ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

ดนตรีในด้านการศึกษา

       

ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

การใช้ดนตรีกับเด็กเป็นสื่อการเรียนรู้ เน้นเล่นกิจกรรมดนตรีอย่างอิสระและเหมาะสม จะช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุดดร.สุพาพร เทพสุวรรณ อาจารย์คณะศิลปะนิเทศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวระหว่างการประชุมคณะทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการประสานงาน นโยบายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในหัวข้อ “ดนตรีกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย” จัดโดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ร่วมกับกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัจจุบันระบบการศึกษาในประเทศไทยมุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กมีความเป็น เลิศทางวิชาการผ่านการอ่านและการท่องจำ แต่ละเลยการพัฒนากระบวนการฝึกให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กันเพราะความคิดสร้างสรรค์จะส่งผลดีต่อเด็กมหาศาล ดังนี้

ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

1.) เด็กมีความคล่องตัวในการคิด เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว ฉับไว สามารถคิดหาทางออก หรือแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
2.) มีความคิดยืดหยุ่น ไม่คิดแบบตายตัว หรือคิดได้หลายประเภทหลายแง่มุม
3.) มีความคิดริเริ่ม แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร
4.) มีความละเอียดลออ ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนักคิดหรือนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ล้วนพัฒนางานของตนผ่านการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งสิ้น

      

ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

         อาจารย์สุพาพร กล่าวว่า จากรายงานการวิจัยในหลายประเทศระบุตรงกันว่า เครื่องมือในการพัฒนากระบวนการฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่เด็กได้ง่ายและดีที่สุดก็คือการใช้ดนตรีเป็นสื่อ เพราะเป็นกิจกรรมที่สนุก เด็กจะชอบมากที่สุด โดยวัยแรกเกิดจนถึง 6
ขวบ เป็นวัยที่เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด สมองเด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตโดยมีการสร้างเครือข่ายของสมองและพัฒนาจุด เชื่อมต่อระบบเซลล์ประสาทมากกว่าช่วงอื่นๆ ของชีวิต หากถูกปิดกั้นหรือไม่ได้รับการส่งเสริมที่ดีในช่วงนี้ ก็จะทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตน
“จากการศึกษาพบว่า ดนตรีส่งเสริมพัฒนาการทางสมองการเรียนรู้ การใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กโดยตรง กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวจะช่วยพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวาให้ทำงานอย่าง สมดุล ขณะฟังดนตรีเด็กจะรู้สึกผ่อนคลายปล่อยความคิดจินตนาการไปตามบทเพลง ซึ่งส่งผลดีต่อสมองซีกขวา ส่วนตัวโน้ตหรือจังหวะเคาะดนตรีจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายด้าน ภาษา คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ ดังนั้นดนตรีจึงช่วยพัฒนาความฉลาดของเด็กได้อย่างแท้จริง” ดร.สุพาพร กล่าว

ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

ดร.แพง ชินพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรี โรงเรียนบ้านขนมดนตรี กล่าวว่า ดนตรีเป็นส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเด็ก ดนตรีสำหรับเด็ก คือ ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อมการรับรู้ และตามความสนใจของเด็กแต่ละคนกิจกรรมของดนตรีสำหรับเด็กมีรูปแบบ เช่น การฟัง การร้องเพลง การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ การเล่นเครื่องดนตรี ฯลฯซึ่งการเรียนการสอนหรือการทำกิจกรรมประกอบดนตรีในลักษณะการออกคำสั่งหรือ เน้นให้เด็กทำเลียนแบบ
เช่น ร้องเพลง เต้นประกอบจังหวะ หรือโบกไม้โบกมือตามคุณครู จะทำให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กเกิดขึ้นน้อยมากหรืออาจไม่เกิดเลย เมื่อเทียบกับให้เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหว แสดงท่าทางตามจินตนาการของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้มากกว่า
ดร.แพง กล่าวต่อว่า พ่อแม่และครู จึงควรใช้ดนตรีเป็นสื่อการสอนเพื่อช่วยเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านต่างๆ เช่น ช่วยจัดกิจกรรมทางดนตรีให้เด็ก เน้นให้เด็กใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของตนเองอย่างเต็มที่ เช่น ให้ร้องเพลง เต้นรำ เล่นดนตรี

ความ หมายความ สำคัญ และ คุณค่า ของ ดนตรี สำหรับ เด็ก ปฐมวัย

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลเป็นอย่างสูงจาก

Cr : http://www.saisawankhayanying.com/s-featured/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4/

                          ดนตรีกับการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก               

ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ทารกในครรภ์ได้ยินเสียงจากการฟังเพลงของมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นักจิตวิทยากล่าวถึงการฟังเพลงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทำให้ทารกอารมณ์ดี เสียงเพลงที่ดังเข้ามาทางแก้วหูมารดา ย่อมเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดเป็นจังหวะ ที่ทารกในครรภ์ จะรับรู้ได้อย่างแน่นอน ช่วยกระตุ้นให้เด็กพัฒนาการได้ยินดีขึ้น และเป็นการวางรากฐานในเรื่อง ความพร้อมทางดนตรีด้วย จากการทดลองได้ผลว่า การเปิดเพลงคลาสสิก โดยเฉพาะเพลงของโมทซาร์ท ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางการได้ยิน ซึ่งเพลงที่นำมาเปิดให้เด็กฟัง ควรเป็นเพลงที่มีจังหวะช้า หรือค่อนข้างช้า และท่วงทำนองที่ไพเราะ ไม่ดังจนเกินไป คลื่นเสียงจากเพลงเหล่านี้ ช่วยทำให้คลื่นสมอง มีการพัฒนาไปในทางที่ดี เร้าให้ส่วนหนึ่งของเซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น ช่วยสร้างสมาธิ และทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีต่อไป บ่อยครั้งเมื่อทารกในครรภ์ดิ้น แล้วมารดาเปิดเพลงฟัง ทารกก็จะสงบลง เหมือนว่ากำลังตั้งใจฟังเพลงนั้นๆ อยู่ ส่งผลต่อบุคลิกภาพของทารกในครรภ์ เกิดมามีอารมณ์ดี เป็นคนสงบ ไม่ก้าวร้าว ช่วยให้ลูกอารมณ์ดี ผ่อนคลาย และถ้าผู้เป็นมารดาเปิดเพลงไหนฟังบ่อยๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ พอทารกคลอดออกมา แล้วเปิดเพลงนั้นอีก ทารกก็จะสงบลง และผ่อนคลายทันที เพราะรู้สึกเหมือนว่า กำลังอยู่ในครรภ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยทำให้การเลี้ยงทารกแรกเกิดหลังคลอด ทำได้ง่ายขึ้น การได้ฟังเพลงที่คุ้นหู ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จะช่วยทำให้เด็กหยุดร้องโยเยได้ เกิดมาแล้วเลี้ยงง่าย (Easy child)

เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ไม่ว่าเด็กจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรเด็กมักจะได้ยินเสียงเพลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งจากเสียงขับกล่อมจากผู้เลี้ยงดู วิทยุ  โทรทัศน์ แผ่นเสียง  เครื่องบันทึกเสียง  หรือเสียงร้องของเด็กเองดังนั้นการสอนดนตรีสำหรับเด็กเล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากและเป็นหัวใจของของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหลาย เสียงดนตรี หรือเสียงเพลงที่เราฟังกันอยู่ทุกๆ วัน นอกจากจะไพเราะ และทำให้ผู้ใหญ่อย่างพวกเรามีความสุขแล้ว สำหรับเจ้าตัวเล็กวัย 2-8 ขวบ เสียงดนตรียังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดี ในทุกๆด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา ซึ่งคุณค่าของดนตรีมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ด้านสติปัญญาทำให้เด็กมีสมาธิ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทักษะในด้านการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์และยังส่งเสริมจินตนาการที่สดใส โดย รศ.ดร.ณรุทธ์ สุทธิจิตต์หัวหน้าภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเอาไว้ว่า “อิทธิพลของเสียงดนตรีที่ดีมีส่วนอย่างยิ่งในการสร้างเสริมและพัฒนาการหลายด้านของเด็ก” เด็กจะมีโอกาสคิดอย่างสร้างสรรค์ผ่านดนตรี เช่น สามารถกำหนดจังหวะหรือแต่งเพลงใหม่ๆของตนเองขึ้นจากการฟังเสียงดนตรี หรือเพลง
  2. ด้านร่างกาย เด็กจะมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะเพลง การใช้จังหวะและเสียงเพลง รวมทั้งการปรบมือและการเคาะ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการควบคู่ไปกับการพัฒนาของร่างกาย เช่น ขยับ กระโดด ควบม้า เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเด็กสามารถเต้นได้แล้ว จะเป็นการฝึกทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ อย่างแขนและขา รวมทั้งการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย
  3. ด้านโสตประสาทเด็กจะสามารถฟังและแยกเสียงต่างๆเข้าใจคุณภาพของเสียงจากการเล่นดนตรีร้องเพลง  และฝึกฟังเสียงต่างๆ
  4. ด้านอารมณ์ ดนตรีจะช่วยทำให้เด็กลดอารมณ์ที่ก้าวร้าวต่างๆลงและนำมาแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และเป็นที่ยอมรับ

5.ด้านสังคม ดนตรีจะเป็นสื่อที่ทำให้เข้าใจและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

กิจกรรมเสียงดนตรีกับการส่งเสริมพัฒนาการ

– การเลือกชนิดของเพลง

เพลงแต่ละชนิดสำหรับเด็กปฐมวัย 2 – 8 ขวบ เด็กๆจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน และมีผลต่อพัฒนาการเด็กที่แตกต่างกัน

เพลงที่มีจังหวะเร็ว : จะกระตุ้นความสนใจและความตื่นเต้น

เพลงที่มีจังหวะช้า : จะทำให้รู้สึกความสงบ ผ่อนคลาย และเสริมสร้างสมาธิ

– ให้เด็กๆลองคิดท่าเต้นของตัวเอง

เพียงแค่ผู้เลี้ยงดู หรือคุณครู เปิดเพลงสนุกๆ และปล่อยให้เด็กๆ ได้เต้นตามจังหวะในแบบของตัวเอง อาจจะลองให้เด็กๆ ทำท่าต่างๆ จากคำที่ได้ยินในเพลง จะช่วยทำให้เด็กๆได้พัฒนากระบวนการคิด การรับรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และความมั่นใจในตนเอง

– จัดกิจกรรมพาเด็กๆ ไปชมการแสดงดนตรี

กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้แสดงออกทางความคิด และมีพัฒนาการด้านความรู้สึก

– กิจกรรมเรียนรู้คำศัพท์จากเนื้อเพลง

การที่เด็กๆ ได้ฟังเพลงต่างๆ สมองของเด็กจะสามารถจดจำคำต่างๆ ในเนื้อเพลงได้ดี ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการสอนเด็กๆเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ผ่านคำในเนื้อเพลง เช่น เพลงจากคำศัพท์ จะทำให้เด็กจดจำคำศัพท์ที่ร้องเป็นเพลงได้ เพลงแมงมุมลาย สามารถสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักกับแมงมุม หรืออาจจะชวนเด็กๆวาดรูปสิ่งต่างๆ ที่ได้ยินในเพลง ก็จะช่วยพัฒนาทักษะด้านศิลปะได้ด้วย

– ส่งเสริมให้เด็กๆ เล่นดนตรี

เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยให้เด็กๆ ได้ลองเล่นดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อฝึกสมาธิ และค้นหาความชอบของตังเอง

จะเห็นได้ว่าดนตรีเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเด็ก พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาประเทศชาติ เพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ดนตรีสามารถพัฒนาได้ครบถ้วนทั้ง 7 Q กล่าวคือ IQ : Intelligent Quotient หมายถึง ความฉลาดทางปัญญา ความจำ ความคิด EQ : Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ไม่กังวลไม่เครียด รู้จักการระงับความโกรธเป็น MQ : Moral Quotient หมายถึง ความฉลาดทางคุณธรรมจริยธรรม ระดับสติปัญญาทางด้านศีลธรรม สามารถปลูกฝังให้เด็กๆ ได้ร้องเพลงด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น เพลงค่าน้ำนม เพลงการให้อภ้ย เป็นต้น AQ : Adversity Quotient หมายถึง ความสามารถในการควบคุมกำกับและเอาชนะปัญหาอุปสรรคได้ มีความมุ่งมั่นไม่ย้อท้อต่ออุปสรรค เช่นใน การฝึกหัดเล่นดนตรี SQ : Spiritual Quotient หมายถึง การพัฒนาการทางด้านจิตใจ มีจิตวิญญาณที่ดี เข้าใจในการปฏิบัติตนเข้ากับคน สังคม และวัฒนธรรมที่ดีได้ CQ : Creativity Quotient หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ๆ และ PQ : Physical Quotientหมายถึง ความฉลาดทางด้านพลานามัย คือมีความมั่นใจในการเคลื่อนไหวของร่างกาย

พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ผู้ปกครอง ครู แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข และผู้ใหญ่ทุกคน ล้วนเป็นบุคคลที่สำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมดนตรี เพื่อพัฒนาเด็กๆ นอกจากปัจจัยด้านพันธุกรรม อาหาร และการเลี้ยงดูแล้ว การส่งเสริมดนตรีตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ตลอดจนระยะปฐมวัย ล้วนเป็นการสร้างคุณภาพเด็กไทยในอนาคต ผู้เขียนหวังเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้ใหญ่ทุกคนตระหนักในการปลูกฝังและดูแลเด็กๆ ช่วยจรรโลงสังคม และพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสืบต่อไป

อ้างอิง

Parenting For Brain. Child Temperament – Easy Baby vs Difficult Baby. [online] 2017 [14/8/17]. From https://www.parentingforbrain.com/easy-baby-what-is-temperament/

ณรุทธ์ สุทธิจิตต์. ดนตรีสำหรับเด็ก. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 14 สิงหาคม2560].จาก https://www.facebook.com/musicorfffun/photos/pb.1415343558493867.-2207520000.1474224602./1425031654191724/?type=3

ศูนย์พัฒนาบุคลากร Hi.Q. group. การพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 14 สิงหาคม2560].จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/Hi-Q-Group/2009/07/19/entry-1

สถาบันราชานุกูล. ใข้ดนตรีกระตุ้นทักษะวัยใส พัฒนาสมาธิ. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 14 สิงหาคม2560].จากhttp://rajanukul.go.th/iqeq/index.php?mode=iqeq&group_id=0&id=303