เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

เปิดลักษณะแท้จริง “พระตรีมูรติ” เทพเจ้าผู้ให้โชคเรื่องความรัก


เผยแพร่ 14 ก.พ. 2564 ,01:25น.




ในทุกปีช่วงกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก คนไทยจำนวนมากมักจะไปกราบไหว้ พระตรีมูรติ ในฐานะเทพเจ้าแห่งรัก เพื่อขอให้สมหวังตามความปราถนาของตัวเอง แต่ก็มีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า ที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์นั้น เป็น พระตรีมูรติ หรือ พระศิวะ

บวงสรวง “พระตรีมูรติ” หนุ่มสาวแห่ขอความรัก    

รู้จัก “วันวาเลนไทน์”  14 กุมภาพันธ์ Valentines Day                                                       

จากกรณี มีงานพิธีบวงสรวงองค์ “พระตรีมูรติ” หน้าศาลพระตรีมูรติ  หน้าลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์  โดยมีประชาชนมาเข้าร่วมจำนวนมาก  เพื่อขอพรให้พบคู่รักแท้ในช่วงเดือนแห่งความรัก ช่วงวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์

พระตรีมูรติ เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เป็นการอวตารรวมของพระเจ้าสูงสุดทั้งสามพระองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ โดยคำว่า ตรีมูรติ มาจากคำว่า ตรี หมายถึงสาม และคำว่า มูรติ หมายถึงรูปแบบ จึงหมายถึงรูปแบบของพระเจ้า

จากข้อมูลในหนังสือ “ปริศนาแลมนตรา” เขียนโดย ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ ระบุไว้ว่า ตรีมูรติ มาจากคำว่า ตรี หมายถึงสาม และคำว่า มูรติ หมายถึงรูปแบบ ดังนั้นคำว่า ตรีมูรติ จึงหมายถึง รูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ประกอบด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหนึ่งในลัทธิที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ หากมองตามหลักปรัชญาคือ พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย เปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

คนไทยมักเชื่อว่า พระทัตตาเตรยะ หรือ พระตรีมูรติ เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการประทานพรความรัก แต่ความจริงแล้ว พระตรีมูรติ จะประทานพรให้กับผู้ที่ทำความดีได้ทุกประการ 

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ประติมากรรม "พระตรีมูรติ" ความสูง 6 เมตร ในถ้ำเอลิแฟนตา (Elephanta) ซึ่งเป็นมรดกโลก เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย คาดว่าอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล 

มีการตั้งข้อสังเกตว่า พระตรีมูรติ ที่อยู่หน้าลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งคนไทยมักนิยมไปสักการะบูชาขอพรนั้น แท้จริงไม่ใช่ พระตรีมูรติ ที่มี 3 เศียร แต่เป็นพระปัญจมุขี หรือพระศิวะ 5 เศียร เนื่องจาก พระตรีมูรติ เป็นการรวมกันของเทพเจ้าสูงสุด 3 พระองค์  

ด้านเพจเฟซบุ๊ก Kennie Gallery พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เคยให้ข้อมูลลักษณะของ พระตรีมูรติ ว่า พระตรีมูรติ จะมี 3 เศียร 6 กร แทนองค์พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ สามมหาเทพของฮินดู ถือเทพอาวุธและคัมภีร์ ตามที่สามมหาเทพจะทรงถือตามคติโบราณ

ส่วนที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่ใช่ เพระตรีมูรติ  แต่เป็น พระศิวะปัญจมุขี หรือพระศิวะปาง 5 เศียร คือ พระสดาศิวะ หรือพระสทาศิวะ พระศิวะในรูปสูงสุด ในศิลปะอินเดียสร้างให้มี 4-10 กร ในศิลปะขอม สร้างให้มี 4-10 กร แต่ในศิลปะรัตนโกสินทร์นั้นมีเพียง 4 กร โดยคงลักษณะไว้คือทรงมี 5 เศียร มีดวงจันทร์อยู่บนพระเกษาบนสุด เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะอย่างชัดเจน

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

"พระตรีมูรติ"  หน้าลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

โดยเพจดังกล่าวระบุอีกว่า รูปพระสทาศิวะ ของเดิมอยู่ที่วังเพชรบูรณ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งเซ็นทรัลเวิลด์ ก่อนจะมีการสร้างใหม่และเรียกกันว่า พระตรีมูรติ ซึ่งครั้งหนึ่งทางเซ็นทรัลเวิลด์ได้เชิญพระราชครูวามเทพมุนีมาประกอบพิธีโดยระบุว่าเป็นการย้ายองค์พระตรีมูรติ แต่ทางพระราชครูวามเทพมุนี ไม่ได้ทำให้ พร้อมระบุว่าองค์นี้เป็น พระสดาศิวะ ไม่ใช่พระตรีมูรติ

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ขอบคุณข้อมูล : siamganesh.com, Kennie Gallery

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


          พบหลักฐาน ๒ ลิทธิหลัก คือ ๑. ไวษณพนิกาย นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด ๒. ไศวนิกาย นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด รวมทั้งยังพบลัทธิคาณปัตยะ (คาณปัถยัม) ซึ่งนับถือพระคเณศเป็นเทพองค์สำคัญที่สุด และลัทธิเสาระ ซึ่งนับถือพระสุริยะเป็นเทพเจ้าสูงสุด อีกด้วย
- ไวษณพนิกาย (Vaishnavism)
          ชื่อลัทธิดัดแปลงมาจากชื่อพระวิษณุซึ่งเดิมเป็นชื่อเทพแห่งสวรรค์ในศาสนายุคพระเวท (เทพแห่งพระอาทิตย์) คำว่าไวษณพปรากฏในคัมภีร์มหาภารตะ หมายถึง ชื่อที่รู้จักกันในนามต่างๆ คือ สูริ สุหฤต ภควตะ สัตตวตะ ปัญจกาลวิธ เอกานติกะ ตันมายะ และปาญจราตริกะ แต่ที่นิยมใช้คือ ภควตา เดิมราว พ.ศ. ๓๐๐ ศาสนาภควตาเริ่มเป็นที่สนใจของประชาชนแต่ยังไม่กว้างอยู่ในเมืองมถุราและเมืองใกล้เคียงต่อมาเริ่มแผ่ขยายไปทางทิศตะวันตกและทางเหนือของเดดข่าน ราว พ.ศ.๔๐๐ ต่อมามีหลักฐานจารึกหลายแห่งที่มีอายุก่อนคริสตกาลบรรยายความเกี่ยวข้องระหว่างวสุเทวะ ครุฑ กฤษณะ นารายณะ และก้อนหินศักดิ์สิทธิ์ กล่าวได้ว่าศาสนาภควตาวิวัฒนาการจากลัทธิเล็กๆ ที่นับถือในกลุ่มท้องถิ่นมาสู่ลัทธิใหญ่และกลายเป็นลัทธิสำคัญของศาสนาฮินดู

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ภาพ : พระวิษณุ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เดิมอยู่ที่หอพระนารายณ์ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

- ไศวนิกาย (Saivism)
          มีประวัติเก่าแก่กว่าไวษณพนิกาย อาจเก่าแก่ลงไปถึงอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยพบตราประทับมีรูปเทพนั่งขัดสมาธิอยู่ท่ามกลางสัตว์ป่า ซึ่งจอห์น มาร์แชลสันนิษฐานว่าเป็นต้นแบบของพระศิวะ รวมทั้งมีการพบลึงค์หินซึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ลึงค์มีความสัมพันธ์กับการบูชาพระศิวะโดยกลายเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ ในรามายณะมีข้อความหลายตอนที่กล่าวถึงพระศิวะในชื่อต่างๆ เช่น ศิติกัณฐ์ มหาเทวะ รุทร ปศุปติ ศังการะ อิศานะ เป็นต้น ไศวนิกายแผ่ขยายไปและเป็นที่รู้จักดีในอินเดียใต้

เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ภาพ : ศิวลึงค์ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้จากบ้านนายพริ่ง อาจหาร หมู่ ๗ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศาสนาพราพมณ์-ฮินดู พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

- ลัทธิคาณปัตยะ (คาณปัถยัม)
          นับถือพระคเณศ หรือ พิฆเนศวร์ ซึ่งเป็นเทพแห่งอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวง สามารถกีดขวางมนุษย์ เทวดา และมารร้ายต่างๆ ได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถกำจัดเครื่องกีดขวางทั้งปวงได้ กำเนิดของพระคเณศมีบอกไว้ในคัมภีร์แตกต่างกันไป คัมภีร์ที่นิยมได้แก่ ลิงคปุราณะ ศิวปุราณะ มัสยาปุราณะ วราหปุราณะ และสกัณฑปุราณะ

- ลัทธิเสาระ
           นับถือพระสุริยะเป็นเทพเจ้าสูงสุด แม้ว่าการบูชาเทพแห่งแสงอาทิตย์จะปรากฏในอินเดียตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เทพสุริยะยังไม่ได้รับการยกย่องมากนัก จนกระทั่งได้รับอิทธิพลจากอิหร่านในสมัยราชวงศ์กุษาณะ (พุทธศตวรรษที่ ๔-๗) โดยปุราณะกล่าวว่าลัทธินี้เข้ามาโดยนักบวชชาวอิหร่าน (ชาวซิเถียน) ซึ่งนักบวชเหล่านี้จะมีสายรัดเอวที่เรียกว่า อวยังคะ หมายถึงเข็มขัดศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาผู้นับถือพระอาทิตย์ (โซโรอัสเตรียน) มีความหมายเท่ากับสายธุรำหรือสายยัชโญปวีตของพราหมณ์ ถือได้ลัทธิเสาระเป็นลัทธิที่รุ่งเรืองมากในอินเดียสมัยหลังคุปตะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔)

----------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
----------------------------------------------------

อ้างอิง :
- ผาสุข อินทราวุธ. รูปเคารพในศาสนาฮินดู. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์, ๒๕๒๒. - ผาสุข อินทราวุธ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. “พระสุริยะในภาคใต้”, สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๖. กรุงเทพฯ : สถาบันทักษิณคดีศึกษา. ๒๕๒๙.