วันหยุดตามกฎหมาย แรงงาน มีกี่ประเภท อะไร บ้าง

    วันหยุด หมายความว่า วันที่กําหนดให้ลูกจ้างหยุดประจําสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจําปี 

    จากความหมายคําว่าวันหยุด ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ข้างต้น วันหยุดจึงมี 3 ประเภท ได้แก่

    3. วันหยุดพักผ่อนประจําปี

    วันหยุด ที่กําหนด 3 ประเภท ข้างต้น คือ เวลาที่กฎหมายให้ลูกจ้างได้มีโอกาสพักผ่อนหลังจาก ได้ทํางานติดต่อกันมาเป็นเวลาพอสมควร รวมทั้งวันหยุดให้มีโอกาสปฏิบัติกิจตามประเพณีของท้องถิ่น และพักผ่อนหลังทํางานมาครบปีด้วย

    กฎหมายกําหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจําสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจําสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้า กําหนดให้มีวันหยุดวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ก็ได้โดยทั่วไปจะกําหนดวันอาทิตย์

กรณีลูกจ้างทํางานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กฎกระทรวง ได้ออกมาเพิ่มเติม นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้า สะสมวันหยุดประจําสัปดาห์และเลื่อนไป หยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน

    สาระสําคัญของวันหยุดประจําสัปดาห์ จึงมีดังนี้

    1. ในหนึ่งสัปดาห์หรือ 7 วัน นายจ้างต้องให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจําสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน จะเป็นวันใดของสัปดาห์ก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 วัน ส่วนจะให้หยุด 1 วันครึ่ง เช่น หยุดวันเสาร์ครึ่งวัน วันอาทิตย์ 1 วัน เป็นวันครึ่ง หรือให้หยุด 2 วัน คือวันเสาร์เต็มวัน วันอาทิตย์เต็มวันรวมเป็นวันหยุด 2 วัน ก็ได้ วันหยุดไม่จําเป็นต้องเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ จะกําหนดวันใดของสัปดาห์ก็ได้ เช่น ร้านตัดผม - ให้ช่างตัดผมซึ่งมีอยู่ 7 คน หมุนเวียนกันหยุดคนละ 1 วัน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ก็ได้

    2. วันหยุดประจําสัปดาห์แต่ละครั้งต้องห่างกันไม่เกิน 6 วัน หมายความว่าให้ทํางาน 6 วัน แล้วหยุด 1 วัน เช่น ให้หยุดวันพุธของสัปดาห์ ทํางานวันพฤหัสบดีถึงวันอังคาร วันพุธหยุดเช่นนี้ถูกต้องเพราะห่างกัน ไม่เกิน 6 วัน หรือจะให้หยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์รวม 2 วัน แล้วทํางานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ของสัปดาห์ก็ใช้ได้ เพราะวันหยุดห่างไม่เกินกว่า 6 วัน เช่นกัน

    3. มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับลักษณะของงานที่ทําอันเป็นงานบริการประชาชนโดยทั่วไป หากหยุด อาจทําให้ธุรกิจเสียหาย งานบริการประชาชน นี้ได้แก่ งานบริการในโรงแรม งานที่อยู่ห่างไกลทุรกันดาร ไปกลับไม่สะดวก เช่น งานทําป่าไม้ งานประเภทลักษณะนี้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงสะสมวันหยุด ประจําสัปดาห์เลื่อนไปพักคราวเดียวกันหลายวันก็ทําได้ แต่กฎหมายห้ามไว้ว่า มิให้สะสมไว้เกิน 4 สัปดาห์ คือยินยอมให้สะสมติดต่อกันได้ 4 ครั้ง เท่านั้น จะเลื่อนไปนานเกิน 4 สัปดาห์ ไม่ได้ เพราะอาจเป็นผลราย ต่อลูกจ้างที่ต้องทํางานหนักติดต่อกันนานเกินควร

    วันหยุดตามประเพณี คือวันหยุดของทางราชการประจําปี วันหยุดของทางศาสนาหรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น โดยจะมีประกาศของคณะรัฐมนตรีกําหนดให้มีวันใดบ้างเป็นวันหยุด ประจําปี เพื่อให้เวลาแก่ประชาชนทั่วไปมีโอกาสหยุด ร่วมกระทํากิจกรรมสําคัญของทางราชการเช่น วันจักรี วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันรัฐธรรมนูญ หรือวันตามขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันแรงงานแห่งชาติ หรือวันสําคัญของทางศาสนา เพื่อให้ประชาชน ลูกจ้างทั่วไปได้ปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น

    กฎหมายกําหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างประกาศกําหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดไว้ด้วย

    ให้นายจ้างพิจารณากําหนดวันหยุดตามประเพณี จากวันหยุดราชการประจําปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าในกรณีวันหยุดตามประเพณี วันใดตรงกับวันหยุดประจําสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทํางาน ถัดไป

    ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทํางานที่มีลักษณะหรือ สภาพของงานที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ได้แก่ งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล สถานบริการท่องเที่ยว งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง หรืองานที่มีลักษณะทําติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่า จะหยุดงานในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้ก็ได้” 3

    จากหลักกฎหมายข้างต้น สรุปว่า

    1. นายจ้างต้องมีประกาศแจ้งวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนที่จะมีการหยุด ตามประเพณีเกิดขึ้น ความ

    2. กําหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างได้หยุดไม่น้อยกว่า 13 วัน (จะกําหนดมากกว่า 13 วัน ก็ได้) โดยปกติแล้วนายจ้างอาจสอบถามลูกจ้างว่าจะหยุดวันใดซึ่งจํานวน 13 วัน หรือมากกว่าที่ให้หยุดนี้ ให้รวมวันแรงงาน คือวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีไว้ด้วย

    3. ถ้าปรากฏว่าวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจําสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้าง หยุดชดเชยเพิ่มในวันทํางานถัดไปทดแทนอีก 1 วัน

    4. หากลูกจ้างทํางานประเภทที่หยุดไม่ได้หรือหยุดแล้วจะทําให้งานเสียหาย เช่น งานกิจการโรงแรม งานสโมสร งานทําในป่าและอยู่ห่างไกลให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดชดเชยในวันต่อไปที่สามารถ หยุดได้หรือจะขอรับเป็นค่าจ้างทํางานในวันหยุดทดแทนจากนายจ้างก็ได้

วันหยุดตามกฎหมาย แรงงาน มีกี่ประเภท อะไร บ้าง

หยุดงานในวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างได้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ


    วันหยุดพักผ่อนประจําปี เป็นวันหยุดของลูกจ้าง นอกเหนือจากวันหยุดประจําสัปดาห์และวันหยุด  ตามประเพณี กล่าวคือ เป็นวันหยุดพักผ่อนหลังจากทํางานมาครบ 1 ปีแล้ว

    หลักกฎหมายกําหนดไว้ดังนี้ “ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อน ประจําปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า หกวันทํางาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กําหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกําหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน และในปีต่อมานายจ้างอาจกําหนดวันหยุด พักผ่อนประจําปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทํางานก็ได้

นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจําปีที่ยังมิได้หยุด ในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ สําหรับลูกจ้างยังทํางานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อน ประจําปีให้แก่ลูกจ้าง โดยคํานวณให้ตามส่วนก็ได้” 4

    จากหลักกฎหมายข้างต้น สรุปการหยุดพักผ่อนประจําปีได้ดังนี้ 

    1. ลูกจ้างจะต้องทํางานติดต่อกันมาโดยตลอดเป็นเวลาครบหนึ่งปีแล้ว

    2. มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีเมื่อสิ้นปีการทํางานได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทํางาน หมายความว่า เมื่อถึงสิ้นปีของปีที่ทํางาน นายจ้างจะเป็นผู้กําหนดวันหยุดพักผ่อนประจําปีจํานวนไม่น้อยกว่า 6วันทํางานให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือนายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันเอาวันใดเป็นวันหยุดพักผ่อนจํานวน 6 วันทํางาน ก็ได้ คําว่า 6 วันทํางานหมายถึง 6 วันที่ไม่รวมถึงวันหยุดประจําสัปดาห์หรือวันหยุดตามประเพณี ที่มีขึ้นในระหว่างวันหยุดพักผ่อนประจําปีและรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 6 วัน

    3. สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปี ในปีถัดไป นายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อนประจําปีให้กับลูกจ้าง มากกว่า 6 วันทํางาน ก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิของนายจ้าง

    4. กรณีลูกจ้างยังไม่ประสงค์จะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจําปี จะตกลงกับนายจ้างให้สะสมวันหยุด พักผ่อนประจําปีปัจจุบันไปรวมกับปีหน้าเป็น 12 วันทํางาน หรือมากกว่าก็ได้

    5. ลูกจ้างซึ่งทํางานกับนายจ้างยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจให้มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจําปีได้ แต่จํานวนวันจะได้ตามสิทธิคํานวณสัดส่วนของ 6 วันทํางาน เช่น ทํางานมาได้เพียง 6 เดือน ก็อาจมีสิทธิ ได้หยุดพักผ่อนประจําปีจํานวน 3 วัน หรือ ทํางานมาได้เพียง 8 เดือน ก็อาจมีสิทธิได้หยุดพักผ่อนประจําปี จํานวน 4 วัน เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนายจ้าง เพราะกฎหมายใช้คําว่า “นายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อน ประจําปีให้ตามส่วนก็ได้”

วันหยุดประจําสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจําปีทั้ง 3 กรณี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเสมือนว่าทํางานตามปกติ จะหักค่าจ้างจากการหยุดงานในวันดังกล่าวข้างต้นไม่ได้

วันหยุดพนักงาน มีอะไรบ้าง

Notice.
วันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างต้องจัดให้หยุด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน สำหรับลูกจ้างรายวันไม่ได้รับค่าจ้าง ... .
วันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุด อย่างน้อยปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยได้รับค่าจ้าง ... .
วันหยุดพักผ่อนประจำปี.

กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีกี่ประเภท

กฎหมาย คุ้มครอง แรงงาน ใช้ บังคับ กับ การ จ้าง งาน ของ นายจ้าง ทุก คน ที่ มี ลูกจ้าง ตั้งแต่ หนึ่ง คน ขึ้น 1. ไป แต่ ไม่ ใช้ กับ หน่วย งาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ การ จ้าง งาน ที่ มี กฎ กระทรวง ยกเว้น ไม่ ต้อง อยู่ ใน บังคับ ของ กฎหมาย นี้ กฎหมาย คุ้มครอง แรงงาน แบ่ง การ คุ้มครอง ใช้ แรงงาน ออก เป็น 3 ประเภท คือ การ ...

ลาป่วยตามกฎหมายได้กี่วัน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 ประกอบมาตรา 57 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไปลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนั้นหากเรายังใช้สิทธิ์ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ...

วันหยุดนักขัตฤกษ์ มี กี่ วัน

วันหยุดราชการประจำปี ปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 16 วัน เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันปิยมหาราช เป็นต้น ดูวันหยุดราชการปี 2565 ตลอดทั้งปีได้ที่นี่