จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

        การร่างแบบเป็นกระบวนการวัดและขีดหมายลงบนผิวหน้าชิ้นงาน  เพื่อทำการตัดเจาะและตะไบ  ความละเอียดรอบคอบเป็นสิ่งสำคัญในการร่างแบบ ผู้ปฏิบัติควรจะต้องศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการร่างแบบตลอดจนวิธีการร่างแบบ เพื่อให้การปฏิบัติงานร่างแบบมีคววามถูกต้อง  เที่ยงตรง และแม่นยำ สามารถร่างชิ้นงานไปขึ้นรูปได้อย่างมีคุถณภาพ

        2.1 เหล็กขีด (scriber)

            เหล็กขีดเป็นเครื่องมมือสำหรับการขีดหมายชิ้นงาน ทำจากเหล็กซึ่งผ่านการชุบแข็งที่มุม ปลายมุมแหลมของเหล็กขีดทำมุม15 องศา     ส่วนปลายอีกด้านงอ ใช้ขีดบริเวณที่แคบ  วิธีการใช้งานเหล็กขีดนั้นใช้คู่กับบรรทัดเหล็กสำหรับขีดหมายเส้นบนผิวหน้าของวัสดุงาน ไม่ว่าจะเป็นเส้นร่างแบบ เส้นขอบรูป โดยเอียงปลายของเหล็กขีดประมาณ60องศา ลากไปตามบรรทัดเหล็ก ดังแสดงในรูปที่1 และหากเหล้กขีดทื่อให้ทำการลับด้วยหินน้ำมัน

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 1 แสดงลักษณะของเหล็กขีดในงานร่างแบบ

ที่มา : http://firetrucksandequipment.tpub.com/TM-9-254/img/TM-9-254_113_1.jpg

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 2 แสดงลักษณะการใช้งานของเหล็กขีด

            หมายเหตุ : การใช้งานเหล้กขีดซึ่งมีปลายแหลมคมจะต้องระมัดระวัง ไม่ควรนำใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง เพราะจะทำให้เกิดอันตราย

            2.2 วงเวียน (Dividers)

            วงเวียนเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งประกอบด้วยขาสองขาใช้สำหรับเขียนวงกลมเส้นโค้ง หรือถ่ายขนาดวงเวียนที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม คือวงเวียนขาสปริงและวงเวียนขาตาย

            1.วงเวียนขาสปริง วงเวียนชนิดนี้ส่วนหัวของวงเวียนจะมีเหล็กสปริงประกอบอยู่การปรับระยะห่างของขาสปิงสามารถทำได้โดยการขัน และคลายสกรูที่อยู่ด้านข้าง วงเวียนชนิดนี้เป็นที่นิยมในการใช้งานมาก เนื่องจากสามารถใช้งานง่าย และสะดวกในการปรับระยะของขาวงเวียน ดังแสดงในรูปที่ 3

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 3แสดงลักษณะของวงเวียนขาสปริง

            2. วงเวียนขาตาย วงเวียนชนิดนี้การปรับระยะห่างของขาวงเวียนทั้งสองจะต้องใช้มือทางออกและบีบเข้าเมื่อได้ระยะห่างที่ต้องการแล้วล็อคจุดหมุนด้วยสกรูให้แน่นดังแสดงในรูปที่ 4

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 4แสดงลักษณะของวงเวียนขาตาย

การใช้งานวงเวียนนั้นสามารถทำได้โดยการกางขาของวงเวียนออกแล้วนำวงเวียนไปเปรียบเทียบขนาดกับบรรทัดเหล็ก

2.3 เวอร์เนียร์ไฮเกจ (Vernier High Gauge)

          เวอร์เนียร์ไฮเกจเป็นเครื่องมือวัดขนาดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เวอร์เนียร์สเกลสำหรับวัดความสูงและขีดงานในการร่างแบบที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง เวอร์เนียร์ไฮเกจจะมีฐาน ซึ่งพื้นด้านล่างเรียบ ใช้วางบนโต๊ะแทนระดับในแนวตั้งมีสเกลเลื่อนขึ้น-ลงตามบรรทัดสเกลหลักโดยที่สเกลเลื่อนจะมีสกรูละเอียดซึ่งใช้สำหรับปรับระยะและสเกลเลื่อนมีใบมีดทำจากเหล็กคาร์ไบด์ซึ่งมีความแข็งมากใช้สำหรับขีดร่างแบบชิ้นงาน

            การอ่านค่าเวอร์เนียร์ไฮเกจจะอ่านค่าวิธีเดียวกับการอ่านค่าเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ ก่อนใช้งานควรตรวจสอบตำแหน่งการวัดศูนย์โดยวางเวอร์เนียร์ไฮเกจบนโต๊ะระดับ แล้วเลื่อนหัวเลื่อนลงมาวางสัมผัสพื้นโต๊ะระดับ ขีด 0 บนเวอร์เนียร์สเกล จะต้องตรงกับขีด 0 ของสเกลบนบรรทัดสเกลหลัก

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 5แสดงลักษณะของวงเวียนขาตาย

          การใช้งานและการบำรุงรักษาเวอร์เนียร์ไฮเกจ

1.      ทำความสะอาดฐานของเวอร์เนียร์ไฮเกจ

2.      ควรมีน้ำมันหล่อลื่นระหว่างผิวโต๊ะระดับและฐานของเวอร์เนียร์ไฮเกจขณะใช้งานเพื่อลดการสึกหรอ

3.      เลื่อนปากวัดหรือตัวฉีดให้สัมผัสกับผิวโต๊ะประดับตรวจดูขีดศูนย์ของเวอร์เนียร์สเกล

4.      ชโลมน้ำมันก่อนและหลังเลิกใช้งาน

            2.4 โต๊ะแท่นระดับ (Surface Plate) หรือโต๊ะระดับ

            โต๊ะแท่นระดับหรือโต๊ะระดับเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการร่างแบบ ใช้สำหรับวางรองรับชิ้นงานและเครื่องมือสำหรับร่างแบบเพื่อให้มีความสะดวกในการขีดเส้นหาระยะแทนระดับที่ใช้งานทั่วไป ทำขึ้นจากเหล็กหล่อสีเทาหรือหินแกรนิต

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 6แสดงโต๊ะแท่นระดับ

          การใช้งานและการบำรุงรักษาแท่นระดับ

1.      ห้ามใช้ค้อนเอาออกตีบนพื้นผิวโต๊ะท่านระดับ

2.      ห้ามงานโดยการกระแทกบนโต๊ะระดับ

3.      ชโลมน้ำมันก่อนและหลังเลิกใช้งาน

4.      ห้ามนำเครื่องมือที่มีคมเช่นตะไบหรือเรื่อยๆมือวางบนโต๊ะระดับ

5.      หลังเลิกใช้งานให้ใช้แปลงหรือเศษผ้าทำความสะอาดและปิดฝาครอบ

            2.5 แท่งฉาก (Angle Plate)

            แท่งฉากทำด้วยเหล็กหล่อสีเทาเป็นรูปตัวแอล มีร่องและรูสำหรับใส่สลักเกลียวยึดชิ้นงานให้ติดกับแผ่นฉากบนแท่นระดับ โดยแท่งฉากจะทำหน้าที่ช่วยประคองชิ้นงานให้ตั้งฉากกับแท่นระดับ เพื่อขีดร่างเส้นบนชิ้นงานระหว่างทำงานร่างแบบ

            2.6 วี-บล็อก (V-Block)

            วี-บล็อคใช้สำหรับรองรับชิ้นงานรูปทรงกลมหรือทรงกระบอกในการร่างแบบหรือใช้ร่วมกับแคมป์ในการจับยึดงานเพื่อทำการเจาะขนาดของวี-ล็อคที่นิยมใช้คือตั้งแต่สองถึง 12 นิ้วและรองรูปตัววีมีมุมสองมุมคือ 90 องศาและ 120 องศา

2.7 ใบวัดมุม (Bevel Protractor)

            ใบวัดมุมเป็นเครื่องมือสำหรับวัดและตรวจสอบมุมในลักษณะครึ่งวงกลมตั้งแต่ศูนย์-180 องศาช่วยในการร่างแบบค่ามุมต่างๆบนพื้นผิวของชิ้นงาน

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 7แสดงลักษณะของใบวัดมุม

            2.8 เหล็กตอกนำศูนย์ (Center Punch)

            เหล็กตอกนำศูนย์เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตอกหมายนำเจาะด้วยดอกสว่านรอยต่อนำศูนย์จะทำให้การเจาะรูแม่นยำ หรือใช้ตอกนำจุดศูนย์กลางในการร่างแบบเส้นโค้ง ที่ปลายของเหล็กตกนำศูนย์จะมีมุมแหลม 90 องศา

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 8แสดงลักษณะของเหล็กตอกนำศูนย์

การตอกนำศูนย์เพื่อร่างแบบนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งในการร่างแบบงาน เฉพาะถ้าตอกไม่จรดตำแหน่งก็ที่ต้องการแล้ว เมื่อเจาะรูก็จะทำให้เจาะรู้คาดเคลื่อน โดยขั้นตอนการตอกนำศูนย์ชิ้นงานทำได้ดังนี้

1.      ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับเหล็กตอกนำศูนย์ จรดปลายเหล็กตอกนำศูนย์ตรงตำแหน่งที่ต้องการโดยเอียงลำตัวของเหล็กตอกนำศูนย์ประมาณ 45 องศา ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นตำแหน่งที่ร่างแบบได้อย่างชัดเจน

2.      เมื่อปลายของเหล็กตอกนำศูนย์ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ให้ค่อยๆ ตั้งลำตัวของเหล็กตอกนำศูนย์ขึ้นจนกระทั่งได้ฉาก

3.      เมื่อตั้งลำตัวของเหล็กตอกนำศูนย์ขึ้นจนกระทั่งได้ฉากแล้ว ใช้ค้อนตอกเพียงเบาๆก่อน ซึ่งการตกเพียงเบาๆนั้นถ้าเกิดตอกผิดพลาดไม่ตรงตำแหน่งที่ต้องการก็จะสามารถแก้ไขได้แต่ถ้าตอกด้วยความแรงมากเป็นหลุมใหญ่ก็จะไม่สามารถแก้ไขในการตอกใหม่ได้หรือยาก

4.      เมื่อตอกด้วยแรงตอกเบาๆตรงตามตำแหน่งที่ต้องการแล้วก็จรดปลายของเหล็กตอกนำศูนย์ไปตรงตำแหน่งเดิม แล้วตอกย้ำด้วยแรงเพิ่มขึ้นจะได้รอยนำศูนย์ที่เที่ยงตรงตามต้องการ

            2.9 เหล็กตอกร่างแบบ (Prick Punch)

            เหล็กตอกร่างแบบเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับเหล็กตอกนำศูนย์ ต่างกันที่การใช้งานซึ่งเหล็กตอกร่างแบบจะใช้สำหรับตกเน้นเส้นเพื่อทำเครื่องหมายและแสดงตำแหน่งงาน เช่น ตอกแนวเส้นเพื่อป้องกันการเลื่อนขณะขึ้นรูปชิ้นงานที่ปลายของเหล็กตอกร่างแบบจะมีมุมแหลม 60 องศา

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 9แสดงลักษณะของเหล็กตอกร่างแบบ

            2.10 น้ำยาร่างแบบ (Layout Dye)

            น้ำยาร่างแบบเป็นของเหลวเหมาะสำหรับการร่างแบบที่ต้องการความละเอียดสูง มีสีน้ำเงินเข้ม ใช้ทาลงบนผิวของชิ้นงาน เพื่อให้ผิวงานมีสีเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เส้นที่ขีดร่างแบบชิ้นงานมีความชัดเจน โดยน้ำยาร่างแบบที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงคือปากกาเคมีที่ใช้เขียนงานทั่วๆไป

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 10แสดงลักษณะของน้ำยาร่างแบบ

            2.11 เกจตรวจสอบรัศมี (Radius Gage)

            เกจตรวจสอบรัศมีใช้ช่วยในการร่างแบบส่วนโค้งของชิ้นงานขนาดเล็กที่ไม่สามารถใช้วงเวียนร่างแบบได้

จง บอก เครื่องมือวัดที่มี สเกล ที่ใช้ ถ่ายขนาด จาก เครื่องมือ ถ่ายขนาด มา 3 ชนิด

รูปที่ 11 แสดงลักษณะของเกจวัดมุม