องค์ประกอบ ของการวิจารณ์งานศิลปะมี 3 ส่วน

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

          เป็นขั้นตอนของการตัดสินงานศิลปะนั้น ดี หรือมีความ บกพร่องอย่างไร การประเมินหรือการตัดสิน เป็นขั้นตอนที่จำเป็น ที่ต้องมีการพิจารณา ตรวจสอบ ถึงเจตนาและผลที่เกิดขึ้น ของงานศิลปะชิ้นนั้น อาจจะเปรียบเทียบ กับงานศิลปะชิ้นอื่น ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน ที่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน การที่จะ ประเมิน หรือตัดสินผลงานศิลปะอย่างมีสุนทรียภาพนั้น จะต้องมีเหตุผลและ ใช้หลักเกณฑ์ อย่างยุติธรรมและมีคุณธรรม

            จิตรกรมีทักษะและความสามารถในการเขียนภ่าพเหมือนจริง และพัฒนากรรมวิธีการแก้ปัญหาระยะตื้นลึกของภาพโดยใช้เทคนิคภาพสีหม่น  (Sfumato) ทำให้ฉากหลังดูนุ่มเบา และใช้โทนสีหนักกับตัวนางแบบ นอกจากนี้จิตรกรยังนำหลัก ทัศนมิติเชิงอากาศ (Aerial Perspective) มาใช้ในการแก้ปัญหาระยะตื้นลึก คือการทำให้ภาพดูเหมือนกับมองผ่านปริมาณอากาศ สีของสิ่งที่อยู่ในระยะไกลดูจางลงเป็นลำดับ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ สีและเส้นรอบนอกของสิ่งที่อยู่ระยะไกลในภาพทิวทัศน์จะมีความชัดเจนน้อยกว่าสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ ทำให้ภาพดูมีระยะตื้นลึก ซึ่งปรากฏในส่วนฉากหลังของโมนาลิซา จัดเป็นภาพที่แสดงระยะตื้นลึกและบรรยากาศยามหมอกลงจัดได้อย่างน่าชม

มนุษย์ติดโซเชียล พร้อมพาส่องหนุ่มหล่อสาวสวยมากความสามารถ ชอบอัปเดตเทรนด์ของโลก มีอะไรปังๆ ดังๆ ก็ไม่พลาดเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

นิเทศศาสตร์ (Communication Arts) หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการสื่อสาร โดยให้ความสำคัญกับการสื่อสาร จากองค์ประกอบของการสื่อสาร กล่าวคือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ซึ่งผู้ส่งสารอาจเป็นตัวบุคคล องค์กร หรือบริษัทก็ได้ ข่าวสารจะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งต้องการที่จะกระจายให้ประชาชนได้รับทราบ สื่อหรือช่องทาง เป็นการหาวิธีการกระจายข่าวสารต่างๆ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มาก และกว้างไกล ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง และผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมาย จะต้องสามารถรับข่าวสารนั้นได้ โดยผู้ส่งสารจะต้องหาวิธีการทำให้ข่าวสารที่ส่งไป ถึงผู้รับสารได้มากที่สุด

การสอนนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนทางด้านนิเทศศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 โดยเปิดสอนในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้น จึงมีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยใช้ชื่อคณะว่า คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และได้ปรับปรุงหลักสูตรจนสามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ภายหลังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางด้านนิเทศศาสตร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจจะใช้ชื่อคณะที่แตกต่างกัน

สาขาของคณะนิเทศศาสตร์

สาขาศิลปะการแสดง

สาขาที่น้องๆ หลายคนสนใจอยากเรียน ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่าหากเรียนสาขานี้ มีโอกาสที่จะได้เข้าสู่วงการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง สาขานี้จะสร้างให้นักศึกษาเข้าใจและก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งในวงการภาพยนตร์ที่นี่

สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

แค่ชื่อก็น่าเรียนแล้วใช่ไหม เรียกว่าสาขานี้เป็นสาขายอดนิยมสำหรับน้องๆ ที่อยากทำงานเบื้องหลังในสายการสื่อสารมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ น้องๆ ที่เรียนจบสาขานี้ สามารถทำงานได้หลายด้านหรือแทบจะทุกด้านก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น นักจัดรายการวิทยุ (DJ), ช่างตัดต่อเสียง, ช่างตัดต่อภาพ, นักเขียนบทรายการ, โปรดิวเซอร์ หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน

สาขาภาพยนตร์/เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์

อีกสาขาที่โดดเด่นและน่าสนใจ ทุกคนที่อยากเรียนคณะนิเทศศาสตร์จะต้องรู้จัก นั่นคือ สาขาภาพยนตร์ จะเน้นการสอนในด้านการผลิตภาพยนตร์ พื้นฐานของการผลิตสื่อที่ให้ทั้งเสียงและภาพ โดยน้องๆ ที่จบสาขานี้สามารถทำงานได้หลายตำแหน่ง เช่น ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้กำกับศิลป์, ผู้กำกับภาพ, ผู้ผลิตรายการ, นักเขียนบท, ผู้ควบคุมการผลิต, ผู้จัดการกองถ่าย, ผู้อำนวยการสร้าง, อาจารย์ด้านภาพยนตร์, นักเขียน, นักวิจารณ์ภาพยนตร์ และอาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด

สาขาประชาสัมพันธ์

สาขานี้จะเน้นไปในเรื่องของงานบริการ การวางแผนและจัดกิจกรรม เหมาะสำหรับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการ น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องการวางแผนสื่อสาร หลักการจูงใจ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การผลิตและการใช้สื่อทุกรูปแบบ และสาขาการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันนี้ ถือว่ามีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะไม่ว่าจะองค์กรเล็กใหญ่แค่ไหน ก็จะต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

สาขาการโฆษณา

เรียนเกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การสื่อสาร การตลาด การสร้างสรรค์งานโฆษณา การวางแผนการซื้อสื่อโฆษณา ตลอดจนการประเมินผล สำหรับอาชีพที่น่าสนใจถ้าน้องๆ เรียนจบแล้ว ได้แก่ นักสร้างสรรค์โฆษณา, ผู้กํากับศิลป์, ผู้เขียนบท, ผู้บริหารงานลูกค้า, ผู้วางแผนกลยุทธ์, ผู้วางแผนสื่อโฆษณา และผู้ขายสื่อโฆษณา หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน

สาขาวารสารศาสตร์/วารสารสนเทศ/วารสารศาสตร์ดิจิทัล

เรียนเกี่ยวกับการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากบุคคลและสิ่งพิมพ์ต่างๆ จากนั้นนำข้อมูลมาประเมินคุณค่าเพื่อนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างมีสาระและสร้างสรรค์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ ได้แก่ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์/วิทยุโทรทัศน์, ผู้ประกาศข่าว, บรรณาธิการ, นักเขียน, พิสูจน์อักษร, ช่างภาพ, กราฟิกดีไซเนอร์, สไตลิสต์, เจ้าหน้าที่ตัดต่อ, นักพากย์กีฬา, ผู้สื่อข่าวกีฬา, บล็อกเกอร์, นักรีวิวสินค้า, สถานที่ท่องเที่ยวหรืออาหาร หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน

สาขาสื่อดิจิทัล/นิเทศศาสตร์ดิจิทัล

เรียนรู้การสร้างสรรค์งานด้าน 3D Animation, Visual Effects เรียนรู้ทักษะการสร้างแอนิเมชันและภาพยนตร์ ตลอดจนการบริหารจัดการการผลิตสื่อดิจิทัล การถ่ายภาพเพื่อใช้ในงานเชิงพาณิชย์หรือผลงานศิลปะ รวมถึงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อสร้างสรรค์เสียงและดนตรีในสื่อดิจิทัล รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ อาชีพที่สามารถทำได้ เช่น Producer, Film Director, Production Crew, Web and Interactive Designer หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด

สาขาสื่อสารมวลชน

เรียนเกี่ยวกับภาพรวมของนิเทศ ไม่ได้เจาะไปด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับสิ่งที่แตกต่างจากคณะนิเทศศาสตร์ ก็คือพวกวิชาพื้นฐาน ที่เป็นพื้นฐานของคณะมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ชาติไทย ปรัชญาและศาสนา ส่วนวิชาของสื่อสารมวลชนที่ต้องเรียน เช่น การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การเขียนข่าว เขียนบทโฆษณา การตลาด อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้ ได้แก่ นักข่าว นักจัดรายการ กองบรรณาธิการ คนเขียนสคริปต์ นักประชาสัมพันธ์ บรรณาธิการ นักเขียน พิสูจน์อักษร ช่างภาพ หรืออาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมบันเทิง

สาขาการสื่อสารการตลาด/การตลาดดิจิทัล

การสื่อสารการตลาดเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ช่วยสร้างคุณค่าต่อองค์กร เช่น การสร้างแบรนด์ การเพิ่มยอดขายและผลกำไรให้กับองค์กรต่างๆ งานด้านสื่อสารการตลาดจึงจำเป็นต้องมีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ การวางแผนกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเรียนสาขานี้ ได้แก่ นักการตลาด นักสื่อสารการตลาด นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชนและการตลาด

สาขาการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อ/การออกแบบสื่อสารออนไลน์

สาขานี้คือการรวมศาสตร์ที่สำคัญเอาไว้ 3 อย่างคือ การสื่อสาร การออกแบบ และการตลาด เป็นการเรียนเพื่อนำศาสตร์ทั้งหมดผสมผสานประยุกต์ออกแบบให้เป็นงานที่สื่อสารกับสังคมอย่างสร้างสรรค์ สามารถออกแบบการสื่อสารได้กับทุกรูปแบบการนำเสนอ ที่มีความรู้ความชำนาญรอบด้าน และสามารถทำงานเบ็ดเสร็จได้ทุกตำแหน่งในคนคนเดียว

ทั้งนี้ในแต่ละสถาบันการศึกษาอาจจะมีสาขาวิชาที่แตกต่างกันหรือเพิ่มมากกว่านี้ น้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการสมัครได้เลย

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักข่าว / บรรณาธิการนิตยสาร / บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ / คอลัมนิสต์ / นักเขียน
  • ช่างภาพ / ผู้อำนวยการสร้าง / ผู้ประกาศข่าว / พิธีกร / ดีเจ
  • ผู้เขียนบทภาพยนตร์หรือเขียนบทละคร / ผู้ผลิตภาพยนตร์ / ผู้กำกับภาพยนตร์
  • นักประชาสัมพันธ์ / นักโฆษณาหรือครีเอฟโฆษณา / นักการตลาด
  • นักวิจัย / นักวิเคราะห์และวางแผน
  • กราฟิกดีไซน์ / เจ้าหน้าที่ตัดต่อหรือช่างตัดต่อ และอื่น ๆ

โหลดเพิ่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

นิเทศศาสตร์ เรียนอะไรนิเทศศาสตร์นิเทศศาสตร์ จบไปทำงานอะไรรีวิวมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคณะมหาวิทยาลัยคณะนิเทศศาสตร์educationเรียนต่อในประเทศEDUCATION

องค์ประกอบของการวิจารณ์งานศิลปะมี 3 ส่วนมีอะไรบ้าง

การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ.
การแยะด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ.
นำข้อมูลที่ได้รับมาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านอะไร.

การวิจารณ์ศิลปะแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การวิจารณ์งานศิลปะโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ (วุฒิ วัฒนสิน. 2541: 410-412) 1. การวิจารณ์ศิลปะเพื่อการประกวดและแข่งขัน

การวิจารณ์งานศิลปะมีองค์ประกอบสำคัญที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันกี่ส่วน

การวิจารณ์ผลงานศิลปะมีองค์ประกอบที่ความสัมพันธ์กัน 3 ประการดังนี้ ... .
2. ผลงานศิลปะ คือ ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของศิลปิน โดยผ่านกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ผลงานศิลปะศิลปินสามารถสร้างสรรค์ได้ ทั้ง งานด้านวิจิตรศิลป์และ ประยุกต์ศิลป์.

ขั้นตอนการวิจารณ์งานศิลปะมีกี่ขั้น

2541: 415) ขั้นตอนในการวิจารณ์งานศิลปะ มี 4 ขั้นตอนดังนี้.
ขั้นการบรรยาย (Description).
ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis).
ขั้นการตีความหมาย (Interpretation).
ขั้นการตัดสิน (Judgment).