ดนตรีช่วยพัฒนาสมาธิอย่างไร

  • หน้าแรก

  • อารมณ์

  • ดนตรีบำบัด ศาสตร์แห่งการพักผ่อนสมอง

ดนตรีช่วยพัฒนาสมาธิอย่างไร

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) การใช้กิจกรรมทางดนตรี หรือองค์ประกอบอื่นทางดนตรี มาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถนำไปช่วยเหลือในผู้ป่วยโรคต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ อาการบาดเจ็บทางสมอง ความพิการและความเจ็บปวดทางร่างกาย เป็นต้น รวมถึงในคนปกติทั่วไปสำหรับใช้คลายความเครียด และการพักผ่อนสมอง

องค์ประกอบของดนตรี และประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  1. จังหวะหรือลีลา (Rhythm) การจับจังหวะของดนตรีได้จะช่วยเสริมสร้างสมาธิและการเลือกฟังดนตรีจังหวะช้าถึงปานกลางจะช่วยให้สมองได้ผ่อนคลายจากความเครียด
  2. ระดับเสียง (Pitch) เสียงระดับต่ำและสูงปานกลางจะช่วยทำให้รู้สึกสงบ มีสติและสมาธิ
  3. ความดัง (Volume/Intensity) เสียงที่เบาและนุ่ม ทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ เสียงดังเหมาะสมช่วยให้เกิดสมาธิควบคุมสติอารมณ์ได้ แต่ในขณะที่เสียงดังมากอาจจะทำให้เกิดอาการเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุกได้
  4. ทำนองเพลง (Melody) ความต่อเนื่องของทำนองเพลงจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  5. การประสานเสียง (Harmony) ช่วยควบคุมระดับอารมณ์ให้อยู่นิ่งเมื่อได้รับฟังเสียงประสานจากบทเพลงต่างๆ

นอกจากนี้ ยังพบว่าดนตรีบำบัดยังช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้มองโลกในเชิงบวก กระตุ้นพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ การสื่อสารและการใช้ภาษา การเคลื่อนไหวและความคงตัวของกล้ามเนื้อ และที่สำคัญมีส่วนช่วยเพิ่มระดับความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ รวมถึงเสริมสร้างความจำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

-กองการแพทย์ทางเลือก(2560) ดนตรีบำบัด,  งานถ่ายทอดเทคโนโลยี กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

-กลุ่มดนตรีบําบัด (2554) แนวทางการใช้ดนตรีบําบัด สําหรัผู้ป่วยและผู้พิการทางกาย พ.ศ. 2554 ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Skip to content

ดนตรีช่วยพัฒนาสมาธิอย่างไร

ดนตรีเป็นมากกว่าที่คิด

เวลาเราได้ฟังดนตรี นอกจากจะเกิดความสุนทรีย์ ความรื่นรมย์ และรู้สึกผ่อนคลายแล้ว รู้หรือไม่ว่าการทำกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรี ไม่ว่าเป็นเป็นการฟังหรือเล่นดนตรี จะช่วยปลดปล่อยความเครียดที่ฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาท ทุกวันนี้ดนตรีบำบัดได้เข้ามาช่วยคนที่มีปัญหาทางกายหรือทางใจ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ป่วยหรือมีอาการต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า  อัลไซเมอร์ ความบกพร่องทางพัฒนาการ และความพิการทางร่างกาย เป็นต้น

ดนตรีช่วยเด็กสมาธิสั้นอย่างไร

โรคนี้จะมีอยู่ 3 ปัญหาหลักในเด็กที่สมาธิสั้น ปัญหาแรกคือ ซนมาก แบบอยู่นิ่งไม่ได้ วิ่งเล่นได้ทั้งวันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ปัญหาที่สองคือ สมาธิสั้น เช่น เหม่อ เรียกแล้วไม่หัน สั่งแล้วไม่ทำ ฟังคำสั่งไม่ครบ  และปัญหาที่สามคือ หุนหันพลันแล่น คือ ไม่รู้จักรอคอย ตอบโต้ทันที หรือชอบพูดสวน การให้เด็กเหล่านี้ได้คลุกคลีกับดนตรีหรือเล่นดนตรีจะทำให้เด็กมีใจจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีที่ตนเองสร้างขึ้น โดยในช่วงแรกอาจให้เด็กลองฝึกเล่นเพลงสั้น ๆ เพียงแค่ 1 – 2 นาทีไปก่อน และเมื่อเด็กทำได้ก็ค่อย ๆ ให้ฝึกเล่นเพลงที่ยาวขึ้นหรือซับซ้อนขึ้น เด็กก็จะเกิดความภูมิใจ เมื่อฝึกเป็นประจำเด็กจะมีอารมณ์ดีขึ้น มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กมีความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นและเข้าสังคมได้ดีขึ้น

เด็กก้าวร้าวและซึมเศร้าก็ช่วยได้

แต่สำหรับพ่อแม่ที่เห็นวี่แววเล็ก ๆ ว่าลูกเริ่มเป็นเด็กไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ยังไม่ถึงขนาดโรคสมาธิสั้น ควรให้ลูกฟังดนตรีที่มีเสียงมั่นคง จังหวะช้า ๆ เบา ๆ ท่วงทำนองสม่ำเสมอ และมีโทนเสียงกลางเสียงสูง สำหรับเด็กที่เริ่มก้าวร้าว ให้ฟังดนตรีที่มีโทนเสียงต่ำ หรือลองฝึกเล่นดนตรี เช่น ตีกลอง หรือเคาะจังหวะก็จะช่วยได้มาก ส่วนเด็กที่เริ่มมีอาการซึมเศร้า ให้ฟังเพลงที่มีจังหวะค่อนข้างกระตุ้น เพื่อให้รู้สึกกระตือรือร้นขึ้นมาบ้าง นอกจากนี้ ยังมีวิธีสร้างสมาธิง่าย ๆ ให้กับลูกคือ เปิดเพลงเบา ๆ ให้ฟังในห้องนอนหรือในที่ที่ไม่มีเสียงรบกวนเป็นประจำก็จะช่วยทำให้ลูกมีสมาธิมากขึ้นได้

ยาและอาหารเสริมในแบบดนตรี

โดยธรรมชาติเด็กทุกคนจะรักเสียงดนตรีอยู่แล้ว ดนตรีจึงสามารถเข้ากับเด็กได้ดีโดยไม่ต้องฝืน เพราะดนตรีคือสิ่งสวยงาม ช่วยจรรโลงใจ เป็นเพื่อนยามเหงา และในบางครั้งยังใช้เป็นยาหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาสุขภาพกายสุขภาพใจของเราได้อีกด้วย

Post navigation

นำดนตรีการช่วยเสริมสร้างสติอย่างไร

มีสมาธิในการทำงาน เมื่อได้ฟังเพลง จะทำให้จิตใจผ่อนคลาย สามารถช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยพัฒนาสมอง การฟังเพลงจะทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะเสียงเพลงจะทำให้ผู้ฟังปลดปล่อยจินตนาการ และความคิดออกมา แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสมองซีกขวา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สมองซีกซ้ายอีกด้วย

ดนตรีช่วยพัฒนาสติปัญญาได้อย่างไร

4. ดนตรีช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเด็ก ดนตรีเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทางด้านสติปัญญาของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะมีกิจกรรมดนตรีหลากหลายให้เด็กได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา โดยเด็กๆ สามารถเรียนรู้ในเรื่องของภาษาผ่านทางเนื้อร้องของแต่ละบทเพลง ในเรื่องของคณิตศาสตร์ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องของตัวเลขจาก ...

ดนตรีช่วยพัฒนาในด้านการศึกษาอย่างไรบ้าง

อาจารย์สุพาพร กล่าวว่า “จากการศึกษาพบว่า ดนตรีส่งเสริมพัฒนาการทางสมองการเรียนรู้ การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวจะช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวาให้ทำงานอย่าง สมดุล ขณะฟังดนตรีเด็กจะรู้สึกผ่อนคลายปล่อยความคิดจินตนาการไปตามบทเพลง ซึ่งส่งผลดีต่อสมองซีกขวา ส่วนตัวโน้ตหรือจังหวะเคาะ ...

ดนตรีมีส่วนช่วยพัฒนาร่างกายได้อย่างไร

ดนตรี ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยประสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกดนตรีให้เหมาะสมกับวัยของเด็กจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ และคุณครู ควรให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมทางดนตรีให้เหมาะสม สนุกสนาน เด็ก ๆ ...