ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ราชการ

งานสารบรรณ ยึดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พุทธศักราช 2526 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปความหมายของคำต่างๆ

- งานสารบรรณ หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร

- หนังสือ หมายความว่า หนังสือราบการ

- ส่วนราชการ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และหมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย

- คณะกรรมการ หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้ปฎิบัติงานในเรื่องใดๆ และให้หมายความรวมถึงอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะบุคคลอื่นที่ปฎิบัติงานในลักษณะเดียวกัน

ชนิดของหนังสือ

หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐาน

1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ

2. หนังสือที่มีส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือถึงบุคคลภายนอก

3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสาร

5. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตากฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

หนังสือมี 6 ชนิด คือ

1. หนังสือราชการภายนอก

2. หนังสือราชการภายใน

3. หนังสือประทับตรา

4. หนังสือสั่งการ

5. หนังสือประชาสัมพันธ์

6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน

หนังสือราชการภายนอก คือ หนังสือติดต่อทางราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการถึงส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่ไม่ใช้ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอก

หนังสือราชการภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือราชการภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา

หนังสือประทับตราใช้เฉพาะกรณีไม่ใช่เรื่องสำคัญ

หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่

1. คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฎิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ

2. ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้อำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

3. ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่

1. ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะนำทางให้ปฎิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ

2. แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจกรรมของทางราชการ ใช้กระดาษตราครุฑ

3. ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐาน

1. หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่ง ใช้กระดาษตราครุฑ

2. รายงานการประชุม คือ บันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมและมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน

3. บันทึก คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

4. หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใด ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ รวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น

หนังสือเวียน คือ หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมากมีใจความอย่างเดียวกัน ให้พิมพ์รหัสตัวพยัญชนะ ว. หน้าเลขทะเบียนส่งหนังสือ กำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะการประทับตราชั้นความเร็ว

กรมกิจการผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา

    รวมสรุปย่อเนื้อหาที่ใช้ในการเตรียมสอบบรรจุ ก.พ. เข้าเป็นข้าราชการพลเรือน พร้อมแบบทดสอบ และแนวข้อสอบที่หลากหลาย โดยมีเฉลยให้ตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ทบทวนเนื้อหาและเตรียมความพร้อม ให้มีความมั่นใจในการสอบมากยิ่งขึ้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ราชการ

ผู้บริหารกรมการจัดหางาน ร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการบริหาร ...21 พ.ย 2022 อ่านต่อ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ราชการ

อธิบดีกรมการจัดหางาน หารือร่วมกับกลุ่มตัวแทนบริษัทผู้ประสานงาน ...17 ต.ค. 2022 อ่านต่อ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ราชการ

3-4 ส.ค.65 สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครนายก ดำเนินโครงการเพิ่มอาช ...04 ส.ค. 2022 อ่านต่อ

เวลาอ่านข่าวหรือบทความต่างๆ แล้วเจอคำย่อแบบนี้ บางทีก็มึน บางทีก็เข้าใจเพราะแค่ย่อจากคำเต็มๆ มาเป็นเหลือแค่ไม่กี่ตัวอักษร .. เอาล่ะ วันนี้ชวนอ่านคำย่อ พร้อมทายในใจเล่นๆ ว่าคุณๆ นั้นรู้จัก อักษรย่อ ชื่อย่อ ตำแหน่ง และหน่วยงานต่างๆ มากน้อยแค่ไหน

อักษรย่อ ชื่อย่อ ตำแหน่ง หน่วยงานต่างๆ

อักษรย่อ คำย่อทั่วๆ ไป

ร.พ. คือ โรงพยาบาล
ขรก คือ ข้าราชการ
กญ. คือ กองการศึกษาผู้ใหญ่
ปชส. คือ ประชาสัมพันธ์
ภ.ง.ด. คือ ภาษีเงินได้

โทร. คือ โทรศัพท์
ร. คือ รัชกาล
ป.ล. = ปัจฉิมลิขิต

กม. = กฎหมาย
พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ
พ.ร.ฎ. = พระราชกฤษฎีกา
พรก. = พระราชกำหนด
รธน. = รัฐธรรมนูญ

นร. = นักเรียน
นศ = นักศึกษา

จนท. = เจ้าหน้าที่
มร. = มิสเตอร์ (นาย)
สต. = สตางค์
บ. = บาท

ห.ส.น. = ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ไปรษณีย์

ปท. = ไปรษณีย์โทรเลข
รัฐฯ = รัฐบาล
ตู้ ปณ. = ตู้ไปรษณีย์

การแพทย์

น.พ. = นายแพทย์
พ.ญ. = แพทย์หญิง
ท.พ. = ทันตแพทย์
ท.ญ. = ทันตแพทย์หญิง

ตำแหน่ง-อาจารย์

อ. = อาจารย์
รศ. = รองศาสตราจารย์
ผศ. = ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ศจ. = ศาสตราจารย์
ดร. = ด็อกเตอร์
ผอ. = ผู้อำนวยการ

การศึกษา

สปอ. = สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ
สปช. = สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
วค. = วิทยาลัยครู
สปจ. = สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สปอ. = สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ

วปอ. = วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สช. = สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ศธ. = กระทรวงศึกษาธิการ

สปจ. = สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สช. = สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
สปช. = สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ

การเมือง

ครม. = คณะรัฐมนตรี
รมว. = รัฐมนตรีว่าการ
ส.ส. = สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สจ. = สมาชิกสภาจังหวัด

รมต. = รัฐมนตรี
คคบ. = คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
รมช. = รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กอรมน. = กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
มท. = กระทรวงมหาดไทย

บริษัท หน่วยงาน สถานบันต่างๆ

ธกส. = ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ส.ท. = สมาชิกสภาเทศบาลตำบล
ส.ภ.อ. = สมาชิกสภาอำเภอ
นิด้า = สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บีโอไอ = คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

บ.ด.ท. = บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
กปน. = การประปานครหลวง
ททท. = การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ปตท. = การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

กฟผ. = การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฟภ. = การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กกร. = คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน

กนอ = การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ห.จ.ก. = ห้างหุ้นส่วนจำกัด

กบว = คณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
กกท. = คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
กสท. = การสื่อสารแห่งประเทศไทย

ธอส. = ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ราชการ

ทหาร ตำรวจ ยศต่างๆ

ตร. = ตำรวจ
ก.ตร. = กรมตำรวจ
สน. = สถานีตำรวจนครบาล
สน.ภ. = สถานีตำรวจภูธร
ต.ช.ด. = ตำรวจตระเวนชายแดน

สวญ. = สารวัตรใหญ่
สวส. = สารวัตรสืบสวน
ท.ส. = นายทหารคนสนิท

บช.น. = กองบัญชาการตำรวจนครบาล
ผบ.สูงสุด = ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
บช.ภ. = กองบัญชาการตำรวจภูธร
ผบ.ทบ. = ผู้บัญชาการทหารบก

ร.ด. = รักษาดินแดง
ผบ.ทบ. = ผู้บัญชาการทหารบก
ปปป. = คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
ผบ.ทร. = ผู้บัญชาการทหารเรือ
ปปส. = คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ผบ.ทอ. = ผู้บัญชาการทหารอากาศ

สวป. = สารวัตรปราบปราม
ผบก.ป. = ผู้บังคับการกองปราบปราม
อส. = อาสาสมัคร
อ.ตร. = อธิบดีกรมตำรวจ

อื่นๆ…

จีบา = สถาบันบริหารธุรกิจ-จุฬา
สปอ. = องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างเอเชียอาคเนย์
อตก. = องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

ร.พ.ช. = สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
ร.ส.พ. = องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

อ.ส.ม.ท. = องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
อ.ส.ท. = องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สปอ. = องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างเอเชียอาคเนย์

อสร. = องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
อย. = คณะกรรมการอาหารและยา
อสค. = องค์การส่งเสริมการเลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย

สมช. = สภาความมั่นคงแห่งชาติ
สวช. = สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ผกค. = ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

มารู้ความหมายของอักษรย่อกันก่อนนะคะ

อักษรย่อ หรือ คำย่อ คืออะไร

อักษรย่อ หรือ คำย่อ หรือ รัสพจน์ เป็นการนำอักษรบางตัวในคำหนึ่งๆ ใช้เรียกแทนคำเต็ม โดยมากจะเป็นพยัญชนะ อาจใส่จุดหรือไม่ใส่หลังอักษรนั้นๆ นิยมนำอักษรต้นพยางค์ แต่บางครั้งก็มีการใช้อักษรท้ายพยางค์ก็มี และบางครั้งอักษรย่อก็สามารถอ่านได้เป็นพยางค์ใหม่

ในภาษาไทย เมื่ออักษรย่อมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จะใส่จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว (ไม่ใส่ทีละอักษร) ยกเว้นบางตัวที่เคยมีใช้กันมาก่อนจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น น.ส. , ร.ร. , พ.ศ. เป็นต้น ส่วนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาที่ใช้อักษรละติน ส่วนใหญ่จะไม่มีจุด