การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

พัฒนาการทารกในครรภ์ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิฝังตัวในผนังมดลูก พัฒนาการเป็นตัวอ่อนและทารกในครรภ์ โดยการตั้งครรภ์มีระยะเวลาประมาณ 9 เดือน แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาสแต่ละไตรมาสแบ่งออกเป็น 3 เดือน ซึ่งระยะเวลาการตั้งครรภ์มักอยู่ระหว่าง 38-42 สัปดาห์

Show

จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่คุณแม่ตั้งท้องมีวิธีกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกน้อยที่ส่งผลต่อความฉลาด อารมณ์ และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้หลายวิธี ลองทำแบบนี้ได้บ่อย ๆ กับลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง ก็เป็นการสร้างความฉลาดให้ลูกติดตัวมาได้ไม่ยากเลย ทั้งนี้รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลว่า “ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเลยว่ามีประโยชน์จริงหรือไม่และวิธีการใดเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพียงแต่มีข้อสังเกตว่าทารกจำนวนไม่น้อยที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มีสติปัญญาดี เลี้ยงง่าย อารมณ์ดี” ดังนั้นถ้าคุณแม่อยากจะกระตุ้นพัฒนาการของลูกในครรภ์จะด้วยวิธีการใดก็ตาม ถ้าคุณแม่ทำแล้วรู้สึกว่าตัวเองสบายดี มีความสุข และไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้องก็สามารถทำได้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  : www.si.mahidol.ac.th, www.happymom.in.th และ www.amarinbabyandkids.com

ป้ายกำกับ:DNA, NIFTY, NIPT, NIPT Test, Panorama NIPT, ตรวจคัดกรอง, ตรวจดาวน์, ตรวจดาวน์ซินโดรม, ตรวจโครโมโซม, ตั้งครรภ์, ฝากครรภ์, พัฒนาการของทารก, อัลตราซาวด์, เจาะน้ำคร่ำ, เจาะเลือด, โครโมโซม, โรคพันธุกรรม

Sources:

https://www.webmd.com/baby/interactive-pregnancy-tool-fetal-development?week=1สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข 2556
https://th.theasianparent.com/9-เดือนในท้องแม่http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=425.
พิชฏา อังคะนาวิน.การส่งเสริมสมองเพื่อพัฒนาการของทารกในครรภ์. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2559

         ส่วนในเรื่องของโภชนาการนั้นอาหารแต่ละไตรมาสสำคัญกับคุณแม่มากนะคะ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรคำนึงถึงช่วงอายุและอาหารแต่ละอย่างด้วยว่าสิ่งไหนจำเป็นต้องเน้นทานช่วงไตรมาสไหน ถ้าทานได้ถูกหลักรับรองลูกที่คลอดออกมาร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแน่นอนค่ะ

การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีอารมณ์ดีอยู่เสมอจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยคุณแม่อาจฟังเพลงที่ตนเองชอบเสมอๆ นอกจากนี้การแบ่งปันเพลงเพราะๆ ให้เด็กน้อยในครรภ์จะช่วยให้มีการพัฒนาเรื่องการพูดและการฟังที่ดี สามารถทำได้ด้วยการใช้เสียงเพลงแนบหน้าท้อง  เปิดเพลงไพเราะ ฟังสบายอย่างน้อยวันละ 10 นาที

ความเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังในไตรมาสแรก

  • อาการแพ้ท้อง คุณแม่ส่วนใหญ่มักแพ้ท้องอย่างหนักในช่วงไตรมาสแรก คลื่นไส้ อาเจียน และรับประทานอาหารไม่ได้ หากคุณแม่ละเลยการรับประทานอาหาร อาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นทั้งในทารกและตัวคุณแม่เอง ส่งผลให้ทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารบำรุงสมองอย่างเพียงพอ ส่วนคุณแม่เกิดภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่และวิตามิน หากมีอาการแพ้ท้องมากควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
  • เลือดออกทางช่องคลอด ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดมีความเสี่ยงต่อชีวิตของทารกในครรภ์และคุณแม่อย่างมาก ถือเป็นอันตรายที่สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุครรภ์  จึงควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
  • ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง แม้คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดท้องน้อยเป็นปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกมีการขยายตัวเพื่อรองรับตัวอ่อนในครรภ์ แต่หากอาการปวดมากขึ้นจนผิดสังเกต หรือปวดติดต่อกันยาวนาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

ทั้งนี้ภาวะเสี่ยงในไตรมาสแรกยังขึ้นกับโรคประจำตัวของคุณแม่ อาทิ  ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน โรคไต  โรคหัวใจ โลหิตจาง ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น นอกจากนี้อายุของมารดาขณะตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความเสี่ยงเช่นกัน โดยคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 40 ปี ควรปรึกษาแพทย์และตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ

ท้องไตรมาสแรก กับการตรวจคัดกรองครรภ์เสี่ยง

การเอาใจใส่ดูแลคุณแม่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งจำเป็น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่วิตกกังวลจนเกินไป แต่ก็ไม่ละเลยอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่มองว่าเป็นเรื่องปกติ โดยการฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์  ตรวจคัดกรองความเสี่ยงของครรภ์เป็นพิษในช่วง 3 เดือนแรก สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้สูงถึง 90 % และสามารถป้องกันการเกิดครรภ์พิษได้ 70%  ที่สำคัญคุณแม่ตั้งครรภ์ควรมาพบแพทย์ตามนัด  ปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติ ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

กว่าคุณแม่มือใหม่จะรู้ตัวว่ากำลังจะเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นในครอบครัว ก็ต้องเผชิญกับอาการแปลกๆ ในช่วงแรกๆ ของการตั้งท้อง โดยเฉพาะสามเดือนแรก คุณแม่มือใหม่มักมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อยากอาหารหรือเบื่ออาหารบางชนิด นอกจากนี้ยังเริ่มมีผลกระทบทางอารมณ์คือหงุดหงิดง่าย หรือในทางตรงกันข้ามคือซึมเศร้า อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่สูงขึ้นนั่นเองค่ะ พึงระลึกว่าอารมณ์เหล่านี้ล้วนมีผลต่อลูกในท้อง จึงควรทำใจให้ผ่อนคลายดีกว่าค่ะ อาจใช้วิธีพูดคุยปรึกษากับคุณแม่ตั้งครรภ์คนอื่นเพื่อไม่ให้รู้สึกว่าต้องเผชิญปัญหาอยู่คนเดียว

สิทธิประโยชน์ที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส) มอบให้กับผู้ประกันตนมีมากมายหลายอย่าง ซึ่งหนึ่งในสิทธิประโยชน์ดี ๆ เหล่านั้น ก็มี ค่าคลอดประกันสังคม และ สิทธิประกันสังคมเกี่ยวกับการคลอดบุตรต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย มาดูกันว่าค่าประกันสังคมคนท้อง สิทธิคลอดบุตร เบิกได้เท่าไหร่ ยื่นประกันสังคมคลอดบุตร ยื่นยังไง เบิกค่าคลอดประกันสังคมยังไงได้บ้าง ฝากท้องประกันสังคม สิทธิประกันสังคมคนท้อง 2565 ต้องใช้เอกสารเยอะไหม และใช้อะไรบ้าง เบิกค่าคลอดประกันสังคม  เราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ในบทความนี้แล้ว ไปติดตามกันเลย

 

ทำไมคุณแม่ต้องทำประกันสังคม เบิกค่าคลอดประกันสังคม สำคัญอย่างไร

เบิกค่าคลอดประกันสังคม คนท้องหลาย ๆ คน รู้สึกกังวลใจกับค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นในแต่ละวัน ยิ่งใกล้คลอดก็ยิ่งต้องจ่ายนู่นนั่นนี่เยอะแยะไปหมดเพื่อเตรียมต้อนรับลูกน้อย รวมทั้งยังต้องเตรียมค่าคลอดต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งการที่คุณแม่มีประกันสังคม จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคลอด การฝากครรภ์ และการตรวจร่างกายต่าง ๆ

 

ค่าคลอดประกันสังคม คนท้องจะได้รับสิทธิประกันสังคมด้านใดบ้าง

สิทธิด้านประกันสังคมที่คนท้องจะได้รับ มีทั้งค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร สิทธิลาคลอดกับที่ทำงาน ค่าแท้งลูก เงินสงเคราะห์บุตร และเงินชดเชยกรณีหยุดงาน ซึ่งแต่ละอย่างก็มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

เตรียมประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย  AIA H&S Extra (new standard) คลิกที่นี่

 

1. ค่าฝากครรภ์

คุณแม่จะได้รับค่าฝากครรภ์เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 5 รอบ ได้แก่

  • รอบที่ 1 เมื่อมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 500 บาท
  • รอบที่ 2 เมื่อมีอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 300 บาท
  • รอบที่ 3 เมื่อมีอายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 300 บาท
  • รอบที่ 4 เมื่อมีอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ จะได้รับเงิน 200 บาท
  • รอบที่ 5 เมื่อมีอายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์  จะได้รับเงิน 200 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ : แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01) ใบเสร็จค่าฝากท้อง ใบรับรองแพทย์ (วันที่ตรงกับใบเสร็จรับเงินแต่ละใบ) สำเนาสูติบัตรลูก และสำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง :  เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มีวิธีการอย่างไร ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิต่าง ๆ อย่างละเอียด

 

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

 

2. เบิกค่าคลอดประกันสังคม ค่าคลอดบุตร

ในปี 64 เบิกค่าคลอดประกันสังคม ทางประกันสังคมได้จ่ายค่าคลอดบุตรให้เพิ่มเป็น 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง (จาก 13,000 บาท) โดยคุณแม่สามารถเบิกกับโรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ก็มีข้อแม้ว่า คุณแม่จะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร และนอกจากนี้ คุณแม่จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่าคลอดลูกได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น หากคุณพ่อมีประกันสังคมด้วย ก็จะเบิกเพิ่มได้อีก 2 ครั้ง

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01) และสำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หากสามีเบิกแทนให้ใช้สำเนาทะเบียนสมรส

 

3. เงินชดเชยขณะที่ลาคลอด

ประกันสังคม จะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้คุณแม่ในกรณีที่หยุดงานเพื่อลาคลอด 50% ของฐานเงินเดือนสูงสุด (ฐานเงินเดือน 15,000 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน แต่มีข้อแม้ว่า คุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม 5 เดือนขึ้นไป ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร

เอกสารที่ต้องใช้ : ใช้เอกสารชุดเดียวกันกับค่าคลอด

 

4. เบิกค่าคลอดประกันสังคม ค่าแท้งบุตร

หากคุณแม่แท้งลูก หรือคลอดเด็กออกมาแล้วเด็กเสียชีวิต คุณแม่จะได้รับค่าคลอดและค่าลาหยุดงานจากประกันสังคม แต่มีข้อแม้ว่าคุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์

เอกสารที่ต้องใช้ : ใบมรณบัตรของลูก

 

5. เบิกค่าคลอดประกันสังคม เงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตร เป็นเงินที่ประกันสังคมจ่ายให้กับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กที่มีอายุ 6 ปี โดยเด็ก 1 คน จะได้รับเงินเดือนละ 800 บาท แต่คุณแม่จะต้องจ่ายเงินสมทบให้ครบ 12 เดือน ก่อน 36 เดือนของการแจ้งสิทธิ ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายให้กับเด็กครั้งละไม่เกิน 3 คน และเด็ก ๆ เหล่านั้นต้องเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยของคุณแม่เท่านั้น

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนาสูติบัตรลูก 1 ชุด แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01) และสำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หากสามีเบิกแทนให้ใช้สำเนาทะเบียนสมรสได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

 

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

 

ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีประกันสังคม ก็ยังสามารถลางานเพื่อไปคลอดบุตรได้ทั้งหมด 98 วัน (โดยรวมวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์) นอกจากนี้ ในปีนี้เอง สำนักงานประกันสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์บางอย่างให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โดยเพิ่มระยะเวลาในการจ่ายเงินสงเคราะห์ลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 98 วัน รวมทั้งหากคุณแม่คนไหนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ก็จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน

บทความจากพันธมิตร

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

การส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

 

สถานที่ยื่นเรื่อง เบิกค่าคลอดประกันสังคม ประกันสังคม 2565

คุณแม่สามารถเดินทางไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด และสาขาที่สะดวกได้เลยค่ะ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ส่วนช่องทางการรับเงิน ก็มีทั้งเงินสด เช็ค และโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับสิทธิ (หากไม่ว่างมารับเงินสดหรือเช็ค สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นมารับแทนได้)

 

รายชื่อธนาคารที่ใช้ยื่นเพื่อรับสิทธิประกันสังคมได้

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

บทความที่เกี่ยวข้อง : หลังคลอดลูกต้อง แจ้งเกิดลูกภายในกี่วัน ทำสูติบัตรให้ลูกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

 

โรงพยาบาลที่สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรได้

สามารถฝากครรภ์หรือคลอดบุตรที่โรงพยาบาลอื่น นอกเหนือจากในบัตรรับรองสิทธิ์ได้ แต่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน แล้วค่อยนำเอกสารมายื่นเรื่องเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร

 

ค่าคลอดประกันสังคม คุณพ่อใช้สิทธิเบิกแทนคุณแม่ได้ไหม

คุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้คุณแม่ได้ แต่จะต้องมีประวัติส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร

 

นี่ก็เป็นข้อมูลทั้งหมดที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือมีเรื่องที่อยากติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สายด่วนประกันสังคม โทร 1506 ได้เลยค่ะ

 

เตรียมประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย  AIA H&S Extra (new standard) คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ตั้งครรภ์รอบนี้ ต้องจ่ายเท่าไหร่

ประกันสุขภาพลูกน้อย 2565 เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ประกันเด็ก ตัวไหนคุ้ม

อัพเดต 3 เงื่อนไข รับเงินเยียวยา ประกันสังคม ม.33 39 40

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ ประกัน สังคม คลอด บุตร 2565 ได้ที่นี่!

สิทธิ ประกัน สังคม คลอด บุตร 2565 มีอะไรบ้างคะ พอดีใกล้คลอดช่วงธันวาแล้วอ่ะค่ะ

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!