เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ(จะมีวงกลม)

          เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม โดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไป ตามมาตรฐานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ผงซักฟอก ท่อพีวีซี ผลิตภัณฑ์ เหล็ก ถังดับเพลิง ของเล่นเด็ก หมวกกันน๊อค เป็นต้น

สายไฟ มอก. 11 เป็นสายไฟที่มีตัวนำเป็นทองแดง และฉนวนเป็นพีวีซี แรงดันต่ำ (แรงดันตั้งแต่ 450-750 โวลต์)ดังนั้นสายไฟที่ไม่ได้มีตัวนำเป็นเป็นทองแดง และไม่มีได้มีฉนวนเป็นพีวีซี จะไม่จัดอยู่ใน มอก.11 และก็ยังคงใช้มาตรฐานตามเดิม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว กับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ วสท.2556การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11-2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดียวกัน ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ใน กฎหมายบางมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้ ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง

ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานมากมาย ที่ถูกระบุไว้ในสินค้า อาทิเช่น CE, IP Standard, RoHS เป็นต้น ซึ่งมาตราฐานเหล่านี้เป็นมาตรฐานสากลจากต่างประเทศ แต่ถ้าพูดมาตรฐานที่เป็นสากลในประเทศไทยตัวที่สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คงจะไม่พ้น มาตรฐาน มอก.

มาตรฐาน มอก. คืออะไร ?

มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Thai Industrial Standard – TIS) ซึ่งหน่วยงานที่เป็นผู้ที่ให้มาตรฐานชนิดนี้คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ผลิตสินค้า ให้สามารถผลิตสินค้าออกมาจัดจำหน่ายให้มีคุณภาพที่เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพที่เหมาะสม

โดยในปัจจุบันมาตรฐาน มอก. ก็มีการครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมายที่อยู่ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหาร, วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

รูปแบบของ มาตราฐาน มอก.

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท
ภาพตัวอย่างมาตรฐาน มอก. ไม่ได้อ้างอิงถึงสินค้าใดทั้งสิ้น

มาตรฐาน มอก. ที่เราสามารถพบได้ตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยทั่วไปสัญลักษณ์ที่พบเห็นได้บ่อยจะมีสัญลักษณ์ด้านรูปแบบในด้านบน และจะมีตัวหนังสือที่ระบุว่า สินค้านี้ได้รับ มาตรฐาน มอก. เลขที่เท่าไหร่ ดังนี้

  1. รูป Logo ของ มอก.
  2. ลำดับที่ในการออกเลข มอก.
  3. ปี พ.ศ. ที่ได้ออกเลข มอก.

สำหรับสีของสัญลักษณ์ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสีเสมอไป เพราะในฉลากของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็มักจะถูกตีพิมพ์มาในรูปแบบภาพขาวดำ

ทำไม เครื่องหมาย มอก. จึงมีความสำคัญ

เครื่องหมาย มอก. จะพูดความมาตรฐานของสินค้าที่ได้รับการผลิต ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นในหลายๆ ด้านดังนี้

ประโยชน์ต่อผู้ผลิต

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  • ช่วยลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขึ้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  • ทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ
  • ทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น แต่มีราคาที่ถูกลง
  • เพิ่มโอกาสในการขาย เพราะในหลายๆ องค์กรในการจัดซื้อต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และมาตรฐานรองรับ

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

  • สินค้าที่มี มอก. มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
  • ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้ามีมาตรฐาน และปลอดภัย
  • หากชำรุด สามารถหาสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน มาใช้ทดแทนกันได้
  • มีวิธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้ง
  • ได้สินค้าที่มีคุณภาพดี ในราคาคุ้มค่า

ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน

  • ช่วยเป็นสื่อกลาง ที่ให้มีความเข้าใจตรงกัน
  • ทำให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย
  • ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
  • สร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับผู้ผลิต
  • ช่วยลดและป้องกันสินค้าที่มีคุณภาพต่ำเข้ามาจำหน่าย
  • สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

เครื่องหมาย มอก. มีรูปแบบใดบ้าง ?

มาตรฐาน ทั่วไป

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ที่ทาง สมอ. กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ไว้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นความจำนง เพื่อทำการขอคำรับรองคุณภาพจาก สมอ. ได้โดยตามความสมัครใจ ซึ่งจะแสดงถึงคุณภาพสินค้าที่ตรงไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดในมาตรฐาน และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้านั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย และคุ้มค่า

มาตรฐาน บังคับ

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ที่ทาง สมอ. กำหนดไว้ว่า เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ทั้งการผลิต นำเข้าและจำหน่าย เพื่อคุ้มครองให้กับผู้บริโภคว่า สินค้านั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจในประเทศ

มอก.S

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ที่ทาง สมอ. กำหนดออกมาเพื่อรับรองคุณภาพสินค้า ที่ถูกนำมาออกจัดจำจ่ายจากผู้ประกอบการ SME เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของท้องตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชม (มผช.)

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. ที่ทาง สมอ. กำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสำหรับสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อ โดยเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องคุณภาพสินค้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP

มาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ (มตช.)

เครื่องหมาย มอก. ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีกี่ประเภท

เป็นเครื่องหมายมาตรฐาน ที่ทาง สมอ. ออกให้ ที่กำหนดถึงด้านมาตรฐานของระบบบริหารงาน เช่น ระบบบริหารงานคุณภาพ ห้องปฎิบัติการ การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียน แนวทางการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร เป็นต้น ซึ่งทางผู้ประกอบการสามารถยื่นขอการรับรองได้โดยสมัครใจ เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ การยอมรับ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

เครื่องหมายมอกเป็นเครื่องหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ใด

มอก.เป็นคําย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" หมายถึงข้อกําหนดทางวิชาการที่สํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กําหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับ การใช้งานมากที่สุดโดยจัดทําออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม

เครื่องหมายมาตรฐานความปลอดภัยพบได้ในผลิตภัณฑ์ประเภทใด

3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัยเป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งสำนักงาน มอก. จะกำหนดมาตรฐาน มุ่งเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเพื่อให้การคุ้มครองแก่ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมาย มีทั้งแบบบังคับและไม่บังคับ หากเป็นแบบบังคับ ...

สินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปได้แก่อะไรบ้าง

1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพที่ผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ เพื่อรับการตรวจสอบ และพัฒนาคุณภาพการผลิต ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดของ สมอ. และเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคว่าสินค้ามีคุณภาพ ได้รับรองมาตรฐานการผลิต ตัวอย่างเช่น สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ ...

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับเป็นเครื่องหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทใด

เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มี กฏหมาย กำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งบังคับให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น