คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา

คุณธรรม หมายถึง คุณความดีที่อยู่ในใจคน ที่ผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกต้องดีงาม คุณธรรมยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี หลักธรรมที่ผู้บริหารควรยึดถือเป็นหลักปฏิบัตินั้น มีผู้กล่าวไว้มากมายสามารถ แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ 1) คุณธรรมของบุคคลในสังคม 2) คุณธรรมของผู้บริหารการศึกษาและ 3) อุดมคติในวิชาชีพ

  1) คุณธรรมของบุคคลในสังคม คือ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีของคนในสังคม และผู้บริหารต้องเป็นคนดีของสังคม ทางพุทธศาสนา คนดี คือ คนที่ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส

และตามพระบรมราโชวาท คนดีคือ รักษาสัจจะ รู้จักข่มใจ  อดทน อดกลั้น ละชั่ว เสียสละ

  2) คุณธรรมของผู้บริหารการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวถึงหลักที่ควรถือปฏิบัติ และหลักที่ไม่ควรถือปฏิบัติ

  - ข้อแรกคุณธรรมที่เป็นหลักที่ควรถือปฏิบัติ ได้แก่

1. สับปุริสธรรม 7 หลักธรรมเกี่ยวกับ คุณสมบัติผู้นำ 1. รู้หลัก 2. รู้จุดหมาย 3. รู้ตน 4. รู้ประมาณ 5. รู้กาล 6. รู้ชุมชน 7. รู้บุคคล

2. ทศพิธราชธรรม 10 แนวปฏิบัติตนของผู้บริหาร 1. ทาน 2. ศีล 3. บริจาค 4. ซื่อตรง 5. อ่อนโยน 6. เพียร 7.ไม่โกรธ 8.ไม่เบียดเบียน 9.อดทน 10.ยุติธรรม

3. ธรรมโลกบาล (ธรรมคุ้มครองโลก) หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป)

4. กัลยาณมิตรธรรม (การดำรงฐานะการเป็นเพื่อนที่ดี ซึ่งผู้บริหารควรมีลักษณะกัลยาณมิตรควบคู่ผู้บังคับบัญชา)1. ปิโย 2. ครุ น่าเคารพ 3. ภาวะนีโย (แบบอย่างที่ดี) 4. วัตตา (รู้กาลเทศะในการพูด) 5. วจนักขโม (อดทนต่อถ้อยคำ) 6. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตต (พูดเรื่องยากให้ง่าย) 7. โน จัฏฐาเน นิโยชะเน (ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม)

หลักธรรมอีก 3 การที่ควรเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่สำคัญของผู้บริหาร

    6. พรหมวิหาร 4 (ครองตน) 1. เมตตา ปรารถนาดี 2. กรุณา ช่วยเหลือ 3. มุทิตา ยินดีกับผู้อื่น 4. อุเบกขาวางใจเป็นกลาง

    7. สังคหวัตถุ 4 (ครองคน หรือ ปกครองตน) 1. ทาน 2. ปิยวาจา 3. อัตถจริยา(บำเพ็ญประโยชน์) 4. สมานัตตา (เสมอต้นเสมอปลาย)

    8. อิทธิบาท 4 (ครองงาน หรือ บริหารงาน) 1. ฉันทะ (มีใจรัก) 2. วิริยะ (พากเพียร) 3. จิตตะ (เอาจิตฝักใฝ่) 4. วิมังสา (ใช้ปัญญาพัฒนางาน)

ในเรื่องสามก๊กก็กล่าวถึงลักษณะที่ดีของผู้นำไว้ด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของโจโฉ เป็นผู้มีลักษณะเด่นเป็นผู้นำในการบริหาร 10 ประการ ดังนี้

1.มิได้ถือตัวถึงผู้น้อยจะขัดว่าผิดหรือชอบ

2.น้ำใจโอบอ้อมอารีต่อคนทั้งปวง  ทำการสิ่งใดคนทั้งหลายก็ยินดีด้วย

3.จะว่ากล่าวสิ่งใดก็สิทธิ์ขาด  มีสง่า  คนทั้งปวงยำเกรงเป็นอันมาก

4.ซื่อสัตย์  เลี้ยงทหารโดยยุติธรรม  ถึงญาติพี่น้องผิดก็ว่ากล่าว มิได้เข้าด้วยกับผู้ผิด

5.จะทำการสิ่งใดเห็นเป็นความชอบ  ก็ตั้งใจทำไปจนสำเร็จ

  6.จะรักผู้ใดก็รักโดยสุจริตมิได้ล่อลวง

  7.คนอยู่ใกล้กับคนอยู่ไกลถ้าดีแล้วเลี้ยงเสมอกัน

  8.คิดการหนักหน่วงแน่นอนแล้วจึงทำการ

  9.จะทำการสิ่งใดก็ทำตามแบบธรรมเนียมโบราณ

  10.ชำนาญในกลศึกสงคราม  ถึงกำลังข้าศึกมากกว่าก็คิดเอาชนะได้

  ถ้าผู้บริหารทำได้ตามหลักปฏิบัติต่างๆที่กล่าวมา ผู้บริหารย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพ และน่าศรัทธากับผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลทั่วไป

- ข้อที่สองคุณธรรมที่เป็นหลักที่ไม่ควรถือปฏิบัติ ได้แก่

อคติ 4 การประกอบด้วย 1.ฉันทาคติแปลว่าลำเอียงเพราะรัก 2.โทสาคติแปลว่า ลำเอียงเพร่าเกลียด 3.โมหาคติแปลว่า ลำเอียงเพราะเขลาหรือเพราะความโง่หลงงมงาย 4.ภยาคติแปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเกรงใจ ความลำเอียงทั้ง 4 ประการนี้ เป็นอันตรายอย่างมาก ทุกยุคทุกสมัยที่บุคคลที่เป็นผู้บริหาร มีความลำเอียง (อคติ) อยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น ก็จะทำให้สูญเสียความยุติธรรม

ท่านมหาตมคานธี ได้เสนอบาปมหันต์ 7 ประการ หรือ 7deadly sin

เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ  Politics without principle

หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด   Pleasure without conscience

ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน  Wealth without work

มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี  Knowledge without character

ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม  Commerce without morality

วิทยาการเลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์ Science without humanity

บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ  Worship without sacrifice มือถือสากปากถือศีล

  ในเรื่องสามก๊กก็กล่าวถึงลักษณะที่ไม่ดีของอ้วนเสี้ยว

1.เป็นคนถืออิสริยยศ  มิได้เอาความคิดของผู้ใด

2.เป็นคนหยาบช้า  ทำการด้วยโวหาร

3.จะทำกิจการใดมิได้สิทธิ์ขาด  โลเล

4.เห็นแก่ญาติพี่น้องของตัว  มิได้ว่ากล่าวเมื่อทำผิด

5.คิดการสิ่งใดมักกลับเอาดีเป็นร้าย  เอาร้ายเป็นดี  มิได้เชื่อใจตนเอง

6.จะเลี้ยงดูผู้ใดมิได้เป็นปกติ  ต่อหน้าว่ารักลับหลังว่าชัง

7.กระทำความผิดต่าง ๆ เพราะฟังคำคนยุยง

8.รักคนประจบสอพอใกล้ชิด  ผู้ใดห่างเหิน  ถึงสัตย์ซื่อก็มีใจชัง

9.ทำการสิ่งใดเอาแต่อำเภอใจ มิได้ทำตามธรรมเนียมโบราณ

10.มิได้รู้ในกลศึก  แต่มักพอใจทำดีล่อลวง  จะชนะก็ไม่รู้  จะแพ้ก็ไม่รู้

ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวบรรยาย "สร้างองค์กรพัฒนาจิตทุกหย่อมหญ้า"เมือวันที่ 24 มิถุนายน 2553 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ ขณะที่คนส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะจิตคว่ำ คือการเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดวิกฤติมากมาย อีกทั้งการศึกษาไทยตลอด 100 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่พัฒนาคน เป็นระบบการศึกษามิติเดียว ที่ครูทำหน้าที่คอยป้อนข้อมูลส่วนนักเรียนก็มีหน้าที่ฟังครูอย่างเดียว ระบบการศึกษาต้องเป็นกลไกในการปฎิวัติจิตสำนึกมหาวิทยาลัยต้องไม่ใช่เป็นกำแพงกั้นเด็กออกจากความเป็นจริง แต่ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความรู้ และจิตสำนึกใหม่ๆ เช่น การพานักศึกษาไปใช้ชีวิตร่วมอยู่กับคนจน เพื่อให้เข้าใจโลกความเป็นจริง และควรหันมาใช้สมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นสมองส่วนเดียวที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์ นั่นคือสมองของความรู้สึกนึกคิดสิ่งไหนดี สิ่งไหนชั่ว การใช้สมองส่วนหลังมากๆ จึงมีแต่การทะเลาะเบาะแว้งของคนในสังคม ขณะเดียวกันสมองส่วนหน้า เรื่องศีลธรรม จริยธรรมก็หายไป

รัฐบาลเองก็มีการวางทิศทางและกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อพาประเทศไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข จึงได้กำหนด วาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมภิบาล และการป้องกันการทุจริตและปรพฤติมิชอบ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. มุ่งมั่นความสุจริต เป็นธรรม ในระบบราชการ 2. ขจัดปัญหาทุจริตและประพฤติชอบ 3. มุ่งฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาล มีกรอบการขับเคลื่อน 9 กรอบดังนี้   1. แนวทางส่งเสริมความประหยัด ขยัน ยึดมั่นในวิชาชีพ

2. แนวทางส่งเสริมความมีระเบียบวินัย

3. ความเสียสละ เมตตาอารีย์ กตัญญูกตเวที กล้าหาญ สามัคคี

4. รู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ

5. ความเป็นผู้มีพลานมัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

7. แนวทางส่งเสริมความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

8. รู้จักคิดริเริ่ม วิจารณ์แลัตัดสินใจอย่างเหตุผล

9. แนวทางส่งเสริมความซื่อสัตย์

ทั้ง 9 นี้ ต้องอาศัยความร่วมแรงรวมใจของทุกหน่วยของสังคม เพื่อปฏิวัติคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทย คุณธรรมของนักบริหารมีความสำคัญ เพราะผู้บริหารเป็นต้นแบบของคนในองค์กร และสังคมเองก็คาดหวังว่าสถานศึกษาเป็นสถาบันแห่งจริยธรรม ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาควรพัฒนาคุณธรรมของตนโดยมีแนวทางดังนี้

1. พัฒนาตน ให้มีเมตตา ตามหลักพรหมวิหาร 4

2. พัฒนาความเชื่อมั่นคุณงามความดี ตามหลัก โลกธรรม 8

3. พัฒนาความคิดรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี (ใช้สมองส่วนหน้ามากกว่าสมองส่วนหลัง)

4. พัฒนาการเรียนรู้คุณธรรมจากชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

5. พัฒนาคุณธรรมในตนเอง จากการมองตนเอง ฝึกฝนตลอดเวลาให้เป็นนิสัย

แนวทางการพัฒนาทั้งในข้อ 4 และ 5 สามารถนำวิธี 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย คือการนำ 5 ห้องที่พวกเราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาเป็นสถานที่ที่ฝึกการคิดและฝึกนิสัย ได้แก่ ห้องนอน(รักบุญ กลัวบาป)  ห้องน้ำ(ฝึกคิดให้ตรงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต)  ห้องแต่งตัว (ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ไม่ปล่อยใจฟุ้มเฟื้อ)ห้องอาหาร (ฝึกความประมาณ) และห้องทำงาน (พัฒนานิสัยความสำเร็จ)

หนังสือ

เรื่องของคุณธรรมผู้บริหารในภาคเรียนนี้ยังมีหนังสืออ่านเสริม 3 เล่มด้วยนะคะ คือหนังสือ ธรรมนูญชีวิต มงคลชีวิตและสมบัติผู้ดี ทั้ง 3 เล่ม มีเนื้อหาที่ผู้บริหารนำมาประยุกต์ใช้ทั้งด้าน ครองตน ครองคนและครองงานได้เช่นกัน

1. ธรรมนูญชีวิตเป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงไว้เพื่อพุทธศาสนิกชนนำไปใช้ในการวางรากฐานชีวิตให้มั่นคงและนำชีวิตให้ถึงจุดหมาย ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติตนเพื่อการอยู่ร่วมกันในแต่ละฐานะหน้าที่ ด้วยการทำตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่

หมวด 1 คนกับสังคม การอยู่อาศัยกับคนในสังคม การเป็นพลเมือง

หมวด 2 คนกับชีวิต การประคับประครองตนเอง

หมวด 3 คนกับคน การอยู่อาศัยกับคนรอบข้าง

หมวด 4 คนกับมรรคา การตอบแทนผู้มีพระคุณ

การครองตน

- ศีล 5 รักษาความเป็นปกติของตน

- ครองตนเป็นพลเมืองที่ดีนำชีวิตและครอบครัวของตนไปสู่ความเจริญ สงบสุข และเป็นพลเมืองที่สร้างสรรค์สังคม

- โลกธรรม 8 ธรรมดาของโลกหรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาชาวโลก และชาวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป

ชื่นชม

ขมขื่น

๑. ได้ลาภ  

๓. ได้ยศ

๕. สรรเสริญ

๗. สุข

๒. เสื่อมลาภ

๔. เสื่อมยศ

๖. นินทา

๙. ทุกข์

- วัฒนมุข 6 หลักธรรมที่เป็นประตูความเจริญก้าวหน้าของชีวิต

๑. อาโรคยะ รักษาสุขภาพดี มีลาภอันประเสริฐ คือความไร้โรคทั้งจิตและกาย

๒. ศีล มีระเบียบวินัย ประพฤติดีมีมรรยาทงาม ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม

๓. พุทธานุมัต ได้คนดีเป็นแบบอย่าง

๔. สุตะ ตั้งใจเรียนให้รู้จริง ให้รู้เชี่ยวชาญ

๕. ธรรมานุวัติ ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ดำรงมั่นในสุจริต

๖. อลีนตา มีความขยันหมั่นเพียร

การครองคน

- ทิศ 6 (ทิศเบื้องล่าง) นายจ้างพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน 

- จัดงานให้ทำ ตามความเหมาะสมput the right man in the right job
- ให้ค่าจ้างรางวัลสมควร
- จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
- มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
- ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร

- พรหมวิหาร 4

- สาราณียธรรม 6 ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ๖ ประการคือ

1. เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

2. เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

3. เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

4. สาธารณโภคี ได้มาแบ่งกันกินใช้โดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

5. สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

6. ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน

การครองงาน

  - อิทธิบาท 4

- อัตถะ ๓

1. อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน พึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง คือ พัฒนาฝีมือ ความรู้ นิสัยที่ดี

2 ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น พึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นได้บรรลุถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาฝีมือ ความรู้ นิสัยที่ดี

3. อุภยัตถะ จุดหมายร่วมกัน พึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย

- อปริหานิยธรรม 7ช่วยป้องกันความเสื่อม (มีโอกาสรู้จักหลักธรรมนี้ตั้งแต่ชมรม)

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม เริ่มพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน

3. ไม่ถือกำหนดกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจใคร่

4. ให้เกียรติเคารพนับถือผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน

5. ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี มิให้มีการข่มเหงรังแก

6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เร้าให้ทำดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้นตามประเพณี

7. จัดการให้มีการยกย่องและชื่นชมบุคคลที่เป็นตัวอย่างทางศีลธรรม

2. หนังสือมงคลชีวิตเป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนและนำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

มงคลชีวิตคือ หลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนวทางในการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความสุขและความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต มงคลชีวิต มีทั้งหมด  38 มงคล

ครองตน12/38 มีหลักธรรมด้านการครองตนมากที่สุด

มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล

มงคลที่ 2 คบบัณฑิต

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรม

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน

มงคลที่ 26 ฟังธรรมตามกาล

มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย

มงคลที่ 27 มีความอดทน

มงคลที่ 30 สนทนาธรรมตามกาล

มงคลที่ 35 จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

มงคลที่ 36 จิตไม่โศก

มงคลที่ 37 จิตปราศจากธุลี

มงคลที่ 38 จิตเกษม

ครองคน

มงคลที่ 6 ตั้งตนชอบ

มงคลที่ 8 มีศิลปะ

มงคลที่ 10  มีวาจาสุภาษิต

ครองงาน

มงคลที่ 14 ทำงานไม่คั่งค้าง

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ

3.หนังสือสมบัติผู้ดีประกอบ 10 หมวดใหญ่ แต่ละหมวดประกอบด้วยข้อที่ควรประพฤติ 3 ด้าน คือด้านกายจริยา วาจาจริยา และมโนจริยาสมบัติผู้ดี คือ ความประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ติดตัวเรา ดิฉันได้ผล 175 ข้อ จาก 182 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 96.15

ครองตน   ภาค ๑ ผู้ดี ย่อมรักษา ความเรียบร้อย

  ภาค ๙ ผู้ดีย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง

ภาค ๕ ผู้ดี ย่อมเป็นผู้มีสง่า

ภาค ๑๐ ผู้ดี ย่อมไม่ประพฤติชั่ว

ครองคน

ภาค ๔ ผู้ดี ย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก

ภาค ๗ ผู้ดี ย่อมเป็นผู้ใจดี

ครองาน 

  ภาค ๖ ผู้ดี ย่อมปฏิบัติการงานดี

หลักคุณธรรมของผู้บริหารในด้านการครองตน ครองคนและครองงาน ยังมีหลักที่น่าสนใจตามทฤษฎีแนวคิดของชาวต่างชาติ เช่น

(พี่แสง)  การจัดห้องของผู้บริหารที่สามารถส่งสัญญาณความเอื้ออาทรหรือการใช้อำนาจได้

1. โต๊ะผู้นำอยู่ตรงกลาง แสดงว่า ผู้นำแสดงอำนาจ

2. โต๊ะผู้นำชิดด้านใดด้านหนึ่ง แต่มีตู้มากั้น เพื่อแสดงอาณาเขต เแสดงว่า ผู้นำยังแสดงอำนาจอยู่ แต่ก็ยินดีต้อนรับผู้มาเยือน

3. โต๊ะผู้นำชิดด้านใดด้านหนึ่ง และมีโต๊ะรับแขกด้านหน้าห้อง เมื่อแขกมาผู้นำจะมาต้อนรับที่หน้าห้อง แสดงว่า ยินดีต้อนรับผู้มาเยือน แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน

  ทฤษฎีตัวยู (U theory) เป็นทฤษฎีของ อ๊อตโต้ ชาร์มเมอร์ เป็นทฤษฎีว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภายในที่เกิดจากการใคร่ครวญภายในจิตใจเมื่อรับรู้สิ่งใดมาอย่าเพิ่งตัดสินใจ

นำมาพินิจพิจารณา สงบ และมีสติ แล้วก็จะเกิดปัญญา ขาลง 4 ขั้นตอน และขาขึ้น 3 ขั้นตอน

1. ขาลงของตัวยู มี 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 Downloading คือการเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมกับที่เรามีอยู่ นำมาใช้งานพิจารณา (แต่อย่าพึง performing นะคะ ไปขั้นที่ 2 ก่อนค่ะ)

ขั้นที่ 2 Open Mind คือการเปิดความคิดและเปิดสายตาให้กว้าง (seeing) ออกมา

มองนอกปัญหา เราจะมองเห็นสิ่งใหม่

ขั้นที่ 3 Open Heart คือการเปิดหัวใจรับรู้ความรู้สึกร่วม (sensing) การเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยที่เราก็ยังเป็นตัวของตัวเอง เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง

ขั้นที่ 4 Open Will หรือ Presencing คือการอยู่กับปัจจุบันที่สุด เราจะเห็นคำตอบมากมาย ทางเลือกหลากหลาย และความเป็นได้ทุกทางในอนาคต

2. ขาขึ้นของตัวยู มี 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้น 1 Crystallizing คือการตกผลึกของความคิดให้ชัดเจนเข้มแข็ง

ขั้นที่ 2 Prototyping คือการนำความคิดนั้นมาแปรให้กลายเป็น "ต้นแบบ" และฝังอยู่ภายในตัวตนความคิดของเรา

ขั้นที่ 3 Performing คือการนำความคิดและการลงมือกระทำทั้งหมดนำไปสู่ผลสำเร็จ

การคิดตามทฤษฎียู เป็นการใช้เหตุผลประกอบการคิดให้มากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์ เมื่อดูในไดอะแกรมอาจดูช้า แต่ถ้าเราฝึกบ่อยๆ จะทำให้เราเป็นคนไม่ผลีผลามใจร้อน และมีผลการคิดไตร่ตรองที่ดีขึ้น

ในทฤษฎียู ยังมี  เรื่อง  4 Social Fields ดังนี้

1st Field: I-in-me มองความคิดจากประสบการณ์ตนเอง

2nd Field: I-in-it มองจากการบันทึกของตำรา หลักฐาน (open mind)

3rd Field: I-in- You สนใจความรู้สึกของคนอื่น ฟังคนอื่นมากขึ้น (open heart)

4thField: Presencing = Present + sensing มีความคิดปลอดโปร่ง มีสติสัมมปชัญญะ เข้าใจโลก เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น (open will)

ตัวอย่าง อย่าด่อนตัดสินเช่นเรื่องเด็กชายบุญชัย/ lady cookie/ ความโกรธ

8 อุปนิสัย เพื่อประสิทธิผลสูง

อุปนิสัยที่ 1: Be proactive คือ มีความคิดริเริ่ม

  ตัวอย่าง ครูเชาวลิต ผู้ได้รับรางวัล”คนเล็ก หัวใจใหญ่” จากรายการ คน ค้น ฅน ครูเชาว์ไม่รอให้ใครบอก เขาเริ่มทำด้วยตัวเขาเองนำสิ่งรอบตัวที่หาใด้มาใช้ งานรอบตัวที่หาเงินได้ และลงมือทำ

อุปนิสัยที่ 2: Begining with the end in mind เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ

  ตัวอย่าง จุดหมายของครูเชาว์ เมื่อเขาได้รับโอกาสนั้นแล้ว จึงอยากให้โอกาสกับคนอื่นบ้าง โดยไปเรียนและกลับมาทำงานเป็นครู

อุปนิสัยที่ 3: Put first things first ทำสิ่งที่สำคัญก่อน ไม่ใช่ทำตามความเร่งด่วนและแรงผลักดันรอบตัว

  ตัวอย่าง เรื่องครูสมยศ ให้เด็กใช้กบไสไม้ ก่อนใช้กบไฟฟ้า

อุปนิสัยที่ 4: Think win/win เป็นการคิดอย่างใจกว้าง มองโลกว่ามีโอกาสมากมายสำหรับทุกคน

  ครูสมยศ คิดว่ามีโอกาสมากมายแม้เด็กที่ครูสอนจะเกเรา

  ครูในเรื่องเด็กชายบุญชัย เมื่อทราบเรื่องจริง ก็ให้โอกาสเด็กแก้ตัว แก้ปัญหาให้เหมาะกับบุญชัย

อุปนิสัยที่ 5: Seek first to understand, then to be understood ให้เราเข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา

  จากเอกสาร 20 คุณลักษณะของครูที่เด็กต้องการ สอนให้เราเข้าใจเด็กก่อน ก่อนที่จะให้เด็กเข้าใจเรา

อุปนิสัยที่ 6: Synergy ผลึกกำลัง ผสานความต่าง เป็นทางเลือกใหม่

อาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง หน่วยงานอื่นๆ ทำให้ได้สิ่งใหม่ดีกว่ามาคิดคนเดียว หรือเป็นแบบ  I-in-me มองความคิดจากประสบการณ์ตนเอง

อุปนิสัยที่ 7: shapen the saw ปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเรา

  พัฒนาทั้งภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน (มีบุคลิกภาพที่น่าชื่นชม)

อุปนิสัยที่ 8: Find your voice ค้นหาศักยภาพที่แฝงอยู่ภายในตัวเรา พลังที่ยังไม่ได้รับการปลดปล่อยออกมา เพื่อนำมาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ รอบตัว …

  การ find your vioce สามารถทำได้ด้วยวิธิง่ายๆ วิธีหนึ่ง คือการฝึกสมาธิ “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิด ถึงรู้ แต่ก็อาศัยคิด” ขณะที่คิดไม่รู้ ขณะที่รู้ไม่ได้คิด แต่ต้องปล่อยให้จิตคิด ไม่ใช่ห้ามจิตไม่ให้คิด เหมือนที่อาจารย์สอนในการนั่งสมาธิเมื่อเราคิด ก็ให้รู้ว่า คิดนะ คิดนะ คิดนะ พอรู้ตัวว่าคิดอยู่ เราก็หยุดคิดไปเองแล้วก็พยายามประคองใจของเราให้มาอยู่ในกลางกาย

การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฎิบัติ ย่อมจักนำความเจริญ ตลอดจนความสุขกาย สบายใจให้บังเกิดแก่ผู้ประพฤติทั้งสิ้นสมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า ธัมโม หเว รักขติธัมมจาริง” ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม


คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญต่อผู้บริหารสถานศึกษาอย่างไร

การปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม จริยธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษา มีความส าคัญต่อการบริหาร งาน ในองค์การเป็นอย่างมาก เพราะสามารถสร้าง ศรัทธา การยอมรับนับถือ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา และ คนในสังคม อีกทั้ง ย่อมก่อ ให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สามารถจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชายินดีปฏิบัติงาน ด้วยความ ...

คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร มีอะไรบ้าง

การมีสัจจะ ตองพูดความจริง (Truth) • มีความซื่อสัตยสุจริต (Honesty) • มีความรับผิดชอบในหนาที่(Sense of Duty) • มีความอดกลั้น (Patience) • มีความเปนธรรม (Fair Play) • มีการเขาใจผูอื่น รูจักเอาใจเขามาใสใจเรา (Consideration for Others) Page 5 คุณธรรมและจริยธรรมนักบริหาร 5 27/12/2004 • มีความเมตตา (Kindness)

คุณธรรมใดที่ผู้บริหารพึงมี

2. ทศพิธราชธรรม 10 แนวปฏิบัติตนของผู้บริหาร 1. ทาน 2. ศีล 3. บริจาค 4. ซื่อตรง 5. อ่อนโยน 6. เพียร 7.ไม่โกรธ 8.ไม่เบียดเบียน 9.อดทน 10.ยุติธรรม 3. ธรรมโลกบาล (ธรรมคุ้มครองโลก) หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป)

องค์ประกอบของจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีอะไรบ้าง

1. องค์ประกอบจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี 9 ด้านสอดคล้องกับ ประคอง รัศมีแก้ว (2551: ง) พบว่าองค์ประกอบคุณลักษณะผู้น าของผู้บริหารสถานศึกษาที่มี คุณภาพ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร 2) การครองตน ของผู้บริหาร 3) ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร 4) บุคลิกภาพของผู้บริหาร ...