไรบ้าง

E-Business และ E-Commerce ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อการประสานงาน เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล การไหลของข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนในการใช้กระดาษ การลดต้นทุนการเดินทาง ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของธุรกิจให้เป็นที่น่าพึงพอใจอีกด้วย แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า E-Business และ E-Commerce มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตนั้นเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้มีการเรียกชื่อแตกย่อยเป็นกระบวนการต่างๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ E-Business, E-Commerce, E-Collaboration, E-CRM, Supply Chain Management (SCM), Enterprise Resource Planning (ERP), Business Intelligence (BI) และอื่นๆ

โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ E-Business  และ E-Commerce เพียงเท่านั้น

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คืออะไรบ้าง

E-Business หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คือการใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ในองค์รวม เพื่อโต้ตอบกันระหว่าง ลูกค้าทางธุรกิจ คู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและ/หรือนักลงทุน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาศัยการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอาจรวมถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงานทางธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คืออะไรบ้าง
e-Business Portal ของ AIS
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คืออะไรบ้าง
e-Toyota Business
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คืออะไรบ้าง

E-Commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกันกับ E-Business เพียงแต่ E-Commerce จะมุ่งเน้นไปยังกระบวนอันเกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกรรม การซื้อ หรือขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่ง E-Commerce แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่

ความเป็นมา

                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้ม ีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

                กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

• แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
• ปัจจัยทางการบริหาร
• โครงสร้างพื้นฐาน
• ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

  • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
  • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
  • ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
  • ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
  • ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
  • ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)

                การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B
โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace

  • Seller oriented marketplace
      ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • Buyer-Oriented Marketplace
      โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้
  • Intermedialy-Oriented marketplace
    โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา

    พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
    แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C

  • ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
  • การโฆษณา
  • แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
  • ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
  • ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
  • การท่องเที่ยว
  • อสังหาริมทรัพย์
  • การประมูล (Auctions)
ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ

การค้นหาข้อมูล

  • การเลือกและการต่อรอง
  • การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
  • การจัดส่งสินค้า/บริการ
  • การบริการหลังการขาย
พฤติกรรมของลูกค้า
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ การวิจัยทางการตลาด
 การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/ บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัย เพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์

  • เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
  • เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
  • การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
  • การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)
การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า
มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
  • เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
  • ห้องสนทนา (Chat rooms)
  • อีเมล์ (E-mail)
  • FAQs (Frequent Answers and Questions)
  • ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
  • ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)
การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
  • ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
  • ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
  • ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
  • สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
  • ความปลอดภัย (Safety)
วิธีการรักษาความปลอดภัย
  • การใช้รหัส (Encryption)
  • ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
  • โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ

ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
  • ประโยชน์ต่อสังคม
  • ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • ข้อจำกัดด้านเทคนิค
  • ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
  • ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
  • ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ