รูปแบบของธุรกรรมการเงินดิจิทัลแบบ payment technology คือ

รูปแบบของธุรกรรมการเงินดิจิทัลแบบ payment technology คือ

ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน  หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง

อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? 
ลองดูดีๆ 3 ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967, Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ

นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ

ตัวอย่างฟินเทค

รูปแบบของธุรกรรมการเงินดิจิทัลแบบ payment technology คือ

รูปภาพจาก รายงาน Thailand FinTech Startup Landscape 

ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็น Startup บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ

Lufax.com จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้ ผ่านแอปพลิเคชัน

ตัวอย่างอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป

ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง

เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้ หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น

ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์ นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์ ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น

กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ - เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน, การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม

ในขณะนี้ กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้

ฟินเทค กับการสร้างความร่วมมือ

เมื่อทั้งองค์กรขนาดใหญ่ และองค์กรขนาดเล็กอย่าง Startup ก็ล้วนมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เราจึงพบเห็นความตื่นตัวของทั้งสองฝ่าย ผ่านข่าวต่างๆ ที่เรานำเสนอ

ที่มา : techsauce

บทท่ี 4 Fintech ธรุ กรรมการเงนิ ดิจิทัล

ความนาํ

การดำเนินการเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินในชีวิตประจำวัน บาง
คนอาจจะไม่ทราบว่ากิจกรรมที่เกี่ยวกับการเงินต่าง ๆ นั้นเรียกว่า
ธุรกรรมการเงินดิจิทัล (Fintech) ซึ่งจะมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกด
บัตร ATM การใช้บัตรเครดิต การโอนเงินออนไลน์ การชําระค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆ ด้วยระบบออนไลน์ ทั้งนี้ในปัจจุบันธุรกรรมการเงินดิจิทัล
(Fintech) ได้ขยายวงกวา้ งมากยิ่งขึ้น ไมใ่ ช่เพียงแค่ระดับภูมภิ าคแต่เป็น
ระดบั โลกที่มกี ารพัฒนาการใช้ระบบออนไลน์

1. ความหมายของ Fintech

ชื่อ Fintech มีที่มาจากคําว่า Financial และ Technology มี
ความหมายตรงตัวว่าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน หรือการนํา
เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM
ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวกเพียงแค่มีบัตร บัตรเครดิต การโอนเงิน
ออนไลน์ ฯลฯ เหล่านกี้ ล็ ้วนเป็น Fintech อยา่ งหนงึ่

Fintech (Financial Technology) คือ กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเข้ามาทำให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทำธุรกรรมรับ-จ่าย-โอนเงินออนไลน์
ของธนาคารหรือการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของนัก
ลงทุน โดยบริการเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์แทบ
ทงั้ สนิ้

2. วิวฒั นาการของธรุ กรรมการเงินดจิ ทิ ัล (Fintech)

แม้ว่าการเติบโตของสตาร์ตอัพด้าน Fintech จะมีอัตราการเติบโต
แบบก้าวกระโดด แต่หากพิจารณาวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีทาง
การเงินจะเห็นว่า Fintech ไมไ่ ด้เปน็ เรื่องใหมแ่ ต่อย่างใด ตามงานศึกษา
ของ Arner, Janos Barberis, and Ross P. Buckley ได้แบ่งยุคสมัย
ของ Fintech ออกเปน็ 3 ช่วง

โดย Fintech 1.0 เป็นยุคหลังสงครามโลกที่ระบบการเงินของ
ประเทศตา่ ง ๆ เรม่ิ มีการเชื่อมโยงถึงกนั ดว้ ยระบบแอนะล็อก

ขณะที่ Fintech 2.0 เป็นยุคดิจิทัลที่มีการนําคอมพิวเตอร์และ
อินเทอรเ์ นต็ เขา้ มาใช้

ปัจจุบันกําลังอยู่ในยุค Fintech 3.0 (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 -
ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤติ Subprime ที่แม้เริ่มต้นเกิดขึ้นใน
สหรัฐอเมริกาแต่ได้ส่งผลกระทบไปสู่ระบบการเงินของประเทศอื่น ๆ
ทั่วโลก โดยสาเหตุหลักมาจากความไม่รับผิดชอบของสถาบันการเงิน
ขนาดใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคลดความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินเหล่าน้ี
ลง และนําไปสู่ความนิยมในการระดมทุนทางเลือกอย่างเช่น
Cryptocurrency ชื่อดังอย่างบิตคอยน์ (Bitcoin) หรือ Kickstarter
ผนู้ ําด้าน Crowdfunding

นอกจากนี้ หลังวิกฤติภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมโดยออก
กฎระเบียบในการประกอบธุรกิจการเงินให้มีความเข้มงวดมากขึ้นจนใน
ที่สุดสถาบันการเงินหลายแห่งต้องลดจำนวนพนักงานลงเพื่อความอยู่
รอดถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนําเทคโนโลยีมาใช้ทดแทน มนุษย์เพื่อลด
ต้นทุนในการประกอบธุรกิจ เช่น บริษัท Wealthfront ผู้นําเสนอแอป
พลิเคชันที่ใช้ Robo Advisor มาช่วยวางแผนการลงทุนแบบอัตโนมัติ
ให้กับนักลงทุนรายย่อยอีกทั้งการนําเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างสมาร์ต
โฟนยังทำให้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ผ่านระบบ
อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา และข้อมูลผู้ใช้รายบุคคลยังถูกเก็บไว้อย่าง
เป็นระเบียบ ทำให้ผู้เล่น หน้าใหม่อย่างสตาร์ตอัพสามารถนําเสนอ
นวัตกรรมทางการเงินซึ่งเปลี่ยนสนามการแข่งขันธุรกิจตลาดเงินไป
ตลอดกาล เช่น การทำธุรกรรมที่มีลักษณะ Peer-to-Peer (P2P)
ระหว่างบุคคลทั่วไป โดยไม่จําเป็นต้องมีสถาบันตัวกลางผ่านแอปพลิเค
ชันและแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น TransferWise (สำหรับการโอนเงิน)
Lending Club (สำหรับการซื้อขายแลกเปลยี่ นหุ้น) ซ่งึ แม้ว่าวิวฒั นาการ
ที่กล่าวมาเหล่านี้จะเริ่มต้นที่ประเทศพัฒนาแล้วเช่นในสหรัฐอเมริกา
และยุโรป แต่กําลังขยายตัวไปสู่ประเทศกําลังพัฒนาอย่างจีน อินเดีย
รวมถงึ ประเทศในกลุ่มเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้

3. ประเภทของธรุ กรรมการเงินดิจทิ ลั (Fintech)

3.1 ประเภท Fintech แบ่งตามจุดประสงค์ในการใช้งาน ดังนี้

3.1.1 Banking Technology

การนําเทคโนโลยีมาใช้กับระบบธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่มีการ
กล่าวถึง Fintech เพราะหลายคนเคยใช้กันเป็นประจำและเชื่อว่าใน
โทรศัพท์ของคนวัยทำงานส่วนใหญ่จะมีแอปพลิเคชันธนาคารติดตั้งอยู่
แล้ว Fintech ประเภทนี้ คือ Mobile Banking ที่มีขึ้นเพื่อให้ลูกค้าของ
ธนาคารสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการบริหารจัดการเงินได้ด้วย
ตนเอง ทำงานในฟังก์ชันเดียวกับที่ธนาคารแบบดั้งเดิมทํา ยกเว้นการ
จดั การกับเงินสด

3.1.2 Lending Technology

เทคโนโลยเี พ่อื การขอสินเชอ่ื กู้ยมื ของเพียร์พาวเวอร์ (PeerPower)
จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ มีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้น โดยมี
จุดประสงค์เพื่อให้เกิดการขอและให้สินเชื่อ Fintech ประเภทนี้จะอยู่
บนพืน้ ฐานการสมคั รขอสินเชื่อ ตรวจสอบ เครดิต และอนุมัติสนิ เช่อื

3.1.3 Cryptocurrency

สกุลเงินดิจิทัลทั้ง Cryptocurrency หรือเทคโนโลยีบล็อกเชน
(Blockchain) เป็นการสมมติชุดข้อมูลขึ้นมาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในสื่อสังคม
ออนไลน์ แล้วทำให้ใช้งานได้เหมือนเงินจริง สามารถใช้จ่ายได้ รวมถึงเก็ง
กําไรได้ดว้ ย โดยสกุลเงินดิจทิ ัลสกุลแรกท่ีถือกำเนิดมาในโลก คือ บิตคอยน์
(Bitcoin) และที่สั่นสะเทือนวงการการเงินล่าสุด คือ การประกาศ
เปิดตัวไลบรา (Libra) สกุลเงินดิจิทัลของเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่จับมือกับ
พาร์ตเนอร์เจ้าใหญ่ทั่วโลก ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะเป็น Technology
Disruptive ท่ีใหญ่ทส่ี ดุ ในอนาคต

3.1.4 Payment Technology

ระบบการจ่ายเงินที่ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี Fintech ประเภทนี้ คือ
ระบบตัวแทนการใช้จ่ายที่ผู้ใช้ต้องเปิดบัญชีกับทางแพลตฟอร์มจึงจะ
สามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น ระบบ E-Wallet ต่าง ๆ เครดิตการ์ด ซึ่ง
ระบบ Payment จะต่างจาก Mobile Banking ตรงที่เจ้าของแพลตฟอร์ม
ไม่ใชธ่ นาคารและให้บรกิ ารเฉพาะการใช้จา่ ยเท่านน้ั

3.1.5 Application Programing Interface (API Data)

ระบบ API Data ทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับ
แพลตฟอร์ม เป็นเหมือนประตูบ้านที่จะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าของบัญชีหรือ
ผู้ใช้ที่ถูกต้องเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ ได้ ระบบนี้สามารถใช้ได้ทั้งกับ Mobile
Banking และแพลตฟอรม์ อื่น ๆ

3.1.6 Regulation Technology

นอกจากจะใช้เพื่อเข้าถึงบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินแล้ว
Fintech ยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบและป้องกันการเข้าถึงบริการเหล่าน้ัน
ในลักษณะที่ไม่ถกู ต้องได้อีกด้วย Regulation Technology หรือ Regtech
ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบการทำธุรกรรมให้เป็นไปอย่างถูกต้องและ
ราบรน่ื อาจเปน็ AI หรือเปน็ ระบบภายในของธนาคารหรอื แพลตฟอรม์ ก็ได้

3.1.7 Insurance Technology/ Insurtech

หลายคนอาจคิดว่าการซื้อประกันภัย ประกันชีวิต คือการลงทุน
รูปแบบหนึ่ง รวมทั้งระบบการคํานวณเบี้ยประกันมีความซับซ้อน การใช้
Fintech เข้ามาช่วยทั้งด้านการคํานวณเบี้ยประกัน ผลตอบแทนความเสี่ยง
รวมถึงอัตราส่วนลดอย่างเป็นเหตุเป็นผลช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้เสนอขาย
ประกนั ภัย ประกนั ชีวติ บริหารจดั การระบบประกันไดง้ า่ ยขึ้น

3.2 ประเภทของ Fintech แบง่ ตามกลุม่ ด้านการเงิน มดี ังน้ี

3.2.1 กลุ่มการชาํ ระเงนิ โอนเงนิ (Payments/Transfers)

ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดแนวคิด Fintech ที่มีจุดเด่นในด้านความสะดวก
รวดเร็วในการชําระเงิน โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด บัตรเครดิต บัตรเด
บิต หรอื โอนผ่านบัญชีธนาคาร เพอื่ ชาํ ระเงนิ ค่าสินคา้ บรกิ ารแต่ละครงั้ ดังเช่น
ในอดีต จึงช่วยให้การซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce) มีความคล่องตวั
มากข้นึ

ตัวอย่าง Fintech ที่ให้บริการรับชําระเงินค่าสินค้าและโอนเงินผ่าน
ออนไลน์ ได้แก่ Paypal Alipay Line Pay Paysbuy และการให้บริการของ 3
คา่ ยมอื ถือ True Wallet, true money AIS Mpay Jaew Wallet และ Wallet
by TrueMoney ทม่ี บี รกิ ารรบั ชาํ ระคา่ สินคา้ /บรกิ ารทางออนไลน์จากกระเปา๋
เงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ที่ลูกค้าสามารถเติมเงินไว้สำหรับการชําระเงิน
และโอนเงินไดโ้ ดยตรง

3.2.2 กลุม่ ธรุ กรรมที่เกย่ี วกบั การลงทุน (Investments)

เป็นบริการด้านการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงินแบบออนไลน์ ซ่ึง
โดยทั่วไปผู้ที่เข้าถงึ บริการดา้ นการลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มทีม่ ีสินทรัพย์สูง
แต่ในปัจจุบันธุรกิจ Fintech เกี่ยวกับการลงทุนได้พัฒนาเพื่อช่วยให้กลุ่มผู้มี
รายไดท้ ว่ั ไปสามารถเขา้ ถงึ การวางแผนทางการเงนิ และการลงทุนได้งา่ ยขึ้น

โดยการนําเทคโนโลยี Robo-Advisor ที่มีการใช้ Artificial
Intelligence : Al เข้ามาใช้เรยี นรูพ้ ฤติกรรมการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ
ผ่านข้อมูลสถิติและผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการตอบแบบสอบถามทาง
ออนไลน์ โดย Robo-Advisor จะทําหน้าที่เลือกการลงทุนที่เหมาะสม
และช่วยบริหารเงินลงทุนให้แบบอัตโนมัติตามระยะเวลาการลงทุน
ระดับผลตอบแทนที่ต้องการและตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้โดยมี
ค่าธรรมเนียม

การลงทุนที่ต่ำกว่าการให้ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงานสําหรับ
Fintech ทีใ่ หบ้ รกิ าร Robo-Advisor เช่นWealthfront และ Betterment
ฯลฯ

3.2.3 กลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการให้สินเชื่อและเงินทุน
(Lending & Financing)

มีการใหบ้ รกิ ารในหลายรูปแบบ ไดแ้ ก่ KICK PER

1) Crowd Funding เป็นการระดมทุนจากมวลชนผ่านเว็บไซต์ เพ่ือ
เป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสําหรับผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ หรือ
ริเริ่มโครงการเพื่อสังคม ส่วนรวมแต่ไม่มีเงินทุนในการดําเนินการ โดยการ
ระดมทุนของ Crowd Funding มีหลายรูปแบบ เช่น การบริจาคเงินการ
จ่ายเงินเพื่อสั่งจองสินค้าในโครงการที่จะผลิตออกมาขาย การให้เจ้าของ

นําเสนอโครงการผ่านเว็บไซต์เพื่อระดมทุนจากบุคคลทั่วไป การร่วมลงทุน
ในหนุ้ ของบรษิ ัทและการกยู้ มื เงิน โดยผู้ลงทุนจะได้รบั สว่ นแบ่งจากการขาย
เป็นเปอร์เซ็นต์หรอื เป็นรายได้ในรูปของอัตราดอกเบี้ย ตัวอย่างให้ผู้บรกิ าร
ได้แก่ Kickstarter Indegogo Dreamaker และ Taejai เป็นตน้

2) P2P (Peer-to-Peer) เป็นการให้กู้ยืม เงินระหว่างบุคคลกับ
บุคคลผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม โดย ไม่ต้องผ่านตัวกลางทางการเงินเช่น
ธนาคารหรือสถาบนั การเงิน แตร่ ะบบจะสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้กู้กับ
ผู้กู้เงิน โดยตรง โดยมีแพลตฟอร์มกลางที่เป็นผู้ให้คะแนนเครดิตของแต่ละ
คน ตวั อยา่ งผู้ให้บรกิ าร ได้แก่ Zopa Prosper และ Satangdee

3) Marketplace Lending เป็นการสนับสนุนเงินลงทุนระยะส้ัน
เพ่ือปล่อยกใู้ ห้แก่ธุรกิจทีต่ ้องการเงนิ ทุน

หมุนเวียนโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่อยู่ในแพลตฟอร์มของ ผู้ให้บริการ
เช่น Amazon และ Alibaba โดยผู้ให้บริการมีการคิดค้นและพัฒนา
Credit Scoring Model เป็นของตนเองและมีการนําข้อมูลผู้ซื้อและผู้ขาย
ในตลาดของตนเองมาใช้ประเมินความเสี่ยงในการผิดนัด ชําระหนี้ รวมท้ัง
นําข้อมูลความนิยมสินค้าและระดับสินค้าคงคลังของผู้ขายมาใช้ประเมิน
อัตราดอกเบี้ย ในการปล่อยกู้ระยะสั้น 3-6 เดือน ตัวอย่างผู้ให้บริการ
ไดแ้ ก่ Kabbage Amazon lending และ Alipay Financial

4. ประโยชน์ของธุรกรรมการเงินดิจิทลั (Fintech)

เมื่อรูปแบบของ Fintech มีอยู่มากมาย ครอบคลุมการใช้บริการ
แทบทุกระดับ ประโยชน์ของ Fintech จึงมีมากตามไปด้วย โดยอาจ
แบ่งประโยชนข์ อง Fintech ตามกล่มุ ผู้ใชง้ านได้ ดังนี้

4.1 บคุ คลทวั่ ไป

ได้ประโยชน์จาก Fintech ในลักษณะการขยายโอกาสการเข้าถึง
บริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ที่ทําให้คนที่ไม่มีบัญชี
ธนาคารสามารถใช้จ่ายทําธุรกรรม รวมถึงสามารถขอสินเชื่อลงทุนได้
ดว้ ยตนเอง

4.2 สถาบันการเงนิ

ใช้ประโยชน์จาก Fintech ได้ด้วยการนําระบบ API Data มาใช้
หรือการตรวจสอบความปลอดภัย ด้วย Regtech รวมถึงสิ่งที่ง่ายและ
เป็นประโยชน์ที่สุด คือ การสร้างระบบธนาคารย่อย ๆ แบบ Mobile
Banking ลงมาใหอ้ ยใู่ นโทรศัพทเ์ คลือ่ นที่

4.3 ผ้ใู หบ้ ริการ E-Commerce

ใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปแบบของระบบ Payment การเชื่อมต่อ
API Data และ Banking Technology เพราะเป็นการขายออนไลน์ท่ี
เกดิ การใชจ้ า่ ยขึ้นในแพลตฟอร์ม

4.4 นักลงทนุ

Fintech เอื้อต่อการลงทุนทั้งในรูปแบบตลาด Cryptocurrency,
Insurtech และ Lending Technology ซึ่งถือเป็นโอกาสสําหรับนัก
ลงทนุ ทอ่ี ยากลองลงทนุ ในรปู แบบใหม่ ๆ

5. ผลกระทบของ Fintech ท่มี ตี อ่ ธนาคารและอุตสาหกรรมอ่นื

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Fintech คือ การทําให้คนทั่วไปมีอํานาจ
จัดการการเงินของตนเองมากพอกับ ที่ธนาคารสามารถทําได้ ประกอบ
กับมีหลาย ๆ รูปแบบในการให้บริการ นอกจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ยังจะพบการตั้งคําถามกับ Fintech ในลักษณะการ Disruption ระบบ
การเงินแบบดั้งเดิมด้วย โดยกลุ่มที่มองว่าอาจได้รับผลกระทบจาก
Fintech มอี ยู่ 2 กลุม่ คือ

5.1 ธนาคารหรอื สถาบนั การเงนิ

ด้วยความเป็นเจ้าเก่าที่ครองอํานาจทางการเงนิ มาโดยตลอด ทําให้
เมื่อ Fintech กําเนิดขึ้นมา โดยมีลักษณะที่คล้ายกับการให้บริการของ
ทางธนาคาร จึงมีการตั้งคําถามว่าธนาคารจะอยู่ได้หรือไม่หากมี การ
นิยมใช้ Fintech กนั มากขึน้

จากข้างต้นพบว่า แม้ Fintech มีหลายประเภทเพื่อตอบสนอง
ความต้องการในการบริหารจัดการ การเงิน แต่ไม่ได้มีแหล่งใดรับฝาก
เงินเหมือนที่ธนาคารทํา การได้รับเงินสดจากเทคโนโลยีทางการเงินน้ัน
เป็นไปได้ยาก จึงเห็นตัวเลขแต่ไม่ได้เห็นตัวเงินจริง ๆ จนกว่าจะมีการ
แลกเปลี่ยนผ่านทางสถาบันการเงิน ในที่สุด ดังนั้นธนาคารไม่ได้มี
บทบาทลดลงจากการเข้ามาของ Fintech พร้อมกันนั้น ธนาคารก็ย้าย

ลงไป อยู่ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี
เช่นกัน การที่สาขาของธนาคารปิดตัวลง อาจมีผลกระทบต่อคนทํางาน
ด้านปฏิบัติการในธนาคาร แต่หากมองในแง่สถานะและความมั่นคงของ
ธนาคารแลว้ อาจจะเป็นผลดีมากกว่าผลเสียกไ็ ด้

ธนาคารก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์จาก Fintech ดังนั้น จึงไม่
น่าแปลกใจที่ธนาคารขนาดใหญ่ 1 หลายแห่งทั่วโลกจะเลือกหนุนหลัง
ธุรกิจที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้
ประโยชน์จากเทคโนโลยโี ดยไม่ต้องลงมือพัฒนาเอง

5.2 ห้างสรรพสินคา้

เมื่อมีการซื้อขายออนไลน์แบบครบขั้นตอนในแพลตฟอร์มเกิดข้ึน
ด้วยความช่วยเหลือจาก Fintech การซื้อขายสินค้าที่ต้องเดินทาง
ออกไปเพื่อค้นหา จึงมีความจําเป็นลดลง รวมถึงขณะนี้ ประเทศไทยมี
อัตรา การใช้จ่ายออนไลน์สูงที่สุดในเอเชีย ห้างสรรพสินค้าจึงเป็นส่วน
หนงึ่ ท่ีอาจไดร้ ับผลกระทบ แต่พฤตกิ รรม ของผูบ้ ริโภคทีช่ อบซื้อของท่ีได้
สัมผัสด้วยมือ มองเห็นด้วยตา รวมถึงต้องการที่นั่งเล่น พบเจอกับเพื่อน
ก็ยงั มีอย่เู ช่นกัน

6. บทบาทของ FinTech กบั ระบบการเงนิ ของไทยในอนาคต

เทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) หรือฟินเทค
(Fintech) เป็นหนึ่งในทิศทางการพัฒนา ระบบการเงินที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยให้ความสําคัญ โดยมุ่งให้เกิดการนําเทคโนโลยีมาสนับสนุน
และส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลาย รวมถึง
ผลักดันให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีในการพัฒนาบริการทางการเงินอย่างเป็นรูปธรรมในหลาย
มิติ เพื่อให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดีข้ึน เพิ่ม
ความสะดวก รวดเรว็ คา่ ใชจ้ า่ ยถูกลง ขณะท่มี คี วามม่ันคงปลอดภัยและ
มีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยมีการดําเนินการในหลายด้าน
ไดแ้ ก่

6.1 การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางการเงินผ่านกลไก
Regulatory Sandbox ที่เอื้อให้ผู้ให้บริการทางการเงินทั้งสถาบัน
การเงินและที่ไม่ใช่สถาบันการเงนิ สามารถพฒั นาบริการด้วยเทคโนโลยี
สมัยใหม่และให้บริการได้รวดเร็วขึ้น โดยเริ่มจากการทดสอบการ
ให้บริการในขอบเขตจํากัด เพื่อให้สามารถ ควบคุมความเสี่ยงได้ และมี
การติดตามประเมินผลจากธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิดก่อน
นําออก ให้บริการในวงกว้าง

ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่มีการนําเข้าทดสอบภายใต้ Regulatory
Sandbox ได้แก่

6.1.1 การนําเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการโอน

เงินที่ช่วยให้การโอนเงินระหว่าง ประเทศรวดเร็วมากขึ้น ต้นทุนต่ำลง
และใช้ในการให้บริการหนังสือค้ำประกัน (Letter of Guarantee) ท่ี
ช่วยใหส้ ถาบนั การเงินออกหนงั สือค้ำประกันให้แก่หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ด้วย
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ด้วยกระบวนการที่ปลอดภัย มีกลไก
ป้องกันการปลอมแปลง ช่วยให้ภาคธุรกิจประหยัดเวลา ลดขั้นตอนการ
จดั การ เอกสารและมีความเชอื่ ม่ันมากขน้ึ

6.1.2 การนําเทคโนโลยี Biometrics เช่นการสแกนหน้า หรือ
ลายนิ้วมือ มาใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนลูกค้า เพื่อเพิ่มความ
ปลอดภัยและความเชื่อมั่น ในการใช้บริการทางการเงิน และอํานวย
ความสะดวกแก่ลูกค้าในการใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านการ
พิสูจน์และยืนยันตัวตนลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-
Know Your Customer : e-KYO) โดย ไมจ่ ําเปน็ ต้องเดนิ ทางไปที่สาขา

6.2 การส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมทาง
การเงนิ โดยเฉพาะท่ีมลี ักษณะเป็นโครงสร้าง

ที่กรุงเทพมหานคร พื้นฐาน รองรับการพัฒนาต่อยอดบริการใน
อนาคตได้อย่างรวดเร็ว ทีส่ าํ คญั ได้แก่

6.2.1 การจัดตั้ง Thailand Blockchain Community Initiative
ซึ่งเป็นความร่วมมือของ ภาคการเงินและภาคธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์
ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และส่งเสริมการนํา
บล็อกเชน (Blockchain) มาพัฒนาบริการทางการเงินที่หลากหลาย และ
ส่งเสริมให้เกิดการร่วมกัน ใช้งานในวงกว้างทั้งในภาคการเงิน ภาคธุรกิจ
และภาครัฐ

6.2.2 การพฒั นา National Digital Identity (NDID) ซ่ึงเป็นโครงสรา้ ง
พื้นฐานสําหรับการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัล โดยใช้
หลักการตรวจสอบยืนยันข้อมูลกับหนว่ ยงานที่เชื่อถือได้ หรือผู้ให้บริการที่
เคยรู้จักตัวตนของผู้ขอใช้บริการรายนั้นแล้วผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยน
ขอ้ มูลระหวา่ งหน่วยงานทป่ี ลอดภยั ซ่งึ จะช่วยสนบั สนุนใหล้ ูกค้าสามารถทํา
ธรุ กรรมทางการเงนิ เชน่ การเปิดบัญชเี งนิ ฝาก การสมคั รใชบ้ รกิ าร การยน่ื
ขอสินเชื่อ ฯลฯ ได้สะดวกมากขึ้น โดยไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐานทั้งหมด
ให้แก่ผใู้ หบ้ ริการรายใหม่ทุกคร้ังท่ีตอ้ งการใชบ้ รกิ าร

6.2.3 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้มาตรฐาน QR Code เพื่อการ

ชําระเงินที่ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชําระเงินให้สามารถทําได้สะดวก
รวดเร็วมากขึ้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) ซึ่งมีการใช้
งานอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ รองรับการชําระเงินได้หลากหลายทั้ง
บญั ชีเงินฝากธนาคาร บัตรเครดิต บตั รเดบิตและเงินอิเล็กทรอนกิ ส์ ช่วย
ให้ร้านค้าขนาดกลางและเล็กมีช่องทางรับชําระเงินที่สะดวกต้นทุนต่ำ
สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางดิจิทัลในไทยให้แพร่หลายมากขึ้นโดยมี
ร้านค้าที่ติดตั้ง QR Code แล้วกว่า 3 ล้านร้านค้าและยังเปิดโอกาสใน
การตอ่ ยอดการพัฒนาบริการชําระเงนิ ระหว่างประเทศดว้ ยตน้ ทนุ ต่ำ

6.2.4 การพัฒนาระบบต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน

(Blockchain) หรอื Distributed Ledger Technology (DLT) ในระบบ

การเงินเพื่อสร้างระบบนิเวศให้ผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้เทคโนโลยีนี้ ในเชิง
ลึกและประเมินความเหมาะสมในการนําไปใช้จริงต่อไป ได้แก่ โครงการ
อินทนนท์ที่ทดสอบใช้ บล็อกเชน (Blockchain) ในการโอนเงินระหว่าง
สถาบันการเงิน และโครงการ DLT Scripless Bond ที่นําเทคโนโลยี
บล็อกเชน (Blockchain) มาทดสอบใช้ในการจําหนา่ ยพันธบตั รเพือ่ ช่วย
ลดความซับซ้อน ลดขั้นตอนและเวลาการทํางานของผู้ทเี่ ก่ียวข้อง

6.3 การส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน Fintech แก่ผู้เกี่ยวข้อง ท้ัง
สถาบันการเงินหน่วยงานภาครัฐและ 63 ภาคธุรกิจ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น Bangkok Fintech Fair เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทาง
การเงินและ เผยแพร่ความรู้ด้าน Fintech ผ่านการสัมมนาแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นของวิทยากร ผู้มีประสบการณ์สูงจากทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศและการจัดแสดงนวัตกรรม ทางการเงิน การจัดงาน
Blockchain the Series @ BOT เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในบริการทางการเงิน
แ ล ะ ง า น Journey of Biometrics in Financial Services เ พ่ื อ
สนับสนุนการแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการใช้เทคโนโลยี
Biometrics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในบริการทาง
การเงนิ และการชําระเงนิ

การส่งเสริมและพัฒนา Fintech ตามข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศ
ไทยมุ่งหวังให้ภาคการเงินไทยก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
และใช้โอกาสจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในการยกระดับบริการ
ทางการเงินและการชําระเงินที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ และเป็นส่วนสําคัญ ในการสนับสนุนการใช้
ชีวิตประจําวันของประชาชน และการดําเนินงานของภาคธุรกิจและ
ภาครัฐ ช่วยยกระดับความสามารถในการแขง่ ขนั ของไทยในยุคดจิ ิทลั

ปี ค.ศ. 2019 กับอนาคตของ Fintech

Fintech จะยังคงครองโลกธุรกิจการเงินต่อไปในปีหน้าอย่าง
แน่นอน แต่จากนี้จะได้พบการเปลี่ยนแปลง ที่จะปฏิวัติกระบวนการ
ความรู้ทางการเงิน และการบริการอย่างเข้มข้นขึ้น ซึ่งทิศทาง Fintech
ในปี ค.ศ. 2019 จะไปในทศิ ทางแหง่ อนาคต ดังน้ี

1) AI Call Center

วิวัฒนาการ AI ที่ใช้เสียงผู้ช่วยมาแล้วจาก Google Application
หรือเสยี งผู้ช่วยในการอ่านหนังสอื ต่อไปนจ้ี ะได้เหน็ วิวัฒนาการ AI เสียง
ผู้ช่วยในระบบ Call Center ของธนาคาร เพื่อให้การโทรศัพท์ติดต่อ
ธนาคารงา่ ยและมีประสิทธภิ าพมากข้นึ ตัวอย่างธนาคารท่เี ริ่มใช้ระบบน้ี
แล้วคือ OCBC ที่ร่วมมือกับ Google เปิดตัว A. Powered Voice
Banking ในสงิ คโปร์ เทคโนโลยีนี้จะให้บรกิ ารแกล่ ูกค้าทั้งในการคาํ นวณ
ดอกเบี้ยเงินกู้ การวางแผนการลงทุนในอนาคตและค้นหาสาขาธนาคาร
หรือตู้เอทีเอ็ม แบบเรียลไทม์ ได้รับคําตอบที่ถูกต้อง และยังช่วยในการ
ตรวจจับการทุจรติ ได้ด้วย

2) ธนาคารดจิ ทิ ัล

ในอนาคตจะได้พบธนาคารทางเลือกบนโลกออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์
และแอปพลิเคชันมากขึ้น ในปีหน้า จากสถิติพบว่าประชากรโลกมีสมาร์ต
โฟน 65% (ข้อมูลจาก adobomagazine) และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ทําให้
ลูกค้าสามารถใช้งานแอปพลิเคชั้นธนาคารผ่านมือถือได้ทุกที่ ทั้งที่ทํางาน
หรือระหว่างเดินทางธนาคารดิจิทัลจะมีการปรับและเพิ่มฟังก์ชั่นในแอป
พลิเคชันทุก 2-3 เดือน เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน มากที่สุด และยังทํา
ธุรกรรมได้หลายประเภท ตัวอย่าง บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (Revolut) ธนาคาร
ดจิ ิทลั ทใี่ ห้บรกิ ารแอปทางการเงินท่สี ามารถแลกสกุลเงินจริงและเงิน Crypto
ได้ดว้ ย ผใู้ ช้งานควบคุมการเงิน ได้เพียงปลายนิ้วสมั ผัสผา่ นแอปพลเิ คชนั

3) Biometric

ความท้าทายหนึ่งของ Fintech คือ การรับมือกับการถูกโจมตีในโลก
ของไซเบอร์และเรื่อง ความปลอดภัย ภาคการเงินจึงใหค้ วามสําคัญกับเร่ืองน้ี
เป็นลําดับต้น ๆ เทคโนโลยี Biometric จึงถูก นํามาใช้เพื่อลดการฉ้อโกง
นอกจากนี้ การใช้ Biometric เพื่อพิสูจน์ตัวตนยังทําได้รวดเร็ว และไม่ต้อง
จํา รหัสผ่านให้ยุ่งยากอีกต่อไป การตรวจสอบข้อมูล Biometric เช่น การ
จดจําเสียง ใบหน้า หรือลายนิ้วมือ จากนี้ไปจะได้เห็นการทําธุรกรรมทางการ
เงินด้วย Biometric มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การสแกนนิ้วมือ ถอนเงินสดหรือ

ทําธุรกรรมอื่น ๆ จากตู้เอทีเอ็ม ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีเครื่องเอทีเอ็มที่
เปดิ ใช้งาน Biometric มากกวา่ 80,000 เครือ่ ง ในเร็ว ๆ นจ้ี ะมใี นประเทศจีน
บราซิล และอินเดีย หลายธนาคาร ได้มีการลงทุนในการใช้ระบบ Biometric
โดยใช้กล้องจากเครื่องสมาร์ตโฟนเพื่อสแกนแล้ว เช่น Lloyds Banking
Group plc ร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับไมโครซอฟท์ เพื่อให้บริการล็อกอินด้วย
ลายนิว้ มือและใบหน้า ฯลฯ

4) Cloud และ Quantum Computing

ระบบ Cloud และ Quantum Computing จะเปรียบเหมือนผู้ช่วย
ใหม่ของสถาบันการเงิน ระบบ Cloud จะทําให้ธนาคารพัฒนา ปรับปรุงแอป
พลิเคชัน ตลอดจนการให้บริการออนไลน์ได้รวดเร็วขึ้น ระบบ Cloud จะมา
ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนและเพิ่มมากขึ้นของธนาคาร ขณะท่ี
Quantum Computing ก็จะมาเพิ่มความเร็วในการนําส่งข้อมูลไปถึงมือ
ลูกค้า การใช้เทคโนโลยี Quantum Computing ของ IBM กับธนาคาร
Barclays คือ ตัวอย่างการเริ่มต้นทดลองใช้ จนหลาย ๆ สถาบันการเงินเริ่ม
หนั มา ศกึ ษาระบบน้ีกนั บา้ งแลว้

แนวโน้ม Fintech ในปี ค.ศ. 2019 จะทําให้ภาคการเงินมีประสิทธิภาพ
และสะดวกสบายมากยง่ิ ข้ึน ขณะเดยี วกนั กล็ ดความผดิ พลาดลง

7. ผลสําเรจ็ ของธรุ กรรมการเงนิ ดิจิทลั (Fintech)

ด้วยเหตุที่ Fintech เป็นกลุ่มธุรกิจที่นําเสนอบริการในช่องทางใหม่ ๆ
หลักการที่เคยใช้ได้ดีในการสร้างสินค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป
หัวใจของการสร้างสินคา้ หรือบริการใน Fintech ใหป้ ระสบความสําเร็จ มดี งั น้ี

7.1 แก้ปัญหาได้ตรงจุด

สิ่งที่ต้องคํานึงถึง คือ ต้องทราบว่าลูกค้ามีปัญหาอะไรแล้วเสนอวิธีการ
แก้ไขอย่างสร้างสรรค์ จะสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสร้าง
พฤติกรรมการใช้บริการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคได้ โดยดูจาก ตัวอย่างความ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น ตัดปัญหาเวลาทําการของธนาคารด้วย
การทําธุรกรรมบนธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลดเวลาการเดินทางไป
ห้างสรรพสินค้าด้วยการซ้ือของออนไลน์

7.2 ใชง้ านงา่ ย

การเดินทางหรือการใช้บริการต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ลูกค้า
จึงมองหาบริการที่ใช้ งานได้ง่าย และให้ประสบการณ์ที่ดีระหว่างการใช้งาน
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย เข้าถึงได้ทั้งจากเดสก์ทอปและ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ ความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งแอปพลิเคชัน การใช้งาน
ผ่าน User Interface ที่เข้าใจง่าย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะเป็น
ลูกคา้ ในชว่ งอายใุ ด ๆ กต็ าม

7.3 มีความปลอดภัย

เนื่องจาก Fintech เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางด้านการเงินไม่ว่าทางใดก็
ทางหนึ่ง ความปลอดภัย ในการใช้บริการย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญท่ี
ระบบจะต้องมี ทงั้ ในด้านการรกั ษาข้อมลู ของลูกค้า รวมไปถงึ ความปลอดภัย
ในการทําธุรกรรมต่าง ๆ

7.4 ลูกคา้ เข้าถงึ การบรกิ ารไดง้ ่าย

ความสะดวกในการเข้าถึงการบริการถือเปน็ ส่ิงสาํ คัญอยา่ งหนงึ่ ตัวอยา่ ง
ที่เห็นชัดในปัจจุบันนี้ เช่น การสร้าง Mobile Application เพื่อให้ลูกค้า
สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ใดก็ได้
เปรียบเสมือนจับเอาบริการหน้าร้านใส่ในมือของลูกค้า ซึ่งทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็
ใช้สมาร์ตโฟน ดังนั้น การสร้าง Mobile Application จึงเป็นอีกหนึ่งบริการท่ี
ควรให้ความสาํ คัญ

7.5 ตรงกบั ความต้องการของกลุ่มเปา้ หมาย

ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าเป็นนักวิเคราะห์ ชอบอ่านตัวเลข ตีเส้น
ราคาหุ้น และวิเคราะห์ ข้อมูลในเชิงลึก การใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือ
โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากการใช้งาน
บนแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่อาจมีข้อจํากัดในหลาย ๆ ด้าน แต่หาก
เป็นบริการง่าย ๆ เช่น การชําระเงิน โอนเงิน หรือธุรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ใน

ชวี ติ ประจาํ วัน การทําธรุ กรรมเหล่านี้บนมือถือจะให้ ความสะดวกกับผู้ใช้งาน
มากกว่า

7.6 มีระบบรองรบั ทมี่ ปี ระสิทธิภาพ

ไม่ว่าจะเป็นการบริการด้านใดก็ตาม ระบบจะต้องมีความสามารถในการ
นําเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้า
จํานวนมากได้อย่างเหมาะสม จะต้องมั่นใจว่าระบบ ยังสามารถให้บริการ
ลกู คา้ ได้ แมจ้ ะมจี ํานวนลูกคา้ หลาย ๆ คนเขา้ ใช้งานพร้อม ๆ กนั ก็ตาม อกี ท้ัง
ควรมี แผนสํารองในกรณีระบบหลักเกิดมปี ญั หาใช้งานไม่ได้ด้วย

7.7 ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

การบริการที่ดีควรปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้า
นอกจากการนําผลตอบรับ มาพัฒนาและปรับปรุงบริการแล้ว การเห็นปัญหา
และความต้องการในอนาคต ก็จะทําให้บริการทันสมัย อยู่เสมอ

ความสําเร็จของ Fintech อาจจะวัดได้จากหลายด้าน แต่สิ่งที่สําคัญ
ที่สุด คือ การมุง่ ทีจ่ ะแก้ปัญหาให้ กับลกู คา้ สามารถให้คําปรึกษาในระยะยาว
ให้กับลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าไม่เลิกหรือเปลี่ยนไปใช้บริการแห่งอื่น และใน
ขณะเดียวกันก็สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อีก
ดว้ ย

8. Fintech Startup

Top 10 Fintech Startup ที่มีมูลค่าการระดมทุนมากที่สุดใน
ประเทศไทย มีดังน้ี

8.1 Omise

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 45 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทาง Omise
พัฒนาและดําเนินการโซลู ชั้นที่รับชําระเงินออนไลน์และออฟไลน์ มี
ค่าธรรมเนยี มราคาถูก และยังใหก้ ารยอมรับการชําระเงินผา่ น เครือข่าย
Social media ได้ ทั้งนี้ทาง Omise ยังระดมทุนอีก 25 ล้านดอลลาร์
สหรัฐจาก ICO เพื่อนํามาพัฒนา Omise Go ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการ
ชําระเงินทจ่ี ะ Disrupt ระบบธนาคารในปจั จุบนั

8.2 2C2P

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 18 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทาง 2C2P
คือ ผู้ให้บริการโซลูชั่น การชําระเงินที่ส่วนใหญ่ช่วยให้ร้านค้า E-
Commerce รับชําระเงินออนไลน์ได้สะดวก โดย 2C2P ทําหน้าที่ ใน
ฐานะผู้ให้บริการการชําระเงินที่เหมาะสําหรับความต้องการในท้องถ่ิน
ของชาวเอเชยี

8.3 Rabbit Internet (Rabbit Finance)

มีมูลคา่ การระดมทุนทงั้ หมด 9.1 ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ซ่ึงทาง Rabbit
เป็นบริษัทที่อยู่หลังบ้านของ Rabbit Finance เป็นหนึ่งใน Thailand's
Premier Comparison Portals สําหรับประกันภัยและผลิตภัณฑ์
ทางการเงินอ่ืน ๆ

8.4 Jitta

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง Jitta เป็น
โซลูชันการลงทุนที่มีจุดประสงค์ เพื่อลดความซับซ้อนของการวิเคราะห์
ทางการเงินสําหรับนักลงทุน โดยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์หุ้นของ Jitta
จะแนะนําการลงทุน เพ่อื ชว่ ยให้นักลงทนุ ตดั สินใจได้ดีขนึ้

8.5 T2P Deep Pocket

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 4.1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย T2P
Deep Pocket เปน็ ผู้ให้บริการ E-Wallet ในประเทศไทย

8.6 Finnomena

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย
Finnomena เป็นผู้ให้ข้อมูลและ คําแนะนําการลงทุนโดยให้ใช้ Robo-
Advisory ในการให้คําแนะนํา Finnomena ก่อตั้งขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการลงทุนของประเทศไทย และมีเป้าหมายในการให้ความรู้สําหรับ
การลงทนุ และการวางแผนการเงินแบบสว่ นบุคคล

8.7 Claim Di

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแอปพลิเคชัน
Claim Di สร้างมาเพื่อความสะดวกในด้านการเรียกร้องค่าเสียหาย
ระหว่างผู้ขับขี่และบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ผู้ขับข่ี
จะสามารถส่อื สารกบั บริษัทประกันของพวกเขาได้สะดวก และยงั สง่ การ
เรียกร้องได้แบบ Real Time ผ่านภาพถ่ายและภาพวิดีโอ

8.8 Bitkub

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง Bitkub เป็น
สนิ ทรัพยด์ ิจทิ ลั และ แพลตฟอร์มแลกเปล่ียน Cryptocurrency มบี ลอ็ ก
เ ช น ( Blockchain) แ ล ะ Cryptocurrency เ ป ็ น ธ ุ ร ก ิ จ ห ล ั ก มี
Cryptocurrency หลายสกุลให้แลกเปลี่ยน รวมไปถึงเครื่องมือการ

วิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้งานง่าย และตัวเลือกการถอนเงินสดทางเลือก
สําหรับธรุ กิจท่ีต้องการใช้ระบบบลอ็ กเชน (Blockchain)

8.9 Money Table

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง Money
Table เป็นแพลตฟอรม์ ท่ีต้องการลดความซับซ้อนของพนกั งานบริษัทท่ี
ต้องการสํารวจทางเลือกทางการเงินแบบส่วนบุคคล โดยใช้ข้อมูลขนาด
ใหญ่และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคะแนน
เครดิตของผู้สมัครใช้ประโยชน์บนเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain)
และเครอื ขา่ ย Decentralized Data เพอ่ื ปกป้องข้อมูลเปน็ พิเศษ

8.10 FlowAccount

มีมูลค่าการระดมทุนทั้งหมด 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ซ่ึง
FlowAccount เป็นซอฟต์แวร์ทําบัญชีบนเว็บไซต์ โดยให้บริการบัญชี
ในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การออกใบแจ้งหนี้ การติดตามค่าใช้จ่าย
เงินเดือน และการทํารายงาน ในช่วงเวลาไม่กี่ปี Fintech Ecosystem
ของประเทศไทยมีการพัฒนามากขึ้นและมีธุรกิจ Fintech ใหม่ปรากฏ
ขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี และบางบริษัทมีมูลค่าการระดมทุนในอุตสาหกรรม
Fintech ที่น่าสนใจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรม Fintech จะเป็น
ส่วนหน่งึ ในการผลกั ดนั ภาคเศรษฐกจิ ได้ไม่ยาก

สรุปประเด็นสําคญั

Fintech (Financial Technology) คือ กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีเข้ามาทําให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทําธุรกรรมรับ-จ่าย-โอนเงินออนไลน์
ของธนาคารหรือการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อช่วยการตัดสินใจของนัก
ลงทุน โดยบริการเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์แทบ
ทงั้ ส้นิ ซงึ่

Fintech จะมีหลายรูปแบบด้วยกันคือ Banking Technology,
Lending Technology, Cryptocurrency, Payment Technology,
Application Programing Interface, Regulation Technology,
Insurance Technology/ Insurtech