อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด
ปฏิทิน

เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
ENERGY EFFICIENT APPLIANCES    

พัดลมโทรทัศน์สีตู้เย็น 7-10Qหม้อหุงข้าวเตารีดไฟฟ้าเครื่องซักผ้าแบบมีระบบปั่นแห้งเครื่องปรับอากาศเครื่องดูดฝุ่น
ประโยชน์ชองการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน
       >> สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ เนื่องจากเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
       >> ใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับลักษณะบ้าน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็น
       >> เป็นการส่งเสริมให้มีการหันมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะส่งผลประโยชน์โดยรวมต่อการใช้พลังงานของประเทศชาติ

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

ปัจจัจสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

อุปกรณ์ ไฟฟ้า ใน ข้อ ใด ใช้พลังงานไฟฟ้า มากที่สุด

          10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะที่สุด พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพงช่วงสิ้นเดือน รีบเข้ามาเช็กและปฏิบัติตามกันด่วน !!


          ถึงแม้อากาศจะร้อนตับแล่บ และคนส่วนใหญ่จะทำงานที่บ้าน แต่หลายคนก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมค่าไฟในช่วงนี้ถึงแพงขึ้นมากขนาดนี้ ฉะนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยถือโอกาสรวบรวมข้อมูล 10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเยอะที่สุด โดยคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 3.9 บาทต่อหน่วย ส่วนตอนนี้ไปดูกันว่าหากเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด 1 ชั่วโมง จะกินไฟกี่วัตต์ แล้วเสียสตางค์ไปกี่บาท พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าประหยัด ว่าจะลดค่าไฟแต่ละเดือนได้ยังไงบ้าง

1. เครื่องทำน้ำอุ่น

          เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ยชั่วโมงละ 10-47 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีขนาดเหมาะสม พร้อมต่อสายดินให้เรียบร้อยและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ปรับอุณหภูมิให้พอดี อย่าให้ร้อนมากเกินไป ปิดก๊อก ปิดวาล์ว และปิดสวิซต์ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ เมื่อพบรอยรั่วให้รีบแก้ไข รวมถึงลดการใช้น้ำอุ่นแบบไม่จำเป็นในฤดูร้อนด้วย

2. เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ


          เครื่องปรับอากาศ กินไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและมีขนาดเหมาะสมกับห้อง พร้อมปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด ติดตั้งในระดับที่สูงพอดี มีที่ระบายความร้อน และไม่ไว้ใกล้วัตถุไวไฟ

          ส่วนระหว่างการใช้งานควรปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันความเย็นรั่วไหล ควรติดม่านกันแดดเพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ควรตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมช่วย ควรทำความสะอาดแผ่นกรองและบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำ ควรปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน อย่าเปิดทิ้งไว้เวลาไม่อยู่บ้าน และถ้าหากอากาศไม่ร้อนมาก ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้จะดีที่สุด

          - 10 ประหยัดแอร์หน้าร้อน แต่บ้านยังเย็นสบายไม่เปลี่ยน

3. เครื่องซักผ้า

          เครื่องซักผ้า โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าพร้อมอบแห้ง กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง ใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากมีแค่ 1-2 ชิ้น ควรเปลี่ยนจากซักเครื่องเป็นซักมือแทน หากไม่ใช่ผ้าพิเศษหรือมีคราบมาก ควรใช้น้ำเย็นในการซัก หากมีแสงแดดจัด ควรนำออกตากแดดและหลีกเลี่ยงการอบแห้ง หมั่นตรวจสอบปลั๊กไฟ โครงเหล็ก และตัวเครื่องให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และควรถอดปลั๊กหลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง

4. เตารีดไฟฟ้า

เตารีดไฟฟ้า


         เตารีดไฟฟ้า กินไฟประมาณ 750-2,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ต้องตรวจสอบสภาพก่อนใช้งานทุกครั้ง ทั้งปลั๊กเสียบและสายไฟต้องไม่ชำรุด ควรพรมน้ำก่อนรีดเล็กน้อย แต่ระวังอยากให้แฉะเกินไป ปรับความร้อนให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า เริ่มรีดจากตัวที่บางก่อนตัวที่หนา รีดครั้งละเยอะ ๆ ถอดปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จสัก 2-3 นาที เพราะความร้อนจะยังคงอยู่พอให้รีดต่อได้อีกสักพัก เมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ถอดปลั๊กทุกครั้ง

5. หม้อหุงข้าว

         หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกใช้หม้อที่มีขนาดพอดีกับคนในครอบครัว และหุงข้าวให้พอดีกับการกินในแต่ละมื้อ ใส่น้ำให้เหมาะสม ปิดฝาให้แน่นสนิท ถอดปลั๊กออกหลังใช้เสร็จทุกครั้ง พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบแท่นความร้อนในหม้อ ล้างหม้อให้สะอาดไม่ให้มีข้าวเกาะจนทำให้ข้าวสุกช้า ก้นหม้อไม่ควรมีรอยบุบ และตรวจสอบปลั๊กเสียบหรือสายไฟ ไม่ให้ชำรุดและรั่วไหลด้วย


         เตาหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.80-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ตรวจเช็กตัวเครื่อง สายไฟ และปลั๊กเสียบ ไม่ให้เสื่อมสภาพหรือรั่วไหลก่อนใช้งานทุกครั้ง เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มทำอาหารเสมอ ใส่น้ำให้พอดี ไม่เปิด-ปิดฝาบ่อย หรี่ไฟและปิดฝาเมื่อทำการเคี่ยว และถอดปลั๊กทันทีที่ทำอาหารเสร็จ


7. เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น


          เครื่องดูดฝุ่น กินไฟประมาณ 750-1,200 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรเทฝุ่นทิ้งทุกครั้งหลังเลิกใช้ เพื่อช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพและเปลืองไฟน้อยลง หมั่นตรวจสอบเต้าเสียบไม่ให้ชำรุดหรือมีรอยไหม้เสมอ และต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เครื่องร้อนและเกิดปัญหาตามมาได้นั่นเอง

8. เครื่องปิ้งขนมปัง

          โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท และถอดปลั๊กทุกครั้งหลักเลิกใช้งาน

9. เครื่องเป่าผม

          เครื่องเป่าผม กินไฟประมาณ 400-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เช็ดผมก่อนเป่าและขยี้ผมระหว่างเป่า เพื่อช่วยให้ผมแห้งไวขึ้น จนทำให้กินไฟน้อยลง นอกจากนี้ต้องหมั่นตรวจเช็กเต้าเสียบ สายไฟ หรือส่วนที่เป็นโลหะให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอด้วย

10. เตาไมโครเวฟ

          เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท นอกจากนี้ควรกำหนดเวลาและความร้อนให้เหมาะสม เลือกใช้ภาชนะก้นแบนหรือภาชนะที่แถมมากับเครื่อง เพื่อให้รับความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงการเปิด-ปิดฝาบ่อย ๆ เพื่อให้อาหารอุ่นเร็วขึ้น เปลืองไฟน้อยลง ถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จทุกครั้งด้วย ทำสำคัญควรดูแลและหมั่นทำความสะอาดด้วย

          นอกเหนือจาก 10 อันดับข้างต้นแล้ว เครื่องชงกาแฟ โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลมเพดาน และพัดลมตั้งพื้น ก็ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมากที่สุดรองลงมาเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าหากใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ก็ลองเช็กตัวเองดูว่า มีของพวกนี้ครบหรือเปล่า ใช้งานบ่อยแค่ไหน หาทางเซฟบ้างไหม ซึ่งถ้าหากคำตอบออกมาเป็นลบละก็ ต้องหันมาเลี่ยง ๆ เบา ๆ และรีบประหยัดพลังงานกันด่วน ไม่งั้นสิ้นเดือนนี้คงได้ช็อกอีกรอบแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/เครื่องใช้ไฟฟ้าใดกินไฟมากที่สุด และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

เครื่องใช้ไฟฟ้าในข้อใดเมื่อใช้แล้วจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด

หลายคนทราบดีว่า “เครื่องปรับอากาศ” เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟ และกินเงินต่อเดือนๆ มากที่สุด แม้ในช่วงนี้อากาศบ้านเราจะเย็นสบาย จนไม่ต้องเปิดแอร์ แต่ก็มีบางครอบครัวที่ติดเปิดแอร์เวลานอนเสียแล้ว โดยให้เหตุผลว่าถ้าไม่เปิดแอร์นอนจะหายใจไม่ออก แต่ถ้าเห็นข้อมูลว่าเครื่องปรับอากาศถ้าเปิดต่อเนื่องกัน 10 ชม.ใน 1 วัน จะกินไฟ ...

อุปกรณ์ในข้อใดที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ เครื่องปั่นไฟ (อังกฤษ: electric generator) คืออุปกรณ์ที่แปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ดังกล่าวจะบังคับกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านวงจรภายนอก แหล่งที่มาของพลังงานกลอาจจะเป็นลูกสูบหรือเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ หรือแรงน้ำตกผ่านกังหันน้ำหรือล้อน้ำ หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือกังหันลม หรือข้อเหวี่ยง ...

อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าคือข้อใด

กำลังงานไฟฟ้า หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W) พลังงานไฟฟ้า หมายถึง กำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W.

ข้อใดไมใช่หน่วยของพลังงานไฟฟ้า

7.หน่วยทางไฟฟ้าเบื้องต้น.