ลักษณะของ logistics มีกี่แบบ

การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้
1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร (Military Logistics Management) หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ
2. การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม (Engineering Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็น สำคัญ
3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ (Business Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ

ลักษณะของ logistics มีกี่แบบ

โลจิสติกส์ (logistics) คืออะไร ? กระบวนการส่วนหนึ่งของในการขนส่ง

โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เอกสาร จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ในระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด

กระบวนการส่วนหนึ่งของ โลจิสติกส์ ในการขนส่ง ของการจัดการเท่านั้น ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นอีกส่วนของการจัดการโลจิสติกส์ (logistics) อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น การจัดการคลังสินค้า , การกระจายสินค้า , การจัดการสินค้าคงคลัง , การบรรจุภัณฑ์ ,การรับส่ง , ข้อมูลต่างและระบบสารสนเทศต่างๆ เป็นต้น

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย

  • งานบริการลูกค้า
  • การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
  • การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
  • การจัดซื้อจัดหา
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • การจัดการวัตถุดิบ
  • การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
  • การบรรจุหีบห่อ
  • การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
  • การขนของและการจัดส่ง
  • โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน
  • การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
  • การกระจายสินค้า
  • คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
  • การจราจรและการขนส่ง
  • กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • การรักษาความปลอดภัย

เป้าหมายที่สำคัญของโลจิสติกส์

  • ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)
  • การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)
  • การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)
  • การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาด (Market Demand)
  • ลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า (Cargoes Handling & Carriage Cost)
  • เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Core Competitiveness)

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

  • Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า
  • Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า
  • Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า
  • Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  • Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า
  • Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา(Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม
  • Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
  • Manufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการ

กรณีตัวอย่าง : ร้านขายหนังสือ “คอมพิวเตอร์” ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโลจิสติกส์

  • 1. บริษัทส่งหนังสือ เข้ามาทางศูนย์กระจายสินค้า หรือตัวกลางรับหนังสือคอมพิวเตอร์ เช่น หนังสือซ่อมคอมพิวเตอร์ , หนังสือตกแต่งภาพ , หนังสือสอนพิมพ์ดีด มีหนังสือรวมทั้งหมด 3 เล่ม ถือเป็นกิจกรรมการนำสินค้า นับเป็น กิจกรรมการขนส่งสินค้า
  • 2. ศูนย์กระจายสินค้า หรือตัวกลางได้รับหนังสือคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 3 เล่ม จัดเก็บไว้สต๊อกสินค้า หรือคลังสินค้าของศูนย์กระจายสินค้า โดยแยกประเภทของแต่หมวดเอาไว้ ถือเป็น กิจกรรมคลังสินค้า
  • 3. ทางศูนย์กระจายสิค้าได้รับคำสั่งซื้อจาก ร้านขายหนังสือที่ต่างๆ เช่น ร้าน A , ร้าน B , ร้าน C เป็นต้น ทางศูนย์กระจายสินค้าติดต่อกับคลังสินค้า นำหนังสือคอมพิวเตอร์ขึ้นรถบรรทุก เตรียมจัดส่งสินค้าต่อไป ถือเป็น กิจกรรมคลังสินค้า กิจกรรมการขนส่ง การรับคำสั่งซื้อ
  • 4. เมื่อหนังสือมาถึงยังร้านขาย หรือจำหน่ายหนังสือ ทำการขนสินค้าลงจากรถขนสินค้า และจัดเข้าร้านขายหนังสือ ถือเป็น กิจกรรมการกระจายสินค้า ช่องทางการกระจาย
  • 5. เมื่อหนังสือถูกจำหน่ายออกไปนั้น ข้อมูลของหนังสือจะถูกบันทึกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และแจ้งกับศูนย์กระจายสินค้า ว่าสาขาไหน หรือที่ไหนบ้าง จำหน่ายหนังสือออกไปจำนวนเท่าไหร่ และหมดหรือยัง จะได้เตรียมการสั่งซื้อต่อไป ถือเป็น กิจกรรมสารสนเทศ

Related Posts

ลักษณะทั่วไปของการขนส่งมีอะไรบ้าง

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่คือ การขนส่งทางบก การขนส่งทางนํ้า และการขนส่งทางอากาศซึ่งแบ่งตามลักษณะแล้วเป็น 6ลักษณะคือ 1. การขนส่งทางบกหรือถนน 2. การขนส่งทางรถไฟ 3. การขนส่งทางนํ้า 4. การขนส่งทางอากาศ 5. การขนส่งทางท่อ 6. การขนส่งทางลักษณะอื่นๆ

Logistics คืออะไร มีอะไรบ้าง

พูดง่ายๆ ก็คือ การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ กระจายสินค้า บริการ หรือข้อมูลจากแหล่งที่ผลิตไปถึงแหล่งที่มีความต้องการ ด้วยกระบวนการแบบบูรณาการ โดยเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีเป้าหมายในการส่งมอบแบบทันเวลาและเพื่อลดต้นทุน สร้างความพอใจแก่ลูกค้า และส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ มีกี่ประเภท

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยในปัจจุบัน อาจจำแนกได้ เป็น 5 กลุ่มหลัก คือ ผู้ประกอบการขนส่งทางบก ขนส่งทางน้ำ ขนส่งทางอากาศ ตัวแทนออก ของและตัวแทนขนส่ง และคลังสินค้า ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวนกว่า 10,000 บริษัท และกว่าร้อยละ 80 เป็น SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ...

คลังสินค้า โลจิสติกส์ มีกี่ประเภท

จำแนกคลังสินค้า และโกดังสินค้า 6 ประเภท.
1. โกดังสินค้าแบบส่วนตัว (Private Warehouse) ... .
2. โกดังสินค้าแบบสาธารณะ (Private Warehouse) ... .
3. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) ... .
4. ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ... .
5. โกดังที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (Climate-controlled Warehouse).