วัฒนธรรมสากลมีอะไรบ้าง5ข้อ

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

วัฒนธรรมสากลมีอะไรบ้าง5ข้อ

วัฒนธรรม
     วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเจริญก้าวหน้าจนเป็นเอกลักษณ์ของสังคมนั้น ๆ และถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลัง ลักษณะของวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของมนุษย์ เป็นมรดกของสังคม เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แสดงถึงรูปแบบของความคิดร่วมกันของสมาชิกในสังคม และเป็นของส่วนรวม วัฒนธรรมมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคม ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ เป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์ เป็นเครื่องมือ ในการดำรงชีวิต ช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า และแสดงเอกลักษณ์ของชาติ

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย พิจารณาตามประเภทของวัฒนธรรมได้ดังนี้
1. วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี หมายถึง วัฒนธรรมทางภาษาพูดและภาษาเขียน มนุษย์ได้ประดิษฐ์ภาษาถ้อยคำขึ้นใช้ โดยจัดระบบเป็นภาษาพูด เพื่อใช้เป็นสื่อกลางของการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของกลุ่มชนเป็นเวลายาวนาน ภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษาถ้อยคำ (Verbal Language) และ อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ (Non Verbal Language)
     อวัจนภาษาที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมไทย ได้แก่ กิริยา ท่าทาง การสัมผัส ลักษณะทางกายภาพ และการใช้สายตา ส่วนใช้วัจนภาษาของไทย ได้แก่ การใช้ภาษาหลากหลาย เช่น กิน รับประทาน เสวย การสร้างความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ ลุง ป้า การกำหนดคำลงท้าย เช่น ค่ะ ขา จ้ะ ครับ การใช้คำคล้องจอง เช่น ไม่กินไม่เกินมันละ การอธิบายความหมายมากกว่าการพูดตรง ๆ เช่น การเปรียบเทียบ เปรียบเปรย เหน็บแนมทั้งวิธีที่เรียกว่า ภาพพจน์ และการใช้คำสุภาษิต คำพังเพย
2. วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ สิ่งจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่าง คือ อาหาร ที่อยู่พักอาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมทั้งสิ่งอื่น ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต
3. วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ปัญญาและจิตใจของมนุษย์มีความเจริญงอกงาม ได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม รวมถึงศิลปะ วรรณคดี กฎหมาย และระเบียบประเพณี
4. วัฒนธรรมทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี
     1) จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีที่บรรพชนได้ถือปฏิบัติกันมาแต่อดีต หากฝ่าฝืนถือว่าผิด ส่วนใหญ่เป็นหลักศีลธรรมที่สังคมถือว่ามีคุณค่าแก่ส่วนรวม เช่น บุตรธิดาต้องกตัญญูต่อบิดามารดาเมื่อแก่ชรา
     2) ขนบประเพณี หมายถึง ประเพณีที่ได้วางระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้ว จึงเป็นการกระทำที่นิยมนับถือ และปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น การแต่งกายเรียบร้อยในที่สาธารณะ
     3) ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ถ้าฝ่าฝืนไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว โดยทั่วไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิริยามารยาท การพูด การบริโภค การแต่งกาย การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น การเป็นเจ้าของบ้านต้อนรับแขก
5. วัฒนธรรมทางสุนทรียะ หมายถึง ความเจริญในทางวิชาความรู้ที่เกี่ยวกับความนิยม ความงดงาม และความไพเราะ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และดุริยางคศิลป์ เป็นต้น


ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
     วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบสังคมไทย ช่วยสร้างความเจริญแก่สังคมไทย ช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กำหนดรูปแบบความประพฤติของคนในสังคม เป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกแสดงออกต่อกันได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้คนในสังคมไทยปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อม และแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เช่น อาหารไทย มารยาทไทย เป็นสิ่งยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในอดีตสังคมไทยมีสถาบันหลัก คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชนท้องถิ่น มีวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม
2. วัฒนธรรมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดระบบสังคมใหม่ หลัง พ.ศ. 2500 สังคมไทยเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองมากขึ้น มีการเสริมสร้าง ฟื้นฟูวัฒนธรรมไทย ประกอบกับมีการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากและรวดเร็ว ทำให้วิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยม เครื่องมือเครื่องใช้แตกต่างไปจากเดิม
3. วัฒนธรรมไทยช่วงหลังสงครามเย็น ประเทศไทยได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี (Free Capitalism) ส่งผลให้การแข่งขันเข้ามาแทนที่เศรษฐกิจชุมชน เกิดลัทธิบูชาความร่ำรวยซึ่งมีผลลบด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งอิทธิพลของสื่อมวลชนทั้งในและนอกประเทศ ขณะเดียวกันองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ได้เปิดให้มีระบบการค้าเสรี ทำให้มีการนำสินค้าต่าง ๆ เข้ามาพร้อมกับค่านิยมของวัฒนธรรมและการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาด้วย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดสิทธิให้บุคคลอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ดังนี้
1. ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม มีสิทธิจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นในการดำรงชีพ ตลอดจนมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นได้โดยตรง
2. ชุมชนและชุมชนท้องถิ่น มีสิทธิอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการบำรุงและได้รับประโยชน์จาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
3. แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ได้แก่ การรักษา สืบทอดวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคง การสร้างค่านิยม จิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย การนำทุนวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โดยเน้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
     วัฒนธรรมสากล (Universal Culture) หมายถึง แนวคิด แบบแผน รูปแบบของการประพฤติปฏิบัติที่นานาประเทศให้การยอมรับโดยทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายสากล ดนตรีสากล ภาษาสากล วัฒนธรรมสากลแบ่งเป็นหลายด้าน ได้แก่ ภาษา ระบบครอบครัว ศาสนา ระบบเศรษฐกิจ และความรู้

วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมสากลมีลักษณะที่แตกต่างกันหลายส่วน ดังนี้
1. วัฒนธรรมทางครอบครัว
     วัฒนธรรมทางครอบครัวของไทยส่วนใหญ่ยังรักษาความเป็นจารีตนิยมในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมและการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลมาจาก 4 แหล่ง คือ อิทธิพลจากจีน จากระบบศักดินาที่มีซามูไรครองเมือง จากยุโรป และจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีลักษณะตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่องาน กระตือรือร้น รักความสะอาด และ อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น

วัฒนธรรมสากลมีอะไรบ้าง5ข้อ


2. วัฒนธรรมทางความเชื่อและค่านิยม
     คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องพรหมลิขิต เชื่อโดยประสบการณ์ เชื่อในความไม่เท่ากันของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน เน้นเรื่องระบบอาวุโส การมีอภิสิทธิ์ การถ่อมตน ความเสียสละ การประนีประนอม ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมสากลที่ส่วนใหญ่เชื่อในตนเอง เชื่อหลักเหตุผล เชื่อในความเท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน เคารพในสิทธิและเอกสิทธิ์ของบุคคล การแสดงตนตามความสามารถ ความยุติธรรม ความถูกต้องตามกฎหมาย ทุนนิยม และวัตถุนิยม
3. วัฒนธรรมทางการเมือง
     วัฒนธรรมการเมืองของไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยในอดีตที่แบ่งคนออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยกษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง กับชนชั้นล่างที่อยู่ภายใต้การปกครอง ได้แก่ ไพร่กับทาส โดยแฝงอยู่ในวัฒนธรรม เช่น ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

การเลือกรับวัฒนธรรมสากล
การเลือกรับวัฒนธรรมสากลมีวิธีการดังนี้
1. การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ควรยอมรับว่าวัฒนธรรมมีความหลากหลายและแบ่งเป็นหลายระดับ
2. การทำให้เกิดความสมดุล การใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และวัฒนธรรมของนานาประเทศต้องมีการปรับให้เกิดความสมดุลกับวัฒนธรรมไทย
3. การคัดสรรและสร้างสรรค์ วัฒนธรรมมีทั้งส่วนที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับยุคสมัย ส่วนที่เหมาะสมต้องสืบสานและพัฒนาต่อ แต่ส่วนที่ไม่เหมาะสมต้องขจัดออก ขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ด้วย
4. การเข้าสู่โลกแห่งอนาคต โลกแห่งอนาคตเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการคิดแบบนามธรรม (Abstract) กับความคิดแบบเชื่อมโยงบูรณาการเป็นองค์รวม (Holistic Thinking Approach) เป็นโลกแห่งปัญญา และเป็นโลกที่เอื้อต่อการเป็นปัจเจกชนมากขึ้น มนุษย์จึงต้องรู้จักควบคุมตนเอง
5. การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา สิ่งสำคัญ คือ ต้องพยายามเชื่อมโยงการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนและนอกระบบเข้าด้วยกัน ความรู้มีลักษณะสัมพันธ์กับวิถีชีวิตจริง นอกจากนี้ยังต้องเชื่อมโยงองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ องค์กรอิสระโดยเฉพาะชุมชน ครอบครัว และประชาชนที่สนใจ ให้มาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นเครือข่ายด้วย

Keyword  วัฒนธรรม  จารีตประเพณี  ขนบประเพณี  ธรรมเนียมประเพณี  วัฒนธรรมสากล

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th 

วัฒนธรรมสากลมีด้านอะไรบ้าง

วัฒนธรรมสากลหรือวัฒนธรรมนานาชาติ หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอย่างกว้างขวางหรือเป็นอารยธรรม ที่ได้รับปฏิบัติตามกันทั่วโลก เช่น การแต่งกายชุดสากล การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร การปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย การค้าเสรี การใช้เครื่องจักรกล ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ ...

วัฒนธรรมสากลส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดที่ใด

ที่มาของวัฒนธรรมสากล ส่วนใหญ่มาจากวัฒนธรรมทางฝั่งตะวันตก หรือทางฝั่งยุโรป ที่เป็นพฤติกรรมที่คนต่างวัฒนธรรมเห็นกันคิดว่าควรมาปรับใช้ในบางอย่าง หรือบางพฤติกรรมที่เป็นสากลแล้วอาจ จะดูไม่สุภาพในบางเชื้อชาติก็เป็นได้ กระทู้นี้ถือว่าเป็นแนวทางในการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติเพื่อประโยชน์ในการทำตัวให้สอดคล้องเวลาที่เราไปเยือนดิน ...

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากลมีอะไรบ้าง

1. วัฒนธรรมไทยให้ความสาคัญกับจิตใจเป็นสาคัญ โดยมุ่งจุดหมายสาคัญ เพื่อขัดเกลา จิตใจของสมาชิกในสังคมให้เป็นคนดีประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีแต่วัฒนธรรมสากลให้ความสาคัญกับการ สะสมทางด้านวัตถุหรือความร่ารวยเป็นสาคัญโดยไม่สนใจว่าจะสามารถหาทรัพย์มาได้โดยวิธีใดหาก บุคคลใดมีทรัพย์สินมากก็จะได้รับการยอมรับจากคนในสังคม

วัฒนธรรมของคนไทยมีอะไรบ้าง

5.วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆเช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย